Godzilla – ก็อดซิลล่า 15 พฤษภาคมนี้ในโรงภาพยนตร์

สัตว์ประหลาดที่น่าเกรงขามที่สุดในโลกถูกปลดพันธนาการขึ้นมาในมหากาพย์แอ็คชั่นผจญภัยของวอร์เนอร์ บราเดอ์ส พิกเจอร์ส และเลเจนดารี่ พิกเจอร์ส เรื่อง “Godzilla” จากจินตนาการของผู้กำกับฯ หน้าใหม่ แกเร็ธ เอ็ดเวิร์ดส (“Monsters”) สู่เรื่องราวอันทรงพลังในความกล้าของมนุษย์และการประนีประนอมเมื่อมีการเผชิญหน้ากับพลังจากธรรมชาติอันมหาศาล เมื่อก็อดซิลล่าที่มีพลังอย่างมหาศาลถูกปลุกขึ้นเพื่อเรียกสมดุลให้กลับคืนมาเมื่อมนุษย์ไม่สามารถป้องกันตัวเองได้

นักแสดงระดับโลกในภาพยนตร์นำโดย อารอน เทย์เลอร์-จอห์นสัน (“Kick-Ass”), เค็น วาตานาเบ้ ผู้เข้าชิงรางวัล Oscar® (“The Last Samurai,” “Inception”), เอลิซาเบ็ธ โอลเซน (“Martha Marcy May Marlene”), จูเลียต บินอช เจ้าของรางวัล Oscar® (“The English Patient,” “Cosmopolis”) และแซลลี่ ฮอว์คินส์ ผู้เข้าชิงรางวัล Oscar® (“Blue Jasmine”) พร้อมทั้งเดวิด สตราเธรน ผู้เข้าชิงรางวัล Oscar® (“Good Night, and Good Luck,” “The Bourne Legacy”) และไบรอัน แครนสตัน เจ้าของรางวัล Emmy® และ Golden Globe Award (“Argo,” ภาพยนตร์ทางทีวีเรื่อง “Breaking Bad”)

เอ็ดเวิร์ดสกำกับฯ ผลงานจากบทภาพยนตร์ของแม้กซ์ โบเรนสตีน และผู้เข้าชิงรางวัล Oscar® แฟรงค์ ดาราบองต์ (“The Green Mile,” “The Shawshank Redemption”) เนื้อเรื่องโดย เดวิด คอลลาแฮม และ แม็กซ์ โบเรนสตีน สร้างขึ้นจากตัวละคร “Godzilla” ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์และสร้างขึ้นโดย TOHO CO., LTD. โธมัส ทัล และ จอน แจชนี่ อำนวยการสร้างฯ ร่วมกับแมรี่ พาเรนต์ และ ไบรอัน โรเจอร์ส อำนวยการสร้างบริหารฯ โดย แพทริเซีย วิตเชอร์ และ อเล็กซ์ การ์เซีย คู่กับโยชิมิตสึ บันโนะ และ เคนจิ โอคุฮิระ

ทีมงานผู้สร้างสรรค์ที่อยู่เบื้องหลัง ได้แก่ ผู้กำกับภาพฯ ผู้เข้าชิงรางวัล Oscar® ซีมัส แม็คการ์วีย์ (“Anna Karenina,” “Atonement”); ผู้ออกแบบฉากฯ โอเว่น พาเทอร์สัน (ภาพยนตร์ไตรภาค “The Matrix); ผู้ลำดับภาพฯ บ็อบ ดัคเซย์  (“Looper”); ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายที่เข้าชิงรางวัล Oscar® ชาเร็น ดาวิส (“Dreamgirls,” “Ray,” “Django Unchained”); และผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์เจ้าของรางวัล Oscar® จิม ไรเกล (ภาพยนตร์เรื่อง “Lord of the Rings”) ดนตรีประกอบภาพยนตร์บรรเลงโดย อเล็กซานเดร เดสแพล็ต ผู้เข้าชิงรางวัล Oscar® (“Argo,” “The King’s Speech”)

วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส และ เลเจนดารี่ พิกเจอร์ส นำเสนอภาพยนตร์ผลงานจากเลเจนดารี่ พิกเจอร์ส, อะ แกเร็ธ เอ็ดเวิร์ด ฟิล์ม เรื่อง “Godzilla” จะมีการฉายภาพยนตร์ในระบบ 3 มิติ ระบบธรรมดาและระบบ IMAX® ในโรงภาพยนตร์บางแห่ง จัดจำหน่ายทั่วโลกโดยวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส หนึ่งในกลุ่มบริษัทวอร์เนอร์ บราเดอร์ส เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ยกเว้นประเทศญี่ปุ่นที่จัดจำหน่ายโดย Toho Co., Ltd.

เลเจนดารี่ พิกเจอร์ส เป็นส่วนหนึ่งของเลเจนดารี่ เอ็นเตอร์เทนเมนท์

Godzilla_1Sheet_MJ

สืบตำนานก็อดซิลล่า

 

ความอวดดีของมนุษย์คือการคิดว่าเราควบคุมธรรมชาติได้

และธรรมชาติไม่มีวันเปลี่ยนแปลง

—ดร.เซริซาวะ

       เมื่อปี 1954 บริษัท The Toho Company แห่งประเทศญี่ปุ่นได้ทำการฉายภาพยนตร์สัตว์ประหลาดเรื่องดังของอิชิโร่ ฮอนด้า เรื่อง “Godzilla” ในประเทศที่กำลังฟื้นฟูจากการทำลายล้างของสงครามโลกครั้งที่ 2 ภาพยนตร์ได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก หลังจากนั้น 60 ปียังคงมีกลิ่นอายแห่งความกลัวเวียนวนอยู่ทั่วโลก และหวาดผวายุคแห่งระเบิดปรมาณูสู่ธรรมชาติอันทรงพลังที่น่ากลัว…อย่างก็อดซิลล่า

