PRODUCTION NOTE
“แอ็กชั่น-โรแมนติก-คอมมิดี”
ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ และความรักของสายมู
“อโยธยา มหาละลวย”
กำหนดฉาย 2 ธันวาคม 2564
แนวภาพยนตร์ แอ็กชั่น – โรแมนติก คอมเมดี้
ชื่อภาพยนตร์ อโยธยามหาละลวย
ชื่อภาษาอังกฤษ Om! Crush on me
บริษัทผู้สร้าง MONO FILM
อำนวยการผลิต พิชญ์ โพธารามิก, ดร.โสรัชย์ อัศวะประภา, นวมินทร์ ประสพเนตร,
ซังโด ลี, ปฐมพงศ์ สิรชัยรัตน์
กำกับภาพ อานนท์ จันทร์ประเสริฐ
บทภาพยนตร์ วิโรจน์ ศรีสิทธิ์เสรีอมร
ควบคุมการสร้าง อนิวรรต กรกำแหง, อุเทน ออกช่อ, สุกัญญา วงศ์สถาปัตย์
รายชื่อนักแสดง
เจมส์-จิรายุ ตั้งศรีสุข, โบว์-เมลดา สุศรี, เกรท- สพล อัศวมั่นคง,
เรียวสึ (เจมส์ – จิรายุ ตั้งศรีสุข) ชายหนุ่ม ที่มีความเป็นมาคลุมเครือ พ่อของเขาเป็นซามูไรที่ถูกทางการสังหารอย่างโหดเหี้ยม ส่วนแม่ของเขาถูกจับตัวไป และเขาได้รับการเลี้ยงดูโดยหลวงตา ซึ่งสอนให้เขาได้เรียนรู้วิชาการต่อสู้และเวทมนตร์คาถา เพื่อใช้ป้องกันตัวในวันข้างหน้า ในวันที่เขาต้องการตามหาแม่ และตามหานางในดวงใจ ออสร้อย (โบว์-เมลดา สุศรี) หญิงสาวที่เขาช่วยจากการจมน้ำ เมื่อครั้งไปช่วยหลวงตาซ่อมวัดในอโยธยา
เมื่อถึงเวลาที่เรียวสึจะต้องไปหลวงตาได้มอบหมายให้ทอง (เกรท-สพลอัศวมั่นคง) เดินทางไปพร้อมเรียวสึเพื่อคอยดูแลกันและกันระหว่างการเดินทางพวกเขาพบเจอเรื่องราวมากมายเรียวจะสามารถตามหาทั้งแม่และนางในดวงใจของเขาพบหรือไม่เขาจะได้ใช้วิชาต่อสู้ป้องบางครั้งอาจต้องพึ่งพามนตร์คาถาที่เรียวสึเรียนรู้ทั้งชีวิตเพื่อจะช่วงชิงตัวและหัวใจออสร้อยกลับมาเป็นของเขาได้อีกครั้ง
นักแสดง
เจมส์-จิรายุ ตั้งศรีสุข
รับบท เรียวสึ : การกลับสู่จอเงินในรอบ 8 ปีของสุภาพบุรุษอโยธยา
คาแร็คเตอร์
เรียวสึ เป็นตัวละครที่สนุก ร่าเริง เป็นเด็กหนุ่มที่แสดงอะไรออกมาไม่หวือหวามาก เป็นคนเก่ง เป็นคนมุ่งมั่น สุขุม ชอบช่วยเหลือคนอื่น และเป็นคนรักเดียว เขาต้องการตามสืบเรื่องราวในอดีต เนื่องด้วยเขามักเกิดนิมิตที่หาต้นสาย ปลายเหตุไม่ได้ และเมื่อเขาตื่นมาเขามักเกิดความสงสัยตลอดเวลาในการใช้ชีวิต
2 ออสาวผู้งดงามแห่งอโยธยา (ออสร้อย และ อออิน)
โบว์ – เมลดา สุศรี
บท ออสร้อย
คาแร็คเตอร์
