นับเป็นโอกาสพิเศษสำหรับผู้ที่ชื่นชอบดนตรีในประเทศไทยที่สองศิลปินระดับโลกจะร่วมกันถ่ายทอดบทประพันธ์ชิ้นไฮไลท์จากยุคบาโรค โดยการผสมผสานอย่างงดงามลงตัวระหว่างเครื่องเล่นไวโอลินและฮาร์ปซิคอร์ด จากผลงานของนักประพันธ์เพลงที่ขึ้นชื่อ อาทิ แฮนเดล บาร์ค ตาร์ตินี ราเบล คอเรลลี่
มร. ดาเนียล การ์เลียสกี้ (Daniel Garlitsky) ศิลปินชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียง ผู้เป็นทั้งนักไวโอลิน วาทยากร อาจารย์ และผู้ประพันธ์เพลง ได้เคยฝากผลงานที่ประทับใจไว้หลากหลายประเทศในยุโรป ในการแสดงครั้งนี้ มร.การ์เลียสกี้จะมาเล่นไวโอลินร่วมกับ คุณทฤษฎี ณ พัทลุง ศิลปินไทยผู้มีความสามารถหลากหลาย ทั้งด้านเครื่องคีย์บอร์ดทุกชนิด ผู้ประพันธ์เพลง รวมไปถึงวาทยากร ซึ่งเป็นที่รู้จักทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยครั้งนี้คุณทฤษฎีจะเล่นฮาร์ปซิคอร์ด ร่วมกับมร.การ์เลียสกี้ ณ ห้องออดิทอเรียม สยามรัชดา ยามาฮ่า ชั้นใต้ดินตึกฟอร์จูทาวน์ ติดรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีพระรามเก้า ในวันที่ 29 มกราคม 2558 เวลา 19.00น บัตร ราคา 300 บาทสำหรับนักเรียน นักศึกษา และ 700 บาท สำหรับบุคคลทั่วไป สำรองที่นั่งได้ที่ reservation@garlitsky.com
ดาเนียล การ์เลียตสกี้
การ์เลียตสกี้เป็นนักไวโอลินที่มากด้วยความสามารถ มีผลงานที่โดนเด่นทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาทั้งในฐานะศิลปินเดี่ยว การเล่นแชมเบอร์มิวสิค และหัวหน้าวงออเคสตร้าที่มีชื่อเสียง
การ์เลียตสกี้เกิดในครอบครับนักดนตรีที่กรุงมอสโควประเทศรัสเซีย เริ่มเรียนไวโอลินและเปียโนเมื่ออายุ 6 ปี ที่ Gnessin School
ในปี 1991 การ์เลียตสกี้และครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส การ์เลียตสกี้ได้เข้าเรียนต่อที่ Lyon Conservatory และสำเร็จการศึกษาเกียรตินิยมระดับสูงสุดในเวลาต่อมา
ในปี 1999 การ์เลียตสกี้ได้เข้าเรียนต่อที่ Paris Conservatory of Music หลังจากสามปีที่เข้าเรียนที่นี่ เขาได้รับรางวัลที่ 1 จากการแสดงไวโอลินและแชมเบอร์มิวสิค รวมทั้งได้รับรางวัลพิเศษจากฝีมือที่เหนือชั้นในการสอบการแสดงครั้งสุดท้าย
ในขณะที่เรียนอยู่ที่ Paris Conservatory นั้น การ์เลียตสกี้ยังได้รับทุนเข้าร่วม masterclass หลายรายการ การ์เลียตสกี้เป็นลูกศิษย์ปรมาจารย์หลายท่าน หนึ่งในนั้นคือพ่อเขาเอง Boris Garlitsky, Matisse Vaitsner, Igor Volochine, Pierre Laurent, Rainer Kussmaul และ Glem Dicterow
ในขณะที่เรียนอยู่การ์เลียตสกี้ได้รับเชิญจาก Gidon Kremer ให้เข้าร่วม Lockenhaus Chamber Music Festival นอกจากนี้เขายังได้ปรากฎตัวในการแสดงในยุโรปหลายรายการ อาทิเช่น Estate Musicale a Portogruaro, Radio France Montpellier and Folle Journée de Nantes และได้ร่วมแสดงกับศิลปินที่มีชื่อเสียง เช่น Augustin Dumay, Bruno Giuranna, Charles Neidich, Oleg Maisenberg และ Maris João Pires.
