จิม แกรนท์ (โรเบิร์ต เรดฟอร์ด) คือทนายความผู้ทำงานเพื่อสาธารณชน และพ่อหม้ายผู้เลี้ยงดูลูกสาวเพียงลำพัง ณ ชานเมืองอัลบานี, นิวยอร์ค แต่แล้ววันหนึ่ง โลกของเขาก็ต้องเปลี่ยนไป เมื่อเบ็น เชพเพิร์ด (เชีย ลาเบิฟ) นักข่าวหนุ่มจอมห้าว พบว่าตัวตนที่แท้จริงของแกรนท์คืออดีตนักเคลื่อนไหวทางสังคมหัวรุนแรงแห่งยุค 70 ผู้หลบหนีหมายจับกุมในคดีฆาตกรรม ภายหลังกบดานอย่างเงียบเชียบมานานกว่า 30 ปี บัดนี้ก็ถึงเวลาที่แกรนท์ต้องวิ่งหนีอีกครั้ง เขาต้องเดินทางข้ามประเทศเพื่อตามหาคนๆ หนึ่งซึ่งสามารถช่วยเขาได้ และนี่คือโอกาสทองของเชพเพิร์ด ที่จะสร้างชื่อเสียงด้วยการเป็นนักข่าวผู้ค้นพบตัวฆาตกร เชพเพิร์ดเดินหน้าขุดคุ้ยอดีตของแกรนท์ โดยไม่ฟังคำทัดทานของหัวหน้าและเจ้าหน้าที่เอฟบีไอ เขาออกเดินทางไล่ตามแกรนท์ จนเมื่อแกรนท์จำเป็นต้องติดต่อกับบรรดาอดีตสมาชิกในกลุ่ม ที่เคยทำกิจกรรมต่อต้านสงครามด้วยกัน เชพเพิร์ดก็ได้โอกาสเปิดเผยความลับน่าตระหนกที่แกรนท์เก็บซ่อนไว้มานานนับสามทศวรรษ ในที่สุด ชายทั้งสองก็ต้องมาเผชิญหน้ากันกลางป่าลึกในมิชิแกน นั่นคือช่วงเวลาสำคัญที่ต่างฝ่ายต่างก็ได้รู้จักตัวตนแท้จริงของตัวเอง
The Company You Keep สร้างจากนิยายของนีล กอร์ดอน ดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์จากฝีมือของเล็ม ดอบส์ (Haywire) และกำกับโดย โรเบิร์ต เรดฟอร์ด ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานอำนวยการสร้างของนิโคลาส ชาร์ติเออร์ (The Hurt Locker), โรเบิร์ต เรดฟอร์ด และบิล โฮลเดอร์แมน (The Conspirator, Lions for Lambs) โดยมีเคร้ก เจ. ฟลอเรส (Immortals) และชอว์น วิลเลียมสัน (50/50) เป็นผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร
จากหน้ากระดาษสู่แผ่นฟิล์ม
อาจมองได้ว่า The Company You Keep เป็นภาพยนตร์แนวแมวล่าหนู ระหว่างผู้ชายสองคน นั่นคือเบ็น เชพเพิร์ด นักข่าวหนุ่ม และจิม แกรนท์ ผู้หลบหนี ซึ่งทั้งคู่ต่างก็พยายามเปิดเผยความจริงเพื่อชีวิตของตัวเอง ฉากหลังของเรื่องเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน แต่ก็ทำให้ผู้ชมหวนคิดถึงอดีต ช่วงที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านสงครามในปลายยุค 60 ถึงต้นยุค 70 มันเป็นเรื่องที่เขียนขึ้นจากจินตนาการ ร่วมกับการค้นคว้าหาข้อมูลจริงของนีล กอร์ดอน ผู้ประพันธ์นิยายต้นฉบับที่วางจำหน่ายเมื่อปี 2003 ซึ่งดึงดูดใจโรเบิร์ต เรดฟอร์ดอย่างมาก จนเขาต้องหยิบมันมาสร้างเป็นภาพยนตร์ “มันเป็นเรื่องที่ดี ทำให้เราเข้าใจรายละเอียดของเหตุการณ์บางอย่างที่เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์อเมริกัน” เรดฟอร์ดกล่าว “มันเจาะลึกลงไปในชีวิตของคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งต้องอยู่แบบหลบๆ ซ่อนๆ กับตัวตนปลอมๆ ของพวกเขาเป็นเวลานานถึง 30 ปี ผมว่ามันเหมือนเรื่อง Les Misérables ที่ตัวละครฌอง วัลฌองต้องถูกขังนาน 19 ปี ในข้อหาขโมยขนมปังหนึ่งก้อน” เรดฟอร์ดอธิบาย “เขาหนีออกจากคุก สร้างตัวตนใหม่ มีลูกสาวคนหนึ่ง มีชีวิตที่ดี แต่เรื่องในอดีตก็ยังตามมาหลอกหลอนเขา แล้วคนพวกนั้นล่ะ จะรับมือกับเรื่องนี้ยังไง พวกเขาเปลี่ยนไปไหม หรือไม่เปลี่ยนเลย นี่คือประเด็นน่าสนใจที่ผมอยากนำมาเล่า ไม่ใช่เพราะมันเกี่ยวกับกิจกรรมต่อต้านสงคราม แต่เพราะมันเป็นประวัติศาสตร์”
เรดฟอร์ดกลับมาร่วมงานกับเพื่อนผู้อำนวยการสร้าง บิล โฮลเดอร์แมน ผู้เคยอำนวยการสร้าง Lions for Lambs และ The Conspirator ด้วยกัน และร่วมงานครั้งแรกกับนิโคลาส ชาร์ติเออร์ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์รางวัลออสการ์ The Hurt Locker โปรเจ็คท์นี้ใช้เวลาเตรียมงานสร้างนาน 4 ปี โดยได้เล็ม ดอบส์ ผู้เขียนบท Haywire และ The Limey มาเป็นคนดัดแปลงหนังสือให้กลายเป็นบทภาพยนตร์ “มันเป็นเรื่องของคนกลุ่มหนึ่ง” เรดฟอร์ดอธิบาย “พวกเขาสนิทกันมาก ผูกพันกันด้วยวิถีชีวิตและความฝันในวัยหนุ่มสาว ตอนนี้พวกเขาแก่ตัวลง ต่างคนต่างมีชีวิตของตัวเอง บางคนรังเกียจเรื่องที่ตัวเองเคยทำ บางคนเสียใจ บางคนเชื่อมั่นในตอนนั้น แต่ตอนนี้กลับคิดว่าต้องชดใช้ในสิ่งที่ทำลงไป ขณะที่อีกหลายคนรู้สึกว่าในเวลานั้นมันคือเรื่องจำเป็น และมาถึงวันนี้ก็ยังจำเป็นอยู่ เพราะมันมีความรู้สึกที่แตกต่าง และความสัมพันธ์ที่หลากหลายแบบนี้ ผมถึงสนใจว่าพวกเขาจะมีปฏิกิริยาอย่างไร”
