ลีโอ เบอร์เนทท์ ปล่อยโฆษณาสุดแหวก ชวนทุกคนปรับพฤติกรรมการทานอาหาร ลดเค็ม ลดโรค กับ สสส.

มกราคม 2566เดอะ ลีโอ เบอร์เนทท์ กรุ๊ป ประเทศไทย เอเจนซี่โฆษณาชั้นนำของประเทศไทย ในเครือปับลิซิสกรุ๊ป ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. ทำแคมเปญ ลดเค็ม ลดโรค รณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงอันตรายของการบริโภคโซเดียม ที่มากเกินไปจนสะสมในร่างกายทำให้เกิดโรคร้าย และปรับพฤติกรรมนี้

จากสถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบัน ส่งผลให้แรงงานต้องทำงานนานหลายชั่วโมงมากกว่าเดิม จึงไม่มีเวลาทำอาหารด้วยตัวเองทุกวันพวกเขาหาตัวเลือกที่เร็วและง่ายที่สุดในแต่ละมื้อ ซึ่งมักจะเป็นอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารแช่แข็ง จากร้านข้างทาง หรือร้านสะดวกซื้อ โดยไม่รู้ว่าโซเดียมที่อยู่ในอาหารเหล่านี้เข้าไปสะสมในร่างกายเกินความจำเป็นจนเกิดโรคร้าย เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจและปรับพฤติกรรมนี้ ทาง เดอะ ลีโอ เบอร์เนทท์ กรุ๊ป ประเทศไทย จึงได้สร้างภาพยนตร์โฆษณา 3 เรื่อง ที่เล่าพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมโดยไม่รู้ตัวในแต่ละแง่มุมคือ การชินมือปรุงเพิ่ม การซดน้ำซุป และการทานอาหารแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูปเป็นประจำ

million spoonsภาพยนตร์โฆษณาชุด Million Spoons

ภาพยนตร์โฆษณาเรื่องแรกมีชื่อว่ามิลเลี่ยน สปูนส์” (Million Spoons) เป็นภาพยนตร์ที่พูดถึงพฤติกรรมคนไทยที่ชอบปรุงเพิ่มจนเป็นนิสัย เพราะมักคิดว่าแค่ปรุงเพิ่มนิดเดียวไม่น่าจะส่งผลอะไร โดยหลงลืมไปว่าอาหารทุกจานได้ถูกปรุงเค็มมาแล้ว โดยนำจุดนี้มาเล่าให้คนคิดตามผ่านเรื่องราวของชายหนุ่มที่นั่งทานอาหารตามสั่ง เขาตักน้ำปลาปรุงเพิ่มจากความเคยชิน โดยคิดว่าช้อนเดียวไม่น่าจะเป็นอะไร แต่สุดท้ายเมื่อคำนวณจำนวนโซเดียมต่อมื้อ จะเห็นว่าต่อปีนั้นร่างกายมีโซเดียมสะสมมากมาย เหมือนภาพที่น่าตกใจของช้อนที่ปักอยู่รอบตัวเขา ตอกย้ำให้ทุกคน “ลดปรุง ลดเค็ม ลดโรค”

ภาพยนตร์โฆษณาชุด Big Boss

ภาพยนตร์เรื่องที่สองมีชื่อว่าบิ๊ก บอส” (Big Boss) ซึ่งภาพยนตร์ที่พูดถึงมุมมองของคนส่วนใหญ่ที่ไม่คิดว่าการซดน้ำซุปจะก่อให้เกิดอันตรายได้ โดยเป็นเรื่องราวของแก๊งมาเฟียที่ตามหาว่าอะไรคือสิ่งที่น่ากลัวที่สุด เรื่องเล่าผ่านหัวหน้าแก๊งที่กำลังซดซุป เริ่มสั่งสอนลูกน้องที่ตอบไม่ถูกด้วยการทุบโต๊ะ แสดงให้เห็นถึงโซเดียมในน้ำซุปที่น่ากลัวที่สุด เพราะสามารถก่อโรคร้ายถึงชีวิต ตอกย้ำให้ทุกคน“ลดซด ลดเค็ม ลดโรค”

