ลูกรัก “กินยาก” ปัญหาระดับชาติที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่บางท่านถึงกับเครียด แม้จะพยายามทุกทาง เพื่อให้ลูกรับประทานอาหารให้ได้ดั่งใจ ตั้งแต่เคี่ยวเข็ญ คะยั้นคะยอ อ้อนวอน ให้สินบน สร้างเงื่อนไขกับเด็ก หรือบังคับลงโทษด้วยวิธีต่างๆแต่อาจเป็นผลให้เด็กต่อต้านมากขึ้น รุนแรงขึ้นและกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง
ผู้เชี่ยวชาญได้เปิดเผยว่า 30% ของเด็กอายุระหว่าง 2-4 ปี มีพฤติกรรมการกินผิดปกติ คือรับประทานอาหารช้า อมข้าว หรือร้องไห้อาละวาด ไม่ยอมกิน บ้วนทิ้ง หรืออาเจียนอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วออกมาซึ่งพฤติกรรมนี้ มีผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของเด็กทั้งการพัฒนาทางกายภาพ (น้ำหนักและส่วนสูง) และการพัฒนาทางจิตใจ (IQ และ EQ) ซึ่งปัญหาทั้ง 2 ด้านนี้จะรุนแรงมากเมื่อน้องโตขึ้น โดยอาจส่งผลถึงพฤติกรรมการปรับตัวให้เข้าสังคม
บริษัท แอ๊บบอต ลาบอแรตอรีส จำกัด จึงร่วมสนับสนุนโครงการ “Let’s Grow Project by Pediasure” โดยการทดสอบ คัดกรองเด็กที่มีปัญหาโดยรับสมัครเด็กที่กำลังเผชิญกับปัญหาด้านพัฒนาการของส่วนสูงและน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร โดยกำหนดระยะเวลา เพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงว่ามีพัฒนาการด้านส่วนสูง-น้ำหนัก พร้อมให้ความรู้และแนะวิธีการง่ายๆเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานให้ถูกต้องแก่คุณพ่อคุณแม่เพื่อนำไปปรับใช้ พร้อมด้วยการเสริมให้เด็กๆบริโภค “อาหารสูตรครบถ้วนสำหรับเด็ก” ควบคู่ไปกับการทานอาหารในแต่ละมื้อ โดย“อาหารสูตรครบถ้วนสำหรับเด็ก” ดังกล่าว มีสารอาหารครบถ้วนถึง 5 หมู่ ได้สัดส่วนที่เหมาะสมให้พลังงานมากกว่าการดื่มนมทั่วไปเกือบ 2 เท่า (1Kcal/1cc) เหมาะสำหรับเด็กอายุ 1-10 ปี ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการกินอาหาร เช่น กินได้น้อย, เลือกกิน, กินแต่ของซ้ำๆ, ไม่ยอมเคี้ยว, ติดเล่น, กินแต่ของไม่มีประโยชน์, เพิ่งหายป่วย และอีกมากมาย โดยเป็นหนึ่งเดียวที่มีผลวิจัยทางการแพทย์รับรองประสิทธิภาพส่งเสริมพัฒนาการของเด็กครบทั้ง 3 ด้าน คือ เรื่องการเจริญเติบโต สมองฉลาด และสุขภาพแข็งแรง
นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรม คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ให้คำแนะนำว่า คุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันและรับมือกับปัญหาการกินยากของลูกได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน 3 มิติดังนี้
- เริ่มอาหารเสริมเมื่อถึงวัยที่เหมาะสมและควรฝึกให้ลูกทานอาหารโดยเลือกอาหารที่ลูกสามารถหยิบจับได้เอง ให้ออกกำลังกายหรือกิจกรรมเคลื่อนไหวระหว่างวันเพื่อกระตุ้นให้ลูกหิว ให้เด็กรับประทานอาหารหลักที่มีสารอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ โดยสลับสับเปลี่ยนชนิดของอาหารอยู่เสมอ หรือเสริมด้วย “อาหารสูตรครบถ้วนสำหรับเด็ก” เข้าในแต่ละมื้ออาหารด้วย
- กำหนดเวลากำหนดช่วงเวลาทานอาหารให้สม่ำเสมอ และจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม และหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะดึงดูดความสนใจต่างๆ ของลูกระหว่างรับประทาน
- ควรให้ลูกรับประทานอาหารด้วยตนเองเมื่อเด็กเริ่มทำได้ไม่ใช้อาหารเป็นรางวัล ไม่ใช้การเล่นเพื่อดึงดูด เชิญชวน หรือหลอกล่อให้ลูกทานข้าว ควรเก็บอาหารออก หากเด็กไม่สนใจ อมอาหาร และหยุดการรับประทานทันที หากลูกเริ่มขว้างปาอาหาร
นอกจากนี้ นพ.พงษ์ศักดิ์ ยังฝากคำแนะนำถึงคุณพ่อคุณแม่ ว่า ควรปฏิบัติต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของลูกด้วยความ “หนักแน่น สม่ำเสมอ และอดทน” จะสามารถช่วยให้ลูกปรับตัวและลดปัญหาการรับประทานลงได้
ทั้งนี้ การเพื่อศึกษาพฤติกรรมการกินอาหารของเด็กเพื่อให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและส่วนสูงตามวัยนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากตัวเด็กเอง รวมถึงความเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอของคุณพ่อคุณแม่ด้วย เพื่อส่งผลที่ดีสำหรับการก้าวสู่พัฒนาการที่ดีรอบด้านของลูกน้อยไปพร้อมๆกัน