ขณะที่เรดฟอร์ดวางแผนอย่างรัดกุมเกี่ยวกับโครงเรื่องและรายละเอียดด้านงานสร้าง เขาก็เปิดช่องว่างบางส่วนไว้สำหรับการตีความของนักแสดงที่จะเข้ามารับบทต่างๆ ในเรื่อง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือตัวเขาเอง “เขาทำให้บทหนังดั้งเดิมสมบูรณ์แบบมากขึ้นด้วยการซ้อม” เชีย ลาเบิฟพูดถึงการทำงานร่วมกันระหว่างผู้กำกับและนักแสดง “ตอนที่ได้บทมาครั้งแรก ผมว่ามันหนาราว 80 หน้า แล้วเขาก็เริ่มใส่ชีวิตลงไปในนั้น มีอยู่ 20 หน้าที่เขายอมให้แก้ไข เขาเชื่อมั่นในตัวเองและทีมงาน ว่าจะพากันก้าวไปข้างหน้าได้” ลาเบิฟยกตัวอย่างฉากที่เขาต้องร่วมแสดงกับเบรนแดน กลีสัน ผู้รับบทเป็นอดีตตำรวจที่ให้ข้อมูลแก่เชพเพิร์ด “ตอนแรกไม่มีฉากนี้” ลาเบิฟเล่า “แต่เมื่อได้นักแสดงอย่างกลีสัน เราก็ต้องเอาใจเขาหน่อย เรดฟอร์ดสั่งให้เพิ่มฉากนี้เข้ามา มันกลายเป็นฉากสำคัญ ไม่ใช่แค่ผิวเผิน มันสำคัญมากในการใช้อธิบายเรื่องราว” ลาเบิฟพูดทิ้งท้ายถึงเรดฟอร์ดว่า “แม้ว่าเขาจะทำเหมือนควบคุมทุกอย่างไว้หมด แต่เขาก็ปล่อยให้หนังมีอิสระในตัวเอง ไม่ตีกรอบอะไรทั้งนั้น ปล่อยให้ชีวิตเกิดขึ้น ให้เหตุการณ์จริงเกิดขึ้น โดยที่เขาเป็นคนรักษาหัวใจหลักของเรื่องเอาไว้ เขาทำสิ่งที่มหัศจรรย์จริงๆ และก็ทำได้อย่างง่ายๆ ด้วย นี่แหละคือความยอดเยี่ยมของโรเบิร์ต เรดฟอร์ด”
นักแสดง
โรเบิร์ต เรดฟอร์ด (จิม แกรนท์ / ผู้กำกับภาพยนตร์ / ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์)
แม้จะทำงานในวงการบันเทิง และมีชื่อเสียงระดับซูเปอร์สตาร์มาเป็นเวลานานกว่าสามทศวรรษ ทว่าโรเบิร์ต เรดฟอร์ดก็ยังคงเก็บงำชีวิตส่วนตัวของเขาให้อยู่ห่างจากสายตาสาธารณชนเช่นเดิม เรดฟอร์ดเป็นทั้งนักแสดง, ผู้กำกับภาพยนตร์, ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์, นักธุรกิจ, นักอนุรักษ์ธรรมชาติ, นักเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง รวมถึงผู้ให้การส่งเสริมนักสร้างภาพยนตร์รุ่นใหม่ โดยการก่อตั้งสถาบันซันแดนซ์ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนบรรดาคนทำหนังเหล่านั้น ด้วยการจัดประกวด, ช่วยพัฒนาฝีมือ, หาทุนสร้าง และเป็นศูนย์กลางให้พวกเขาได้มาพบปะสนทนากัน
เรดฟอร์ดเริ่มอาชีพนักแสดงในวงการโทรทัศน์เมื่อปี 1960 ก่อนที่อีกสองปีต่อมา เขาจะได้รับบทเล็กๆ ในภาพยนตร์เรื่องแรกคือ War Hunt เขาเริ่มเป็นที่รู้จักของผู้ชมด้วยการรับบทนำคู่กับดาราสาวสวย นาตาลี วูด ในภาพยนตร์เรื่อง Inside Daisy Clover (1965) แต่ต้องรออีกสี่ปี กว่าที่เขาจะกลายเป็นนักแสดงผู้โด่งดังอย่างแท้จริง นั่นคือการที่เขาได้รับบทเป็นจอมโจร “ซันแดนซ์ คิด” คู่กับ “บุทช์ แคสสิดี้” (ที่รับบทโดยพอล นิวแมน) ในภาพยนตร์คาวบอยคลาสสิคเรื่อง Butch Cassidy and the Sundance Kid (1969) หลังจากนั้นชื่อเสียงของเรดฟอร์ดก็ไม่เคยจางหายไปจากความทรงจำของแฟนภาพยนตร์ทั่วโลก ด้วยผลงานแสดงชั้นเยี่ยมดังต่อไปนี้ The Chase (1966), This Property Is Condemned (1966), Barefoot in the Park (1967), Tell Them Willie Boy Is Here (1969), Downhill Racer (1969), Little Fauss and Big Halsy (1970), The Hot Rock (1972), The Candidate (1972), Jeremiah Johnson (1972), The Way We Were (1973), The Sting (1973), The Great Gatsby (1974), The Great Waldo Pepper (1975), Three Days of the Condor (1975), All the President’s Men (1976), A Bridge Too Far (1977), The Electric Horseman (1979), Brubaker (1980), The Natural (1984), Out of Africa (1985), Legal Eagles (1986), Havana (1990), Sneakers (1992), Indecent Proposal (1993), Up Close & Personal (1996), The Horse Whisperer (1998), The Last Castle (2001), Spy Game (2001), The Clearing (2004), An Unfinished Life (2005) และ Lions for Lambs (2007)
ในปี 1980 ภาพยนตร์ที่เรดฟอร์ดรับหน้าที่กำกับเป็นครั้งแรกคือ Ordinary People สามารถพิชิตรางวัลออสการ์ 4 สาขา ซึ่งรวมถึงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และผู้กำกับยอดเยี่ยมด้วย ผลงานที่เขากำกับต่อมา ล้วนเป็นงานคุณภาพทั้งสิ้น ได้แก่ The Milagro Beanfield War (1988), A River Runs Through It (1992), Quiz Show (1994), The Horse Whisperer (1998), The Legend of Bagger Vance (2000), Lions for Lambs (2007) และ The Conspirator (2010)
เชีย ลาเบิฟ (เบ็น เชพเพิร์ด)
ปัจจุบันเชีย ลาเบิฟลงหลักปักฐานในตำแหน่งหนึ่งในนักแสดงหนุ่มแถวหน้าของฮอลลีวู้ดเรียบร้อยแล้ว ในปี 2007 เขาได้รับจาก National Association of Theater Owners ให้เป็น Star of Tomorrow และในปีต่อมา เขาก็ได้รับรางวัล BAFTA Orange Rising Star โดยการโหวตของแฟนภาพยนตร์ชาวอังกฤษ นอกจากนี้ ลาเบิฟยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Teen Choice สำหรับบทบาทในภาพยนตร์เรื่อง Transformers (2007), พิชิตรางวัล Breakout Male และ Teen Choice จาก Disturbia (2007) ส่วนในวงการโทรทัศน์ เขาได้รับรางวัล Daytime Emmy จากซีรีส์สำหรับเด็กเรื่อง Even Stevens (2003)
ผลงานเด่นเรื่องอื่นของเขา ได้แก่ Holes (2003), I, Robot (2004), Constantine (2005), The Greatest Game Ever Played (2005), Bobby (2006), Indiana Jones and the Kingdom of the Crystal Skull (2008), Eagle Eye (2008), New York, I Love You (2009), Transformers: Revenge of the Fallen (2009), Wall Street: Money Never Sleeps (2010), Transformers: Dark of the Moon (2011) และ Lawless (2012)