ออสร้อย เปรียบเหมือน ดอกบัว สีชมพูอ่อนๆ คือ ความสดใส มองทุกอย่างในแง่บวก เป็นหญิงแกร่งแห่งอโยธยา ต่อให้มีเรื่องร้ายเข้ามาในชีวิต ก็จะมองโลกในแง่ดี มองเป็นวัฏจักร ทุกอย่างต้องมี เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่สำคัญ ตัวออสร้อยเป็นผู้หญิงโบราณที่มีออร่า มีทัศนคติที่ไม่เหมือนใคร แม้บางมุมจะดูเหมือนผู้ชายแต่จิตใจเขาอ่อนโยน
รับบท อออิน
คาแร็คเตอร์เป็นอย่างไร
อออิน เป็นสาวที่ค่อนข้างมีเสน่ห์มาก ชอบโปรยเสน่ห์ยั่วๆ ให้ทุกคนได้เห็น จนเกิดความหลงใหล จะเป็นนางรำ ที่ดูเด่นในโรงชำเรา ซึ่งผิดกับตัวเองจริงๆ นอกจอ จะโก๊ะๆ เปิ่นๆ ดูทำอะไรก็จะตลกๆ โปกฮาไปหมด
3 หนุ่มชวนฝันแห่งอโยธยา
เกรท- สพล อัศวมั่นคง
รับบท ทอง : พระเอกสายถอด
คาแรคเตอร์
ทองมีนิสัยกวน ทะเล้นๆ แต่ก็มีความสุขุมในตัวด้วย มีความจริงจัง ในเรื่องได้รับมอบหมายจากหลวงปู่ ให้คอยดูแลเรียว (เจมส์-จิรายุ) ต้องคอยปกป้องเวลาเขาเจอปัญหา หรือบางช่วงชีวิตที่เขาต้องตัดสินใจ จะเป็นคนคอย ช่วยเหลือ คอยเตือนสติเขาด้วย ทองมีครบทุกอารมณ์สนุกสนาน เฮฮา ร่าเริง เศร้า มีเสียใจ มีบู๊ เขาคือ เพื่อนคู่คิดของเรียว ซึ่งจะผูกพันกันมาก เวลาเรียวดีใจแล้วก็จะดีใจด้วย เวลาเรียวเสียใจ ก็จะเศร้าด้วย
ฟลุ๊ค พงศกร วงศ์เพียร
รับบท อาซิม : หนุ่มทะเล้นน้องใหม่
คาแรคเตอร์
อาซิม เป็นคนที่ดูร่าเริง แล้วก็จะเป็นหัวโจกทุกเรื่องร่วมกับจีนล้ง (โมสต์ – วิศรุต หิมรัตน์) เรียกได้ว่าไปที่ไหน ก็มีแต่พังๆ ซึ่งบทนี้มีสีสันดีครับ ก่อเรื่องให้วุ่นวายได้ตลอด จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง เวลาที่เข้าขากับคู่ซี้เขา
มาเล่นหนังเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก
ถือเป็นงานหนังเรื่องแรกของผมก็ว่าได้ครับ เป็นบทที่จะว่าไกลตัวเอง หรือใกล้ตัวเองก็ไม่เชิงนะครับ ถือเป็นอีก บทที่ท้าทายที่ดูใกล้ตัวเอง คงจะเป็นช่วงอายุที่ไม่ต้องปรับอะไรมากนัก แต่ที่ไกลอาจจะต้องโลดโผน แอ็กชั่น มีต่อสู้ และแต่งตัวแปลกๆ ใช้เวทมนตร์คาถา ทำนองนี้
โมสต์ – วิศรุต หิมรัตน์
รับบท จีนล้ง : จอมขโมยซีน
8 ปีบนถนนคนคูล (2556-2564)
คาแรคเตอร์
เขาเป็นคนทะเล้น มีเล่ห์เหลี่ยม ตลกๆ ฮาๆ เปิ่นๆ แอบกวนๆ เล็กๆ น้อยๆ เอ๊ะ ! หรือกวนเยอะ ชอบจีบสาว แต่จะติดหรือไม่ อยากให้ไปดูกัน แต่ที่จะไม่เหมือนกันคือ เขามีผมเปียยาว คาแรกเตอร์นี้เด่นมากๆ เป็นอีกคาแร็คเตอร์ หนึ่งที่มีสีสัน ในภาพยนตร์เรื่องนี้พอสมควร
ภีม ธนบดี ใจเย็น
รับบท ขวัญ : ดาวร้ายซิกแพคแน่น
คาแร็กเตอร์
