“Inside Out” มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง  เรื่องราวสะเทือนอารมณ์ ถูกบอกเล่าผ่านมุมมองของอารมณ์ ทั้ง 5

“Inside Out”  มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง   ถูกนำเสนอเรื่องราวของอารมณ์ที่ช่วยนำทาง  ไรลีย์ วัย 11 ปีในช่วงที่เธอพบกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต แต่ขณะที่เรื่องราวนี้ถูกพัฒนาขึ้นมา ทีมผู้สร้างก็ไม่แน่ใจว่า อารมณ์ไหนที่ควรจะเก็บไว้บ้างดี

ผู้กำกับ  พีท ด็อคเตอร์  เล่าเรื่องลึกๆ แบบ เบาๆ ว่า

INSIDE OUT“นักจิตวิทยาบางคนอ้างว่ามีอารมณ์มากมายถึง 27 แบบกันเลยทีเดียวเชียวล่ะครับ  เราพิจารณาการเพิ่มความภาคภูมิใจเข้าไป  หรือความสุขบนความทุกข์ของผู้อื่น แต่มันเริ่มแออัดเกินไปแล้ว ท้ายที่สุด เราก็เลยเลือกเอาอารมณ์แค่ห้าแบบครับ   ทั้ง  “ความสุข ผู้มองโลกในแง่ดี ภารกิจของเธอคือการทำให้แน่ใจว่าไรลีย์จะมีความสุข อยู่เสมอ” “ความกลัว คอยดูแลเรื่องความปลอดภัย”   ,    “ความโกรธ คอยรับประกันความยุติธรรม”  และ “ความรังเกียจ ที่คอยป้องกันไม่ให้ไรลีย์ต้องบอบช้ำ” ทั้งทางร่างกายและสังคม   ,   “ความเศร้า  ที่เอาจริงๆ ก็ไม่ค่อยแน่ใจว่าหน้าที่ของเธอคืออะไร      หลังจากที่เราได้ข้อมูลแล้ว ทีมผู้สร้างก็กำหนดลักษณะให้กับอารมณ์ในแต่ละแบบครับ  ด้วยการมอบหมายหน้าที่ให้กับพวกเขาในความนึกคิดของ ไรลีย์ และเริ่มงานยากของการตามหาลุคที่เหมาะสมสำหรับอารมณ์แต่ละแบบกันต่อ  ลุคและแบบดีไซน์ของอารมณ์เหล่านี้จะต้องทำให้ผู้ชม  นึกถึงได้ว่าพวกเขาเป็นความรู้สึกที่เป็นคนขึ้นมาครับ   พวกเขาไม่ใช่คนตัวเล็กๆ   แต่เป็นอารมณ์  พวกเขามีที่มาจากพลังงาน มาจากอนุภาคเล็กๆ นับพันๆ ชิ้น ซึ่งดูเหมือนพลังงาน เราอยากจะถ่ายทอดว่าอารมณ์พวกนั้นให้ความรู้สึกอย่างไร ทั้งรูปทรง สีสัน รวมถึงบุคลิกของพวกเขาครับ”

แต่การหาลุคสำหรับอารมณ์เหล่านั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย   ซูเปอร์ไวเซอร์ฝ่ายตัวละคร  “ซาจัน สกาเรีย” เล่าให้ฟังว่า    “มันอาจจะเป็นสิ่งที่ยากที่สุดเท่าที่เราเคยต้องคิดในแผนกตัวละครก็ได้ครับ ตอนที่เราเริ่มต้น มันก็ไม่ชัดเจนว่าเราจะไปในทิศทางไหน   พีท [ด็อคเตอร์] ผู้กำกับ  บอกว่า  ‘สร้างสิ่งที่แม่ของผมไม่เคยเห็นมาก่อนขึ้นมาซิ’ เท่านั้นเอง นั่นคือสิ่งที่เรามีในตอนเริ่มต้นครับ    พอเราเริ่มจะคิดดีไซน์เจ๋งๆ ที่สนุกสนานขึ้นมาได้  เราก็ต้องคิดว่าจะทำให้มันเกิดขึ้นได้ยังไง เราต้องทำให้แน่ใจว่าเรามีเทคโนโลยีที่จะสามารถเรนเดอร์สิ่งที่เราสร้างขึ้นมาได้น่ะครับ”