จูลี่ คริสตี้ (มีมี ลูรี)
เกิดที่อัสสัม ประเทศอินเดีย แล้วจึงไปเรียนที่อังกฤษจนกระทั่งอายุ 16 ก็ไปเรียนศิลปะที่กรุงปารีส แล้วจึงกลับมาเรียนด้านการละครในลอนดอน และเริ่มมีผลงานละครเวที และภาพยนตร์โทรทัศน์ ฝีมือการแสดงของคริสตี้เริ่มเปล่งประกายในภาพยนตร์เรื่อง Billy Liar (1963) ของผู้กำกับ จอห์น ชเลซิงเจอร์ และอีกสองปีต่อมา เธอก็ได้ร่วมงานกับผู้กำกับ ชเลซิงเจอร์อีกครั้งใน Darling ผลงานที่ทำให้เธอพิชิตรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมประจำปี 1965 คริสตี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม เป็นครั้งที่สองในปี 1971 จาก McCabe & Mrs. Miller จนกระทั่งเวลาผ่านไปอีก 26 ปี เธอก็ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม เป็นครั้งที่สามจาก Afterglow ตามด้วยครั้งล่าสุดในปี 2006 จาก Away from Her
ผลงานเด่นเรื่องอื่นของเธอ ได้แก่ Doctor Zhivago (1965), Fahrenheit 451 (1966), The Go-Between (1970), Don’t Look Now (1973), Shampoo (1975), Heaven Can Wait (1978), Heat and Dust (1983), Power (1986), Hamlet (1996), Troy (2004), Harry Potter and the Prisoner of Azkaban (2004), Finding Neverland (2004), The Secret Life of Words (2005), New York, I Love You (2009), Glorious 39 (2009) และ Red Riding Hood (2011)
แซม เอลเลียต (แมค แมคคลาวด์)
โด่งดังขึ้นมาจากบทบาทในภาพยนตร์เรื่อง Lifeguard (1976) ภาพยนตร์เด่นเรื่องอื่นของเขา ได้แก่ Mask (1985), Shakedown (1988), Road House (1989), Conagher (TV movie 1991), Rush (1991), Gettysburg (1993), Tombstone (1993), Buffalo Girls (TV movie 1995), The Big Lebowski (1998), The Hi-Lo Country (1998), You Know My Name (TV movie 1999), Fail Safe (TV movie 2000), The Contender (2000), We Were Soldiers (2002), Off the Map (2003), Hulk (2003), Thank You for Smoking (2005), Ghost Rider (2007), The Golden Compass (2007), Up in the Air (2009), Did You Hear About the Morgans? (2009), The Big Bang (2010) และ Robot Chicken (TV serie 2012)
แซม เอลเลียตได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากบทบาทในภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง Conagher และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ และเอ็มมี สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมจาก Buffalo Girls
แจ็คกี้ เอแวนโก (อิซาเบล แกรนท์)
เกิดเมื่อปี 2000 และมีชื่อเสียงโด่งดังตั้งแต่อายุเพียงสิบขวบ จากการเข้าประกวดในรายการAmerica’s Got Talent ซึ่งเธอสามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศมาครองได้ แจ็คกี้ เอแวนโกเซ็นสัญญากับโคลัมเบีย เรคคอร์ด และมีผลงานเพลงออกมา 3 อัลบั้ม ที่แสดงให้เห็นว่าเธอสามารถขับร้องได้ทั้งเพลงคลาสสิคและเพลงป๊อปจากนั้นเธอก็ก้าวเข้าสู่วงการนางแบบและนักแสดง The Company You Keep คือผลงานภาพยนตร์เรื่องแรกของสาวน้อยวัย 13 ปีคนนี้
เบรนแดน กลีสัน (เฮนรี ออสบอร์น)
หนุ่มใหญ่ชาวไอริชผู้ทิ้งอาชีพครูมาเป็นนักแสดง เบรนแดน กลีสันเริ่มต้นในวงการละครเวที ต่อด้วยวงการโทรทัศน์ และภาพยนตร์ตามลำดับ ภาพยนตร์เรื่องแรกของเขาคือ The Field (1990) ก่อนที่จะเป็นที่จดจำของผู้ชมจากบทบาทใน Braveheart (1995) ภาพยนตร์รางวัลออสการ์ที่กำกับโดย เมล กิ๊บสัน จากนั้นกลีสันก็มีผลงานตามมาอีกมากมาย พร้อมกับฝีมือการแสดงที่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ บท “มาร์ติน เคฮิลล์” วีรบุรุษชาวไอริชใน The General (1998) ทำเขาได้รับรางวัลสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากหลายเวที อาทิ London Critics Circle Film Award และ Boston Society of Film Critics Award ในปี 2009 เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ, BAFTA และ British Independent Film สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมจาก In Bruges ปีถัดมาเขาพิชิตรางวัลเอ็มมี พร้อมกับถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ และ BAFTA จากบท “วินสตัน เชอร์ชิล” ในภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง Into the Storm ล่าสุดภาพยนตร์เรื่อง The Guard ก็ส่งให้กลีสันได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกทองคำ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมประจำปี 2011
ผลงานเด่นเรื่องอื่นของเขา ได้แก่ Mission: Impossible II (2000), The Tailor of Panama (2001), A.I. Artificial Intelligence (2001), 28 Days Later (2002), Gangs of New York (2002), Dark Blue (2002), Cold Mountain (2003), Troy (2004), The Village (2004), Kingdom of Heaven (2005), Harry Potter and the Goblet of Fire (2005), Harry Potter and the Order of the Phoenix (2007), Beowulf (2007), Green Zone (2010), Harry Potter and the Deathly Hallows: Part 1 (2010), Albert Nobbs (2011), Safe House (2012) และ The Raven (2012)