เป็นลูกออกญา เป็นคนเก่ง โตมาด้วยอำนาจ มีความหยิ่งทระนง พ่อมีบารมีใหญ่ แล้วก็ไปไหนมาไหน คนต้องยำเกรง เป็นคนที่อยากอะไรก็ต้องได้ แต่ไม่ได้เกรี้ยวกราด เป็นคนมีความคิดลึกซึ้ง เป็นคนสุขุม มีความสามารถ เชื่อมั่นตัวเอง
ฟลุ๊คจ์-พงศ์ภัทร์ กันคำ
รับบท แก้ว : ดาวร้ายหน้าใส
คาแรคเตอร์
แก้ว จะมุทะลุ ดิบ เถื่อน มีความเป็นนักเลง เวลาพูดดูกร่าง ยกตนข่มท่าน ใช้อำนาจบาตรใหญ่ เป็นคนที่คอยออกคำสั่งทำโน่น ทำนี่ตลอด แต่แก้วก็ไม่ได้มีอำนาจหรอก ใช้อำนาจพ่อและพี่มากกว่า พ่อก็เป็นออกญา พี่ก็มียศถาบรรดาศักดิ์ เลยทำให้แก้ว ชอบทำตัวเบ่งต่อใครๆ ไปทั่วว่า ข้านี่แน่ ข้านี่ใหญ่
แนะนำ 2 ทหารสุดเท่ 2 หน้าใหม่ไฟแรง
เกร-เกรกัวร์ เดอ บ็อด Gregoire de Bodt
รับบท คอง : ดาวร้ายหน้าหยก
คาแรคเตอร์
บทจะเป็นคนที่ค่อนข้าง เกเรนิดๆ มาจากครอบครัวที่รวย เดินทางมาจากโปรตุเกส เป็นคนอวดรวย ขี้แอ็ค ตรงนี้ที่ผมมองว่า คาแรคเตอร์คล้ายและใกล้เคียงกับผมอยู่พอสมควร พอได้เข้ามาเล่นจริงๆ ก็ทำให้สบายใจมากขึ้น เพราะไม่ต้องกดดันมากนัก
โดม เพชรธำรงชัย รับบท ทวย : ดาวร้ายสายฮา
คาแรคเตอร์
ทวย เป็นชาวโปรตุกีส ที่เป็นลูกสมุน ของแก้ว คอยเก็บส่วย และคอยเป็นทหารรับใช้ทำตามคำสั่งของเจ้านาย เขาเลยเป็นคนไม่ค่อยเข้าใจภาษาไทย พูดจาไม่ชัดเจนเท่าไร ฟังผิดๆ ถูกๆ แล้วก็เอาไปแปลผิดๆ เป็นอีกบทที่ตรง กับตัวผมมาก คือ ไม่ค่อยเข้าใจภาษา แต่ก็ถือเป็นคาแรกเตอร์เฉพาะตัวจริงๆ
บันทึกผู้กำกับ (Director’s Note) : 17 ปีบนจอภาพยนตร์ ผู้กำกับมากฝีมือ
17 ปีที่เดินทางบนแผ่นฟิล์มไม่ใช่ธรรมดาเลย ผ่านร้อนหนาวกับภาพยนตร์ไทยมาหลากหลายแนวกว่า 7 เรื่อง และผลงานล่าสุดน่าจะเป็นเครื่องพิสูจน์ของผู้กำกับคนนี้
“ภาพรวมของภาพยนตร์ ผมชอบนะดีไซน์แปลกตาดี ภาพแปลกตาไม่ค่อยมีใครได้เห็น หรือได้ทำภาพยนตร์ไทย แบบนี้ แนวโบราณ มีคาถาอาคม เล่าเรื่องมิตรภาพของเพื่อน การเดินทาง และความสนุกสนาน ที่สำคัญบางส่วนเสี้ยว ของยุคสมัยอโยธยา ที่มีการค้าขาย มีวัฒนธรรมหลายเชื้อชาติ โดยเฉพาะ ยามาดะ ที่จะเล่าถึง
พอดูรวมๆ แล้วดูเท่ ทันสมัย สำหรับตัวผมเองด้วย แล้วก็ทุกฉากทุกซีนก็ถูกดีไซน์ เพื่อเล่าถึงยุคสมัยนี้โดยเฉพาะ ด้วยองค์ประกอบ ด้วยฉากด้วยแสงสี ถ้าได้ชมในภาพยนตร์จะเห็นความสวยงาม สีสัน และ คาแรคเตอร์ของนักแสดง ผมคิดว่าภาพยนตร์เรื่องนี้น่าดูมากๆ เรื่องหนึ่ง ตั้งแต่ผมเป็นผู้กำกับทำงานมา