ในฐานะศิลปินเดี่ยว การ์เลียตสกี้ได้ร่วมแสดงกับวาทยากรหลายที่ เช่น Mishiyoshi Inoue ( Kanagawa Sate Orchestra), Vladimir Jurowski (Orchestra of the Age of Enlightenment), Dimitri Sitkovetsky (New Europe Strings) เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นการ์เลียตสกี้ยังได้รับเชิญเป็นหัวหน้าวงและวาทยากรวง Kremerata Baltica chamber orchestra ในหอแสดงดนตรีที่มีชื่อเสียงหลายที่ อาทิเช่น Zurich Tonhalle, Rudofinum Prague และ Berlin Phiharmonie
ผลงานที่โดนเด่นในของการ์เลียตสกี้ใยปี 2009 และ2010 การ์เลียตสกี้ได้ร่วมเล่นผลงานของ Biber และ Stravinsky กับ Hamburg Philharmonic และ Hamburg Ballet นอกจากนี้ยังได้แสดงเดี่ยวไวโอลินผลงานของ Haydn กับวง Collegium Orpheus ในฝรั่งเศส
ปัจจุบันการ์เลียตสกี้เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ Paris Conservatory ประทเศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และ วิทยาลัยดนตรี Folkwang Hochschule Essen ประเทศเยอรมันนี
ทฤษฎี ณ พัทลุง เริ่มศึกษาดนตรีเมื่ออายุ ๑๓ ปี ต่อมาได้รับการสนับสนุนโดย อ.สมเถา สุจริตกุล และได้รับหน้าที่ผู้ฝึกสอนนักร้องโอเปราประจำคณะมหาอุปรากรกรุงเทพฯเมื่อ อายุ ๑๕ ปี ปัจจุบัน ทฤษฎีเป็นวาทยกรประจำวงดุริยางค์สยามฟิลฮาร์โมนิค และได้เดินทางไปแสดงในฐานะวาทยกรรับเชิญกับวงออร์เคสตราในต่างประเทศอยู่ สมำ่เสมอ
ใน ปีพ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๓ ทฤษฎีได้อำนวยเพลงให้กับวงออร์เคสตราในยุโรปต่างๆ อาทิ วง Royal Scottish National Orchestra (สหราชอาณาจักร), วง Haydn Orchestra di Bolzano e Trento, วง Orchestra Sinfonica G. Rossini (อิตาลี), วง Gelders Orkest ฯลฯ และยังได้รับเชิญจาก Nationale Reisopera (Dutch National Touring Opera) ไปแสดงมหาอุปรากรของ Rossini เรื่อง La Cenerentola (Cinderella) ใน 12 เมืองทั่วประเทศเนเธอร์แลนด์
ทฤษฎี เป็นวาทยกรไทยคนแรกและเป็นหนึ่งในวาทยกรอายุน้อยที่สุดในโลกที่ได้รับเชิญไป อำนวยเพลงกับวง Orchestra Sinfonica Nazionale della RAI (วงออร์เคสตราแห่งชาติอิตาลี) เป็นวงที่มีชื่อเสียงระดับโลกและเคยอยู่ภายใต้การกำกับของวาทยกรชื่อดังแห่ง ศตวรรษมากมาย โดยคอนเสิร์ตนี้ได้มีการถ่ายทอดสดทางอินเตอร์เน็ตและได้รับเสียงตอบรับที่ดี มากจากทั้งผู้ชมและนักดนตรี ส่งผลให้ทฤษฎีได้รับเชิญไปอำนวยเพลงกับวงดังกล่าวอีกครั้งในปี ๒๕๕๔
นอกจากนี้ ทฤษฎียัง มีกำหนดการไปอำนวยเพลงกับวงออร์เคสตราอื่นๆในปี ๒๕๕๔ อาทิ วง Toscanini Philharmonic Orchestra, Orchestra I Pomeriggi Musicali, Orchestra Sinfonica di Milano Giuseppe Verdi di Milano (มิลาน) และยังได้รับเชิญกลับไปอำนวยเพลงในเทศกาล Rossini Opera Festival ณ เมือง Pesaro ประเทศอิตาลี หลังจากความสำเร็จของการแสดงในปี ๒๕๕๓ และ ๒๕๕๒ จึงถือเป็นวาทยกรรับเชิญที่อายุน้อยที่สุดในเทศกาลเป็นเวลา ๓ ปีซ้อน
ในฐานะผู้ประพันธ์ดนตรี ผลงานชิ้นเอกของทฤษฎีได้แก่เพลง ‘นิรันดร์’ หรือ Eternity คีตาลัยถวายแด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานที่ร่วมบรรเลงโดยวงดุริยางค์เยาวชนแห่งประเทศไทยในช่วง พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ต่อมา ในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงเจริญพระชนมายุ ๗ รอบ พ.ศ. ๒๕๕๒ ทฤษฏียังได้อัญเชิญบทกล่อม พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มาประพันธ์ดนตรีใหม่ขึ้นในชื่อเพลง ‘พระหน่อนาถ’ เพื่อทูลเกล้าถวายเป็นเครื่องเฉลิมพระขวัญอีกด้วย
จากการอำนวยเพลงของทฤษฎีในมหาอุปรากรเรื่อง The Magic Flute ของ Mozart นิตยสาร ‘OPERA’ แห่งกรุงลอนดอนได้กล่าวถึงการแสดงครั้งนั้นในบทวิจารณ์ว่า: “If the word ‘genius’ still has any meaning in this age of rampant hyperbole, Trisdee … is truly a living example.”