เทอร์เรนซ์ ฮาวเวิร์ด (คอร์นีเลียส)
แฟนภาพยนตร์จำเทอร์เรนซ์ ฮาวเวิร์ดได้จากบทบาทเข้มข้นใน Hustle & Flow ที่ส่งให้เขาเข้าชิงรางวัลออสการ์ และลูกโลกทองคำ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมประจำปี 2005 รวมถึงบทสมทบใน Crash (2004) และ Get Rich or Die Tryin’ (2005) ที่ทำให้เขาพิชิตรางวัล National Board of Review ฮาวเวิร์ดเกิดที่ชิคาโก เริ่มอาชีพนักแสดงในปี 1992 ด้วยบทนำในภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง The Jacksons: An American Dream ปีถัดมา เขาก็ได้แสดงภาพยนตร์จอใหญ่เรื่องแรกคือ Who’s the Man? ตามด้วยผลงานชั้นดีอย่าง Dead Presidents (1995) และ Mr. Holland’s Opus (1995)
ภาพยนตร์เรื่องดังที่ฮาวเวิร์ดร่วมแสดง ได้แก่ Best Laid Plans (1999), The Best Man (1999), Big Momma’s House (2000), Hart’s War (2002), Ray (2004), Four Brothers (2005), The Hunting Party (2007), The Brave One (2007), August Rush (2007), Awake (2007), Iron Man (2008), Fighting (2009), Law & Order: LA (TV series 2010-2011), The Ledge (2011), Red Tails (2012), On the Road (2012) และ Dead Man Down (2013)
ริชาร์ด เจนกินส์ (เจด ลิวอิส)
หนึ่งในนักแสดงชายผู้มีงานชุกมากที่สุดในฮอลลีวู้ดยุคปัจจุบัน ด้วยเครดิตผลงานทั้งภาพยนตร์และภาพยนตร์โทรทัศน์มากกว่า 100 เรื่อง โดยมีเรื่องเด่นๆ ได้แก่ Silverado (1985), Hannah and Her Sisters (1986), The Witches of Eastwick (1987), Little Nikita (1988), Blaze (1989), Wolf (1994), It Could Happen to You (1994), How to Make an American Quilt (1995), Flirting with Disaster (1996), Absolute Power (1997), Random Hearts (1999), Me, Myself & Irene (2000), The Man Who Wasn’t There (2001), Six Feet Under (TV series 2001-2005), Changing Lanes (2002), Intolerable Cruelty (2003), Cheaper by the Dozen (2003), Shall We Dance (2004), North Country (2005), The Kingdom (2007), The Visitor (2007), Step Brothers (2008), Burn After Reading (2008), Dear John (2010), Norman (2010), Eat Pray Love (2010), Let Me In (2010), The Cabin in the Woods (2011), Friends With Benefits (2011), Liberal Arts (2012), Killing Them Softly (2012) และ Jack Reacher (2012)
เจนกินส์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์, Independent Spirit และ Screen Actors Guild สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จาก The Visitor
แอนนา เคนดริค (ไดอานา)
นักแสดงสาวผู้สร้างชื่อเสียงขึ้นมาจากวงการละครเวที เคนดริคได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโทนี สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากละครเพลงเรื่อง High Society ในขณะที่เธอมีอายุเพียง 12 ปี รวมทั้งได้รับรางวัล Drama League กับ Theatre World และได้เข้าชิงราวัล Drama Desk กับ FANY อีกด้วย ในปี 2003 เคนดริคก็ได้แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกCampที่ส่งให้เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Independent Spirit สาขานักแสดงหน้าใหม่ยอดเยี่ยม และได้เข้าชิงรางวัล Chlotrudis สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จนกระทั่งอีก 6 ปีต่อมา ภาพยนตร์เรื่อง Up in the Air ก็ทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์, ลูกโลกทองคำ, BAFTA, Critic’s Choice Movie และ Screen Actors Guild สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม รวมทั้งคว้ารางวัลจาก National Board of Review และ MTV Movie Awards ด้วย
ภาพยนตร์เด่นเรื่องอื่นของเคนดริค ได้แก่ Rocket Science (2007), Twilight (2008), The Twilight Saga: New Moon (2009), The Twilight Saga: Eclipse (2010), Scott Pilgrim vs. the World (2010), 50/50 (2011), The Twilight Saga: Breaking Dawn – Part 1 (2011), What to Expect When You’re Expecting (2012), ParaNorman (2012), End of Watch (2012) และ Pitch Perfect (2012)
บริท มาร์ลิง (รีเบคกา ออสบอร์น)