สำหรับความสุขและอารมณ์อื่นๆ ทีมงานสร้างมุ่งมั่นกับการหาลุคที่ใช่ และทุ่มเททั้งทรัพยากร เทคโนโลยี จินตนาการและการค้นคว้าอย่างเต็มที่   “ทุกอย่างเป็นเรื่องของอารมณ์ พวกเขาเป็นตัวเดินโชว์ครับ” “เราสามารถควบคุมว่าเราจะปฏิบัติอย่างไรได้ แต่เราเลือกไม่ได้ว่าเราจะรู้สึกอย่างไรครับ    หนึ่งในแง่มุมที่ผมชื่นชอบเกี่ยวกับอนิเมชันคือการที่มันถ่ายทอดอารมณ์ออกมาได้ดีเหลือเกิน     คุณสามารถทำให้ตัวละครเคลื่อนไหวในแบบที่เป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง แต่กลับแสดงให้เห็นได้ว่าคุณรู้สึกอย่างไร เราสามารถผลักดันการเคลื่อนไหวในหนังเรื่องนี้ในแบบที่เราไม่เคยทำมาก่อนในหนังเรื่องอื่นๆ ครับ”    ด็อคเตอร์  กล่าว

 

                         บรรดาตัวละคร ใครเป็นใครกัน อยากรู้จักพวกเขากันไหม ตามมา ? 

INSIDE OUT                  ความสุข  คือการทำให้แน่ใจว่าไรลีย์จะมีความสุขอยู่เสมอ      “ในเวลาที่ไรลีย์ถือกำเนิดขึ้นมา ความสุขก็ปรากฏตัวขึ้น เธอเป็นคนแรกที่อยู่ที่นั่นครับ  เธอมีสายสัมพันธ์ที่พิเศษสุดกับไรลีย์และเธอก็เทิดทูนสายสัมพันธ์นั้น”     ด็อคเตอร์  กล่าว      “ พวกเขาเลือกความสุขเป็นอารมณ์หลักของไรลีย์  เพราะพวกเขารู้สึกว่าไรลีย์เป็นคนแบบที่มีความสุขตามธรรมชาติ แม้จะเจอกับอุปสรรคระหว่างทางอยู่บ้าง นอกจากนี้ พวกเขายังรู้สึกว่ามันสะท้อนถึงความปรารถนาที่แท้จริงที่พ่อแม่มีต่อลูกๆ ของพวกเขาด้วย     เราอยากให้ลูกๆ ของเรามีความสุข มีชีวิตที่มีความสุขและยอมรับทุกอย่าง  ชีวิตไม่ได้เป็นแบบนั้นเสมอไปและเราก็ต้องปรับตัว ซึ่งเป็นบทเรียนสำหรับพวกเราทุกคน รวมถึงความสุขด้วยครับ   ด้วยสีสันสดใส ความสุขเป็นตัวละครที่ร่าเริง มองโลกในแง่ดี และมุ่งมั่นที่จะหาความสนุกสนานในทุกสถานการณ์ เธอมองความท้าทายในชีวิตของไรลีย์ว่าเป็นโอกาส และมองช่วงเวลาที่ไม่ค่อยจะมีความสุขนัก  เป็นเหมือนความขรุขระบนเส้นทางไปสู่ความยิ่งใหญ่ ตราบใดที่ไรลีย์มีความสุข เธอก็มีความสุขเช่นกันครับ    “เอมี โพห์เลอร์”  ได้รับหน้าที่ในการเนรมิตชีวิตให้กับความสุข ได้มีเสียง ได้มีชีวิต ได้มีสีสันขึ้นมาครับ   เธอเล่าว่า   ….ความสุข  เธอเป็นเหมือนมอเตอร์ของหนังเรื่องนี้  เธอกางแขนออก ดวงตาเปิดกว้าง พร้อมเผชิญกับสิ่งที่จะเข้ามา  เธอเป็นคนสวยมาก และเธอก็มีความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่เห็นได้ชัดจริงๆ  เธอได้สัมผัสถึงความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นความท้าทายที่เจ๋งและน่าตื่นเต้นในฐานะนักแสดงเลยทีเดียวครับ”

