The Man from U.N.C.L.E. วันนี้ในโรงภาพยนตร์

เฮนรี คาวิลล์ (“Man of Steel”) รับบทเป็น นโปเลียน โซโล คู่กับอาร์มี แฮมเมอร์ (“The Social Network”) ซึ่งรับบทเป็น อิลลียา เคอร์ยาคิน ในภาพยนตร์แอ็คชันผจญภัยของผู้กำกับ กาย ริทชีThe Man from U.N.C.L.E ซึ่งเป็นการนำซีรีส์ทางโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในยุคทศวรรษ 1960 กลับมาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้ง

TMFU_BusShelterด้วยฉากในยุคต้นทศวรรษ 1960 ณ จุดสูงสุดของสงครามเย็น “The Man from U.N.C.L.E.” เล่าเรื่องราวของสายลับซีไอเออย่างโซโลและสายลับเคจีบีอย่างเคอร์ยาคิน ทั้งสองจำต้องละความเป็นปฏิปักษ์ที่มีต่อกันมานานเพื่อร่วมทีมกันในภารกิจเพื่อหยุดยั้งองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติอันลึกลับ ซึ่งวางแผนสั่นคลอนสมดุลอำนาจอันเปราะบางด้วยการแพร่ขยายอาวุธและเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เงื่อนงำเดียวที่ทั้งสองมีคือลูกสาวของนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันที่หายตัวไปซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการแทรกซึมเข้าสู่องค์กรอาชญากรรม พวกเขาต้องแข่งกับเวลาเพื่อค้นหาตัวนักวิทยาศาสตร์และป้องกันไม่ให้เกิดหายนะร้ายแรงทั่วโลก

“The Man from U.N.C.L.E” ร่วมแสดงโดยอลิเชียวิแคนเดอร์ (“Ex Machina”) และอลิซาเบ็ธเดบิกคี (“The Great Gatsby”) พร้อมด้วยจาเร็ดแฮร์ริส (“Sherlock Holmes: a Game of Shadows”) และฮิวจ์แกรนต์ในบทเวเวอร์ลี

บทภาพยนตร์เขียนโดยกาย ริทชี และลิโอเนล วิแกรม ซึ่งเคยร่วมงานกันในการนำเรื่องราวคลาสสิกของนักสืบเชอร์ล็อค โฮล์มส์มาทำใหม่เป็นหนังฮิตสองภาค เนื้อเรื่องโดยเจฟฟ์ คลีแมนและเดวิด แคมป์เบลล์ วิลสัน รวมถึงกาย ริทชีและลิโอเนล วิแกรม โดยอิงจากซีรีส์ทางโทรทัศน์ “The Man from U.N.C.L.E.”

DSC_6030.DNGจอห์น เดวิส (“Chronicle”), สตีฟ คลาร์ก-ฮอลล์ (“RocknRolla,” หนัง “Sherlock Holmes”), ลิโอเนล วิแกรม และกาย ริทชี อำนวยการสร้างหนังเรื่องนี้ โดยมีเดวิด ดอบคิน ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างบริหาร

ทีมงานเบื้องหลังของริทชี ได้แก่ ผู้กำกับภาพที่เข้าชิงออสการ์มาแล้วสองครั้ง จอห์น แมทเธียสัน (“The Phantom of the Opera,” “Gladiator”), นักออกแบบงานสร้าง โอลิเวอร์ สโคลล์ (“Jumper,” “Edge of Tomorrow”), มือตัดต่อ เจมส์ เฮอร์เบิร์ต (หนัง “Sherlock Holmes”, “Edge of Tomorrow”), นักออกแบบเครื่องแต่งกายผู้เข้าชิงรางวัลออสการ์ โจแอนนา จอห์นสตัน (“Lincoln”) และนักแต่งเพลง เดเนียล เพมเบอร์ตัน (“The Counselor”).

“The Man from U.N.C.L.E.” ฉายในระบบ IMAX ในโรงภาพยนตร์บางแห่ง

Warner Bros. Pictures ขอเสนอผลงานอำนวยการสร้างโดยริทชี/วิแกรม ผลิตโดย Davis Entertainment และกำกับโดย กาย ริทชี “The Man from U.N.C.L.E.” จัดจำหน่ายทั่วโลกโดย Warner Bros. Pictures บริษัทในเครือ Warner Bros. Entertainment

www.manfromunclemovie.net

DSC_4714.DNG

ข้อมูลการสร้างภาพยนตร์

การปกป้องโลกไม่เคยล้าสมัย

 “The Man from U.N.C.L.E.” ของกาย ริทชี เป็นเรื่องราวการผจญภัยข้ามประเทศที่รวดเร็วฉับไว อัดแน่นด้วยแอ็คชัน เซ็กซี่ และมีสไตล์ ถ่ายทำผ่านอารมณ์ขัน โดยให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ลุ่มๆ ดอนๆ ระหว่างสุดยอดคู่สายลับไม้เบื่อไม้เมา นาโปเลียน โซโลและอิลลียา เคอร์ยาคิน ไม่แพ้การให้ความสำคัญกับภารกิจที่ทั้งสองต้องทำ

“ผมหลงใหลเรื่องประมาณนี้ครับ การที่ผู้ชายแสดงปฏิสัมพันธ์ต่อกัน” ริทชีกล่าว เขาเป็นผู้กำกับ ผู้อำนวยการสร้าง และผู้ร่วมเขียนบทภาพยนตร์ “The Man from U.N.C.L.E” โดยนำเค้าโครงมาจากซีรีส์ดังชื่อเดียวกันที่ฉายทางโทรทัศน์ในยุคทศวรรษ 1960 “แม้กระทั่งเมื่อย้อนกลับไปยัง ‘Lock, Stock and Two Smoking Barrels’ ผมมักสนใจแรงขับเคลื่อนระหว่างผู้ชายกับผู้ชายเหมือนเป็นแนวทางเฉพาะในตัวมันเอง”

DSC_6513.dngแรงขับเคลื่อนคงเป็นคำที่ถูกต้องแล้ว เพราะครั้งแรกที่โซโลซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของซีไอเอได้พบสายลับผู้เก่งกาจจากเคจีบี พวกเขาต่างพยายามฆ่ากันเอง ต่างคนต่างถูกส่งไปนำเอาทรัพย์สินอันมีค่ายิ่งของเยอรมันมาจากหลังกำแพงเบอร์ลินในยุคตึงเครียดของสงครามเย็น และการแข่งขันกันเองระหว่างภารกิจก็เป็นเพียงไอซิงแต่งหน้าเค้ก

หลายวันต่อมาหลังได้รับแจ้งจากผู้บังคับบัญชาว่าจะต้องมาทำงานร่วมกันในภารกิจหนึ่ง การฆ่ากันเองจึงเป็นเรื่องที่ต้องละไว้ก่อนแม้เพียงชั่วคราว และคู่แค้นคู่นี้ก็หันไประบายความเกลียดชังทางอาชีพและระดับประเทศผ่านการต่อสู้เพื่อ “ทำความรู้จักกัน” ด้วยหมัดเปล่าและการทำลายข้าวของ เพื่อให้รู้กันไปเลยว่าถึงพวกเขาจะต้องมาติดแหง็กอยู่ในภารกิจนี้ด้วยกัน แต่พวกเขาไม่จำเป็นต้องชอบมันก็ได้

ดังนั้นในบางแง่นี่จึงเป็นหนังคู่หู…นอกเสียจากข้อเท็จจริงที่ว่า “สองคนนี้ไล่เตะกันไม่ยั้งทันทีที่เจอกัน” เฮนรีคาวิลล์กล่าวเขารับบทเป็นโซโลสายลับอเมริกันมาดเนี้ยบที่บ่อยครั้งก็นึกถึงแต่ตัวเอง

อาร์มีแฮมเมอร์ในบทเคอร์ยาคินนำเสนอมุมมองแบบรัสเซียที่หงุดหงิดฉุนเฉียวแต่ตามขนบมากกว่า “เคอร์ยาคินเป็นสุดยอดทหารผู้มีระเบียบวินัยและทุ่มเทเต็มที่เสมอแล้วเขาก็ถูกผลักให้มาอยู่ในตำแหน่งที่เขาเกลียดและไม่สามารถทำอะไรได้นายนโปเลียนโซโลที่เขาทำงานด้วยนี้เป็นคนนอกกรอบเขาไม่ยอมทำตามกฎเหมือนเขาไม่รู้ว่ามีกฎอยู่ด้วยซ้ำ”

“สิ่งที่เราพบว่ามีเสน่ห์อย่างยิ่ง” ริทชีกล่าว “คือการจับให้สายลับที่แตกต่างกันสุดขั้วมาอยู่ด้วยกัน เพื่อที่พวกเขาจะได้เริ่มจากการพยายามทำลายล้างกันแล้วสุดท้ายก็มาร่วมมือกัน เพียงแต่อาจยังไม่ไว้ใจอีกฝ่ายอย่างเต็มร้อย เรื่องราวส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ของทั้งสองในการร่วมงานกัน การที่ฝ่ายหนึ่งเป็นตัวแทนอเมริกาในระบอบทุนนิยมและอีกฝ่ายเป็นตัวแทนของรัสเซียในระบอบคอมมิวนิสต์ และมหาอำนาจทั้งสองต้องมาร่วมทีมกันเพื่อกำจัดภัยคุกคามร้ายแรงต่อโลก ถือเป็นแนวคิดที่ดีเยี่ยมซึ่งนำไปเล่นสนุกได้มากมาย และนั่นเป็นแกนหลักของเรื่องราวนี้ครับ”

ผู้อำนวยการสร้างและผู้ร่วมเขียนบทลิโอเนลวิแกรมกลับมาร่วมงานกับริทชีอีกครั้งหลังความสำเร็จในหนังตระกูล “Sherlock Holmes” ซึ่งก้าวข้ามการแบ่งประเภทหนังเช่นเดียวกัน “วิธีหนึ่งที่จะนำเอาแนวทางของเราเองมาใช้กับเรื่องนี้คือการทำให้มันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับที่มาว่าทีม U.N.C.L.E. เกิดขึ้นมาได้อย่างไร” เขากล่าว “ในซีรีส์นั้นทีม U.N.C.L.E. มีอยู่ก่อนแล้วดังนั้นระหว่างช่วงสงครามเย็นคุณจะเห็นซีไอเอกับเคจีบีทำงานร่วมกันอย่างลับๆเพื่อจุดมุ่งหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าในเวลาที่ความสัมพันธ์ระหว่างฝั่งตะวันออก-ตะวันตกกำลังย่ำแย่จนถึงที่สุดแล้วการร่วมมือกันเช่นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร”

