“ลูแปงที่สาม” ฉายแล้ววันนี้เฉพาะในเครือโรงภาพยนตร์ SF CINEMA และ โรงภาพยนตร์ในเครือ APEX

บทนำ

 

นักวาดการ์ตูนนามว่า “มังกี้พันช์” ได้สร้างสรรค์ผลงานการ์ตูน “ลูแปงที่สาม” ออกสู่โลกในปี 1967 โดยลงเป็นตอน ๆ ในนิตยสารการ์ตูนลูแปงคนนี้คือหลานของอดีตจอมโจรอาร์แซน ลูแปงผู้ยิ่งใหญ่ บุคลิกของจอมโจรเลือดร้อนมาดกวนผู้มีชื่อว่า “ลูแปงที่สาม”ทำลายขนบของพระเอกการ์ตูนเท่าที่มีมาถึงตอนนั้นจนหมดสิ้นหลังจากการ์ตูนชุดแรกของเรื่องนี้ออกฉายทางโทรทัศน์ในปี 1971 และชุดที่ 2 ในปี 1977 ลูแปงก็โด่งดังไปทั่วประเทศ จากนั้นก็มีตามมาอีกในปี 1984 และมีการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ด้วย จนได้รับความนิยมในระดับโลก

บัดนี้เรื่องราวของลูแปงที่สามผ่านการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ในปี 2014โดยชุน โอะงุริจากซีรีส์เรื่อง The Crowนำทีมสร้างให้ลูแปงได้โลดแล่นบนจอใหญ่ชุน โอะงุริเป็นนักแสดงหนุ่มมากฝีมือซึ่งได้รับการยอมรับทั่วญี่ปุ่นและมีรูปร่างเพรียวอยู่แล้ว แต่เพื่อรับบทลูแปง ก็ถึงกับลดน้ำหนักลงอีก 8 กิโล! และฝึกฝนหลายเดือนเพื่อรับบทแอ๊กชั่น ฉบับภาพยนตร์นี้กำกับโดยริวเฮคิตะมุระ (Azumi 2003) ร่วมด้วยผู้เชี่ยวชาญภาพยนตร์แอ๊กชั่น ชิมแจวอน และแจน เคอร์ยอน จาก Old Boy (2003) และ The Man from Nowhere (2010)

POSTER

เรื่องย่อ

ในศตวรรษที่ 17 จูเลียส ซีซาร์ ได้มอบสร้อยคอที่งดงามที่สุดในโลกซึ่งประดับประดาด้วยทับทิมล้ำค่าชื่อว่า “หัวใจสีเลือด” ให้แก่คลีโอพัตรา แต่แล้วมันก็ถูกขโมยไปโดยใครบางคน และได้กลายเป็นเพียงนิทานเล่าสืบต่อกันมา เมื่อมีการค้นพบสร้อยคอและทับทิมในยุคปัจจุบัน ปรากฏว่ามันอยู่แยกจากกันและถูกครอบครองโดยมหาเศรษฐีจากสองซีกโลก

ผู้ครอบครองคนหนึ่งคือประมุข ซึ่งเป็นมหาเศรษฐีจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผู้เป็นเจ้าพ่อแห่งวงการใต้ดิน อีกคนหนึ่งคือดอว์สัน มหาเศรษฐีจากอังกฤษผู้เป็นอดีตจอมโจรที่เคยปล้นเคียงบ่าเคียงไหล่จอมโจรอาร์แซน ลูแปงผู้ยิ่งใหญ่ ทั้งคู่ต้องการประกอบสร้อยคอและทับทิมกลับคืนเข้าด้วยกัน ขณะเดียวกัน นักสืบเซะนิงะตะจากสำนักงานตำรวจสากลก็หวังจะจับกุมครั้งใหญ่ที่คฤหาสน์ของดอว์สันซึ่งจอมโจรจากทั่วโลกมารวมตัวกันเพื่อแต่งตั้งผู้นำองค์กรคนใหม่แห่งเครือข่ายจารกรรมที่ใช้ชื่อว่า “เดอะเวิร์คส์” หนึ่งในนั้นคือลูแปงที่สาม แต่ประมุขมีแผนเหนือชั้นกว่านั้น เขาล่อให้ไมเคิล คู่แข่งของลูแปง สังหารดอว์สันและชิงสร้อยคอมา