จริงๆ ด้วยความที่คนจะคุ้นกับผมอยู่บ้างว่าทำแนวพีเรียดมายุคสมเด็จ พระนารายณ์ ผมเองก็ได้ทำงานของ ยุคสมัยนี้ ก็เลยรู้สึกว่ายุคนี้มีความน่ารัก มีความใส มีเรื่องของความสุข มีอะไรหลายๆ อย่าง ที่อยากจะเล่า ฉะนั้นเลยเลือก ที่จะเอายุคนี้มานำเสนอเป็นภาพยนตร์
ด้วยความที่รู้สึกว่า เอ้อ บุพเพสันนิวาสก็หยิบยุคนี้มา แต่ว่ามุมมองที่เล่าไม่เหมือนกัน เลยแม้แต่นิดเดียว คืออยากจะเล่ามุมมองหนึ่ง เล่าอีกอย่างหนึ่ง ในความเป็นภาพยนตร์ นิยามเป็นภาพยนตร์เรื่องนี้ จริงๆ มันมีทุกรสชาติ มีโรแมนติก มีคอมมิดี มีความน่ารัก มีแอคชั่น บู๊ ดราม่า ผมว่าครบรส”
สัมภาษณ์เบื้องหลัง-โปรดักชั่นดีไซน์
กบ-ประเสริฐ โพธิ์ศรีรัตน์
เครดิตผลงาน
ภาพยนตร์ สุริโยทัย, ตำนานพระนเรศวร
ละครโทรทัศน์ บางระจัน, บุพเพสันนิวาส
โจทย์ที่ได้รับมาตอนแรก เป็นอย่างไรบ้าง เรื่องงานดีไซน์?
“พอได้บทมา ก็อ่านบทแล้วตีความ คุยกับผู้กำกับว่าอยากให้เป็นแนวทางไหน จนพอสรุปว่าเป็นรักโรแมนติก มีกลิ่นอายของ ความเป็นอยุธยา ก็สร้างแรงบันดาลใจจากบท ตั้งแต่อยุธยายุคเฟื่องฟูที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม การค้าอะไรต่างๆ สมัยช่วงพระนารายณ์ตอนกลาง ซึ่งโชคดีด้วยที่ทางการทำงานของผม ทำมาตั้งแต่ สมัยภาพยนตร์ในอดีต สุริโยทัย ตำนานสมเด็จพระนเรศวร ละครบางระจัน และละครบุพเพสันนิวาส ช่วยเรื่องทักษะ และการจินตนาการให้ผม ได้เยอะ พอสรุปในแต่ส่วนของการทำงาน ก็ออกมาแบบที่เห็นในภาพยนตร์”
แต่ฉากมีการจิตนาการไว้อย่างไรบ้าง เช่น โรงน้ำชา หรือว่าตลาด ?
“อย่างฉากโรงน้ำชา ใส่สีสันแบบนั้น สไตล์หนังที่อยากจะเล่าความเป็นชนชั้น ขุนนาง ก็จะสมมติมาว่า เป็นโลเคชั่นหนึ่ง เน้นเรื่องภาพและสีสันที่สะดุดตา ให้เห็นถึงความแตกต่าง ถ้าเป็นขุนนางอาจจะต้องกินหรูอยู่สบาย มียศถาบรรดาศักดิ์ ก็จะดีไซน์ให้แสงเงาและภาพที่ต่างจากชนชั้นอื่นๆ หรืออย่าง ตลาด ก็ไปค้นคว้ามาว่า ตลาดสมัยก่อน มีอะไรบ้าง อย่าง อยุธยา แต่ละยุคจะต่างกัน แต่ในเรื่องที่นำเสนอ คือ มีหลายเชื้อชาติ ที่มาอยู่ในแผ่นดิน เพราะ เนื้อเรื่องมีกลิ่นอายอยุธยา ก็จะมีตลาดต่างๆ เช่น ตลาดจีน และพื้นเพของตัวละครที่ทำงานอยู่โรงชำเรา หรือตลาด ก็หาข้อมูลที่มีความเป็นจีน หรืออย่างตลาดตอนกลางคืนก็จะมีประดับโคมไฟ ใส่เข้ามาเพื่อให้มองเห็นถึงความเป็นจีน ผสมผสาน”
ก่อนถ่ายทำเตรียมงานนานไหม?