DSC_6651.dngหนังเปิดเรื่องมาในปี 1963 สหรัฐและสหภาพโซเวียตติดอยู่ในเกมอันตรายเดิมพันสูงเพื่อแข่งขันกันชิงความได้เปรียบในแง่อาวุธนิวเคลียร์และงานวิจัยช่วงสงครามโดยอดีตนักวิทยาศาสตร์ของนาซีก็ยังคงเป็นที่ต้องการสูงในตลาดที่ไม่เปิดเผยกำแพงคอนกรีตสูง 12 ฟุตกั้นกลางเบอร์ลินช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองและภายใต้เงากำแพงที่ทอดยาวนี้เองที่โซโลและเคอร์ยาคินต่างประเมินกำลังกันเป็นครั้งแรกในการไล่ล่าความเร็วสูงบนท้องถนนซึ่งผู้ชนะจะได้ทุกสิ่งไป

รางวัลของพวกเขาก็คือแกบีเทลเลอร์ช่างซ่อมรถชาวเยอรมันผู้ฉลาดเป็นกรดรับบทโดยอลิเชียวิแคนเดอร์เธอเป็นลูกสาวผู้ห่างเหินของดร. อูโดเทลเลอร์อดีตนักวิทยาศาสตร์ขีปณาวุธคนโปรดของฮิตเลอร์ด็อกเตอร์เทลเลอร์เพิ่งหายตัวไปทำให้มหาอำนาจทั้งสองฝ่ายต่างแย่งกันค้นหาเขาก่อนที่ความรู้เฉพาะทางซึ่งอันตรายอย่างยิ่งของเขานั้นจะถูกนำไปใช้ผลิตอาวุธซึ่งอาจทำลายล้างประเทศทั้งประเทศได้และแกบีก็เป็นเหยื่อล่อเดียวที่จะนำเขาออกจากที่ซ่อน

ริทชีเลือกที่จะคงปริบทในยุคสงครามเย็นตลอดจนเหตุการณ์ทางการเมืองและวัฒนธรรมเอาไว้ตามต้นฉบับดั้งเดิม เขากล่าวว่า “งานนี้เป็นการคารวะต่อซีรีส์ต้นฉบับ เราต้องการรักษาแก่นแท้และเอกลักษณ์ของยุคนั้นไว้ พร้อมกับช่วยให้ผู้ชมยุคปัจจุบันเข้าถึงได้ รวมถึงมีเอกลักษณ์ เสน่ห์ดึงดูด และความแปลกใหม่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้” โทนหนังที่ออกมาจึง “มีทั้งความย้อนยุคและความร่วมสมัย ซึ่งสำหรับผมแล้วเกิดขึ้นมาอย่างเป็นธรรมชาติ”

แฟนหนังคงยืนยันได้ว่าลักษณะดังกล่าวเป็นตราประทับอย่างหนึ่งในผลงานของผู้กำกับรายนี้เช่นเดียวกับที่หนัง “Sherlock Holmes” นำผู้ชมไปยังลอนดอนยุควิกตอเรียนโดยยังคงรักษาความตื่นเต้นท้าทายที่ทำให้หนังมีความเฉียบคมและทันสมัย “The Man from U.N.C.L.E.” ก็ได้กลั่นเอาทุกสิ่งที่ทำให้ยุค 1960 เก๋ไก๋มีสไตล์ไม่ว่าจะเป็นศิลปะแฟชั่นและดนตรีเข้ามาสู่แนวทางและมุมมองของหนังกลายเป็นบรรยากาศที่ตรงใจแต่ไม่ฟู่ฟ่าจนเกินไปโดยมีทั้งอารมณ์ย้อนยุคและความเป็นศตวรรษที่ 21 อย่างไม่อาจปฏิเสธได้

“นั่นคือเวทมนตร์ของกาย ริทชีครับ” วิแกรมให้ความเห็น “เขามีวิธีการบางอย่างในการถ่ายทอดให้ทุกอย่างดู ‘เป็น ปัจจุบัน’”

“สิ่งที่ผมจำได้ดีที่สุดจากซีรีส์นั้นก็คือโทน” ริทชีเล่า “และเมื่อผมมีโอกาสได้มาทำหนังเรื่องนี้ มันก็กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ผม แนวคิดของ ‘The Man from U.N.C.L.E.’ แจ่มชัดขึ้นมาในหัวทันที และผมก็ตอบสนองไปตามสัญชาตญาณ”

ในบางแง่ ภาพยุค 1960 ที่ปรากฏใน “The Man from U.N.C.L.E.” ก็เป็นช่วงเวลาที่หายากและดึงดูดใจซึ่งปรากฏอยู่เพียงบนจอเท่านั้น

D4D_0712.DNG “สำหรับเราแล้ว ยุค 60 เป็นทศวรรษที่เจ๋งที่สุด และ ‘The Man from U.N.C.L.E.’ ก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้น” วิแกรมกล่าวต่อ “เราสนใจอยากทำหนังสายลับมาตลอด เราชอบหนังบอนด์ยุคเก่าๆ ซึ่งฝังใจเราเมื่อตอนเป็นเด็ก จากนั้นก็เป็นหนังอิตาเลียนและหนังฝรั่งเศสในยุคนั้น อย่าง ‘L’Avventura’ และ ‘La Dolce Vita’ ซึ่งมีกลิ่นอายเฉพาะที่เราพบว่าเก๋ไก๋และน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า รถยนต์ หนัง หรืองานออกแบบ ยุค 60 ถือเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสมัยใหม่ครับ”

ด้วยการรับอิทธิพลแบบเดียวกันรวมถึงความหลงใหลในภาพยนตร์และอารมณ์ขันที่สอดคล้องกัน ริทชีและวิแกรมจึงเป็นทีมเขียนบทที่เหนียวแน่น “เป็นเรื่องดีมากครับที่ได้อำนวยการสร้างหนังร่วมกับคนที่เขียนบทได้ด้วย เพราะการเขียนบทเป็นพื้นฐานสำคัญของการทำหนัง และเรื่องราวก็เป็นกระบวนการต่อเนื่องที่มีชีวิตและพัฒนาไปตามธรรมชาติของมันเอง” ริทชียอมรับ

“เราทั้งคู่ต่างชอบการนำหนังคลาสสิกมาดัดแปลงใส่ลูกเล่นลงไป” วิแกรมเสริม “และกายก็พยายามทำสิ่งใหม่ๆในงานแอ็คชันมาตลอดเพื่อให้ผู้ชมได้เห็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้เห็นมาก่อน”

“The Man from U.N.C.L.E.” ยืนอยู่ได้โดยตัวของมันเองแต่สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับผลงานแนวนี้รวมถึงริทชีวิแกรมและผู้อำนวยการสร้างร่วมจอห์นเดวิสและสตีฟคลาร์ก-ฮอลล์มีรางวัลพิเศษอยู่ในการแบ่งปันความชื่นชอบที่พวกเขามีต่อแบบฉบับซึ่งสร้างความตื่นตะลึงให้ผู้ชมโทรทัศน์กลางทศวรรษ 1960 รวมถึงผู้คลั่งไคล้เรื่องสายลับทั้งสองฟากของมหาสมุทรแอตแลนติก

“ตอนที่ผมยังเด็กสายลับเหล่านี้เท่ที่สุดและมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เท่ที่สุดด้วย” เดวิสผู้เติบโตมาในสหรัฐกล่าว “คนเหล่านี้อยู่ในกองกำลังลับระหว่างประเทศที่ทำงานอยู่เบื้องหลังเพื่อปกป้องโลกให้ปลอดภัยเหมือนสหประชาชาติในโลกสายลับซึ่งผมชอบมากเลยล่ะ”

คนหนึ่งที่เป็นแฟนชาวอังกฤษรุ่นเยาว์ในเวลานั้นก็คือ ฮิวจ์ แกรนต์ ผู้รับบทเป็นตัวละครซึ่งมีบุคลิกน่าจดจำ เวเวอร์ลีย์ เขาสารภาพว่า “ผมมีโมเดลรถของ ‘Man from U.N.C.L.E.’ ด้วยล่ะครับ ผมจำได้ว่าถ้ากดหลังคาด้านบนแล้วจะมีปืนเด้งออกมาด้านข้าง ผมอาจจะยังเก็บไว้นะ”

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เรื่องราวของสายลับและภารกิจลับยังคงน่าตื่นเต้นและสร้างความบันเทิงให้คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าอาจเป็นเพราะความเป็นวัฏจักรของประวัติศาสตร์และการเมือง “ถ้าจะไม่ลงลึกมากเกินไป” คลาร์ก ฮอลล์ กล่าว “ด้วยกรณีของ สโนว์เดนและการเปิดเผยมากมายในระยะหลังว่ายังมีการสืบข้อมูลลับกันอยู่ ผมคิดว่านี่คือสิ่งที่ผู้คนสนใจกันอยู่แล้ว เรื่องของความสัมพันธ์และโอกาสที่จะหักหลัง ความเป็นพันธมิตรอันซับซ้อนระหว่างประเทศต่างๆ และการไม่แน่ใจว่าจะไว้ใจใครได้ ในบางแง่ โลกทุกวันนี้ก็สะท้อนถึงความตึงเครียดในยุค 60 ที่หนังเรื่องนี้กล่าวถึง”

D4D_9232.DNGนอกจากนี้ เจฟฟ์ คลีแมน และเดวิด แคมป์เบลล์ วิลสัน ซึ่งร่วมแต่งเรื่องกับริทชีและวิแกรม ก็ระบุถึงเสน่ห์อันยืนยาวของ “สายลับโดดเดี่ยวผู้กล้าหาญที่จัดการกับกองกำลังอันทรงพลังและวางมาดนิ่งภายใต้ความกดดัน สิ่งที่ทำให้หนังสายลับแตกต่างออกไปก็คือวีรบุรุษในเรื่องซึ่งหลายๆ ครั้งจำเป็นต้องอาศัยอาวุธลับที่แท้จริง นั่นก็คือความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการแก้ปัญหา และไหวพริบ”

สำหรับริทชีกุญแจสำคัญในการนำพลังทั้งหมดนี้มารวมเข้าด้วยกันนอกเหนือจากคำหยอกล้ออันเจ็บแสบและมาดนิ่งสุขุมของตัวละครนำอันมีเสน่ห์แล้วคือสิ่งที่เขาเรียกว่า “สมดุลระหว่างอันตรายที่แท้จริงดรามาและแอ็คชันกับความชวนหัวเป็นการตัดกันระหว่างอารมณ์ที่แตกต่างซึ่งผมพบว่าเป็นสิ่งสร้างสรรค์และช่วยปลุกเร้าได้อย่างดี” เขากล่าวโดยระบุว่าเขาทำหนังประเภทที่จะดึงดูดเขาในฐานะผู้ชมและส่วนผสมอันสำคัญยิ่งของหนังเหล่านี้ก็คืออารมณ์ขันที่มีแนวโน้มจะลอยขึ้นสู่ผิวหน้าได้โดยแทบไม่ต้องพยายามใดๆ “ไม่ใช่ว่าทุกอย่างต้องตลกไปหมดผมมองหาอารมณ์ในทุกๆเฉดเราเริ่มต้นจากการเขียนฉากที่ค่อนข้างจริงจังแต่สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นในวันถ่ายทำคือฉากเหล่านั้นเริ่มคลายความจริงจังลงและอารมณ์ขันก็หาทางสอดแทรกเข้ามาได้เสมอ