ด้วยวัยเพียง 30 ปี บริท มาร์ลิงเป็นทั้งนักแสดง, คนเขียนบท และผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ โดยศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ และศิลปศาสตร์ หลังจากเรียนจบ มาร์ลิงทำงานเป็นนักวิเคราะห์การลงทุนที่ Goldman Sachs Realizing ก่อนจะรู้ว่าการแสดงและภาพยนตร์เป็นงานที่สามารถเติมเต็มชีวิตเธอมากที่สุด ในปี 2004 เธอกับไมค์ เคฮิลล์ ผู้เป็นเพื่อนสนิท ได้ร่วมเขียนบทและกำกับภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Boxers and Ballerinas เมื่อย้ายไปอยู่ลอส แองเจลิส เธอร่วมเขียนบท, นำแสดง และอำนวยการสร้าง Another Earth ผลงานกำกับของเคฮิลล์ ที่ได้เข้าประกวดในเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ปี 2011 ปีเดียวกันนี้เอง เธอยังร่วมเขียนบทและอำนวยการสร้างภาพยนตร์ไซไฟระทึกขวัญเรื่อง Sound of My Voice ของผู้กำกับ ซอล แบทแมนกลีช ผู้เป็นเพื่อนสนิทอีกคน ปีต่อมาเธอร่วมแสดงภาพยนตร์ระทึกขวัญเรื่อง Arbitrage กับริชาร์ด เกียร์ และล่าสุดเธอกลับไปร่วมงานกับผู้กำกับ แบทแมนกลีช ด้วยการร่วมเขียนบท, อำนวยการสร้างและนำแสดงใน The East
สแตนลีย์ ทุชชี (เรย์ ฟูลเลอร์)
ทุชชีสร้างผลงานไว้มากมาย ทั้งในวงการละครเวที, โทรทัศน์ และภาพยนตร์ โดยเป็นทั้งนักแสดง, คนเขียนบท, ผู้กำกับ และผู้อำนวยการสร้าง ในปี 2008 เขาร่วมกับสตีฟ บัสเซมี และเร็น อาเธอร์ ก่อตั้งบริษัทโอลีฟ โปรดักชั่นส์ ที่ผลิตภาพยนตร์และภาพยนตร์โทรทัศน์ป้อนให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง HBO, โซนี และฟ็อกซ์ เซิร์ชไลท์ Big Night (1996) ภาพยนตร์เรื่องแรกที่เขาเขียนบทและกำกับ พิชิตรางวัลเกียรติยศจากหลายสถาบัน เช่น Independent Spirit, National Board of Review, New York Film Critics Circle, Broadcast Film Critics Association และ Sundance Film Festival อีกสองปีถัดมา ผลงานกำกับเรื่องที่สอง The Imposters ได้รับเลือกไปฉายในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์
ในด้านงานแสดง ทุชชีพิชิตรางวัลลูกโลกทองคำ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมประจำปี 1998 จากภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง Winchell, คว้ารางวัลลูกโลกทองคำ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมประจำปี 2001 พร้อมกับถูกเสนอชื่อชิงรางวัลเอ็มมีจากภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง Conspiracy และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมประจำปี 2009 จากภาพยนตร์เรื่อง The Lovely Bones
ผลงานเด่นเรื่องอื่นของเขา ได้แก่ Billy Bathgate (1991), In the Soup (1992), The Pelican Brief (1993), It Could Happen to You (1994), Deconstructing Harry (1997), A Midsummer Night’s Dream (1999), Joe Gould’s Secret (กำกับด้วย 2000), Road to Perdition (2002), The Life and Death of Peter Sellers (2004), The Terminal (2004), Shall We Dance (2004), Robots (2005), Lucky Number Slevin (2006), The Devil Wears Prada (2006), The Hoax (2006), What Just Happened (2008), Kit Kittredge: An American Girl (2008), Julie & Julia (2009), Easy A (2010), Burlesque (2010), Margin Call (2011), Captain America: The First Avenger (2011), The Hunger Games (2012) และ Jack the Giant Slayer (2013)
นิค โนลตี้ (โดแนล)
นักแสดงชายฝีมือเยี่ยมผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์ 3 ครั้ง จากบทนำใน The Prince of Tides (1991), Affliction (1997) และบทสมทบใน Warrior (2011) โนลตี้เกิดที่โอมาฮา, เนบราสกา เขาสั่งสมประสบการณ์การแสดงในวงการละครเวที ก่อนก้าวสู่วงการโทรทัศน์และโด่งดังขึ้นมาจากมินิซีรีส์เรื่อง Rich Man, Poor Man (1976) ภาพยนตร์เรื่องแรกของเขาคือ The Deep (1977) ตามด้วยผลงานเด่นอีกมากมายตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปี ยกตัวอย่างเช่น Who’ll Stop the Rain (1978), 48 Hrs. (1982), Under Fire (1983), Down and Out in Beverly Hills (1986), Extreme Prejudice (1987), Weeds (1987), Three Fugitives (1989), Farewell to the King (1989), New York Stories (1989), Q & A (1990), Cape Fear (1991), Lorenzo’s Oil (1992), Jefferson in Paris (1995), Mulholland Falls (1996), Mother Night (1996), Night Watch (1997), Afterglow (1997), U Turn (1997), The Thin Red Line (1998), The Good Thief (2002), Northfork (2003), Hulk (2003), The Beautiful Country (2004), Clean (2004), Hotel Rwanda (2004), Paris, je t’aime (2006), Peaceful Warrior (2006), Off the Black (2006), The Spiderwick Chronicles (2008), Tropic Thunder (2008), Gangster Squad (2013) และ Parker (2013)
คริส คูเปอร์ (แดเนียล สโลน)