“มีขายงานตัวอย่างฉากที่อยากจะนำเสนอ ขายการดีไซน์ในที่ประชุม พอตกลงเรียบร้อย แต่ละแผนกก็ แยกย้ายกันทำข้อมูล รายงานกันเข้ามา แล้วก็ทำจริงขึ้นมาอีกทีหนึ่ง ซึ่งก็ใช้เวลาพอสมควรเลย ใช้เวลาทำงานกว่า 1 เดือน แต่ก็ใช้คนแยกย้าย กระจายกันไปทำงานแต่ส่วนก็ออกมาน่าพอใจ”
การเซ็ทฉาก เช่น ฉากโรงชำเรา พอเสร็จแล้วรู้สึกพอใจหรือไม่
“ทุกงานที่ทำ ก็ต้องเต็มที่ มีเท่าไรก็ใส่ไป 100 เปอร์เซ็นต์ อย่างฉากโรงชำเรา ก็ต้องศึกษาในแต่ละส่วน ที่จะทำมุมของวัฒนธรรมที่รับเข้ามาช่วงนั้น ไม่ว่าเป็นเอเชีย (จีน) หรือว่าตะวันตก, อาหรับ เพราะแต่ละห้องก็จะสื่อออกมา ถึงชนชาติที่เข้ามาสมัยนั้น สีของห้อง โต๊ะที่นั่ง ทางเดิน ประตู ก็ต้องให้เข้ากับยุคสมัยนั้น ส่วนหน้ากองถ่ายจะมีการโยกย้าย สับเปลี่ยนเพื่อให้เข้ากับการถ่ายทำหน้ากล้องของตัวละคร บางอันก็ต้องตัด แยกคัดออกมาพิเศษ เป็นเรื่องที่คนดีไซน์ ต้องเตรียมใจไว้ก่อน ว่าที่เซ็ทฉากไว้ต้องมีการปรับตามเหมาะสม”
ฉากใหญ่ๆ หลายๆ อย่าง ฉากช่วยตัวประกัน ก็อยู่ในการดูแลด้วย ?
“ฉากใหญ่นี้มีความยากอยู่ ก็มีคิดไว้หลายเวอร์ชั่น เพราะในฉากนี้ต้องนำเสนอเรื่องการใช้อาคม ตามเรื่อง ฝ่ายพระเอกกับฝ่ายตรงข้ามมีวิชาเดียวกัน แล้วก็เป็นเรื่องการใช้อาคมแบบดิน น้ำ ลม ไฟ ก็ต้องดีไซน์ให้ทุกอย่าง ออกมาตามที่คนเขียนบทและผู้กำกับ ต้องการนำเสนอ เป็นการทำงานที่ไม่ง่ายเลย เพราะเป็นซีนกลางคืนด้วย มีทั้งการต่อสู้ มีซีนดราม่า สีสันของฉาก ก็ต้องนำเสนออกมาให้ร้อนแรง ต้องแล้วแต่ว่าเขาจะตัดต่อยังไงอีกที”
อยากให้เล่าถึงความยากง่ายของฉากนั้นหน่อย เพราะโบว์ เมลดา ก็ต้องถูกขึงไว้ข้างบน?
“ก็ต้องมีการไปช่วยเหลือของพระเอก เรื่องนำไปสู่ไคลแมกซ์ ก็ต้องดูว่า ฉากนี้ นางเอกอยู่มุมไหน เขาโดนอะไรบ้าง พอพระเอกมาถึง ไฟตรงไหนต้องใช้ ดีไซน์อย่างไรไม่เหมือนการต่อสู้แบบเรื่องอื่นๆ ส่วนของการทำงาน ถามว่ายากง่ายยังไง ต้องดีไซน์ออกมาเป็นสตอรี่บอร์ดก่อน พระนางจะถูกเปิดตัวจากมุมไหน มองผ่านนางเอกออกไป ก็จะเห็นพระเอกเดินเข้ามา ผ่านทางมุมกล้อง แล้วอีกฝ่ายหนึ่งก็เตรียมกำจัดพระเอกอยู่ คือดีไซน์เป็นช็อต ๆ ไว้ก่อน ซึ่งฉากนี้เตรียมงานกันเป็นเดือน แล้วก็ออกมาสวยสมใจ”
หัวใจของหน้าที่ดีไซน์ ฉาก วางแพลน ให้ทีมงานด้านอื่นๆ ทำงานต่อได้ง่าย?