“เราได้ทีมนักแสดงที่เก่งมากซึ่งนำโดยเฮนรีและอาร์มีรวมถึงอลิเชียในบทแกบี” เขากล่าวต่อ “หนุ่มๆเล่นเข้ากันได้ดีมากและอลิเชียก็เป็นคนที่พิเศษอย่างแท้จริงนักแสดงต้องทำงานหนักในบทเหล่านี้นี่ไม่ใช่งานเบาๆทั้งในแง่ร่างกายและจิตใจการถ่ายทำหนังเรื่องนี้เป็นการทำงานร่วมกันและผมอยากให้นักแสดงได้เป็นเจ้าของบทที่ตัวเองพูดออกมาถึงอย่างนั้นก็เถอะผู้กำกับก็ยังมีความได้เปรียบจากการเห็นภาพมุมกว้างและนักแสดงก็ต้องเชื่อมั่นในเรื่องนั้นแต่ผมสนใจฟังแนวคิดที่ดีที่สุดจากทีมงานอยู่เสมอครับตราบใดที่แนวคิดนั้นไม่ไม่รั้งเราไว้และน้อยครั้งที่จะเป็นอย่างนั้นผมสนับสนุนให้ทุกคนใช้ความคิดสร้างสรรค์กันอยู่แล้ว”

“รู้สึกดีมากเลยค่ะที่ได้เห็นว่าเราไปไกลเกินกว่าสิ่งที่เขียนเอาไว้บนหน้ากระดาษเมื่อทำงานร่วมกัน” วิแคนเดอร์กล่าว “คุณได้รู้จักตัวละครมากขึ้นเพราะไม่ได้เอาแต่คิดว่าตัวละครพูดอะไรแต่คิดว่าตัวละครอาจจะพูดอะไร”

คาวิลล์ซึ่งเข้าร่วมโครงการนี้ด้วยเหตุผลอันดับแรกคือการได้ทำงานร่วมกับริทชีกล่าวเห็นด้วยว่า “หนังของเขาน่าอัศจรรย์และมีสไตล์การทำหนังที่เป็นเอกลักษณ์ครับเราไม่ซ้อมกันหลายครั้งจนเกินไปคุณเข้าไปในฉากและเล่นออกมาซึ่งให้ความรู้สึกว่ายังสดและใหม่เมื่อถ่ายทำ”

“วิธีนี้ทำให้คุณต้องตื่นตัวอยู่เสมอคุณต้องทำการบ้านและมากองถ่ายในสภาพที่พร้อมรับทุกอย่างเพราะสิ่งต่างๆอาจเปลี่ยนแปลงได้” แฮมเมอร์เสริมเขาเองก็รีบคว้าโอกาสในการทำงานกับผู้กำกับชั้นนำรายนี้ด้วยเช่นกัน “ผมคิดว่าเขาตั้งใจให้บรรยากาศการทำงานสบายๆเพราะเราจะได้งานที่ดีที่สุดเมื่อทุกคนทำงานอย่างอิสระและไหลลื่นเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ซึ่งเปิดกว้างและเชิญชวนนั่นคือสิ่งที่กายพยายามบ่มเพาะให้เกิดขึ้นในกองถ่ายครับ”

อย่าเพิ่งฆ่าคู่หูตั้งแต่วันแรก

D4D_3743.dngแม้ว่าจะยังรักษาแนวคิดตั้งต้นและสถานการณ์ทางการเมืองที่ปรากฏในซีรีส์เอาไว้ แต่ริทชีก็ใช้สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการพัฒนาตัวละครโซโลและเคอร์ยาคิน รวมถึงเรื่องราวที่อาจอยู่เบื้องหลังตัวละครทั้งสองในฉบับภาพยนตร์จากภาพมุมกว้างไปจนถึงรายละเอียดอันลึกซึ้งแบบที่ไม่เคยได้รับการสำรวจมาก่อน เนื่องจากซีรีส์เริ่มต้นในช่วงกลางของการร่วมงานกันโดยไม่ระบุชัดเจน ทีมผู้สร้างและนักแสดงจึงมีอิสระที่จะจินตนาการกระบวนการที่คนสองคนซึ่งมีบุคลิกแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงปรับตัวเข้ามาหากันได้

แฮมเมอร์ซึ่งไม่เคยดูซีรีส์เรื่องนี้มาก่อนได้กลับไปหาตอนคลาสสิกบางตอนมาดูเพื่อเป็นหลักอ้างอิงขณะที่คาวิลล์ซึ่งไม่คุ้นเคยกับซีรีส์นี้เช่นกันกลับใช้แนวทางตรงกันข้ามแต่ทั้งคู่ก็ได้สร้างตัวละครให้เป็นของตัวเองโดยสมบูรณ์

คาวิลล์มองตัวละครมาดเฉียบอย่างโซโลว่า “เขาไม่ใช่สายลับซีไอเอผู้ทุ่มเทให้กับอาชีพนี้ที่จริงเขาออกจะต่อต้านองค์กรด้วยซ้ำเขาได้รับทักษะในการซื้อขายงานศิลปะและของโบราณในตลาดมืดหลังจากแฝงตัวเข้าไปในสังคมชั้นสูงของยุโรปช่วงหลังสงครามและทำได้ดีมากจนไม่มีใครจับได้อยู่หลายปีนั่นเป็นเรื่องหนึ่งที่เขาภาคภูมิใจมากแต่สุดท้ายเขาก็ถูกจับส่งตัวโดยแฟนสาวขี้หึงและซีไอเอก็เห็นประโยชน์ของคนแบบเขาก็เลยยื่นคำขาดว่าเข้าคุกไปซะหรือไม่ก็ทำงานให้เราสุดท้ายเขาเลยกลายมาเป็นสายลับซึ่งประสบความสำเร็จมากแต่ไม่ค่อยเต็มใจนักก็ดีกว่าต้องติดคุกและยังใส่สูทหรูๆได้ด้วย”

ตรงกันข้ามเคอร์ยาคินเติบโตในเคจีบีด้วยผลจากความทุ่มเทการฝึกฝนและความพยายามอันเด็ดเดี่ยว “เขาเป็นสายลับแบบคลาสสิก” แฮมเมอร์กล่าวถึงตัวละครซึ่งเป็นสายลับอายุน้อยที่สุดที่ได้รับตำแหน่งสูงเช่นนี้ “เขาเติบโตมาในระบบเลื่อนขั้นมาเรื่อยๆและทำตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดเป้าหมายในชีวิตเขาคือการเป็นเจ้าหน้าที่เคจีบีและนั่นคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเขา”

คงยากที่จะบอกว่าเคอร์ยาคินรำคาญเรื่องอะไรมากที่สุดในตัวเพื่อนร่วมงานคนใหม่ที่เขาเรียกว่าเดอะคาวบอยจะเป็นสิ่งที่เขามองว่าเป็นทัศนคติของพวกคนอเมริกันที่ไม่สนหลักการหลักฐานรับรองตัวที่ได้มาโดยบังเอิญหรือว่าเป็นการวางท่าว่าได้รับสิทธิพิเศษ “แต่สองคนนี้ไม่ลงรอยกันแน่ๆ” แฮมเมอร์ยืนยัน “ในขณะเดียวกันแม้ว่าอิลลียามองว่าเขาเป็นพวกมือสมัครเล่นที่ไม่รู้ว่าตัวเองทำอะไรอยู่แต่นายโซโลคนนี้ก็เจาะเข้าสถานที่รักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนาด้วยสิ่งที่มีหน้าตาเหมือนคลิปหนีบกระดาษอันเดียวเพราะฉะนั้นเขาจึงน่าประทับใจไม่น้อยเลย…”

ในส่วนของเขานั้นโซโลพบว่าสายลับรัสเซียรายนี้ขาดความสุภาพและคาดเดาไม่ได้ “แต่ในบางแง่พวกเขาก็เหมือนสองด้านของเหรียญเดียวกัน” คาวิลล์ตั้งข้อสังเกต “พวกเขาแตกต่างกันมากทั้งในแง่บุคลิกภาพและวิธีการที่ใช้แต่พวกเขาก็ยังอยู่บนมาตรวัดอันเดียวกันและถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมาร่วมภารกิจเพราะโซโลและเคอร์ยาคินไม่มีทางเลือกอื่นแต่พวกเขาก็ตระหนักอยู่เสมอว่ามีภารกิจที่ต้องทำและมีชีวิตของผู้คนที่ตกอยู่ในความเสี่ยงยังไม่พูดถึงการทำลายล้างโลกดังนั้นพวกเขาจึงต้องพยายามนำทักษะมาทำงานร่วมกันให้ได้สุดท้ายแล้วการทำงานร่วมกันเป็นทีมก็อาจให้ผลดีกว่าการนำแต่ละส่วนมารวมกัน”

สิ่งที่พวกเขาต่างปิดบังอีกฝ่ายไว้คือแม้ว่าเจ้านายของทั้งคู่ดูเหมือนจะร่วมมือกันในงานเฉพาะกิจนี้แต่ในเกมตอนจบสายลับแต่ละฝ่ายก็ต้องมาถึงจุดพลิกผันภารกิจของโซโลคือการนำตัวเทลเลอร์และ/หรืองานวิจัยของเขาไปยังสำนักงานใหญ่ของซีไอเอที่แลงค์ลีย์ขณะที่เคอร์ยาคินก็ได้รับคำสั่งให้นำส่งที่มอสโคว์และทั้งสองไม่อาจปล่อยให้สิ่งใดรวมถึงความเป็นเพื่อนร่วมงานกันมาขัดขวางภารกิจนี้ได้

D3S_4854.dngทว่าก่อนอื่นมีเรื่องรีบด่วนกว่านั้นที่ต้องจัดการการทำงานร่วมกันของทั้งสองต้องการหน้าฉากอำพรางตัวและจุดนี้เองที่แกบีเทลเลอร์ชาวเบอร์ลินตะวันออกที่เพิ่งโผล่เข้ามาได้กลายเป็นผู้มีส่วนสำคัญเพื่อหาตำแหน่งพ่อของเธอซึ่งอาจถูกกลุ่มอาชญากรจับตัวอยู่ในโรมรวมถึงลุงรูดีผู้น่ารังเกียจของแกบีเธอจึงจำต้องเข้าร่วมในแผนลวงซึ่งเคอร์ยาคินจะรับบทเป็นสถาปนิกชาวรัสเซียและเธอเป็นคู่หมั้นของเขาระหว่างการท่องเที่ยวในโรมซึ่งคู่หมั้นปลอมของเธอไปศึกษางานออกแบบโครงสร้างแกบีจะติดต่อรูดีเพื่อขอที่อยู่พ่อสำหรับเตรียมการแต่งงานที่จะมาถึงขณะเดียวกันโซโลจะทำงานคู่ขนานโดยทำเป็นไม่รู้จักคู่รักคู่นี้แต่คอยประกบอยู่ใกล้ๆ

