มงคลเมเจอร์ การรถไฟแห่งประเทศไทย และทีมผู้สร้างภาพยนตร์ THE RAILWAY MAN แค้นสะพานข้ามแม่น้ำแคว บุกกาญจนบุรี นำสื่อมวลชน ตามรอยสถานที่ถ่ายทำในประเทศไทย

DSC_9232มงคลเมเจอร์เตรียมนำ THE RAILWAY MAN (เดอะ เรียลเวย์ แมน) แค้นสะพานข้ามแม่น้ำแคว ภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องจริง ของอดีตเชลย ผู้สร้าง ทางรถไฟสายมรณะ อีริค โลแมกซ์ นักเขียนชาวสกอตแลนซ์ ผู้ที่ได้ชื่อว่า หนังสือเรื่อง THE RAILWAY MAN (เดอะ เรียลเวย์ แมน) ของเขา เป็นหนังสือสงครามที่ขายดีที่สุดในโลกและเมื่อถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ทีมงานได้ ทุ่มทุน 1000 ล้านบาท! เพื่อเช่ารถไฟไทยทั้งขบวน และปิด จ. กาญจนบุรี เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้และยังเนรมิต หัวลำโพง ให้กลายเป็น สิงคโปร์ จุดเริ่มต้นความพ่ายแพ้ของกองทหารสัมพันธมิตรต่อกองทัพญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

เพื่อเข้าฉายในประเทศไทยในวันที่  24 เมษายน และล่าสุดได้จัดกิจกรรมตามรอยสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ THE RAILWAY MAN (เดอะ เรียลเวย์ แมน) ในประเทศไทย โดยการนำคณะสื่อมวลชน ลงพื้นที่ถ่ายทำจริง ด้วยการเดินทางโดยขบวนรถไฟพิเศษ นานกว่า 5 ชั่วโมง เพื่อเข้าไปยังจุดสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์  โดยทีมตามรอยกองถ่ายได้ คุณ ชาร์ลส แซลมอน  ไลน์โปรดิวเซอร์ ประจำประเทศไทย ของภาพยนตร์เรื่องนี้มานำทีมบุกและไขข้อข้องใจเกี่ยวกับทุกการถ่ายทำภาพยนตร์

DSC_9203โดยจุดแรกคือ สะพานข้ามแม่น้ำแคว จุดถ่ายทำหลักของเส้นทางสายมรณะ โดยทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้แรงงานเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชีย ที่กองทัพญี่ปุ่น เกณฑ์ มาสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า ปัจจุบันเส้นทางนี้ไปสุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำตกระยะทางจาก สถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร

และไฮไลทสำคัญของการตามรอยสถานที่ถ่ายทำอยู่ที่บริเวณช่องเขาขาด จุดหฤโหดที่ยากที่สุดในการขุดสร้างเส้นทางรถไฟ และเป็นจุดที่ทหารเชลย ต้องสังเวยชีวิตมากที่สุด ณ ช่องเขานี้  “หากนับหมอนหนุนรางรถไฟมีเท่าไหร่ จำนวนผู้คน-เชลยศึกที่ถูกเกณฑ์มาสร้าง ทางรถไฟ สายนี้ก็ตายไปเท่านั้น”  นี่คือคำเล่าขานถึงเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ ไทย-พม่า ระยะทางกว่า 415 กิโลเมตรนี้ คือ ความหฤโหด ทารุณ และยากลำบาก ของสิ่งที่เชลยศึกได้รับ จนได้รับการขนานนามว่า “เส้นทางรถไฟสายมรณะ”

article-0-13A4F4AD000005DC-373_634x472“The Railway Man (เดอะ เรียลเวย์ แมน) ในประเทศไทยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์  โดยฉากที่ช่องเขาขาดถือเป็นฉากใหญ่ เราต้องเซตโลเกชั่นทั้งหมดให้ดูเหมือนช่วงยุคสงครามโลกจริงๆ และ ต้องใช้นักแสดงประกอบจากหลายประเทศ เพื่อให้ดูเป็นทหารสัมพันธมิตร และ กองทัพญี่ปุ่นจริงๆ ส่วนใหญ่เราจะถ่ายทำในช่วงการคืนเพื่อให้บรรยากาศดูสงบแต่ต้องเซตแสงให้เป็นกลางวัน  ดังนั้นงบประมาณในการถ่ายทำของภาพยนตร์เรื่องนี้จึงค่อนข้างสูงครับ”

“สำหรับการคัดเลือกนักแสดง  โคลิน เฟิร์ธ และ นิโคล คิดแมน คือตัวเลือกแรกของเรา  เพราะตัวละครในหนังมีความซับซ้อนในเรื่องความรู้สึกมาก ซึ่งทั้ง โคลิน และ นิโคล ก็สามารถ ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาให้ ผู้ชมเข้าถึง และ ประทับใจได้“  ชาร์ล แซลมอน ไลน์ โปรดิวเซอร์ ของภาพยนตร์เรื่อง THE RAILWAY MAN (เดอะ เรียลเวย์ แมน) กล่าวTHE RAILWAY MAN แค้นสะพานข้ามแม่น้ำแคว

TRM_D021_00235-72645

DSC_9173

DSC_9308

24 เมษายนนี้ ทุกโรงภาพยนตร์