“หัวใจของการดีไซน์ คือทำให้ตากล้อง และทีมทำงานมองภาพไปในทิศทางเดียวกัน ในการจัดวางองค์ประกอบ ว่าสิ่งไหน แทนค่าอะไร เน้นเรื่องภาพของความสมจริงในฉากนั้นๆ เป็นหลัก แล้วก็การแทนค่าสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ฉากบ้านของ ตัวละครขวัญจะมีของมีค่ามากมาย เพราะเป็นคนมียศศักดิ์ ม่านบังตาก็ต้องมีสีสัน โต๊ะหัวเตียง ต้องมีวางน้ำดื่ม แจกันดอกไม้ หรือโต๊ะเครื่องแป้ง ก็ต้องมีเน้นสีเพื่อให้มีองค์ประกอบของแสง หรือฉากในห้องมีกรงนก เหมือนนางเอกอยู่ในห้องของขวัญ เหมือนนกน้อยในกรงทองส่วนการใช้โทนสีก็มีสีเขียวกับสีแดงสิ่งเหล่านี้ เราจะต้องคิด แทนภาพที่จะออกมาจากตอนที่ตากล้องถ่าย”
ฉากประลองยุทธ์เตรียมงานกี่วัน กว่าเซ็ท กว่าจะอะไร?
“เป็นอาทิตย์ เพราะในหนังเป็นฉากใหญ่พอสมควร มีการรวมตัวละครเด่นๆด้วย แล้วก็เป็นไคลแมกซ์ของเรื่อง ด้วย”
เรื่องสีสัน ทีมดีไซน์ ให้ความสำคัญอย่างไรบ้าง?
“ก็มีทำขึ้นมาใหม่หมด เช่น กรงนก หรืออะไรที่มีดีไซน์ ส่วนเรื่องสี ก็เป็นการมิกซ์ที่มีจีน มีแขก มีฝรั่ง มีหลายเชื้อชาติ เพราะสมัยนั้นก็จะมีการติดต่อค้าขายกับหลายเชื้อชาติ ภาพที่เห็นจะมีความหลากหลาย”
ฉากสู้กันบนช้างถือว่าใหญ่ พอสมควร มีการวางแผนอย่างไร
“วาดสตอรี่บอร์ดเลย เป็นช็อตๆ สู้กันอย่างไร มุมไหน หันกี่องศา วาดเสร็จเพื่อให้เห็นภาพว่าประมาณนี้ไหม คล้ายแบบนี้หรือเปล่า จากนั้นก็ให้ผู้กำกับลองดูว่าจะมีเสริมอะไรบ้างไหม ฝ่ายทีมสตั๊นท์ ฝ่ายช้างเขาต้องเห็น เพื่อจะได้ทำงานต่อได้ เป็นอีกฉากที่ยาก เพราะต้องคุมช้างให้ได้ มีทั้งเทคนิคพิเศษ สลิง บลูสกรีน ตัดภาพกว้าง แคบมีครบ”
ภาพรวมของเรื่องนี้เป็นงานดีไซน์ที่ ใหญ่ไม่แพ้ สุริโยทัยไหม มีอุปสรรคที่กว่าจะผ่านไปได้ไหม?
“ใหญ่ทุกเรื่องครับ ผมก็ต้องทำเต็มที่ตามที่ได้รับมอบหมาย แต่ก็จะมีการคุยกันนะ ก่อนดีไซน์ เดี๋ยวมันก็ลงตัว ของมัน อย่างบางซีนดีไซน์แล้วขายไป ผลปรากฏเวลาถ่ายจริงๆ ไม่ทันก็ต้องออก เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ นี่ก็คือ เป็นอุปสรรค อีกเรื่อง หรือเรื่องของความเนียบ คุณภาพของพร็อพ ของอะไรต่าง ๆ ต้องเน้นความสมจริง เน้นความสวยงามของฟอร์ม ภาพยนตร์ด้วย ตอนจัดก็ต้องเลือกสรรให้สวยงามและมีพลัง บางอย่างต้องทำขึ้นมาใหม่ ป้องกันเรื่องละเมิด ลิขสิทธิ์ด้วย แบบนี้คือไม่ได้ดูแค่ในฉาก แต่เราทำงานคำนึงถึงภาพลักษณ์ของงาน ที่ทำด้วยเวลา ออกสู่สายตาคนดู”
ฉากใหญ่ที่ไม่นำเสนอไม่ได้ คือ ตอนเปิดเรื่อง เจมส์ จิรายุ ลงไปร่ายเวทย์มนต์ในน้ำ?
