ละครเวทีมีเพลง โดย 206 performing troupe ร่วมกับ ทองหล่อ อาร์ตสเปซ ดัดแปลงบทละครจากนวนิยายเรื่องแรกของฮารูกิ มูราคามิ สำนวนแปลของ นพดล เวชสวัสดิ์ นวนิยายเล่มบางๆที่ส่งอิทธิพลต่อคนรุ่นใหม่มายาวนานในทศวรรษนี้ ออกเดินทางย้อนไปสู่เศษชิ้นของความทรงจำอันเวิ้งว้าง…ไปกับพวกเขา
ตอนที่ “ผม” อายุ ใกล้จะ ๓๐ อะไรบางอย่าง ทำให้เขาต้อง “เปล่งเสียง” ออกมาบ้าง แต่เรื่องที่เขาเล่า มันกลับเป็นเพียงเรื่องราว 18 วัน แสนธรรมดา ของเขาและเหล่าผองเพื่อนเพี้ยนๆ ในช่วงปิดเทอมฤดูร้อน หลังจากที่เขาจบปี ๑ จุดเล็กๆ ในความทรงจำ ของเขาจะพาเราออกเดินทางไปอีกไกลแสนไกล
Hear the wind sing ของนักเขียนดังของโลกชาวญี่ปุ่น ฮารูกิ มูราคามิ หรือ สดับลมขับขาน ในเวอร์ชั่นภาษาไทย ที่แปลโดย นพดล เวชสวัสดิ์ เป็น นวนิยายเรื่องแรกของมูราคามิ เป็นนวนิยายภาคต้น ของ นวยิยายชุด ไตรภาคแห่งมุสิก (มุสิก แปลว่า หนู เป็นตัวละครเอกของนวนิยายทั้งสามเรื่อง) นวนิยายเล่มบางๆ เล่มนี้ เป็นวรรณกรรมปรัชญาสังคม ที่วิพากษ์วิจารณ์สังคมบริโภคนิยม ความขัดแย้งระหว่างแนวคิดอนุรักษ์นิยมและแนวคิดหัวก้าวหน้า การตั้งคำถามกับกรอบความคิดความเชื่อ ที่ส่งอิทธิพลครอบงำ “เรา” มูราคามิ ใช้การเล่าเรื่องราวในอดีตในช่วงปิดเทอมฤดูร้อน ของการเรียนมหาวิทยาลัย ของ “ผม” ที่ชวน “มุสิก” เพื่อนรัก ของเขามาที่บ้านเกิด หลังจากที่พวกเขาออกไปร่วมประท้วงรัฐบาลกับพวกนักนักศึกษา และในช่วงเวลา ๑๘ วัน อันแสนธรรมดานั้น ที่บาร์แจสของ “เจ” เขาได้พบเจอกับคนหนุ่มสาวอีกหลายคนที่มีสภาพ “พังยับ” คล้ายๆ กับเขา และในท้ายที่สุด พวกเขาต่างก็แยกย้ายกันไป มีเพียงสายลมที่พัดผ่านพวกเขาเป็นระยะๆ เท่านั้น ที่ยังบอกพวกเขาว่า พวกเขายังมีกันและกันเสมอ ในจักรวาลอันกว้างใหญ่แห่งนี้
ไม่น่าเชื่อว่านวนิยายเล่มบางๆเล่มนี้จะส่งอิทธิพลไปยังหนุ่มสาวต่างๆทั่วโลกให้เกิดการตั้งคำถามกับวิถีชีวิตแบบเก่าและการท้าทายให้เราออกไปใช้ชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของโลกแทนที่จะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ที่ทำตัวสูงส่งและก้มหน้าลงมามองโลกที่ตัวเองไม่มีวันรู้จักเนื่องจากเรื่องราวเป็นเรื่องของความทรงจำแสนธรรมดาของตัวละครที่พ่ายแพ้ต่อโลกและสังคมการเล่าเรื่องจึงใช้การเล่าเรื่องแบบภาพปะติดไม่ใช่การเล่าเรื่องแบบต่อเนื่องใช้การเล่าเรื่องที่ทำลายเส้นแบ่งระหว่างเรื่องแต่งกับเรื่องจริงและเนื่องจากเรื่องราวพูดถึงสายลมการออกแบบการแสดงจึงใช้ dynamic จากนักแสดงเพื่อสร้างบรรยากาศของลมสอดแทรกในการแสดงแต่ละฉากมูราคมิมักสอดแทรกเพลงประจำยุคสมัยไว้ด้วยการแสดงครั้งนี้จึงเลือกใช้การแสดงดนตรีสดและร้องเพลงทั้งที่มูราคามิกำหนดไว้ในเรื่องและหยิบยกบางส่วนจากเนื้อความมาแต่งเป็นเพลงโดยใช้เพลงที่มูราคามิกำหนดไว้มาเป็นแนวในการแต่งเพลงใหม่เข้าไปการร้องเพลงหรือเพลงในนวนิยายของมูราคามิราวกับเป็นเครื่องปลอบประโลมใจทั้งของตัวละครและผู้อ่าน (ผู้ชมในเวอร์ชั่นละคร)ดอกซากุระซึ่งเป็นดอกไม้ฤดูใบไม้ผลิก่อนจะเข้าสู่ฤดูร้อนได้ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์สำคัญในเรื่องผ่านการสร้างฉากเครื่องแต่งกายของเรื่องด้วยโดยมิได้นำเสนอแบบสมจริงเพื่อให้เป็นภาพแทนของความทรงจำอันพร่าเลือนของตัวละครวัยหนุ่มสาวที่ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยมีช่วงเวลาผลิบานHear the Wind Sing สดับลมขับขานในเวอร์ชั่นละครเวทีครั้งนี้จึงเรียกตัวเองว่าเป็นละครเวทีมีเพลงที่ใช้ dynamic ของลมมาช่วยเล่าขานเรื่องราวของพวกเขาด้วยหวังให้เรื่องราวของพวกเขาขับขานบทเพลงผ่านสายลมมายังผู้ชมชาวไทยร่วมสมัยที่อาจจะกำลังอยู่ในสภาพไม่ต่างจากพวกเขา (บ้านเมืองที่เหมือนกำลังติดกับไม่รู้จะไปทางไหนจึงจะหลีกหนีความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้) ถึงแม้ละครเรื่องนี้อาจจะไม่ได้ชี้แนะหรือบอกทางออกอะไรสูงส่งแต่ก็ชวนตั้งคำถามและปลอบประโลมใจให้พอมีกำลังก้าวเดินต่อไปได้โดยไม่รู้สึกเดียวดายเกินไป
4 – 6 และ 8 – 12 กรกฎาคม 2558
เวลา 19.30 น. เสาร์และอาทิตย์เพิ่มรอบ 14.30 น.
ทองหล่อ อาร์ต สเปซ
สอบถาม และ สำรองที่นั่ง: 0956949891