“เราเป็นแฟนของอลิเชียจาก ‘A Royal Affair’” วิแกรมกล่าว “และแน่นอนว่าเธอได้ไปทำงานที่ประสบความสำเร็จอีกมากมายหลังจากนั้นเราต้องการนักแสดงหญิงชาวยุโรปในบทนี้คนที่สามารถเล่นเป็นคนเยอรมันและมีส่วนผสมที่น่าอัศจรรย์ระหว่างความเยาว์วัยไร้เดียงสาและความฉลาดแข็งแกร่งอย่างแท้จริง”

การแปลงโฉมจากช่างอู่รถผู้ไม่เสแสร้งไปเป็นคู่ควงสุดสวยในเสื้อผ้าแฟชั่นชั้นสูงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับหญิงสาวผู้ติดดินและพูดจาตรงไปตรงมา “แต่ถ้าสิ่งนี้จะช่วยให้เธอได้อยู่ฝั่งนี้ของกำแพงเบอร์ลินไปตลอดชีวิต แกบีก็พร้อมที่จะทำได้แทบทุกอย่าง” วิแคนเดอร์กล่าว

“ฉันชอบความคิดที่ให้เธอเป็นผู้หญิงห้าวๆเท่ๆที่มีหลายบุคลิก” เธอกล่าว “แกบีเติบโตมาในโลกของผู้ชายดังนั้นเธอจึงค่อนข้างเชื่อมั่นในตัวเองและรู้ว่าจะรักษาที่มั่นของตัวเองได้อย่างไรปัญหาน่าจะเป็นว่าเธอต้องลำบากกับการทำตัวผ่อนคลายและแสร้งทำเป็นว่าเธออยากเป็นแค่แม่บ้านผู้น่ารักและฉันคิดว่าความต้องการที่จะประกาศอิสระของเธอก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการโต้เถียงกันระหว่างเธอกับอิลลียา”

แกบีทำให้เกิดการโต้เถียงระหว่างเคอร์ยาคินกับโซโลด้วยเช่นกันแต่ก็เพียงแค่เพิ่มเรื่องให้พวกเขาได้ปะทะกันอีกเรื่องเท่านั้นเริ่มจากฉากตลกที่พวกเขาต่างพยายามข่มกันด้วยความรู้ด้านแฟชั่นขณะช่วยแกบีเลือกเสื้อผ้าที่มีสไตล์…จนทำให้เธอเริ่มสงสัยว่าการจัดการกับภัยพิบัติล้างโลกอาจเป็นส่วนที่ง่ายที่สุดของภารกิจนี้ก็ได้

แต่มีงานหนักรออยู่ข้างหน้าเมื่อทั้งสามแสดงเป็นตัวละครที่ใช้เป็นฉากหน้าและเริ่มลงมือกับศัตรูที่อันตรายลุงรูดีนาซีสุดอึดไปร่วมกลุ่มกับคู่สามีภรรยาผู้มีอำนาจร่ำรวยล้นฟ้าแต่ล้มละลายทางศีลธรรมอเล็กซานเดอร์และวิกตอเรียวินชิเกร์ราพวกเขาร่วมกันบีบบังคับให้น้องเขยอูโดเทลเลอร์เปิดเผยวิธีการอันล้ำสมัยในการเพิ่มพลังของยูเรเนียมอันเป็นกระบวนการที่ช่วยให้การผลิตระเบิดนิวเคลียร์เร็วขึ้นและง่ายขึ้นกว่าเดิมมากจากนั้นก็จะขายให้ผู้เสนอราคาสูงสุด

อลิซาเบ็ธเดบิกคีรับบทเป็นวิกตอเรียสาวผมสีบลอนด์อ่อนผู้งดงามและทะเยอทะยานซึ่งเคยตกยากแต่ได้มาแต่งงานกับเพลย์บอยชาวอิตาเลียนผู้ร่ำรวยที่สนใจแต่รูปลักษณ์ภายนอก “เขาไม่ได้เป็นมันสมองในปฏิบัติการนี้” เดบิกคียอมรับ “เขาชอบรถซิ่งและสาวๆซึ่งวิกตอเรียก็รับได้เพราะเธอจะได้นั่งอยู่เบื้องหลังและสั่งการทุกอย่างซึ่งเป็นสิ่งที่เธอต้องการมาตลอดอยู่แล้วเธอเป็นผู้หญิงที่กล้าได้กล้าเสียและกำหนดทุกอย่างด้วยตัวเองแถมยังชอบการไต่เต้าทางสังคมด้วย”

D3S_5573.dngวิแกรมกล่าวว่า “อลิซาเบ็ธน่าทึ่งมากใน ‘The Great Gatsby’ เธอโดดเด่นออกมาแม้อยู่ในทีมนักแสดงที่ยอดเยี่ยม ดังนั้นเมื่อชื่อของเธอปรากฏขึ้น ผมก็รู้สึกว่าเป็นตัวเลือกที่ชัดเจนและน่าสนใจ เธอทำผลงานได้ยอดเยี่ยมในการทดสอบบท แถมยังมีหน้าตาที่ชวนให้เรานึกถึงแคเธอรีน เดอเนิฟ ตอนสาวๆ ซึ่งเหมาะมากสำหรับยุคนั้น”

เดบิกคี นักแสดงชาวออสเตรเลียรับบทเป็นหญิงสาวจากลิเวอร์พูลที่จงใจพูดสำเนียงอังกฤษมาตรฐานอย่างชัดถ้อยชัดคำ เธอกล่าวว่า “นักแสดงในเรื่องนี้มีไม่กี่คนหรอกค่ะที่ได้เล่นเป็นคนชาติเดียวกับตัวเอง” คาวิลล์ซึ่งเป็นคนอังกฤษรับบทเป็นคนอเมริกัน แฮมเมอร์ซึ่งเป็นคนอเมริกันรับบทเป็นคนรัสเซีย และวิแคนเดอร์ชาวสวีเดนรับบทเป็นคนเยอรมัน ทั้งหมดนี้รวมเข้ากับบรรยากาศความเป็นนานาชาติในกองถ่าย และสอดคล้องไปกับสถานที่ถ่ายทำต่างๆ ในอังกฤษและอิตาลี

กรณียกเว้นคือนักแสดงที่รับบทเป็นอเล็กซานเดอร์ สามีของวิกตอเรีย โดยลูกา คาลวินี ชาวอิตาเลียนได้มาแสดงในภาพยนตร์ภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรกกับบทนักแข่งรถผู้หล่อเหลา วิแกรมเรียกเขาว่าเป็น “การค้นพบครั้งใหม่สำหรับผู้ชมทั่วโลก” พร้อมทั้งให้ความเห็นว่า “ลูกาเป็นตัวแทนของสิ่งที่เราคิดเอาไว้ เขาทำให้อเล็กซานเดอร์มีบุคลิกของความเลิศหรูร้ายกาจอย่างลงตัวจนทำให้เขาดูน่าเชื่อถือ และในขณะเดียวกันก็เป็นตัวละครที่สนุกมากด้วย”

“อเล็กซานเดอร์เชื่อว่าเขาได้พบภรรยาที่เป็นเครื่องหมายแห่งความสำเร็จให้เขาได้อย่างสมบูรณ์แบบซึ่งก็เป็นเรื่องตลกดีเพราะสุดท้ายแล้วเขาก็กลายเป็นสามีที่เป็นเครื่องหมายแห่งความสำเร็จให้เธอในแง่หนึ่งเหมือนกันในฐานะเป็นผู้ออกเงินให้แผนการชั่วร้ายของวิกตอเรีย” คาลวินีกล่าว “แต่เขาทะนงตนเสียจนคิดว่าตัวเองยังคงมีอำนาจบงการอยู่”

“ตัวละครทั้งสองตัวนี้เป็นบทบาทที่ยอดเยี่ยมมากค่ะ” เดบิกคีกล่าว “คู่สามีภรรยาวินชิเกร์ราแต่งตัวสุดเลิศและร้ายอย่างสุดเลิศด้วย แล้วคู่นี้ก็เปิดกว้างเรื่องความสัมพันธ์มากๆ ด้วย เป็นยุค 60 จริงๆ”

ขณะที่แผนการเหล่านี้ดำเนินไป บุคคลในตำแหน่งสูงก็คอยจับตาดูจากมุมมองที่กว้างกว่า คนหนึ่งก็คือแซนเดอร์ส หัวหน้าของนโปเลียน โซโล ที่ซีไอเอ รับบทโดยจาเร็ด แฮร์ริสซึ่งยินดีกลับมาร่วมงานกับริทชีและวิแกรมหลังจากรับบทเป็นตัวร้ายระดับตำนาน มอริอาร์ที ใน “Sherlock Holmes: A Game of Shadows”

เพื่อส่งสารถึงคนรักหนังทั่วโลก ตัวละครนี้ตั้งชื่อตามดารารุ่นคลาสสิก จอร์จ แซนเดอร์ส ผู้รับบทเป็น “The Saint” และแสดงเป็นสายลับในหนังอีกหลายเรื่อง

D4D_5649.dngแฮร์ริสกล่าวว่า “แซนเดอร์สมีปัญหาอยู่บ้างกับสายลับผู้ทำตัวอิสระและออกจะอวดดีรายนี้ซึ่งแน่นอนว่ามีความสามารถอย่างยิ่งด้วย อาจเพราะเหตุนี้เองที่ทำให้เขาอารมณ์ร้ายและบูดบึ้ง เขาอยู่ในโลกสีเทาแต่ต้องจัดการกับสิ่งที่สุดโต่งและเขามองทุกอย่างผ่านมุมมองที่ว่า ‘สหรัฐอเมริกาสำคัญเป็นอันดับหนึ่งเหนือสิ่งอื่นใด’”

หลังจากเพิ่งแสดงในหนังดรามาย้อนยุคทางช่อง AMC เรื่อง “Mad Men” มาสี่ซีซัน แฮร์ริสก็ซึมซับเอาทุกอย่างในยุค 60 มาเต็มที่ เขาเปิดรับโอกาสที่จะได้ไปเยือนอีกด้านหนึ่งของยุคนี้ โดยกล่าวว่า “หนังเรื่องนี้มีบทที่ดี กระชับ และมีอารมณ์ขัน”

