FINDING DORY “ไฟน์ดิ้ง ดอรี่ ผจญภัยดอรี่ขี้ลืม” แอนดริว แสตนตัน ผู้กำกับเล่าถึงการทำงาน นี่คือผลงานการสร้างสรรค์ สุดยอดแอนิเมชั่น จาก ดิสนีย์ พิกซาร์

                              “ไฟน์ดิ้ง นีโม – ปลาเล็กหัวใจโต๊โต” ได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์แอนิเมชั่นยอดเยี่ยมในปี 2003 แอนิเมชั่นเรื่องนี้ยังถูกแสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์อีก 3 สาขา (บทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม, ตัดต่อเสียงยอดเยี่ยม) และถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม-ตลกหรือเพลงอีกด้วย ในปี 2008 สถาบันภาพยนตร์อเมริกันประกาศให้ “ไฟน์ดิ้ง นีโม – ปลาเล็กหัวใจโต๊โต” เป็น 1ใน 10 ภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่ดีที่สุดเท่าที่เคยสร้างมา ในช่วงเวลาที่หนังเข้าฉาย “ไฟน์ดิ้ง นีโม – ปลาเล็กหัวใจโต๊โต” เป็นภาพยนตร์ในเรท G (ทั่วไป) ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล เป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่ทำรายได้สูงสุดทั่วโลกเป็นลำดับที่ 5 มียอดไลค์ในเฟสบุ๊คกว่า 19 ล้านไลค์ และตัวละคร “ดอรี่” เองก็มียอดไลค์กว่า 25 ล้านไลค์  ซึ่งถือเป็นตัวละครเดี่ยวๆ ที่มียอดไลค์มากที่สุดจากภาพยนตร์ของ ดิสนีย์ หรือ ดิสนีย์ พิกซาร์ เลยทีเดียวเชียว

DORY_INTERNA TIONALTHAILAND                        FINDING DORY    “ไฟน์ดิ้ง ดอรี่ – ผจญภัยดอรี่ขี้ลืม”     ดิสนีย์ พิกซาร์   ได้นำ “ปลาบลูแทงค์ขี้ลืม”   ขวัญใจของทุกคนกลับมาอีกครั้ง  โดยครั้งนี้ ดอรี่พร้อมกับเพื่อนๆของเธอ นีโม และ มาร์ลิน ต้องออกผจญภัยเพื่อค้นหาคำตอบเกี่ยวกับอดีตของดอรี่    เธอจำอะไรได้ ? ใครคือพ่อ-แม่ของเธอ ? และเธอไปเรียนพูดภาษาวาฬมาจากไหน?  ผลงานการกำกับโดย แอนดริว แสตนตัน (“ไฟน์ดิ้ง นีโม”, “วอลล์-อี”) และอำนวยการสร้างโดย ลินด์ซีย์ คอลลินส์ (ผู้ช่วยอำนวยการสร้าง “วอลล์-อี”) พากย์เสียงโดย เอเลน ดีเจเนอร์เรส, อัลเบิร์ต บรูคส์, เอ็ด โอนีล, เคทลิน โอลสัน, ไทร์ เบอร์เรล, ยูจีน เลวี่, และไดแอน คีตัน

FINDING DORY                               “Finding Dory – ผจญภัยดอรี่ขี้ลืม”  จะว่ายตรงไปสู่โรงภาพยนตร์ในวันที่ 16 มิถุนายน 2559 

“ผมมีเรื่องราวของตัวเลข และสิ่งที่น่ารู้ของหนังเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังครับ  13  ปีผ่านมาแล้ว

ครับ นับตั้งแต่วันที่ “ไฟน์ดิ้ง นีโม–ปลาเล็ก หัวใจโต๊โต” ออกฉาย   และเราก็ได้แนะนำให้ทุกคนได้รู้จัก กับ นีโม,

มาร์ลิน และ ดอรี่  จนมาถึง วันนี้ วันที่เราได้พา “ดอรี่” และเพื่อนๆ ของเขากลับมา พร้อมเพื่อนใหม่ๆ คุณจะได้

ผจญภัยไปกับพวกเขาเหล่านี้ครั้งใหม่กันในไม่ช้า    เจ้าดอรี่เป็นตัวละครที่มียอด 25,118,559  ไลค์บนเฟสบุ๊ค

ซึ่งคือจำนวนที่มากที่สุดของตัวละครทุกตัว จาก พิกซาร์ ครับ        4  สาขารางวัล ที่หนังถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล

ออสการ์สำหรับ “ไฟน์ดิ้ง นีโม” ซึ่งได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เป็นเรื่องแรกด้วยครับของพิกซาร์

ที่ได้รับรางวัลนี้

FINDING DORY
                    แอนิเมชั่น จำนวน 289,240,840  เฟรม ได้ถูกสร้างขึ้นสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ครับ ซึ่งแอนิ