INSIDE OUT                   “ความสุข ผู้ซึ่งดวงตาของเธอมีตัวควบคุมมากกว่าตัวละคร  พิกซาร์  ตัวอื่นๆ  ถึงสองเท่า ยังเป็นแหล่งที่มาของแสงด้วยเช่นกัน  ตัวเธอจะเปล่งประกายสีเหลืองฟ้ารอบตัว     เราได้   บิล รีฟส์  ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีของโลก  มาดูแล เราต้องสร้างระบบทั้งหมดขึ้นมาเพื่อสร้างลุคตามที่ทีมของเราต้องการ    เราทดลองวิธีต่างๆ หลายสิบวิธีเพื่อสร้างแสงรัศมีของความสุขและลงเอยด้วยวิธีปริมาตร แต่ด้วยความที่เธออยู่ในฉากมากมาย เราก็เลยต้องคิดหาซอฟท์แวร์ที่จะมาประมวลผลมันได้น่ะครับ”  

 

หน้าที่หลักของ   ความกลัว   คือการคุ้มครองไรลีย์ให้ปลอดภัย   เขามักคอยสอดส่องระวังหายนะที่อาจเกิดขึ้นอยู่เสมอ และใช้เวลาประเมินอันตราย อุปสรรค และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของไรลีย์ มีกิจกรรมและเหตุการณ์ไม่กี่อย่างหรอกที่ความกลัวคิดว่าไม่เป็นอันตรายและไม่เป็นพิษเป็นภัย

ทีมผู้สร้างพบความตลกขบขันมากมายในรูปร่างเพรียวบาง    สีม่วง  ของ ความกลัว    นักวาดภาพตัวละคร คริส ซาซากิ     เริ่มต้นสร้างลุคนี้ด้วยไอเดียที่เรียบง่ายมากๆ     “ตอนแรก ผมแค่ถามว่า ‘ถ้าเขาเป็นแค่เส้นที่มีสองตาล่ะ  มันสุดโต่งที่สุดเท่าที่เราทำได้และมันก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างจากความคิดนั้นครับ”

ท้ายที่สุด ความกลัวก็ได้พัฒนาขึ้น  เพื่อเอื้อต่อการเคลื่อนไหวต่างๆ   แต่รูปร่างของเขาก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก   “เขาเต็มไปด้วยความหวาดหวั่น วุ่นวายใจครับ    ความกลัวมีรูปร่างแบบเส้นบะหมี่ ด้วยลำตัวยาวเพรียวบาง ที่เราสามารถบิด ยืด และกดได้ ลักษณะของเขาทำให้เราสามารถใส่การเคลื่อนไหวเข้าไปได้มากมาย เขาถูกเหยียบและบดขยี้ เขาเป็นคนขี้กลัว แต่ก็ขี้อวดด้วยนิดๆ คือเขาเป็นตัวฮาน่ะครับ   ความกลัวมีผมโค้งงอที่สามารถปรับเปลี่ยนทรงได้มากมายเพื่อให้เข้าคู่กับทัศนคติที่เขาพยายามจะแสดงออกมา เราสามารถมองว่าผมของเขาเป็นเหมือนหางสุนัขได้ คือถ้าเขาเศร้า ผมเขาก็จะตกลงมา ถ้าเขาเจ็บปวด มันก็จะชูเหมือนสายฟ้าฟาดครับ”  ด็อคเตอร์  กล่าว

 