ลูแปงที่สามประกาศว่าจะแก้แค้นให้ดอว์สันและขโมยสร้อยคอคืนมาโดยรวบรวมทีมของตัวเองซึ่งประกอบด้วย ไดซุเกะ จิเก็น, ฟุจิโกะ มิเนะ, และโกะเอะมง อิชิกะวะ พวกเขาบุกไปยังดิอาร์ก ปราการบนเกาะอันห่างไกลภายใต้การป้องกันด้วยระบบรักษาความปลอดภัยชั้นยอดที่ใครก็ไม่อาจเล็ดลอดเข้าไปได้ แต่ลูแปงที่สามและสหายจะไม่ยอมหยุดจนกว่าจะฉกสมบัติล้ำค่ามาจากมือของประมุขให้ได้

บันทึกกระบวนการผลิต

องค์ประกอบนานาชาติของทีมงาน

_Hภาพยนตร์เรื่องนี้ดำเนินเรื่องโดยอิงฉากในญี่ปุ่น ไทย ฮ่องกง สิงคโปร์ การถ่ายทำบทบาทของตัวละครหลักดำเนินการที่ญี่ปุ่น 6 วัน ที่ประเทศไทย 2 เดือนเศษ และเป็นการผลิตขนาดใหญ่ที่ใช้เวลานาน ทีมงานการผลิตไม่ได้มีแค่ชาวญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังได้บุคลากรจากประเทศอื่นอีกหลายประเทศมาร่วมด้วย เช่น ผู้กำกับภาพจากสเปน ผู้กำกับคิวบู๊และทีมVFX จากเกาหลีใต้และมีสมาชิกผู้ทำหน้าที่สนับสนุนในแผนกต่าง ๆ จากไทยอีกจำนวนมากด้วย

นอกจากนี้ คณะนักแสดงก็มีความหลากหลายในระดับนานาชาติ ประกอบด้วยนักแสดงชาวญี่ปุ่น อเมริกัน ไต้หวัน เกาหลีใต้ ไทย ออสเตรเลีย ภาษากลางที่ใช้ในสถานที่ถ่ายทำคือภาษาอังกฤษ และมีล่ามประจำภาษาแต่ละภาษาด้วย ในระหว่างการทำงาน มีภาษาญี่ปุ่น อังกฤษ เกาหลี ไทย จีน ให้ได้ยินคละกันตลอด เป็นสภาพการทำงานระหว่างประเทศที่ครึกครื้น ส่วนบทภาพยนตร์นั้น เนื่องจากมีบทเป็นภาษาอังกฤษ บรรดานักแสดงก็ได้รับการชี้แนะด้านภาษาอังกฤษจากอาจารย์และทีมงานชาวอเมริกัน ขณะเดียวกันก็พยายามฝึกฝนภาษาทั้งวันทั้งคืนอย่างจริงจังด้วย

การถ่ายทำในไทย

ตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนธันวาคม 2014 รวม 2 เดือนเศษ มีการถ่ายทำที่ไทย ทั้งทีมงานและนักแสดงเตรียมการด้วยการฉีดวัคซีนและขอวีซ่าทำงานล่วงหน้า เมื่อเข้าสู่ประเทศไทย ก็รับการตรวจร่างกายทันที และยื่นขออนุญาตทำงานระยะสั้นในฐานะคนต่างชาติ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ ส่วนใหญ่จัดหาในประเทศไทย ทีมงานและนักแสดงที่เดินทางมาทำงานในไทยรวมทั้งหมดมีประมาณ 50 คน ส่วนทีมงานชาวไทยมีมากกว่านั้นประมาณ 3 เท่า