ฮิวจ์ แกรนต์ รับบทเป็นเวเวอร์ลีย์ผู้มีเสน่ห์และไม่สะทกสะท้านต่อสิ่งใด เป็นตัวละครเพียงตัวเดียวนอกเหนือจากโซโลและเคอร์ยาคินที่ผู้ชมคุ้นเคยกันจากในซีรีส์ เขาเองก็สนใจในบทหนังเช่นกันและกล่าวด้วยอารมณ์ขันอันเป็นเอกลักษณ์ว่า “ผมชอบหนังของกายมาตลอดและคิดว่ามันเก๋ดีนะ ผมก็ไม่แน่ใจว่าตัวเองเคยเล่นอะไรที่มันเก๋ๆ ซักนิดนึงบ้างหรือเปล่า ก็เลยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผมสนใจหนังเรื่องนี้ อีกอย่างผมมีลุงที่เป็นสายลับแล้วผมก็สนใจโลกของสายลับมาตลอด ก็เลยคิดว่าน่าจะสนุกดี เราไม่เคยได้รับอนุญาตให้พูดเรื่องที่ว่าเขาเป็นสายลับหรอกครับ เขาแค่อยู่ในหน่วยนาวิกโยธินตามที่ปรากฏอย่างเป็นทางการ แต่เราทุกคนรู้กันดี”

เวเวอร์ลีย์แสดงท่าทีที่ไม่ถือตัวและแนะนำตัวเองเพียงด้วยการจับมือและบอกชื่อ แม้ที่จริงแล้วปรากฏว่าเขาเป็นผู้ต่อรองอำนาจที่มีความสำคัญ ซึ่งความสำคัญนี้จะยังไม่เผยออกมาทั้งหมดจนกระทั่งอีกนานหลังจากนั้น

“ผมจินตนาการว่าเขาเป็นสุดยอดสายลับอังกฤษมาดเนี้ยบแต่ออกจะน่ากลัว” นักแสดงรายนี้กล่าว “ก็เหมือนสายลับอังกฤษหลายคน เขาน่าจะมาจากการเป็นนาวิกโยธิน ผมเชื่อว่าเขาเคยลงไปลุยเองมาแล้วและค่อนข้างชอบด้วย แต่ตอนนี้เขาเป็นชายสวมชุดสูทสุดหรูที่ชิงไหวชิงพริบกับบรรดาผู้คนหลังม่านเหล็กและอาจชิงไหวชิงพริบกับองค์กรซีไอเอของอเมริกาด้วย เพราะมีความไม่ลงรอยกันอยู่เสมอและมีการแสดงให้เห็นอยู่ในหนังด้วยเช่นกัน”

นักแสดงคนอื่นๆ ที่มาร่วมทีมนักแสดงหลัก ได้แก่ นักแสดงชาวไซบีเรีย มิชา คุซเนทซอฟ มารับบทเป็นโอเล็ก หัวหน้าฝั่งเคจีบีผู้มีลับลมคมใน นักแสดงชาวเยอรมัน คริสเตียน เบอร์เคล รับบทเป็น อูโด เทลเลอร์ บุคคลผู้ปราดเปรื่องซึ่งต้องมาตกอยู่ในสถานการณ์ที่แม้แต่เขาก็ยังไม่อาจคำนวณหาทางออกได้ และซิลเวสเตอร์ กร็อธ รับบทเป็นรูดี นาซีขนานแท้ผู้ทุ่มเทเพื่อเป้าหมายของตนพอๆ กับงานอดิเรกอันพิสดาร จุดเชื่อมโยงที่น่าสนใจกับตัวหนังคือกร็อธเกิดในเยอรมนีตะวันออกและสุดท้ายก็หลบหนีมายังฝั่งตะวันตก

งานสร้างสรรค์ฉาก

สถานที่ถ่ายทำรับบทบาทสำคัญใน “The Man from U.N.C.L.E.” โดยช่วยกำหนดโทนและความสมจริง “เราดีใจที่ใน ‘Sherlock Holmes’ การสร้างลอนดอนยุคศตวรรษที่ 19 ขึ้นมาใหม่ได้ช่วยนำผู้ชมย้อนกลับไป และในเรื่องนี้เราก็พยายามทำเช่นเดียวกันด้วยการนำเสนอภาพของเบอร์ลินและโรมซึ่งได้แรงบันดาลใจจากหนังหลายเรื่องในยุคนั้น” วิแกรมอธิบาย “โรมเป็นแบบฉบับของสไตล์ยุค 60 ส่วนเบอร์ลินนั้นแน่นอนว่าเป็นจุดศูนย์รวมของหนังสงครามเย็นทุกเรื่อง”

นอกจากนี้ริทชีกล่าวว่า “ภาพที่เป็นสัญลักษณ์อย่างกำแพงเบอร์ลินและจุดข้ามแดนเช็คพอยท์ชาร์ลีก็เป็นองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้สำหรับเรื่องราวประเภทนี้เพื่อให้ตรงตามแนวของหนังและยุคสมัย”

ฉากที่เบอร์ลินให้โทนสีเย็นเรียบโล่งตัดกับสีสันและพื้นผิวที่สดใสละลานตาในฉากที่อิตาลี

โดยรวมแล้ว “กายต้องการให้รูปลักษณ์และอารมณ์ของยุค 60 ปรากฏอยู่แต่ไม่ชัดเจนหรือซ้ำซาก โดยมีกลิ่นอายของสงครามเย็นอยู่ด้วย การวางสมดุลคือกุญแจสำคัญ” นักออกแบบงานสร้าง โอลิเวอร์ สโคลล์กล่าว แนวทางนี้ไม่เพียงส่งผลต่อการตัดสินใจของเขาแต่ยังรวมถึงทีมงานสร้างสรรค์ทั้งหมดด้วย

ผู้จัดการฝ่ายสถานที่ ซู ควินน์ ควานหาสถานที่ทั่วยุโรปเพื่อให้ตรงกับภาพที่ริทชีต้องการคือ “รูปลักษณ์ที่หรูหราและให้อารมณ์ยุค 60 แต่ตื่นเต้นท้าทาย” เธอกล่าว “เราเริ่มต้นในโรมด้วยสถาปัตยกรรมยุค 1930 ที่งดงามน่าทึ่งจากยุคมุสโสลินีซึ่งดูดีมากในหนัง แต่โรมเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวและความท้าทายในเชิงลอจิสติกส์ ดังนั้นเราจึงไปที่เนเปิลส์และบริเวณโดยรอบเพื่อขยายตัวเลือกให้หลากหลายออกไป”

D4D_6423.dngสถานที่ถ่ายทำในโรม ได้แก่ บันไดสเปนอันลือชื่อ, เตอาโตร มาร์เซลโล, พิแอซซา เวเนเซีย และโรงแรมแกรนด์ พลาซา ที่ซึ่งโซโล เคอร์ยาคิน และแกบีพักอยู่ขณะพยายามตีสนิทกับพวกวินชิเกรร์า ในเนเปิลส์ทีมงานใช้อุโมงค์ใต้ดินที่ Fonderia Iron Works เพื่อเป็นคุกใต้ดินในคฤหาสน์บนเกาะของพวกวินชิเกร์รา ซึ่งอาจเป็นจุดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการซ่อนนักฟิสิกส์นิวเคลียร์พร้อมด้วยห้องทดลองใต้ดิน ขณะที่ปราสาทบาจาในอ่าวเนเปิลส์ซึ่งเชื่อกันว่าสร้างขึ้นเพื่อจักรพรรดินีโรได้กลายเป็นฉากภายนอกอันน่าประทับใจ

“สถาปัตยกรรมไม่ได้ตามกระแสเร็วเท่าเสื้อผ้าหรือผลิตภัณฑ์ ดังนั้นกรอบของสถาปัตยกรรมที่เราใช้เป็นฉากจึงกว้างกว่ากันมาก” สโคลกล่าว เขาใช้บรรดาอาคารต่างๆ ที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น “ยุคสมัยได้รับการถ่ายทอดผ่านรายละเอียดยิบย่อยมากมายไม่ว่าเป็นหน้าร้าน กราฟฟิก กันสาด โปสเตอร์ ตู้โชว์หน้าร้าน ประตู เฟอร์นิเจอร์ และข้าวของเครื่องใช้”

ทีมงานใช้สหราชอาณาจักรแทนฉากเยอรมนีตะวันออก โดยมีทั้งสถานที่จริงและฉากซึ่งสร้างขึ้นที่สตูดิโอของ Warner Bros. ที่ลีฟส์เดน รวมถึงฉากเช็คพอยท์ชาร์ลีอันโด่งดังซึ่งสร้างขึ้นที่บริเวณภายนอกของสตูดิโอ ในขณะที่บางส่วนของวิทยาลัยทหารเรือกรีนิชในลอนดอนตะวันออกเฉียงใต้และอู่เรือชาแธมในเคนต์ซึ่งปรับแต่งด้วยซีจีอย่างเต็มที่เป็นส่วนสำคัญในฉากไล่ล่าตามกำแพงเบอร์ลินในตอนเปิดเรื่อง ช่วยให้ทีมออกแบบได้ภาพอย่างที่ต้องการพร้อมด้วยความยืดหยุ่นและความสะดวกจากการถ่ายทำในสภาพแวดล้อมที่ได้รับการควบคุม สนามแข่งรถกู๊ดวู้ดเซอร์กิตซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในซัสเซ็กส์ตะวันตกก็ได้นำมาใช้เป็นฉากในอิตาลีที่ อเล็กซานเดอร์ วินชิเกร์รา อวดรถของเขา

โรงถ่ายในสตูดิโอเป็นที่ตั้งของฉากมากมาย ไม่ว่าจะเป็นฉากภายในของโรงแรมในโรม สำนักงานใหญ่บริษัทของวิกตอเรียซึ่งเรียบหรูขึงขังแบบนีโอฟาสซิสต์ของอิตาลี และห้องทดลองใต้ดินซึ่งอูโด เทลเลอร์ถูกจับมาและบังคับให้ทำงาน

ฉากที่ซับซ้อนเป็นพิเศษในแง่การออกแบบ รวมถึงในแง่คิวบู๊และเอฟเฟ็กต์ ก็คือฉากไล่ล่าช่วงไคลแม็กซ์ที่เกาะของวินชิเกร์รา ซึ่งเป็นการนำสถานที่หลายแห่งมาผสมกัน อันได้แก่ แฮงค์ลีย์ คอมมอน ซึ่งเป็นพื้นที่ชนบทในเซอร์เรย์ อุโมงค์มิเซโนและปราสาทไบอาในเนเปิลส์ ถนนหลายเส้นนอกกรุงโรม และอเบอรีสวิธบนชายฝั่งทางตะวันตกของเวลส์