INSIDE OUT                        “ความโกรธ   มีความรู้สึกจริงจังมากกับการทำสิ่งต่างๆ เป็นเรื่องยุติธรรมสำหรับไรลีย์  เขาเป็นคนดุดันและมักจะระเบิด (จริงๆ) เมื่อสิ่งต่างๆ ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ครับ   เขามักด่วนแสดงออกและไม่มีน้ำอดน้ำทนกับความไม่สมบูรณ์แบบในชีวิตเลย   ตั้งแต่เริ่มต้น ผมนึกภาพความโกรธ ทั้งในลักษณะการบรรยายและการออกแบบได้เลย”  เรารู้ว่าเราทำอะไรกับเขาได้บ้างและเขาจะตลกยังไงได้บ้างน่ะครับ”  “สีแดงดูจะเหมาะสม  เขาระเบิดด้วยความโกรธตลอดเวลา เราก็เลยตัดสินใจว่ามันคงตลกดีถ้าจะมีเปลวไฟพุ่งออกจากหัวของเขาในตอนที่เขาโกรธจริงๆ น่ะครับ”     ด็อคเตอร์ ผู้กำกับ  เล่า

“ความโกรธ  เป็นตัวละครที่คิดขึ้นได้ง่ายมาก  พอเราได้รูปทรงเหลี่ยมๆ และคิ้วกับตาที่โกรธขึ้งนั่นแล้ว เราก็รู้เลยว่าเขาเป็นใคร เขามีแขนและขาป้อมๆ และหันหัวไม่ได้เพราะเขาไม่มีคอ เราก็เลยให้เขามีพลังงานอย่างสม่ำเสมอด้วยการให้เขาตัวสั่นและบ่นงึมงำตลอด เขามักจะกระทืบเท้าอยู่เรื่อย เป็นรูปแบบ  ลูอิส แบล็ค  มากๆ และการที่พวกเขาเลือกลูอิส แบล็คมาพากย์เสียงบทนี้จริงๆ ก็ช่วยผลักดันมันไปอีกระดับหนึ่งครับ”

ลุคของไฟนั้นเกิดขึ้นหลังจากการทดสอบช่วงเริ่มแรกเผยให้เห็นว่าอะไรบ้างที่ไม่เวิร์ค    “เราเริ่มต้นด้วยไฟตามแบบฉบับที่ดูสมจริงมากๆ ลุกขึ้นจากหัวของความโกรธ แต่ตัวละครนี้มีสไตล์มากๆ เพราะตัวเขาประกอบไปด้วยอนุภาค เขามีชีวิตอยู่ในศูนย์บัญชาการ ซึ่งทั้งสวยและเต็มไปด้วยสีสัน ไฟที่สมจริงเลยดูขัดหูขัดตามากๆ เราก็เลยตัดสินใจเปลี่ยนแนวทางครับ”

 

INSIDE OUT               ความรังเกียจ  เป็นตัวละครที่มีความคิดเห็นชัดเจน ตรงไปตรงมาสุดๆ   และคอยป้องกันไม่ให้ไรลีย์ต้องบอบบช้ำ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เธอคอยระมัดระวังผู้คน สถานที่และสิ่งต่างๆ ที่ไรลีย์ได้พบเจอ ไม่ว่าจะเป็นบร็อคโคลีหรือเทรนด์แฟชันปีที่แล้วก็ตาม    “เธออยากทำให้แน่ใจว่าคนอื่นๆ จะไม่ทำให้ไรลีย์แปดเปื้อนด้วยพฤติกรรมที่เป็นพิษหรือคำแนะนำแย่ๆ เรื่องเสื้อผ้าของพวกเขา   และคอยระวังเรื่องการกินอาหารผสมแบบไม่ผ่านการทดสอบน่ะครับ  ความรังเกียจมักจะมีความปรารถนาดีเสมอและปฏิเสธที่จะลดมาตรฐานของตัวเองลง “เธอมีความคิดเห็นที่ชัดเจนมากๆ และไม่หวั่นที่จะแสดงมันออกมาที    ผู้สร้างตัดสินใจว่า   สีเขียวเป็นสีที่เพอร์เฟ็กต์สำหรับความรังเกียจ   ซึ่งไม่ใช่สิ่งเดียวที่อ้างอิงถึงผักที่พวกเขานึกถึงเป็นอย่างแรกในตอนสร้างตัวละครตัวนี้ขึ้นมา  เธอมีรูปร่างเหมือน บร็อคโคลี   เธอเกิดจากความขมขื่น    ตอนที่คุณป้อนอาหารขมๆ ให้เด็กทารก พวกเขาก็จะทำหน้าเหยเก แลบลิ้นออกมาเพื่อพ่นอาหารทิ้ง นั่นเป็นรากเหง้าของความรังเกียจ”    ผู้กำกับร่วม  รอนนี เดล คาร์เมน  เล่า