ไทยได้ชื่อว่า “ประเทศแห่งรอยยิ้ม” จากประสบการณ์ครั้งนี้ ทีมงานก็เห็นว่าเป็นเช่นนั้นจริง พอเอ่ยทักหรือเมื่อตาสบกันเท่านั้น อีกฝ่ายก็จะยิ้มให้ ทีมงานชาวไทยสื่อบรรยากาศสบาย ๆ ว่าอะไร ๆ ก็จะ “ไม่เป็นไร” สิ่งแวดล้อมในการถ่ายทำก็พร้อมสรรพ แม้แต่ในสถานที่สำหรับพักผ่อนระหว่างถ่ายทำซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีอะไรเลย ทางทีมงานก็เตรียมทุกสิ่งทุกอย่างให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็นห้องพักนักแสดง ห้องแต่งตัว ห้องน้ำเคลื่อนที่ เต็นท์จ่ายอาหาร เป็นต้น ทุกองค์ประกอบรวมกันสร้างบรรยากาศเหมือนงานเทศกาลยามค่ำคืนให้ความรู้สึกที่ดีแก่คนทำงาน

ระหว่างถ่ายทำ ตรงกับช่วงลอยกระทงด้วย ตามลำน้ำมีแสงเทียนล่องลอย ก่อให้เกิดทัศนียภาพเหมือนอยู่ในความฝัน ในวันนั้น เนื่องจากการถ่ายทำเสร็จสิ้นแล้ว ทีมงานจึงพากันออกไปสนุกสนานกับเทศกาลนี้ นอกจากที่กรุงเทพฯ แล้ว ก็มีการถ่ายทำที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ด้วยมีที่เดินกล้องก็ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่ 5 ธันวาคมการถ่ายทำหยุดลงซึ่งเป็นการพักผ่อนเพียงวันเดียวระหว่างอยู่ที่เชียงดาว บรรยากาศในเมืองเชียงใหม่ก็อยู่ในสภาพการเฉลิมฉลอง

การถ่ายทำที่เมืองไทยเริ่มต้นจากฉากทหารโดยถ่ายที่สถานที่ของราชการ ในพื้นที่ดูแลของกองทัพบกแถววัดอรุณราชวรารามซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง ก่อนหน้าการถ่ายทำก็มีการบวงสรวงเพื่อให้ทำสำเร็จลุล่วงโดยปลอดภัย และนักแสดงประกอบฉากที่เป็นทหารในฉากนี้คือทหารจริง ๆ  ในฉากรถตุ๊ก ๆ ก็ให้รถทหารและทหารเคลื่อนไหวให้เข้ากับการวิ่งของตุ๊ก ๆ ได้อย่างลงตัว การถ่ายทำได้รับความร่วมมือเต็มที่จากทหารไทย

การถ่ายทำห้องของฟุจิโกะ

_F         การถ่ายฉากที่เป็นห้องของฟุจิโกะ ใช้ห้องสวีทของโรงแรมหรู “Aetas Hotel” ซึ่งมี 20 ชั้นเป็นที่ถ่ายทำ ในเบื้องต้นคือฉากลูแปงกับฟุจิโกะเต้นรำกัน  ต่อมาลูแปงก็พยายามจะจูบฟุจิโกะ และอีกฝ่ายต่างก็สลับท่าทีกัน กลายเป็น “การเต้นรำผสมแอ๊กชั่น” ลูแปงดื่มไวน์ชั้นดี ประคองฟุจิโกะ ยักเยื้องให้ฝ่ายหญิงหมุนตัว เป็นฉากแอ๊กชั่นที่ค่อนข้างซับซ้อนและยาก พอสั่งคัตแต่ละครั้ง นักแสดงก็ตรวจสอบท่วงท่าของตนกับจอมอนิเตอร์ และระหว่างที่มีช่วงว่างเว้นจากการถ่าย โอะงุริกับคุโระกิก็จะฝึกซ้อมอย่างจริงจัง สองนักแสดงเล่นเข้ากันได้อย่างดี การเคลื่อนไหวก็พลิ้ว และลื่นไหลงดงาม ไม่นานนักผู้กำกับก็สั่ง OK!โอะงุริไปดูมอนิเตอร์และร้องชมคุโระกิว่า “เซ็กซี่—”