ผู้กำกับภาพอันมีชื่อเสียง จอห์น แมทเธียสัน ทำงานร่วมกับริทชีอย่างใกล้ชิดตลอดการถ่ายทำ โดยได้กำหนดแนวทางการให้แสงซึ่งวิแกรมกล่าวว่า “ชวนให้นึกถึงยุคนั้นและมีพลังแบบสมัยใหม่ด้วย ทั้งวิธีการที่เขาจัดเรียงช็อตและบรรยากาศที่เขาสร้างขึ้นมา…เขาทำงานนี้ได้อย่างยอดเยี่ยมจริงๆ ครับ”

เมื่อเรื่องราวเริ่มยุ่งเหยิง

แอ็คชันเป็นส่วนสำคัญในเรื่องราวของ “U.N.C.L.E.” และเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งริทชีไม่ยอมรามือ “นักแสดงทำงานกันหนักมาก” เขากล่าว “ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในฉากเหล่านี้เป็นสนามประลองที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาคุณยิงปืนคุณลอยไปทั่วทุกที่คุณต้องมีร่างกายที่แข็งแรงเพราะในวันหนักๆคุณจะต้องทำงานต่อเนื่องนานแปดชั่วโมง”

ฉากแอ็คชันใน “The Man from U.N.C.L.E.” อาศัยการร่วมงานกันของผู้ประสานงานฝ่ายสตันท์พอลเจนนิงส์และผู้ควบคุมสเปเชียลเอฟเฟ็กต์โดมินิกทูอีตามแนวทางของผู้กำกับที่ให้นำสิ่งใหม่ๆมาสู่จอภาพยนตร์

“เราต้องการให้ฉากแอ็คชันเผยให้เห็นตัวละครมากขึ้นด้วย” เจนนิงส์กล่าว เขาดูแลการฝึกซ้อมนักแสดงสำหรับการจู่โจมด้วยการชกต่อย การกระหน่ำยิง การไล่ล่าด้วยมอเตอร์ไซค์ การไล่ล่าด้วยรถยนต์ ระเบิด รวมถึงคิวบู๊อีกมากมาย “กายชอบการทำหนังที่สมบุกสมบัน เขาคิดนอกกรอบและให้อิสระคุณทำเช่นเดียวกัน คุณต้องกล้าทำตามสัญชาตญาณในหนังของกาย ริทชี ถึงแม้ว่ามันไม่ได้ผลในครั้งแรก เขาก็ไม่ว่าอะไร เขายินดีที่จะให้คุณลองทำดู”

ในกรณีนี้ทั้งเฮนรีคาวิลล์และอาร์มีแฮมเมอร์เต็มใจอย่างยิ่งที่จะลองทั้งสองกระโดดเข้ามาด้วยความมุ่งมั่นเต็มร้อยและต้องการเล่นฉากบู๊เองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

“ผมไม่ได้มาแย่งงานทีมสตันท์ฝีมือเยี่ยมของเรานะครับ พวกเขาต้องรับการล้มกลิ้งหลายตลบและทำสิ่งที่เหลือเชื่อหลายอย่างเลย” คาวิลล์รีบเสริม “แต่อาร์มีกับผมต่างก็เป็นนักแสดงที่ชอบออกท่าออกทางเองและเข้าไปมีส่วนร่วม มีฉากแอ็คชันหลักบางฉากที่เมื่อได้ยินครั้งแรก ผมนึกว่าจะเป็นซีจี แต่สุดท้ายเราก็ใช้การแสดงผ่านกล้องเสียเป็นส่วนใหญ่”

เหตุยิงในเบอร์ลิน

D3S_7408.DNGเรื่องราวเริ่มต้นขึ้นด้วยเสียงปึงปังพร้อมด้วยกระจกแตกและยางไหม้ขณะที่แกบีและโซโลซึ่งเพิ่งรู้จักกันอยู่ในรถเก๋งวินเทจยี่ห้อวอร์ตเบิร์กพยายามหลบเลี่ยงรถแทรบานต์ของเคอร์ยาคินผ่านถนนอันมืดมิดของเบอร์ลินตะวันออกเพื่อไปพบสายของโซโลที่อีกฟากหนึ่ง

“กายมองภาพว่ามันเหมือนบัลเลต์” ทูอีกล่าว “เราปรับแต่งรถทั้งสองคันไว้สำหรับคนขับตาบอดซึ่งก็คือรถวอร์ตเบิร์กมีตำแหน่งคนขับอยู่บนหลังคาส่วนรถทราแบนต์นั้นอยู่ด้านล่างส่วนหน้าซึ่งช่วยให้นักขับสตันท์ควบคุมรถได้ด้วยความเร็วเต็มพิกัดขณะนักแสดงอยู่ภายในรถทำให้นักแสดงได้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และเรามียานพาหนะติดตามไปกับพวกเขาด้วย

“เราต้องการให้รถทั้งสองคันอยู่ใกล้กันขณะเลี้ยวโค้งแคบตามหัวมุมต่างๆ” เขากล่าวต่อ “ดังนั้นเราจึงดัดแปลงให้รถมีน้ำหนักเบามากและทำอุปกรณ์ที่ต่อทั้งสองคันเข้าด้วยกันจากนั้นในสภาพฉากเขียวเราก็สร้างแป้นหมุนไฮดรอลิกขึ้นมาเพื่อที่เราจะได้ให้รถทั้งสองคันอยู่ด้วยกันและเคลื่อนมันไปข้างหน้าข้างหลังได้เหมือนกับว่าแล่นจ่อกันอยู่และทำให้มันเคลื่อนที่ได้โดยอิสระหรือหมุนเป็นมุม 360 องศา”

การถ่ายทำใช้เอฟเฟ็กต์จริงให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ทูอียกตัวอย่างว่า “ตำแหน่งคนขับสตันท์ซึ่งเราสร้างติดกับตัวรถไว้จะถูกตัดออกจากเฟรมภาพเหมือนที่ทำกันในยุคก่อนมีซีจีดังนั้นกล้องจึงจับภาพสิ่งที่ผู้ชมจะเห็นในเฟรมแทนที่จะจับภาพอุปกรณ์ทั้งหมดแล้วใช้ซีจีตัดออกในภายหลัง”

ในขณะเดียวกัน งานวิชวลเอฟเฟ็กต์ภายใต้การดูแลของริชาร์ด เบน ก็มีประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้งานด้านอื่นๆ เช่น การช่วยเปลี่ยนถนนหนทางในวิทยาลัยทหารเรือกรีนิชและอู่เรือชาแธมซึ่งเป็นสถานที่ถ่ายทำการไล่ล่าให้กลายเป็นเบอร์ลินตะวันออก

“กรีนิชเป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่ามากที่สุดแห่งหนึ่งของเรา และการถ่ายทำฉากไล่ล่ากันที่นั่นก็เป็นเรื่องพิเศษในตัวมันเอง” ทูอีเสริม “ถนนที่นั่นมีเอกลักษณ์ซึ่งไม่อาจทดแทนได้ ถือเป็นความท้าทายในการที่เราจะต้องรักษาสภาพไว้ให้คงเดิม ตรงส่วนที่คุณเห็นบนทางเท้านั้นไม่ใช่ของจริง เราวางวัสดุปูพื้นลงไปตามส่วนต่างๆ เพื่อที่ว่าถ้าเราขับรถทับไปบนนั้นจะได้ไม่สร้างความเสียหายให้สิ่งที่อยู่ข้างใต้”

การล่องเรือในอ่าว

“สิ่งหนึ่งซึ่งกายต้องการทำคือการนำรถบรรทุกไปจอดลงบนเรือและเล่นส่วนตลกเมื่อรถบรรทุกจมเรือลงโดยมีโซโลอยู่ในที่นั่งคนขับ” ทูอีกล่าว

นี่เป็นส่วนหนึ่งของฉากที่ใหญ่กว่าซึ่งสายลับทั้งสองต้องหลบเลี่ยงนักฆ่าเต็มลำเรือหลังจากไปด้อมๆ มองๆ ในโรงงานของวินชิเกร์รายามค่ำคืน ผู้ประสานงานสตันท์ เจนนิงส์ กล่าวว่า “ในฉากการไล่ล่าที่อ่าว อาร์มีต้องขับเรืออยู่หลายช่วง เราพาเขาออกเรือไปทดสอบและเขาก็ทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ ช่วยให้เรามีอิสระในการถ่ายทำขณะเขาขับเรือ เป็นเรื่องดีมากที่คุณสามารถนำนักแสดงมารับหน้าที่ในสถานการณ์แบบนี้ และรู้ว่านักแสดงสามารถจัดการกับมันได้”

สำหรับทีมงานของทูอีนั้นงานลอจิสติกส์ดูจะซับซ้อนมากกว่า “เมื่อคุณขับรถออกจากที่สูงไปลงบนเรือมันจะผลักเรือออกไป” เขาอธิบายดังนั้นรถบรรทุกน้ำหนักเบาจึงได้รับการออกแบบให้ควบคุมด้วยอุปกรณ์ซึ่งจะทำให้มันจอดลงบนจุดที่กำหนดพอดี

ปัญหาต่อมาคือเรือซึ่งมีขนาดใหญ่และทำจากไฟเบอร์กลาสต้องอาศัยการแทนที่ของเหลวราว 30 ตันเพื่อให้มันจม ซึ่งไม่มีสิ่งนั้นและไม่มีเวลารอให้มันจมด้วย ทีมงานจึงใช้ดอกไม้ไฟเพื่อให้สารกันรั่วของเรือหลุดออกและปล่อยให้น้ำไหลเข้ามา ขณะเดียวกันเครื่องไฮโดรลิกที่อยู่ข้างใต้ก็ดึงทุกอย่างลงในเวลาราว 10 วินาที ช่วยให้คาวิลล์นำเสนอทั้งความยิ่งใหญ่และความขำขันในฉากได้ภายในเทคเดียว

ออกตลุยที่คฤหาสน์ของวินชิเกร์รา

จุดสูงสุดของการไล่ล่าเกิดขึ้นที่เกาะของคู่สามีภรรยาวินชิเกร์ราซึ่งสิ่งสำคัญต่างพากันออกโรงอย่างปุบปับและมีสีสันขณะที่ตัวละครคว้ายานพาหนะใดๆก็ตามที่ใช้การได้และจุดหักเหใหม่ๆก็เปลี่ยนสมดุลของขั้วอำนาจอยู่ตลอดเวลา

ยานพาหนะของตัวเอก ได้แก่ รถมอเตอร์ไซค์รุ่นทศวรรษ 1960 รถแลนด์โรเวอร์ดัดแปลงที่ลงน้ำได้ และรถ ATV ขับเคลื่อนสี่ล้อที่แต่งมาเป็นพิเศษและส่งเสียงกระหึ่ม ซึ่งริทชีตั้งชื่อได้อย่างถูกต้องว่า “อสูร”