 

INSIDE OUT               ทีมผู้สร้างรู้สึกชื่นชอบอารมณ์นี้ แม้ว่าเธอมักจะ  เศร้าซึมเสมอ   “ความเศร้า  มีนิสัยลังเล ไม่เด็ดขาด แต่ก็น่ารักและอ่อนหวานมากๆ ครับ    เธอรักไรลีย์และอยากให้เกิดสิ่งที่ดีที่สุดกับเธอเสมอ  ความเศร้ามีคุณสมบัติบางอย่างเหมือนเด็กๆ และทีมงานอนิเมชันก็ต้องลดจังหวะให้ช้าลงสำหรับตัวละครตัวนี้ “เธอยับยั้งตัวเองมากกว่า ไม่ค่อยมีแรงจูงใจซักเท่าไหร่ สำหรับความเศร้า น้อยกว่าคือมากกว่าครับ    สีฟ้าและรูปร่างแบบหยดน้ำตากลับหัวเหมาะกับตัวละครตัวนี้อย่างดี และแม้ว่าความเศร้าจะอยากมองโลกในแง่ดีและช่วยทำให้ไรลีย์มีความสุข เธอก็พบว่าการมองโลกในแง่บวกเป็นเรื่องยากเหลือเกิน บางครั้ง มันดูเหมือนว่าสิ่งที่เธอทำได้ดีที่สุดคือการนอนร้องไห้อยู่กับพื้น”   ด็อคเตอร์  ผู้กำกับ กล่าว ็

 

ส่วนตัวละครต่างๆ  ตั้งแต่     ไรลีย์ แอนเดอร์สัน เป็นเด็กที่มีความสุขอยู่เสมอ อย่างน้อยก็จนกระทั่งเธออายุได้ 11 ขวบ และพ่อของเธอได้งานทำที่อีกฟากหนึ่งของประเทศ ทำให้ครอบครัวของเธอต้องย้ายไปอยู่ซานฟรานซิสโก ในตอนที่เธอต้องพยายามปรับตัวกับบ้านหลังใหม่และโรงเรียนแห่งใหม่ ไรลีย์ก็ได้สัมผัสกับอารมณ์หลายอย่างที่ไม่คุ้นเคย

“ถ้าคุณดูลูกๆ เพื่อนๆ หรือครอบครัวของคุณ ดูเหมือนว่าทุกคนจะมีอารมณ์พื้นฐานของตัวเอง  บางคนจะมีนิสัยเป็นคนเศร้าหรือโกรธขึ้ง แต่ไรลีย์เป็นเด็กที่มีความสุข ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในช่วงอายุขนาดเธอก็เลยกลายเป็นเรื่องใหญ่มากๆ    ลุคของไรลีย์ส่วนมากได้แรงบันดาลใจจากสถานะในชีวิตของเธอ   เธอกำลังอยู่ในช่วงอายุที่เธอเริ่มโตขึ้นครับ  เธอก็เลยยังไม่โตเต็มที่ ตัวเธอเก้งก้าง และออกจะงุ่มง่ามไม่น้อยครับ”   ผู้กำกับ บอก

 

INSIDE OUT               แม่จะทำทุกอย่างเพื่อครอบครัว ดังนั้น เมื่อพวกเขาย้ายไปซานฟรานซิสโก เธอก็พยายามอย่างดีที่สุดที่จะช่วยให้พวกเขาปรับตัวให้เข้ากับโลกใบใหม่ที่แปลกประหลาดนี้