เกิดที่แคนซัส, มิสซูรี เขาศึกษาที่โรงเรียนการละคร ซึ่งอยู่ในสังกัดของมหาวิทยาลัยมิสซูรี ภายหลังเรียนจบ คูเปอร์ก็เริ่มอาชีพนักแสดงบนเวทีละคร ก่อนจะก้าวเข้าสู่วงการภาพยนตร์เมื่อปี 1987 ใน Matewan ผลงานเรื่องเยี่ยมของผู้กำกับ จอห์น เซย์เลส จากนั้นเขาก็มีผลงานภาพยนตร์และภาพยนตร์โทรทัศน์ขั้นเยี่ยมอีกนับไม่ถ้วน อาทิ Lonesome Dove (TV mini-series 1989), Guilty by Suspicion (1991), City of Hope (1991), This Boy’s Life (1993), Lone Star (1996), A Time to Kill (1996), Great Expectations (1998), The Horse Whisperer (1998), October Sky (1999), American Beauty (1999), Me, Myself & Irene (2000), The Patriot (2000), The Bourne Identity (2002), Seabiscuit (2003), Silver City (2004), Capote (2005), Jarhead (2005), Syriana (2005), Breach (2007), The Kingdom (2007), Married Life (2007), New York, I Love You (2009), Where the Wild Things Are (2009), The Company Men (2010), Remember Me (2010), Amigo (2010), The Town (2010) และ The Muppets (2011)
คริส คูเปอร์ได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมประจำปี 2002 จากภาพยนตร์เรื่อง Adaptation
ซูซาน แซแรนดอน (แชรอน โซราร์ซ)
นักแสดงหญิงยอดฝีมือเจ้าของรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมประจำปี 1995 จาก Dead Man Walking และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงอีก 4 ครั้ง จากAtlantic City(1980), Thelma & Louise (1991), Lorenzo’s Oil (1992) และ The Client (1994)
ภาพยนตร์เด่นเรื่องอื่นของเธอ ได้แก่ Pretty Baby (1978), King of the Gypsies (1978), The Hunger (1983), The Witches of Eastwick (1987), Bull Durham (1988), A Dry White Season (1989), White Palace (1990), Light Sleeper (1992), Bob Roberts (1992), Little Women (1994), Safe Passage (1994), Stepmom (1998), Cradle Will Rock (1999), Anywhere But Here (1999), Joe Gould’s Secret (2000), Moonlight Mile (2002), Children of Dune (TV mini-series 2003), Shall We Dance (2004), Elizabethtown (2005), Bernard and Doris (2006), Rescue Me (TV series 2006-2007), In the Valley of Elah (2007), Enchanted (2007), Speed Racer (2008), The Greatest (2009), Solitary Man (2009), The Lovely Bones (2009), You Don’t Know Jack (TV movie 2010), Wall Street: Money Never Sleeps (2010), Robot & Frank (2012), Arbitrage (2012), Cloud Atlas (2012) และ Snitch (2013)
สตีเฟ่น รูท (บิลลี คิวซีมาโน)
เกิดที่ซาราโซตา ศึกษาวิชาการแสดงและวิทยุโทรทัศน์ในมหาวิทยาลัยฟลอริดา หลังจากออกตระเวนแสดงละครกับคณะ National Shakespeare Company รูทก็กลับมาตั้งหลักที่นิวยอร์ค และหาเลี้ยงชีพด้วยการแสดงละครเวที โดยมีผลงานเรื่องดังอย่าง Journey’s End, The Au Pair Man, So Long on Lonely Street, All My Sons และ Driving Miss Daisy
ในวงการโทรทัศน์และภาพยนตร์ รูทมีผลงานเรื่องเด่นดังต่อไปนี้ Dave (1993), L.A. Law (TV series 1990-1994), From the Earth to the Moon (TV mini-series 1998), Office Space (1999), NewsRadio (TV series 1995-1999), Bicentennial Man (1999), Jersey Girl (2004), The Ladykillers (2004), Dodgeball: A True Underdog Story (2004), Just Friends (2005), The West Wing (TV series 2005-2006), No Country for Old Men (2007), Leatherheads (2008), The Soloist (2009), True Blood (TV series 2008-2009), The Men Who Stare at Goats (2009), Unthinkable (2010), Everything Must Go (2010), The Conspirator (2010), Red State (2011), Cedar Rapids (2011), J. Edgar (2011), Big Miracle (2012), Justified (TV series 2010-2012) และ Boardwalk Empire (TV series 2012)
ทีมงาน
เล็ม ดอบส์ (ผู้เขียนบทภาพยนตร์)
บุตรชายของอาร์. บี. คิทาย ศิลปินชาวอเมริกันผู้มีเอกลักษณ์โดดเด่น เล็ม ดอบส์เกิดที่อ๊อกฟอร์ด และโตที่ลอนดอน เขาได้ไปอเมริกาครั้งแรกเมื่อพ่อของเขาเดินทางไปเยี่ยมศาสตราจารย์คนหนึ่งที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย นั่นทำให้ดอบส์มีโอกาสได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง The Boy Who Turned Yellow (1972) ระยะเวลาหนึ่งปีในฮอลลีวู้ด สร้างความหลงใหลที่ติดอยู่ในใจมาตลอดชีวิต ในฐานะนักแสดงเด็ก ดอบส์ได้พบผู้กำกับระดับตำนานอย่างจอห์น ฟอร์ด, บิลลี ไวล์เดอร์, จอร์จ คูเกอร์ และฌอง เรอนัวร์ เมื่อกลับไปอังกฤษ เขาเข้าเรียนที่โรงเรียนอเมริกันในลอนดอน และทำงานพาร์ทไทม์ในร้านขายหนังสือเกี่ยวกับภาพยนตร์ ดอบส์กลับไปลอสแองเจลิสตอนอายุ 18 เพื่อทำงานเป็นนักเขียนบท จนถึงปัจจุบัน ดอบส์มีผลงานที่ถูกสร้างออกมาเป็นภาพยนตร์แล้วจำนวน 9 เรื่อง ได้แก่ Hider in the House (1989), The Hard Way (1991), Kafka (1991), Dark City (1998), The Limey (1999), The Score (2001), Fear Itself (TV series 2009), Haywire (2011) และ The Company You Keep (2012)
บิล โฮลเดอร์แมน (ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์)