เมชั่นเฟรมคือตัวกำหนดจุดสำคัญของการเคลื่อนไหวแบบต่อเนื่องของหนัง ของฉาก ซีน แต่ละซีน แต่ละตัวละคร

ครับ    การทำงานของเรา   เราได้เขียนสตอรี่บอร์ดที่ถูกส่งไปยังขั้นตอนการตัดต่อ คือทั้งหมด 103,639 หน้า

ด้วยกัน  ซึ่งที่ผ่านมา สตอรี่บอร์ดที่เคยถูกส่งไปของ “ทอย สตอรี่ 3” เพียงแค่  49,651 นั่นหมายความว่าเกือบ

1 เท่าตัวเลยทีเดียวสำหรับการทำงานของหนังเรื่องนี้   สังเกตกันให้ดีน่ะครับ    จำนวนชิ้นของปะการังที่ถูกใส่เข้า

ไปในฉาก 6 ฉาก โดยทีมตกแต่งฉาก มีจำนวน 26,705  ชิ้นด้วยกันครับ     อีกอย่างแน่นอนครับที่คุณคงอยากรู้

ว่าปลาล่ะ ?    ครั้งนี้ปลาที่ว่ายอยู่ในการจัดแสดงแบบมหาสมุทรเปิด ที่สถาบันวิจัยชีวิตทางทะเล สังเกตและดูกันให้

ทันน่ะครับ เพราะมันมีจำนวนรวมทั้งหมด 16,091 ตัว   อีกฉากหนึ่ง จำนวนปลากระเบน ที่อยู่ในฉากปลากระเบน

ย้ายถิ่นมีถึง  5,000 ตัวด้วยกันในภาพยนตร์ แล้วคุณก็จะได้เห็นปลาที่แตกต่างนานาพันธุ์หลายหลายชนิด ละลาน

ตากันเลยทีเดียวเชียวล่ะ จำนวนที่มากถึง 1,108  ตัว คือปลาในส่วนกักกันของสถาบันวิจัยชีวิตทางทะเล ซึ่งมันมี

ทั้ง ขนาด , สี , อารมณ์ , ความเป็นธรรมชาติที่น่ารักแตกต่างกันออกไป

FINDING DORY                   จุดขยับ  11,041  ถูกสร้างขึ้นเพื่อการจำลองการเคลื่อนไหวของ  แฮงค์ (ปลาหมีก) โดยเฉพาะ

โดยเฉลี่ยแล้ว ตัวละครทั่วไปจะใช้ประมาณ 20 จุด    ส่วน  350  คือ จำนวนปุ่มดูดของ แฮงค์ (ปลาหมึก)  ทั้ง 7

หนวดจะมีหนวดละ   50 ปุ่มด้วยกันครับ    22 สัปดาห์ ที่ถูกใช้ไปกับการใส่แสงเงาให้แฮงค์ เพื่อให้เขามีพื้นผิวและสีที่

พิเศษเช่นเดียวกับการทำให้การพรางตัวของเขาเป็นไปได้ (ตัวละครทั่วไปใช้เวลาน้อยกว่า 8 สัปดาห์)    แล้วจำนวนผู้เข้า

ชมของสถาบันวิจัยชีวิตทางทะเล  คือ จำนวน 746 คน  ซึ่งไม่น้อยเลยทีเดียว  หนวดของไม้เลื้อย จำนวน   319

ถูกใส่เข้าไปในดอกไม้ทะเลแต่ละดอกในมหาสมุทร

Poster - Dory 3                     จำนวนพนักงานของสถาบันวิจัยชีวิตทางทะเลที่ปรากฏตัวในหนัง  คือ 83 คน   ทีมผู้กำกับด้าน

เทคนิคที่รับผิดชอบในการสร้างและประกอบร่างแฮงค์ขึ้นมา ใช้เวลาไป  118 สัปดาห์ ในการทำงาน   51 นาที

เต็มๆ ในหนังเรื่องนี้ เป็นฉากที่มีฝูงตัวละครอยู่ในฉากเดียวกัน  ซึ่งมากกว่าเป็น  2 เท่าของหนังเรื่องอื่นๆ ของหนังจากค่าย

พิกซาร์    ต้นไม้ที่ขยับได้ถูกใส่เข้าไปในแต่ละส่วนของสาหร่ายทะเล ในดงสาหร่างทะเลใต้น้ำภายนอกสถาบันวิจัยชีวิตทาง

ทะเล มี  45 ก้านด้วยกันน่ะครับ  วันที่ 16 เดือนมิถุนายน นี้ ที่ “ไฟน์ดิ้ง ดอรี่–ผจญภัยดอรี่ขี้ลืม” จะเข้าฉายอย่าลืม

ไปนับเจ้าจำนวนตัวเลขมหัศจรรย์กันเหล่านี้ในโรงภาพยนตร์กันน่ะครับ”  แอนดริว แสตนตัน  ผู้กำกับ Poster - Dory 2