เนรมิตฉากสมจริง

ในฉากหนึ่ง มี “เมดัล ออฟ ซุส” ซึ่งเป็นเหรียญรางวัลเหรียญแรกของโอลิมปิกโบราณที่ประดับอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยของสิงคโปร์ ในช่วงต้นของเรื่องราวสมบัติชิ้นนี้ถูกลักลอบโจรกรรม เมื่อมองเผิน ๆ อาคารพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีลักษณะเหมือนของยุโรป แต่จริง ๆ แล้ว นี่คืออาคารของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีการตกแต่งฉากขึ้นที่สวนภายในของอาคารมหาวิทยาลัยนี้เพื่อใช้ถ่ายทำ แขวนเชือกห้อยลงมาจากเพดาน และให้ฟุจิโกะโหนตัวลงสู่พื้น โดยนำแอร์แม็ตมารองรับเพื่อความปลอดภัย ภาพเส้นผมของฟุจิโกะที่สยายไปกับสายลมระหว่างวิ่ง สร้างความพอใจให้กับผู้กำกับอย่างยิ่ง จนเอ่ยออกมาว่า “เยี่ยมมาก เท่สุด ๆ!!”

หลังจากลูแปงแย่งเหรียญที่พิพิธภัณฑ์มาแล้ว ก็เป็นฉากหนี ซึ่งในฉากนี้ใช้ MRT ของไทยด้วย ส่วนฉากคฤหาสน์ฮ่องกงก็ถ่ายทำในสถานที่เปิดแถบชานเมืองของกรุงเทพฯ  ด้านหน้ามีการจัดทำสวน และด้านในก็ตกแต่งให้ดูหรูหรา ทำเป็นอาคารสองชั้น มีห้องครัว โรงรถโอ่โถง เป็นต้น อาคารหรูหราขนาดนี้คงจะไม่สามารถสร้างได้ในญี่ปุ่นอย่างแน่นอน ขนาดใหญ่โตอลังการก่อให้เกิดความน่าทึ่งอย่างมาก สถานที่ซึ่งเอื้อให้ใช้เสียงดังต่าง ๆ นานาได้ในตอนกลางคืนเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นเสียงยิงปืน เสียงกระสุนตกกระทบ หรือเสียงระเบิด ได้รับการบุกเบิกสร้างขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกันยายน และใช้เวลาสร้างสองเดือน

บรรยากาศระหว่างงาน

ระหว่างการถ่ายทำหนัก ๆ ในแต่ละวัน บรรดาทีมงานก็ไม่ลืมช่วงผ่อนคลายเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้สมกับเป็นทีมงานลูแปง เมื่อพอจะมีช่วงว่างเว้นจากตารางถ่ายทำที่ผู้ช่วยผู้กำกับคุมอย่างเคร่งครัดแล้ว ก็จะมีการหยอดคำคมอันโด่งดังของตัวละครจากเรื่องให้คลายอารมณ์กันบ้าง เช่น “ผู้ชายน่ะ มีชีวิตอยู่เพื่อถูกผู้หญิงหลอก” (ลูแปง), “ผู้หญิงที่ดี คือผู้หญิงที่ดูแลตัวเองด้วยตัวเองนะ” (ฟุจิโกะ), “สิ่งที่เรียกว่าปืนไม่ใช่ของที่มีไว้ยิงเพื่อฆ่าหรอก” (จิเก็น) เป็นต้น