บิล โฮลเดอร์แมนเกิดและโตที่ชิคาโก เขาจบการศึกษาสาขาเศรษฐศาสตร์และสื่อสารมวลชนจากมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น ปัจจุบันเขาคือผู้บริหาร Wildwood Enterprises บริษัทสร้างภาพยนตร์ของโรเบิร์ต เรดฟอร์ด ตลอดระยะเวลา 11 ปีที่โฮลเดอร์แมนทำงานที่ไวลด์วูด เขาได้สร้างผลงานโดดเด่นดังต่อไปนี้ The Last Castle (2001), Spy Game (2001), The Clearing (2004), The Motorcycle Diaries (2004), An Unfinished Life (2005), Lions for Lambs (2007) และ The Conspirator (2010)
นิโคลาส ชาร์ติเออร์ (ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์)
ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง The Hurt Locker ที่ชนะรางวัลออสการ์ 6 สาขา รวมทั้งสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ชาร์ติเออร์ทำงานในวงการบันเทิงมาตั้งแต่ปี 2001 ด้วยการสร้างภาพยนตร์เรื่องแรก Tangled จากนั้นในปี 2005 เขาก็ก่อตั้งบริษัทผลิตภาพยนตร์ Voltage Pictures ขึ้นมา โดยมีผลงานชิ้นแรกคือ The Hurt Locker (2008) ตามด้วย The Keeper (2009), The Whistleblower (2010), Killer Joe (2011), The Magic of Belle Isle (2012), Generation Um… (2012), True Justice (TV series 2010-2012), The Company You Keep (2012), Seal Team Six: The Raid on Osama Bin Laden (TV movie 2012), Don Jon (2013) และล่าสุด The Necessary Death of Charlie Countryman (2013)
เคร้ก เจ. ฟลอเรส (ผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร)
ผู้ก่อตั้งบริษัท Voltage Pictures ร่วมกับนิโคลาส ชาร์ติเออร์ ก่อนหน้านี้ เขาเคยทำงานที่ Hollywood Gang Productions บริษัทในสังกัดของวอร์เนอร์ บราเธอร์ส ที่สร้างภาพยนตร์เรื่อง 300 (2006), Everybody’s Fine (2009) และ Immortals (2011) ซึ่งทำรายได้รวมกันทั่วโลกเป็นเงินมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์
ชอว์น วิลเลียมสัน (ผู้อำนวยการสร้างฝ่ายบริหาร)
ด้วยประสบการณ์การทำงานในวงการบันเทิงยาวนานกว่า 25 ปี ทำให้ชอว์น วิลเลียมสัน กลายเป็นผู้อำนวยการสร้างแถวหน้าแห่งอุตสาหกรรมบันเทิงแคนาดา เขาเป็นชาวแวนคูเวอร์โดยกำเนิด เริ่มทำงานเมื่อปี 1983 ด้วยการเป็นผู้จัดการเวทีในโรงละคร จากนั้นจึงพัฒนามาเป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์, ละครโทรทัศน์, ภาพยนตร์โทรทัศน์ และภาพยนตร์ตามลำดับ เขาได้รับรางวัลเกียรติยศมากมาย ซึ่งรวมถึงรางวัล “ผู้บริหารยอดเยี่ยมแห่งปี 2006” และได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน “40 นักธุรกิจดีเด่นที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี” เมื่อปี 2004
ภาพยนตร์เรื่องดังที่เขาเป็นผู้อำนวยการสร้างมีดังนี้ White Noise (2005), Alone in the Dark (2005), BloodRayne (2005), Slither (2006), The Wicker Man (2006), 88 Minutes (2007), Frankie & Alice (2010), 50/50 Z2011) และ The Possession (2012)
อาดริอาโน โกลด์แมน (ผู้กำกับภาพ)
ผู้กำกับภาพชาวบราซิลที่นิตยสาร Variety ยกย่องให้เป็นหนึ่งในผู้กำกับภาพที่น่าจับตามองมากที่สุดในยุคปัจจุบัน โกลด์แมนเริ่มทำงานในตำแหน่งผู้ควบคุมกล้องในบริษัทของผู้กำกับ เฟอร์นันโด ไมเรลเลส ระหว่างนั้นเขาก็กำกับภาพยนตร์สั้นของตัวเองในชื่อ Is Renaldo Still Swimming? ซึ่งสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศจากเทศกาลภาพยนตร์วิดีโอเซาเปาโล และเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฮาวานา ประเทศคิวบา โกลด์แมนมีชื่อเสียงขึ้นมาด้วยการกำกับภาพในภาพยนตร์เรื่อง Sin Nombre ของผู้กำกับ แครี ฟูกุนากะ ซึ่งทำให้เขาพิชิตรางวัลผู้กำกับภาพยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ ประจำปี 2009 และได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัล Independent Spirit Award ด้วย
ผลงานโดดเด่นเรื่องอื่นของโกลด์แมน ได้แก่ Cidade dos Homens (TV series 2002), Filhos do Carnaval (TV series 2006), The Year My Parents Went on Vacation (2006), Cidade dos Homens (2007), Alice (TV series 2008), Romance (2008), Som e Furia (TV series 2009), Conviction (2010), Jane Eyre (2011), 360 (2011) และ Xingu (2012)
ลอเรนซ์ เบนเน็ทท์ (ผู้ออกแบบงานสร้าง)
เบนเน็ทท์จบการศึกษาจากวิทยาลัยอ๊อกซิเดนทัล ในลอสแองเจลิส ต่อด้วยมหาวิทยาลัยวาเซดะ ในกรุงโตเกียว จากนั้นเขาก็ไปอาศัยอยู่ที่ประเทศไอร์แลนด์เป็นเวลานานสิบปี เพื่อทำงานศิลปะหลากหลายแขนง ควบคู่ไปกับการเป็นอาจารย์ในวิทยาลัยศิลปะและการออกแบบ เมื่อเบนเน็ทท์กลับมาลอสแองเจลิส เขาก็ก้าวเข้าสู่วงการภาพยนตร์ ด้วยการเป็นผู้กำกับศิลป์ และผู้ออกแบบงานสร้างตามลำดับ เขาคือผู้ออกแบบงานสร้างในภาพยนตร์ของผู้กำกับ พอล แฮกจิส เรื่อง Crash (2005), In the Valley of Elah (2008), The Next Three Days (2010) และภาพยนตร์ของผู้กำกับชื่อดังคนอื่นอย่าง Freedom Writers (2007), One Missed Call (2008), Traitor (2008) รวมถึงซีรีส์ยอดนิยม เช่น Under Suspicion (1994), Ez Streets (1996-1997), Michael Hayes (1997), Once and Again (1999-2002) และ Grey’s Anatomy (2005) ผลงานชั้นเลิศใน The Artist ทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาผู้ออกแบบงานสร้างยอดเยี่ยมประจำปี 2011