“แน่ล่ะครับว่ารถร็อคครอว์เลอร์ไม่ค่อยถูกต้องตามยุคสมัยนัก แต่ผมไม่ยอมปล่อยให้เรื่องนั้นมาเป็นอุปสรรค เราก็เลยสร้างของเราขึ้นมาเอง” เขากล่าว ยานพาหนะคันนี้ทำตามที่ชื่อบอกไว้ นั่นคือใต่ขึ้นเขาที่มีความชันเกือบ 90 องศาก่อนแล่นไถลเป็นระยะทางกว่า 300 ฟุตข้ามทะเลสาบ “ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าตอนนี้จะเอามันไปทำอะไรดี มันกว้างตั้งเจ็ดฟุตน่ะครับ”

ผู้กำกับมองหาสภาพพื้นที่อันเป็นเอกลักษณ์และสมบุกสมบันซึ่งส่งผลให้ฉากนี้เกิดขึ้นจากการนำสถานที่ต่างๆมาผสมผสานกันอย่างกลมกลืนเจนนิงส์เล่าว่า “เราเริ่มต้นในอิตาลีผ่านอุโมงค์และขึ้นภูเขาโดยยังคงอยู่ในอิตาลีจากนั้นก็ตัดไปยังช็อตที่ถ่ายในเวลส์แล้วก็เป็นแฮงค์ลีย์คอมมอนส์ผสมส่วนที่ถ่ายทำจากนอร์ธไชร์ลงไปบ้างเราถ่ายทำกระจัดกระจายไปทั่วแต่สุดท้ายแล้วผมคิดว่าเราได้สิ่งที่แตกต่างจริงๆ”

ที่แผงควบคุมของร็อคครอว์เลอร์โซโลแสดงไหวพริบขณะที่แอ็คชันดำเนินไปด้วยรู้ว่ารถแลนด์โรเวอร์ของอเล็กซานเดอร์วินชิเกร์ราสามารถแซงหน้าเขาได้ง่ายๆบนถนนเขาจึงสร้างหนทางของตัวเองผ่านพุ่มไม้เนินเขาป่าโคลนและกรวดเพื่อไม่ให้อีกฝ่ายตามมาได้

ขณะที่เคอร์ยาคินนั้นใช้ถนนอีกสายหนึ่งในฉากแอ็คชันไล่ล่าที่เกิดขึ้นพร้อมกัน โดยควบมอเตอร์ไซค์ยุค 1960 ที่เขาขี่จนกระทั่งมันขี่ไม่ได้ ถึงจุดนั้นสายลับผู้เก่งกาจในการเอาตัวรอดก็ต้องหาวิธีนำมันมาใช้ประโยชน์อย่างอื่น

แฮมเมอร์ไม่กังวลมากนักในการเตรียมตัวสำหรับฉากนี้เขามองว่าตัวเองมีความสามารถเพียงพอจากการเป็นนักขี่มาตั้งแต่ได้มอเตอร์ไซค์วิบากคันแรกเมื่อครั้งยังเด็กแต่ผู้ช่วยผู้ประสานงานสตันท์ลีมอร์ริสันไม่ได้มองอย่างนั้นในตอนแรกแฮมเมอร์เล่าว่า “เราไปที่ทุ่งหญ้ากว้างแล้วลีก็พูดว่า ‘เอาล่ะผมจะลองประเมินสักหน่อยนะว่าคุณขี่มอเตอร์ไซค์เป็นยังไงขึ้นไปบนนั้นเลี้ยวโค้งกลับมาทำเป็นรูปเลขแปดผ่านกรวยพวกนั้นไปแล้วก็หยุด’ ผมคิดว่า ‘ไม่มีปัญหาก็ง่ายๆนี่นา’ ผมทำทุกอย่างตามนั้นแล้วกลับมาแล้วเขาก็บอกว่า ‘นั่นมันบ้าอะไรกันนายนั่งแบบนี้เหรอนายเก็บข้อศอกแบบนี้น่ะเหรอ’ แล้วเขาก็สอนท่าทางที่ถูกต้องให้และช่วยให้การขี่มอเตอร์ไซค์ของผมดีขึ้นมากเลยครับซึ่งเป็นเรื่องดีมากๆเลยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาขี่มอเตอร์ไซค์วินเทจซึ่งไม่ได้ผ่านการพัฒนาในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาดังนั้นมันถึงหนักและเทอะทะ”

ถึงจะหนักและเทอะทะแต่มันก็แบกเอาประวัติศาสตร์ของฮอลลีวู้ดไว้มอเตอร์ไซค์ที่แฮมเมอร์ขี่เป็นรถ Métisse Desert Racer รุ่นจำกัดจำนวนที่ผลิตโดยโรงงานอันมีชื่อเสียงของ Métisse ในอ็อกซ์ฟอร์ดไชร์เพื่อให้เป็นแบบจำลองที่เหมือนเป๊ะจากรถรุ่นมาร์ค III ที่ออกแบบโดยนักแสดงสตีฟแม็คควีนและบั๊ดเอคินส์ในยุคทศวรรษ 1960

“The Man from U.N.C.L.E.” ยังได้อาศัยยานพาหนะวินเทจอย่างเฮลิคอปเตอร์ Hiller UH12E4 รุ่นปี 1960 ซึ่งเคยได้รับบทบาทสำคัญในหนังสายลับอีกเรื่องหนึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่อาจเปลี่ยนให้คนทำหนังผู้ช่ำชองอาจกลายร่างเป็นแฟนเจมส์บอนด์ผู้คลั่งไคล้ได้ชั่วขณะหนึ่งอย่างที่วิแกรมกล่าวด้วยความยินดีว่า “เราได้เฮลิคอปเตอร์ของพุสซีกาลอร์จาก ‘Goldfinger’ มาใช้ในหนังของเราด้วยนะผมบอกไม่ถูกเลยครับว่าน่าตื่นเต้นขนาดไหน!” นับเป็นการย้อนรำลึกถึงตัวซีรีส์ด้วยเนื่องจากเป็นที่ทราบกันว่าเอียนเฟลมมิงผู้สร้างตัวละครบอนด์มีส่วนเสนอความคิดให้แก่โครงการโทรทัศน์เรื่องนี้ในช่วงวางแนวคิดเริ่มต้น

ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง

D4D_1901.DNGผลงานของนักออกแบบเครื่องแต่งกายมือรางวัล โจแอนนา จอห์นสตัน กลมกลืนไปกับโทนที่เลือกโดยนักออกแบบงานสร้าง สโคลล์ และผลงานฉากของเขา “ในเบอร์ลินภาพโดยหลักเป็นคอนกรีต ทุกอย่างดูเย็นชาแข็งกระด้างและค่อนข้างหดหู่” เธอกล่าว “เราได้ความสดชื่นสอดแทรกเข้ามาบ้างด้วยงานพิมพ์และลวดลายต่างๆ เมื่อเรื่องราวข้ามไปยังฝั่งเบอร์ลินตะวันตกแต่โทนสีก็ยังเป็นโทนเย็นอยู่ จากนั้นในอิตาลีสีสันจึงอยู่ในโทนอุ่นและมีความสลับซับซ้อนขึ้นมา”

การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในยุคนั้นหลังจากความจืดชืดยุคหลังสงครามในทศวรรษ 1950 เป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้จอห์นสตัน ซึ่งศึกษายุคนั้นผ่านนิตยสารแฟชั่นในช่วงเวลาดังกล่าว “ทั้งหมดเป็นเรื่องของสีสันค่ะ” เธอขยายความ “เป็นช่วงเวลาที่สุดโต่งและท้าทายในทุกสาขาตั้งแต่ศิลปะ แฟชั่น ไปจนถึงดนตรี สิ่งที่ฉันสะดุดใจก็คืออิสระในการออกแบบในช่วงนั้นซึ่งปรากฏชัดผ่านภาพถ่าย นางแบบ การวางสไตล์ ทุกๆ อย่าง”

เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางของริทชี นักออกแบบรายนี้พยายามหลีกเลี่ยงความโจ่งแจ้งซ้ำซากซึ่งอาจทำลายงานย้อนยุคได้ แล้วหันไปหาสิ่งที่ “ลุ่มลึกและเป็นเอกลักษณ์มากกว่า แต่ยังคงเรียบหรูสะดุดตาเหมือนหนังประเภทที่คุณจำได้ซึ่งทุกคนในนั้นดูดีไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ก็ตาม”

แฮมเมอร์ยกความดีให้เครื่องแต่งกายที่ช่วยให้เขาสร้างบุคลิกของเคอร์ยาคินขึ้นมา “มันไม่ได้เหมือนเครื่องแต่งกายในกองถ่ายเลยครับ” เขายืนยัน “มันให้ความรู้สึกเหมือนเป็นเสื้อผ้าจริงๆ เพราะมันไม่ฟู่ฟ่าเกินไป” ที่จริงแล้วเคอร์ยาคินเป็นคนที่แต่งตัวเรียบๆ มากกว่าเพื่อนคู่หู แฮมเมอร์พูดติดตลกว่าส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะ “เขาใช้งบประมาณของโซเวียต”

จอห์นสตันจัดเสื้อผ้าของสายลับรัสเซียรายนี้ให้ดูเรียบๆ ในแนวลำลองแต่เร้าใจ โดยกล่าวว่า “เครื่องแต่งกายของเขาเป็นเสื้อผ้าแยกชิ้น แจ็กเก็ตหนังกลับและผ้าลูกฟูก กางเกงสแลค และแน่นอนว่าต้องมีสเวตเตอร์คอเต่า ซึ่งเป็นองค์ประกอบเดียวจากซีรีส์ทีวีที่ฉันต้องเก็บไว้เพราะเป็นสิ่งแรกที่ทุกคนที่ฉันคุยด้วยเอ่ยถึง”

โซโลเป็นอีกเรื่องหนึ่งโดยสิ้นเชิง “ในแง่หนึ่งโซโลสร้างตัวตนของเขาขึ้นมาใหม่ดังนั้นฉันคิดว่าแนวทางที่ไตร่ตรองมาเป็นอย่างดีน่าจะเหมาะสม” เธอกล่าว “เขาได้เสื้อผ้าสั่งตัดชั้นดีจาก Saville Row และรองเท้าแฮนด์เมดเขาดูเป็นสุภาพบุรุษเต็มขั้นฉันให้ Timothy Everest ร้านตัดเสื้อชื่อดังของอังกฤษเป็นผู้ตัดสูทของเฮนรีทั้งหมดเขาเป็นคนหยิ่งทะนงและชอบนำเสนอภาพลักษณ์ของตัวเองโดยเน้นความหรูหราราคาแพงความดูดีและเก๋ไก๋”

คาวิลล์เห็นด้วยเต็มที่ “เสื้อผ้าพวกนี้ทำจากผ้าเนื้อดีเยี่ยมและทันทีที่ผมสวมผมก็รู้สึกว่าตัวเองคือนโปเลียนโซโลเลยล่ะครับ” เขากล่าว