การถ่ายทำที่กรุงเทพฯ เสร็จสิ้นในช่วงต้นเดือนธันวาคม จากนั้นก็ไปถ่ายทำต่อที่อำเภอเชียงดาว โดยก่อนหน้านั้นทางทีมงานได้ดำเนินการของยืมพื้นที่จากชาวเขาเผ่าม้ง มีการถ่ายทำฉากระเบิดที่นี้ด้วย การทำงานมีลักษณะเป็นกันเอง ให้ความรู้สึกเหมือนไปปิกนิก มีร้านค้ามาออกขาย นั่งกินอาหารกันอย่างเป็นมิตร และในการถ่ายวันสุดท้าย ทางโปรดิวเซอร์ได้เตรียมโคมลอยไว้ให้ปล่อย ซึ่งเป็นการร่วมสนุกตามประเพณีในวันลอยกระทง

หลังจากเสร็จสิ้นที่ไทยและกลับญี่ปุ่นในช่วงปลายปี 2014 ก็ไม่แทบไม่มีเวลาว่างกันสักเท่าไร มีการถ่ายทำช่วงสุดท้ายกันต่อ พวกพ้องของลูแปงน่ะหรือ…นั่นอย่างไรเล่า “เฟียตรุ่นใหม่” กับแจ็กเกตที่แลดูคล้ายกับส่งสัญญาณบอกว่าทุกอย่างกำลังเริ่มต้นอีก และท้ายสุด สิ่งที่ปรากฏแก่ลูแปงก็ไม่ได้ทำให้เจ้าตัวประหลาดใจนักหรอก ฟุจิโกะผู้จากไปด้วยรถมอเตอร์ไซค์ โกะเอะมงผู้สันโดษที่อยู่ ๆ ก็หายวับไป และลูแปงกับจิเก็นที่พัวพันอยู่กับรถลาดตระเวนอยู่ไม่ขาด

ประวัติผู้กำกับ

ริวเฮ คิตะมุระ เกิดที่โอซากา เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 1969 ตอนอายุ 17 ปีไปเรียนด้านภาพยนตร์ที่ออสเตรเลีย ผลงานภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกแนวบู๊กระแทกอารมณ์เรื่อง “VERSUS—เวอร์ซัส” ได้รับเลือกเข้าร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์ระดับโลกและได้รับคำชื่นชมอย่างสูง ต่อมามีผลงานฟอร์มใหญ่ที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงมากมายออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น เรื่อง “ALIVE—อะไลฟ์” จากบทประพันธ์ต้นฉบับโดยสึโตะมุ ทะกะฮะชิ, “อะซุมิ” ซึ่งเป็นภาพยนตร์ย้อนยุคที่ได้นักแสดงสาวชื่อดังอะยะ อุเอะโตะรับบทนำ, “สไกไฮ” ฉบับภาพยนตร์ที่สร้างจากละครยอดนิยมที่รับบทนำโดยยุมิโกะ ชะกุ และ “ก็อดซิลลา FINAL WARS” ฉบับยิ่งใหญ่เป็นพิเศษในโอกาสครบรอบ 50 ปี เป็นต้น ในปี 2008 คิตะมุระได้ย้ายฐานการทำงานของตนไปที่ฮอลลีวูด และมีส่วนร่วมในงานภาพยนตร์ทั้งของฮออลีวูด ญี่ปุ่น และเอเชีย เช่น The Midnigt Meat Train ซึ่งเป็นภาพยนตร์สยองขวัญแนวดาร์ก นำแสดงโดยแบรดลีย์ คูเปอร์, No One Lives นำแสดงโดยลุค อีวานส์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ภาพยนตร์เรื่อง “VERSUS—เวอร์ซัส” ได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมในเทศกาลภาพยนตร์แฟนแทสติกนานานาชาติโรม, เรื่อง “อะระงะมิ” (ความหมาย : เทพเจ้าพิโรธ) ได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมในเทศกาลภาพยนตร์แฟนแทสติกนานานาชาติบรัสเซลส์, เรื่อง “อะซุมิ” ได้รับรางวัลขวัญใจผู้ชมในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฟิลาเดลเฟีย และเรื่อง The Midnigt Meat Train ได้รับรางวัลขวัญใจผู้ชมและคณะกรรมการในเทศกาลภาพยนตร์แฟนแทสติกนานาชาติเจรัลเมล

