“3 ครูมวยไทยแห่งประวัติศาสตร์ไทย” จากภาพยนตร์เรื่อง “ทองดีฟันขาว”

info 13 ครูมวยไทยแห่งประวัติศาสตร์ไทย

  1. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)กษัตริย์แห่งมวยไทย

info 2_0สมัยอยุธยา สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ หรือพระเจ้าเสือ โปรดการชกมวยเป็นอย่างมาก เคยทรงปลอมพระองค์มาชกมวยกับชาวบ้านและชนะนักมวยฝีมือดีของเมืองวิเศษไชยชาญอีกทั้งชนะนักมวยเอกถึง 3 คน เมื่อพระมหากษัตริย์โปรดการชกมวยไทยเช่นนี้ ทำให้มีการฝึกมวยไทยกันอย่างแพร่หลายในราชสำนัก ขยายไปสู่บ้านและวัด โดยเฉพาะวัด ถือเป็นแหล่งประสิทธิ์ประสาทวิชามวยไทยเป็นอย่างดีรวมถึงขยายวงกว้างไปสู่สามัญชนมาก แม้ท่านจะทรงสวรรคตแต่มวยไทยตำรับพระเจ้าเสืออันแข็งแกร่งยังได้รับการถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ฝึกฝนจนถึงทุกวันนี้ อีกทั้งวันเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติของพระเจ้าเสือ คือวันที่ 6 กุมภาพันธ์ เป็นวันมวยไทยอีกด้วย

  1. นายขนมต้มยอดนักสู้ผู้เชิดชูเชิงมวยให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวต่างชาติ

info 3_0ในตอนเด็กนั้นๆ นายขนมต้มเป็นเด็กที่อาศัยอยู่ในวัด ด้วยสาเหตุที่ว่าพ่อและแม่ถูกพม่าสังหารจนถึงแก่ชีวิตทั้งสองคน จนเมื่อพม่าตีกรุงศรีอยุธยานายขนมต้มกลายเป็นหนึ่งในเชลยศึกที่ถูกกวาดต้อนไปยังประเทศพม่า กษัตริย์แห่งพม่าได้ทรงจัดงานสมโภชเจดีย์ชเวดากองและทรงโปรดให้มีการแข่งขันชกมวยระหว่างชาวสยามและชาวพม่า สุกี้พะนายกองคัดนายขนมต้มขึ้นชกและสามารถชกชนะนักมวยพม่าถึง 10 คนโดยมิยอมถอยแม้แต่ก้าวเดียว จนพระเจ้ามังระปูบำเหน็จแต่งตั้งให้เป็นข้ารับใช้ในกรุงอังวะแต่นายขนมต้มปฏิเสธและขอให้ปลดปล่อยตนและเชลยคนไทยทั้งหมดเป็นอิสระเพื่อกลับบ้านเกิด พระเจ้ามังระยอมทำตามความประสงค์ให้ทุกคนได้กลับมายังบ้านเกิดก็คือแผ่นดินไทยที่มีกรุงธนบุรีเป็นราชธานีนั่นเอง เหตุการณ์ที่นายขนมต้มสามารถเอาชนะนักมวยพม่าเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2317 นั้น ทำให้ได้มีการกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันมวยไทยอีกด้วย

  1. นายทองดีฟันขาวนักมวยสู่นักรบของชาติผู้พลิกปรากฏการณ์มวยแห่งชาติ

info 4_0นายทองดีฟันขาว คืออีกหนึ่งครูมวยสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ เดิมชื่อ จ้อย เป็นเด็กชายที่มีนิสัยกล้าหาญ อดทน ชอบชกมวยเป็นชีวิตจิตใจ ต่อมาได้ศึกษาวิชาหมัดมวยกับครูเที่ยงที่บ้านท่าเสา  แต่เพราะไม่เคี้ยวหมากพลูเหมือนคนสมัยนั้นครูเที่ยงจึงเรียกว่า “นายทองดีฟันขาว”  นายทองดีเดินทางไปเรียนการต่อสู้จากหลายๆที่ ไม่ว่าจะเป็นมวยไทย มวยจีน หรือเชิงดาบ จนความสามารถเลื่องลือ ภายหลังถวายตัวเป็นทหารคนสนิทของพระเจ้ากรุงธนบุรีและได้รับสมญานามว่า “พระยาพิชัย”

นายทองดีฟันขาว หรือ พระยาพิชัยดาบหักได้สร้างมรดกอันควรแก่การยกย่องสืบทอดมาถึงปัจจุบันนอกจากจะเป็นเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต เด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ความรักชาติแล้ว ยังสร้าง “มวยพระยาพิชัย” ที่มีจุดเด่นคือเป็นทั้งมวยอ่อนและมวยแข็ง รุกรับตามแต่สถานการณ์ การออกไม้จะรวดเร็ว รุนแรง เผด็จศึกอย่างรวดเร็วเมื่อมีโอกาส สามารถปกป้องตนเอง รู้วิธีรับก่อนรุก เรียนแก้ก่อนผูก เรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็งของตนเองและคู่ต่อสู้อีกด้วย