เอวี คอฟแมน (ผู้อำนวยการคัดเลือกนักแสดง)
เอวี คอฟแมนได้รับรางวัล “ผู้อำนวยการคัดเลือกนักแสดงแห่งปี” จากเทศกาลภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดประจำปี 2005 เธอเคยร่วมงานกับผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังมากมาย อาทิ อังลี, สตีเว่น สปีลเบิร์ก, จิม เชอริแดน, ริดลีย์ สก็อตต์, ไมเคิล มานน์, นอร์แมน จิวิสัน, หว่องกาไว รวมถึงนักแสดงที่ผันตัวเองมาเป็นผู้กำกับอย่าง โรเบิร์ต เรดฟอร์ด, โจดี้ ฟอสเตอร์, เอ๊ดเวิร์ด นอร์ตัน และฟิลิป ซีมัวร์ ฮอฟฟ์แมน ผลงานชั้นเยี่ยมของเธออยู่ในภาพยนตร์ดังต่อไปนี้ Little Man Tate (1991), Searching for Bobby Fischer (1993), The Basketball Diaries (1995), Lone Star (1996), The Ice Storm (1997), Rounders (1998), The Sixth Sense (1999), Music of the Heart (1999), The Hurricane (1999), Dancer in the Dark (2000), Save the Last Dance (2001), Blow (2001), A.I. Artificial Intelligence (2001), Moonlight Mile (2002), Dogville (2003), Hulk (2003), The Human Stain (2003), Birth (2004), Lemony Snicket’s A Series of Unfortunate Events (2004), Capote (2005), Brokeback Mountain (2005), Everything Is Illuminated (2005), Syriana (2005), All the King’s Men (2006), My Blueberry Nights (2007), American Gangster (2007), Lions for Lambs (2007), Phoebe in Wonderland (2008), Body of Lies (2008), State of Play (2009), Taking Woodstock (2009), Public Enemies (2009), Solitary Man (2009), The Lovely Bones (2009), Brothers (2009), Salt (2010), The Conspirator (2010), Let Me In (2010), Shame (2011), Prometheus (2012), Life of Pi (2012) และ Lincoln (2012)
มาร์ค เดย์ (ผู้ลำดับภาพ)
มาร์ค เดย์คือผู้ลำดับภาพชาวอังกฤษ เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล BAFTA และ Royal Television Society (RTS) สาขาผู้ลำดับภาพยอดเยี่ยมจากมินิซีรีส์เรื่อง The Way We Live Now (2001), ชนะรางวัล BAFTA และได้เข้าชิงรางวัล RTS จากมินิซีรีส์เรื่อง State of Play (2003), ได้เข้าชิงรางวัล RTS จากภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง The Young Visiters (2003), ชนะทั้งรางวัล BAFTA และ RTS จากภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง Sex Traffic (2004) และได้เข้าชิงรางวัลเอ็มมีจากภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง The Girl in the Café (2005) สำหรับงานภาพยนตร์ เขาเป็นผู้ลำดับภาพในภาพยนตร์ชุดแฮร์รี พอตเตอร์ ตอน Harry Potter and the Order of the Phoenix (2007), Harry Potter and the Half-Blood Prince (2009), Harry Potter and the Deathly Hallows: Part 1 (2010) และ Harry Potter and the Deathly Hallows: Part 2 (2011) ซึ่งเรื่องสุดท้ายนี้เองที่ทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Saturn Award จาก Academy of Science Fiction, Fantasy & Horror Films
คลิฟฟ์ มาร์ติเนซ (ผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบ)
มาร์ติเนซเกิดที่ย่านบรองซ์ นครนิวยอร์ค แต่ไปโตที่โอไฮโอ แล้วจึงย้ายมาอยู่แคลิฟอร์เนียในปี 1976 ภายหลังรับหน้าที่เป็นมือกลองให้วงดนตรีหลายวง เขาก็เข้ามาเป็นสมาชิกของเรดฮอต ชิลลีเป๊ปเปอร์ วงดนตรีร็อคชื่อก้อง ช่วงที่อยู่กับชิลลีเป๊ปเปอร์นี่เอง ที่มาร์ติเนซได้ค้นพบแนวทางการสร้างสรรค์ดนตรีแบบใหม่ ซึ่งชักนำเขาให้เข้าสู่โลกของการทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ เขาเริ่มต้นจากการทำดนตรีประกอบซีรีส์โทรทัศน์เรื่อง Pee-Wee’s Playhouse (1987) ตามด้วยภาพยนตร์เรื่อง Sex, Lies and Videotape (1989) ของผู้กำกับ สตีเว่น โซเดอร์เบิร์ก ที่ยังเป็นผู้กำกับหน้าใหม่ในช่วงเวลานั้น ปัจจุบันมาร์ติเนซทำดนตรีประกอบภาพยนตร์มาเป็นจำนวนมากกว่า 30 เรื่อง โดยมีผลงานเด่นดังต่อไปนี้ Pump Up the Volume (1990), Kafka (1991), King of the Hill (1993), The Limey (1999), Traffic (2000), Narc (2002), Solaris (2002), Wonderland (2003), Wicker Park (2004), Havoc (2005), First Snow (2006), In the Beginning (2009), The Lincoln Lawyer (2011), Drive (2011), Contagion (2011), Arbitrage (2012), Spring Breakers (2012) และ Only God Forgives (2013)
มาร์ติเนซได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมีจาก Traffic, เข้าชิงรางวัลซีซาร์จาก In the Beginning และเข้าชิงรางวัล Broadcast Film Critics จาก Drive นอกจากนี้ ในเดือนเมษายน ปี 2012 ชื่อของเขายังถูกจารึกไว้ในหอเกียรติยศร็อคแอนด์โรลล์ ร่วมกับวงเรดฮอต ชิลลีเป๊ปเปอร์ด้วย