ภาพของเจ้าสัวใหญ่ที่ชื่อ บุญชัย เบญจรงคกุล หลายคนอาจรู้จักเขาจากข่าวการแต่งงานกับดาราสาวคนดังอย่าง “ตัก บงกช” มากกว่า รู้จักเขาว่าเป็นเจ้าพ่อวงการโทรคมนาคมของ เมืองไทย ผู้ก่อตั้ง DTAC บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยักษ์ใหญ่ของประเทศ และเป็นมหาเศรษฐีอันดับ ที่ 13 ของเมืองไทย จากการจัดลําดับของ Forbes ในปีล่าสุด ด้วย มูลค่าทรัพย์สินกว่า 900 ล้านเหรียญ
เขาคือผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 35 เปอร์เซ็น ในบริษัท โทเทิล แอคเซส คอมมูนิเคชั่น จํากัด (มหาชน) หรือ DTAC ผู้ประกอบธุรกิจโทรศัพท์ เคลื่อนที่อันดับ 2 ของไทย แต่เมื่อรวมหุ้นของตระกูลเบญจรงคกุล ทั้งหมดแล้ว ตระกูลนี้คือ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ DTAC ด้วยสัดส่วน 51 เปอร์เซ็น
ตามกฎหมายของประเทศไทยที่กลุ่มทุนไทยต้องถือหุ้นใหญ่ใน กิจการโทรคมนาคม แต่ในการบริหารงานกลุ่ม Telenor จาก นอร์เวย์ ผู้ถือหุ้น 49% คือผู้กําหนดทิศทางการบริหารงานของ DTAC บุญชัยยังเป็นประธานกรรมการ บริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง จํากัด ซึ่งเป็นบริษัทของตระกูลเบญจรงคกุลอีกด้วย
นอกจากนี้ ภาพที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักญชัยมากนักคือ ภาพ ของผู้ให้กับสังคม ที่เขาบอกว่า เขาไม่ใช่เจ้าสัว แต่เป็นพี่ใหญ่ให้กับทุกคนผ่านโครงการช่วยเหลือสังคมต่างๆ อย่างสถานีวิทยุ ล บ ร่วมด้วยช่วยกัน, โครงการร่วมด้วยช่วยกัน 1677
สํานักงานสํานึกรักบ้านเกิด เว็บไซต์ www. rakbankerd.com ที่รวบรวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการเกษตรไว้ ทั้งหมด และยังเป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์ศิลปะ MOCA ซึ่งการเป็น ผู้ให้นี้ บุญชัยเริ่มต้นมานานกว่า 15 ปีแล้ว โดยเป้าหมายสําคัญ ที่สุดที่เขาต้องการคือ สร้างโอกาสให้คนไทย
การสร้างโอกาสให้คนไทยที่เขาพูดถึงนั้น หมายถึง ต้องการเป็น ผู้สร้างโอกาสให้คนไทยได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมถึงสร้าง โอกาสให้คนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม ที่เขามองว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์
มีความสามารถเป็นศูนย์กลางผลิตอาหารให้กับคนทั้งโลกได้ แต่สิ่ง ที่ยังขาดอยู่คือ ช่องทางการสร้างความสามารถในการผลิตอาหาร เพื่อป้อนให้กับโลกได้ ซึ่งเขาต้องการเป็นผู้สร้างความสามารถนั้น ให้เกษตรกรไทย โดยอาศัยความเป็นเจ้าพ่อโทรคมนาคมเมืองไทย goldenslot
อยากเห็นคนไทยทําธุรกิจของตัวเอง คน 60 กว่าล้านคนทํามาค้าขายบนขาตัวเอง แค่ 6 ล้านคน ประเทศเราก็มั่งคั่งมาก สิ่ง สําคัญที่สุดในโลกคือ อาหาร ซึ่งเราโชคดีที่ มีตรงนี้ แต่เกษตรกรไทยต้องปรับตัว ต้องใช้ เทคโนโลยีมาช่วยสร้างความสามารถในการ ผลิต องค์ความรู้ทั้งหมดต้องมีตัวเชื่อม
เราต้องมีคนมีความรู้สามารถติดต่อกับต่างประเทศ ได้ ซึ่งผมจะทําตรงจุดเชื่อม ให้เกษตรกรไทย ก้าวสู่ตลาดโลกได้ด้วยตัวเองที่ช่วงเวลานั้นประเทศไทยยังขาดเครื่องมือ การสร้างความแข็งแรง ความมั่งคั่งให้กับคน ในสังคมไทย ซึ่งเครื่องมือที่ว่า ก็คือการเข้าถึง คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตของประชากร ในวันนั้น บุญชัยจึงจําเป็นต้องสร้างเครื่องมือ