_s___q

รายชื่อผลงาน

1999        “ฮีต อาฟเตอร์ ดาร์ก”

2001        “VERSUS—เวอร์ซัส”

2003        “อะระงะมิ”

2003        “อะซุมิ”

2003        “สไกไฮ ฉบับภาพยนตร์”

2004        “ก็อดซิลลา FINAL WARS”

2007        LOVE DEATH

2008        THE MIDNIGHT MEAT TRAIN

2013        NO ONE LIVES

 

ประวัติผู้ประพันธ์

มังกี้พันช์(Monkey Punch; ผู้ชาย)เกิดเมื่อปี 1937 ที่ฮอกไกโด ในปี 1966 มีผลงานด้วยนามปากกามังกี้พันช์เรื่อง “กินซ่าเซ็มปูจิ” ลงในนิตยสาร “มังงะสตอรี” ต่อมาในปี 1967 เริ่มลงการ์ตูนชุด “ลูแปงที่สาม”  ในนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ “มังงะชูกังแอคชั่น” ตั้งแต่ฉบับปฐมฤกษ์และนับแต่ตอนแรกก็ได้ลงโฆษณาขึ้นปก สื่อบรรยากาศที่มีกลิ่นอายแบบอเมริกัน อีกทั้งยังมีเนื้อหาแข็งกร้าวดุเดือดเจาะกลุ่มผู้ใหญ่ ซึ่งดึงดูดความสนใจของวัยรุ่นในสมัยนั้นได้มากมาย จากนั้นได้รับการนำไปสร้างเป็นการ์ตูนโทรทัศน์และภาพยนตร์ จนกระทั่งบัดนี้ก็ยังมีฐานแฟนอย่างกว้างขวางครอบคลุมหลายกลุ่มอายุ

ที่มาของนามปากกา “มังกี้พันช์” คือ บรรณาธิการที่รับผิดชอบเป็นผู้ตั้งให้ โดยมองจากลักษณะขององค์ประกอบในเนื้องาน อีกทั้งต้องการสื่อว่าผลงานที่ออกมานั้น เมื่อมองแล้ว “ควรทำให้ดูไม่ออกว่าคนของประเทศไหนเป็นผู้วาด”

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์รับเชิญประจำมหาวิทยาลัยโอเตะมะเอะ และกำลังพยายามสร้างคนรุ่นหลังผ่านการศึกษาต่อไป

_K_`

นักแสดงหลักและบทบาท

นักแสดง              ชุน โอะงุริ

เกิด            26 ธันวาคม 1982 ที่โตเกียว

บท              ลูแปงที่สาม

อาชีพ                  โจร

บุคลิก                  ร่าเริง

จุดอ่อน                ผู้หญิง

 

นักแสดง              เท็ตสึจิ ทะมะยะมะ

เกิด            7 เมษายน 1980 ที่เกียวโต

บท              ไดซุเกะ จิเก็น

อาชีพ                  มือปืน

บุคลิก                  เงียบขรึม สูบบุหรี่

 

นักแสดง              โก อะยะโนะ

เกิด            1 มกราคม 1982 ที่กิฟุ

บท              โกะเอะมง อิชิกะวะ

อาชีพ                  จอมดาบ

บุคลิก                  ใส่กิโมโน ชักดาบได้เร็ว

 

นักแสดง              เมซะ คุโระกิ

เกิด            28 พฤษภาคม 1988 ที่โอะกินะวะ

บท              ฟุจิโกะ มิเนะ

อาชีพ                  ไม่มีข้อมูล

บุคลิก                  อ่อนไหว เปลี่ยนใจง่าย

 

นักแสดง              ทะดะโนะบุ อะซะโนะ

เกิด            27 พฤศจิกายน 1973 ที่คะนะงะวะ

บท              โคอิจิ เซะนิงะตะ     (ฉายา: ทตสึอัง)

อาชีพ                  นักสืบ

บุคลิก                  ใจถึง ไม่ใส่ใจเรื่องหยุมหยิมเท่าไร

_D