ภาพยนตร์โฆษณาชุด New world

ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายมีชื่อว่านิว เวิลด์” (New world) มุ่งเล่าเรื่องจากพฤติกรรมการทานอาหารอาหารแช่แข็ง อาหารสำเร็จรูปเป็นประจำ โดยเล่าผ่านเรื่องราวความลับของอวกาศที่ดำมืด เมื่อนักท่องอวกาศเดินทางหลายปีเพื่อค้นหาดาวดวงใหม่ พวกเขาฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย ระหว่างทางพวกเขาไม่อดตายเพราะได้ทานอาหารแช่แข็ง จนในที่สุดเดินทางมาถึงจุดหมาย แต่กลับไม่มีผู้ใดรอดชีวิตในตัวภาพยนตร์โฆษณาเองได้เฉลยปริศนาให้ทุกคนได้คิดว่า ยิ่งพวกเขาบริโภคอาหารแช่แข็งมากเท่าไร พวกเขาก็ยิ่งสะสมโซเดียมที่ก่อให้เกิดโรค เป็นภัยคุกคามระดับมนุษยชาติ และควร “ลดเค็ม ลดโรค”

ทางเดอะ ลีโอ เบอร์เนทท์ กรุ๊ป ประเทศไทย และ สสส. ได้ร่วมมือกันสื่อสารแคมเปญนี้สู่คนไทยอย่างสนุก เข้าใจง่ายและสร้างสรรค์โดยหวังให้ทุกคนหันมาปรับพฤติกรรม “ลดเค็ม ลดโรค” และได้ตระหนักถึงอันตรายของโซเดียมที่สามารถสะสมในร่างกายจนก่อให้เกิดโรคร้าย ผ่านภาพยนตร์โฆษณา ทั้ง 3 เรื่องนี้

รับชมความสนุกได้ที่นี่…แล้วการทานอาหารของคุณจะไม่เหมือนเดิม

Million Spoons

Big Boss

New world

Credits – Million Spoons / Big Boss / New world

Client: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.)

ผู้อำนวยการอาวุโสสำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม : สุพัฒนุช สอนดำริห์

Product/Service:  โครงการรณรงค์ลดหวาน ลดเค็ม ลดโรค

Creative Agency:  บริษัท ลีโอ เบอร์เนทท์กรุ๊ป จำกัด

Chief Creative Officer: สมพัฒน์ ทฤษฎิคุณ

Executive Creative Director: อริยวรรต จันทราทิพย์

Creative Director: นนทพร เกตุมณี     

Art Director: ชัยสัณฑ์ มณีพลอยเพ็ชร

Copywriter: วรกมล บงชมาลี

Account Management Director: ธิดา วิบูลย์วณิช

Account Director:  ขนิษฐา ชาติพงศ์

Agency Producer: ศราวุธ เลิศกิตติพาพร

Strategic Planner:  จุฬนี สิริแสงทักษิณ

Production Company: Mum Films

Film Director: สุธน เพชรสุวรรณ

Executive Producer: ภัทรจิตร ตระการเกตุ

Production Producer:  นารา มนตรีกุล อยุธยา

Assistant Director:ชัยรัตน์ พิริยะวัฒนกุล

Personal Assistant Director: กตพร แซ่เอียบ

Cinematographer / D.O.P: ประภพ ดวงพิกุล

Digital Video Assistant: เฉลิม ทองสุก

Art Director: วีระยุทธ์ กำเนิดรัตน์

Prop Master: ศิวเดช เดชา

Production Manager: สุมิตรา คัดเจริญ

Stylist: กิตติศักดิ์ ประสารดี

Casting Master:  สุรางคนา สุวรรณจินดา

Location Manager:  เดชณรงค์ บุญส่องแสง

Editor: เดชมงคล ประเสริฐสิทธิ์

Post Producer: กฤษณะ  ทวีแสง, ศันสนีย์  รุ่งพงศ์วาณิช

Computer Graphic: วันชัย บุญสะอาด

Colorlist: จิรภัทร กังสาภิวัฒน์

Online Artist: ธนวิช โคชะพรหม

Music Company: TEMSIANG Sound Studio Co., ltd.

Sound Production Company: Banana Sound Studio