“อาจจะเห็นในหนังไม่เยอะ แต่ขอบอกว่าเป็นฉากที่ใหญ่อีกฉาก ฉากนี้มีวาดสตอรี่บอร์ดอยู่ เพราะในตัวบท มีการอ้าง ใช้ธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ เรื่องคาถาอาคม เปิดเรื่อง พระเอกอยู่ในน้ำคือ บริกรรมคาถาในน้ำ เหมือนกับ กสิณน้ำใช้ความเย็นเพื่อดับความร้อนลุ่มของความรัก มีการใช้น้ำ ไฟ เป็นสัญลักษณ์ที่ซ่อนอยู่ อาจารย์พระเอกและของ ออกญาคือคนเดียวกัน มีวิชาเดียวกัน ฉากนี้ไปถ่ายที่สตูดิโอ ต้องมีดีไซน์ทั้งตอนอยู่ใต้น้ำ และบนบก ก็ถือว่า ยากในเรื่อง ของการทำงาน และการเตรียมความพร้อม เพราะต้องแม่นเรื่องจังหวะการหายใจ ในน้ำ เสื้อผ้า หน้าผม ต้องพร้อม และที่สำคัญกับทีม คือ ฉากหลังที่ต้องมีความขลัง และหน้าศรัทธา ก็วาดกันอยู่หลายเวอร์ชั่น กว่าจะลงตัว”
ภาพรวมตั้งแต่ทำงานมา 2-3 เรื่องใหญ่ ๆ จนถึงเรื่องนี้ ความรู้สึกที่ได้ทำหนังไทยแนวพีเรียด แนวโบราณ มุมมองในฐานะคนที่ออกแบบดีไซน์เป็นอย่างไรที่ได้นำเสนอสิ่งนี้ออกไป?
“รู้สึกภูมิใจที่เรียนจบมาสายนี้โดยตรงครับ ผมจบด้านศิลปะมา จบจิตรกรรม จบตรงมาถามว่ามันช่วยเรา ได้เยอะไหม ส่วนตัวผมมองว่ามันช่วยในด้านวิชวลอยู่แล้ว งานศิลป์มันเป็นเรื่องของความงามจากการมองเห็น การสัมผัส องค์ประกอบต่าง ๆ เรื่องสี แล้วแทรกความคิดลงไปในนั้น นำเสนอความคิดที่มันซ่อนอยู่ มีหลายเรื่องแฝงอยู่ ได้มีโอกาส สืบทอดศิลปะแขนงนี้ไม่ให้ลืมเลือนหายไป ได้นำของเดิม ของโบราณมาปรับใช้ให้คนสมัยนี้ได้เห็น ผมออกแนวเชิดชูด้วยซ้ำ ของโบราณต่าง ๆ เรื่องราววัฒนธรรมต่างๆ เป็นสิ่งดีงามที่ควรคุณค่า”
อยากให้พูดถึงหนังเรื่องนี้สักหน่อย?
“หนังเรื่องนี้น่าไปดูกันครับ เพราะมีความงดงาม ที่คนทำงานอย่างพวกผมใส่ลงไปอยู่ อย่างเรื่องขบวน ก็จะมีประสบการณ์ จากการทำภาพยนตร์เรื่องสุริโยทัย หรือตอนทำภาพยนตร์เรื่องพระนเรศวรว่าขบวนมี อะไรบ้าง ก็นำมาประยุกต์ใช้ ในความเห็นของทีมทำงานหนังเรื่องนี้มีความหลากหลาย หลายอย่างก็ทำขึ้นมาใหม่เองเพื่อความสมจริง อย่างฉาก โรงชำเรา โคมไฟ เสาไฟ เวที ก็ทำขึ้นมาใหม่ ป้องกันในเรื่องของลิขสิทธิ์ด้วย”