การออกแบบเสื้อผ้าให้นักแสดงนำหญิงเพิ่มอีกมิติหนึ่งให้กับเครื่องแต่งกายในหนังเรื่องนี้แกบีตัวละครที่อลิเชียวิแคนเดอร์เล่นนั้นแม้ว่าจะเปิดตัวในแบบทอมบอยด้วยชุดเสื้อกางเกงกันเปื้อนสำหรับทำงานแต่ก็เปลี่ยนมาใส่เสื้อผ้าแฟชั่นชั้นสูงได้อย่างลงตัวจอห์นสตันบรรยายถึงสไตล์โปร่งเบาของเธอว่า “สดชื่นเยาว์วัยเรียบง่ายและสะอาดตาแต่ก็ให้ความรู้สึกว่าเธอจะทำอะไรเมื่อไหร่ก็ได้ด้วย”

“ฉันเข้ามาลองชุดสองสามครั้งซึ่งเป็นวิธีที่ดีในการเข้าถึงตัวละครและโจแอนนาก็ให้ฉันได้มีส่วนร่วมด้วยค่ะ” วิแคนเดอร์เล่า “เธอนำบอร์ดรวมภาพและไอเดียต่างๆมาให้ฉันดูทำให้ง่ายที่จะปล่อยให้จินตนาการและความเพ้อฝันผุดขึ้นมาฉันเห็นชุดเปิดหลังที่สวยมากชุดหนึ่งซึ่งฉันชอบแล้วพอครั้งถัดไปที่ฉันไปลองชุดมันก็อยู่ตรงนั้นแล้ว”

สำหรับบทวิกตอเรียผู้เย็นชาที่แสดงโดยอลิซาเบ็ธเดบิกคีนั้นจอห์นสตันเห็นร่องรอยของโซโลอยู่ “ในแนวทางของเธอเองนั้นวิกตอเรียเหมือนคนที่จับคู่กับโซโลได้ในแง่การไตร่ตรองและนำมาประยุกต์ใช้การฉายภาพลักษณ์ของตัวเธอเองเธอชอบให้รูปลักษณ์ของตัวเองมีเรื่องราวเธอเป็นงูและอยากล่อคนเข้าไปในถ้ำของเธอ”

เดบิกคียินดีที่ได้ร่วมงานกับนักออกแบบรายนี้ในการสร้างรูปลักษณ์ขาวดำอันชวนสะดุดตาที่เป็นเอกลักษณ์ของวิกตอเรียโดยเน้นความแวววาวและลายกราฟฟิก “เสื้อผ้าของวิกตอเรียสะท้อนสิ่งที่ดีที่สุดในแฟชั่นยุค 60 เธอค่อนข้างชื่นชอบเครื่องประดับแวววาวและเข็มขัดและเนื่องจากเธอรวยมากเราจึงมองว่าไม่จำเป็นต้องมีขีดจำกัดใดๆอีกอย่างหนึ่งการเป็นตัวร้ายก็หมายความว่าคุณจะทำอะไรก็ได้ตามที่คุณพอใจอยู่แล้ว” เธอกล่าว

นำการจู่โจม

“ดนตรีประกอบเป็นส่วนพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของหนังเรื่องนี้” ริทชีกล่าว “ผมคิดว่าบางครั้งในบางฉากดนตรีเป็นตัวนำการจู่โจมแล้วแอ็คชันค่อยตามมาเป็นครั้งแรกที่เราทำงานกับเดเนียลเพมเบอร์ตันนักแต่งเพลงรุ่นใหม่ที่มีความสามารถและผมค่อนข้างพอใจกับผลลัพธ์ที่ออกมา”

สำหรับเพมเบอร์ตันแล้วนี่เป็นประสบการณ์ที่ไม่เหมือนครั้งไหนๆ “เรื่องหลักของกายคือเขาต้องการให้ทุกสิ่งเรียบง่ายและน่าจดจำ” เขากล่าว “เขาต้องการให้งานดนตรีทุกๆชิ้นมีเอกลักษณ์และฟังดูเหมือนเพลงที่อยู่ได้ด้วยตัวของมันเองขณะเดียวกันก็ยังบรรลุผลในสิ่งที่ดนตรีประกอบหนังควรทำได้ในแง่ของการเน้นและเสริมแอ็คชันดังนั้นจึงเป็นงานที่ท้าทายมากเลยครับแต่ก็น่าทึ่งและน่าตื่นเต้นมากสำหรับผมด้วยเพราะผมต้องพยายามเต็มที่จริงๆและต้องไปให้สุดอย่างที่คนแต่งเพลงมักไม่ค่อยมีโอกาสได้ทำแบบนี้”

สิ่งนี้อาจเห็นได้ชัดที่สุดในฉากไล่ล่าช่วงไคลแม็กซ์ที่คฤหาสน์ของวินชิเกร์รา ฉากที่อัดแน่นด้วยแอ็คชันยาวต่อเนื่องซึ่งมีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นพร้อมกันจนกระทั่งริทชีนำเสนอบางส่วนในรูปแบบจอแยกคล้ายคาไลโดสโคปซึ่งขับเคลื่อนด้วยดนตรีประกอบโดยตลอด เพมเบอร์ตันกล่าวว่า “บ่อยครั้งที่ไม่มีบทพูดหรือมีบทพูดน้อยมาก ผมจำได้ว่ามีครั้งหนึ่งที่มีผม กาย และมือตัดต่อ เจมส์ เฮอร์เบิร์ต พยายามค้นหาว่าจะทำอย่างไรให้มันแตกต่างจากสิ่งที่ผู้ชมเคยได้ยินมาก่อน แล้วเราก็ได้ความคิดที่จะทดลองใช้เครื่องให้จังหวะที่ฟังดูยุ่งเหยิงและเกือบเป็นหลายจังหวะพร้อมกันเพื่อสะท้อนความรุนแรงของการโจมตี มันกลายเป็นความสับสนอลหม่านไร้การควบคุมแต่กลับประสานเข้าด้วยกันได้ ขึ้นลงไปพร้อมแอ็คชันที่เกิดขึ้น ถือเป็นช่วงหนึ่งที่ผมภูมิใจมากที่สุดครับ”

เพื่อให้กลมกลืนกับโทนหนังเพมเบอร์ตันค้นหาเสียงที่ผสมผสานความคมชัดและสลับซับซ้อนในปัจจุบันกับกลิ่นอายของยุค 60 อย่างชัดเจนขั้นแรกก็คือสถานที่ดนตรีประกอบของ “The Man from U.N.C.L.E.” อัดเสียงที่สตูดิโอ 2 ของห้องอัด Abbey Road ซึ่งแม้กระทั่งผู้ที่ไม่ได้เป็นแฟนเพลงตัวจริงก็น่าจะรู้ว่าเป็นสถานที่ซึ่ง The Beatles ใช้อัดเสียงอัลบั้มของพวกเขา

ในแง่แนวคิดนั้นเขากล่าวว่า “เราเน้นแนวทางที่เรียบง่ายและแตกต่างซึ่งหมายถึงการลดทอนดนตรีให้น้อยลงแต่เขียนเพลงและโปรดิวซ์ออกมาในแบบที่ยังคงให้พลังเหมือนออร์เคสตราวงใหญ่”

ในเชิงเทคนิคนั้นอุปกรณ์ของ Abbey Road เป็นเหมือนขุมทรัพย์ของอุปกรณ์ยุคเก่าซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเสียงที่เขาตามหา “เราใช้อุปกรณ์ทุกอย่างที่ออกมาตั้งแต่ยุค 60 เท่าที่เราจะหาได้” เขากล่าวด้วยความกระตือรือร้นแบบนักโบราณคดีที่ประสบความสำเร็จในการขุดค้น “เราใช้เครื่องอัดเทปแผงมิกซ์เก่าแม้กระทั่งห้องสร้างเสียงสะท้อนซึ่งเป็นวิธีที่ใช้สร้างเสียงสะท้อนก่อนจะมีอุปกรณ์ดิจิตัลหรืออนาล็อกขึ้นมาโดยต่อไมโครโฟนเข้าไปในห้องปูกระเบื้องซึ่งมีลำโพงอยู่ในนั้นจากนั้นก็เล่นเสียงและอัดเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นในห้องเราหาเครื่องดนตรีเก่าชั้นเยี่ยมมาตั้งแต่ฮาร์พซิคอร์ดแบบวินเทจไปจนถึงเบสและกีตาร์เก่ารวมทั้งทำงานกับแซมโอเคลล์อัจฉริยะด้านยุค 60 ประจำห้องอัดซึ่งรู้จักทุกๆส่วนของอุปกรณ์ในช่วงหลายปีที่มิกซ์เสียงและเป็นเอนจิเนียร์ให้งานรีมาสเตอร์ของ Beatles

“ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเสียงที่แตกต่าง” เขาสรุป “อาจจะอธิบายให้ดีที่สุดได้ว่า เพื่อสร้างเสียงใหม่ เราต้องย้อนเวลากลับไป”

วิแกรมมองไปในทางเดียวกันกับผู้แต่งเพลงโดยกล่าวว่า “เป็นเรื่องดีที่สามารถสร้างยุคนั้นขึ้นมาใหม่โดยใช้เทคโนโลยีของปัจจุบัน โดยรวมแล้วถือเป็นการได้สิ่งที่ดีที่สุดจากทั้งสองโลกครับ กายกับผมชอบหนังย้อนยุคเพราะเรามองว่ามันให้โอกาสเราได้สร้างประสบการณ์ที่ตื่นเต้นเร้าใจ แต่ขณะเดียวกันก็ระงับความรู้สึกไม่อยากเชื่อของผู้ชมเอาไว้ คุณอาจสร้างให้มันเกินความจริงไปบ้างก็ได้เพราะหนังแบบนี้มีความเป็นจริงแนบติดอยู่ด้วยเสมอ”

“ในฐานะผู้กำกับ คุณต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆ ที่ต้องพิจารณาในเชิงสร้างสรรค์เมื่อคุณจะทำหนังสักเรื่อง” ริทชีเล่าย้อนกลับไปยังช่วงที่แนวคิดในการสร้าง “U.N.C.L.E” ให้เป็นหนังฟอร์มใหญ่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาในตอนแรก “ความสัมพันธ์ แรงขับเคลื่อน การเล่าเรื่อง ทั้งหมดเป็นคำถามที่น่าตื่นเต้นทั้งนั้นครับ สำหรับเรื่องนี้ก็มีความท้าทายเพิ่มเข้ามาในการนำเอาแนวคิดคลาสสิกและความย้อนยุคมาสร้างให้มีชีวิตในแบบร่วมสมัยและให้ความบันเทิง และเราทุกคนก็สนุกมากกับการได้เห็นว่าเราสามารถทำอะไรกับมันได้บ้าง”