โลซาโน  นักวาดภาพ  กล่าวว่า   พวกเขาต้องการจะใส่ประกายวูบวาบเล็กๆ เข้าไปในลุคของแม่   “เรารู้ว่าเธอเป็นคนแบบที่อาจจะตกหลุมรักนักขับเฮลิคอปเตอร์ชาวบราซิลหรือเนิร์ดที่สวมกางเกงลายตารางก็ได้ เราอยากบอกเป็นนัยๆ ว่าแม้ว่าเธอจะแต่งงานแล้ว เธอก็ยังคงมีจิตวิญญาณที่รักอิสระเสรีเหมือนเดิมครับ” 

ผู้ชมจะได้เห็นภายในความคิดของแม่ ที่ซึ่งอารมณ์แต่ละแบบของเธอสวมแว่นตาขอบแดงของเธอ นอกจากนี้ ทีมผู้สร้างยังได้ออกแบบฉากที่โดดเด่นสำหรับศูนย์บัญชาการในความคิดของแม่ด้วย

ส่วน  พ่อเป็นผู้ที่รักครอบครัว ฮ็อกกี้และการผจญภัยใหม่ๆ  ดังนั้น เมื่อโอกาสเข้ามา เขาก็พร้อมรับมัน แม้ว่ามันจะหมายถึงการย้ายไปอีกฟากหนึ่งของประเทศก็ตาม เขายอมรับว่าตัวเขาไม่รู้หรอกว่าสาวๆ ในชีวิตเขาคิดอะไรกันอยู่บ้างแต่เขาก็รักพวกเธอสุดหัวใจ     ในความคิดของพ่อ อารมณ์ของเขาก็เหมือนตัวเขาเองที่ไขว้เขวได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการแข่งขันฮ็อกกี้เปิดอยู่ พวกเขาทุกคนมีหนวดแบบเขาทั้งนั้น

หนวดนั้นเริ่มต้นจากการเป็นเคราแพะ แต่ทีมผู้สร้างอยากจะเน้นว่าตัวพ่อเองก็ไม่ได้เข้ากับเมืองใหม่นี้ซักเท่าไหร่ “เราอยากทำให้พวกเขาแปลกแยกออกมาในฐานะครอบครัวอนุรักษ์นิยมที่จับพลัดจับผลูมาอยู่ในซานฟรานซิสโกครับ” ซาซากิ ผู้กล่าวเสริมว่าตัวละครฝูงชนในซานฟรานซิสโกค่อนข้างมีสไตล์ทีเดียว กล่าว “คุณสามารถเห็นครอบครัวจากมินนิโซตาของเราท่ามกลางฝูงชนได้อย่างชัดเจนครับ”

 

พวกนักลืมมีหน้าที่ดูแลการลืม   นักลืมพวกนี้เป็นคนงานในความทรงจำระยะยาว    ที่คอยสอดส่องดูแลความทรงจำของไรลีย์และกำจัดความทรงจำที่พวกเขามองว่าไม่สำคัญทิ้งไป เช่นชื่อของประธานาธิบดีสหรัฐที่เธอเคยจำได้สมัยเรียนประถม หรือเพลงที่เธอเรียนเปียโนมา (เว้นแต่เพลง “Heart and Soul” และ “Chopsticks”)

พอลลา พาวด์สโตน  และ  บ็อบบี้ มอยนิฮัน  ได้รับการทาบทามให้พากย์เสียง นักลืม

 

12  สิงหาคม 2558

ภาพยนตร์เจ้าอารมณ์แห่งปี

 “Inside Out” มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง  

ภาพยนตร์ที่เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ตามแบบฉบับของ  ดิสนีย์-พิกซาร์ กับการนำเสนอตัวละครที่น่าจดจำ   ช่วงเวลาสะเทือนอารมณ์  และอารมณ์ขันไปพร้อมๆกัน