       “ภาพยนตร์เรื่อง ‘Godzilla’ ถือเป็นภาพยนตร์มาตรฐานเกี่ยวกับสัตว์ประหลาด” แกเร็ธ เอ็ดเวิร์ดส กล่าว เขาเป็นผู้กำกับฯ ชาวอังกฤษที่มาควบคุมมหากาพย์ภาพยนตร์เรื่องเด่นของ Toho ในมุมมองใหม่ เอ็ดเวิร์ดสโตขึ้นมาพร้อมกับหนังสัตว์ประหลาดของชาวญี่ปุ่นก่อนที่จะได้พบกับผลงานชิ้นเอกปี 1954 ของฮอนด้าในรูปแบบดีวีดี และมันมีเสน่ห์จากเนื้อเรื่องที่มีการปลูกฝังแรงบันดาลใจและความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับยุคปัจจุบัน “หากคุณเดินทางไปทั่วโลกแล้วมีเงาไดโนเสาร์ขนาดยักษ์มาปกคลุมทั่วเมือง ทุกคนรู้แน่นอนว่ามันคือตัวอะไร ไม่ว่าพวกเขาจะเคยดูหนังก็อดซิลล่าหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งที่หลายคนไม่ทันคิดคือภาพยนตร์ต้นฉบับเรื่อง ‘Godzilla’ ของชาวญี่ปุ่นเป็นภาพยนตร์ที่เครียดมาก ผมคิดว่านั่นเป็นเหตุผลที่ภาพยนตร์เข้ากับวัฒนธรรมชาวญี่ปุ่นได้ดี ไม่ใช่แค่เป็นหนังสัตว์ประหลาดที่อลังการเท่านั้น แต่มันถือเป็นการผ่อนคลายให้กับผู้ที่ได้เห็นภาพเหล่านั้นมีชีวิตชีวาบนจอภาพยนตร์ด้วยความรู้สึกที่ดูสมจริงอีกด้วย”
       บางส่วนมีการถ่ายทำใหม่โดยการลดปริมาณของสัญลักษณ์ และให้เสียงพากย์ในหลายภาษา ภาพยนตร์มีการฉายในต่างประเทศในอีก 2 ปีต่อมาจนมีตำนานถือกำเนิดขึ้น ในช่วง 60 ปีที่แล้วมีการผงาดของ “จ้าวแห่งสัตว์ประหลาด” ได้แทรกซึมสู่ทุกกระแสความนิยม เกิดผลงานภาคต่อมากมาย มีของเล่นออกมาเป็นกองทัพ และมีการปลุกชีพทุกอย่างขึ้นมาตั้งแต่หนังสือการ์ตูนไปจนถึงวีดีโอเกมส์ มีภาพยนตร์แนวใหม่เกิดขึ้นซึ่งเรียกว่าไคจู เอย์กะ และก็อดซิลล่าได้กลายเป็นได้กลายเป็นฮีโร่ของภาพยนตร์ที่ได้รับความชื่นชอบและเป็นที่จดจำได้มากที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 จนมาถึงตอนนี้ซึ่งเป็นศตวรรษที่ 21 
       ไบรอัน แครนสตัน หนึ่งในนักแสดงภาพยนตร์เรื่องใหม่ยังจดจำเสน่ห์ได้อย่างชัดเจน เมื่อตอนที่เขาดูสัตว์ประหลาดออกอาละวาดทางทีวีช่วงที่เป็นเด็ก “ก็อดซิลล่ามีลมหายใจที่ร้อนเป็นไป…เขาทำลายทุกสิ่งทุกอย่างเมื่อตื่นขึ้นมา” แครนสตันจำได้ว่า “จริงๆ แล้วมันคือมนุษย์ที่สวมชุดมากระทืบเมืองโตเกียวขนาดย่อส่วน แต่สำหรับเด็กมันคือเรื่องที่ตื่นตามาก ตอนเด็กผมเป็นแบบนั้นตลอด แต่ความรู้สึกในการสร้างหนังเรื่องนี้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งผู้ชมจะต้องมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย มันไม่ใช่แค่ก็อดซิลล่ามาทำลายข้าวของ ทุกคนยังคงอินกับเขาอยู่ แต่เราอยากให้มีความสัมพันธ์กับเรื่องที่เกิดขึ้นและที่มาที่ไปของตัวละครต่างๆ เพื่อทำให้เรื่องราวไหลลื่น”

       เช่นเดียวกับแครนสตัน โทมัส ทุลแห่งเลเจนดารี่ พิกเจอร์สก็โตมาพร้อมกับหนังสัตว์ประหลาดจอมทำลาย แต่อัญมณีอันล้ำค่าของภาพยนตร์ Toho ยังคงเป็นที่หนึ่งเสมอในความคิดของเขา “ตั้งแต่เสียงคำรามที่เป็นเอกลักษณ์ไปจนถึงครีบด้านหลังและลมหายใจกัมมันตรังสีที่ลุกเป็นไฟ ก็อดซิลล่าคือเอกลักษณ์ระดับโลกตัวจริง” เขากล่าว “ในช่วงเวลาหลายปี Toho มีการพิจารณาตัวละครในหลายด้าน และมีการเปรียบเทียบเขากับสัตว์ป่าขนาดยักษ์ทั้งหลาย แต่ที่ผมชอบคือต้นฉบับของชาวญี่ปุ่นเสมอ ซึ่งมันไม่ใช่หนังสัตว์ประหลาดที่น่ากลัวและมีเรื่องราวที่แฝงแง่คิดไว้ลึกซึ้ง”

ทุลเป็นผู้สร้างภาพยนตร์เรื่อง “Godzilla” ของเอ็ดเวิร์ดสคู่กับจอน แจชนี่ ประธานแห่งเลเจนดารี่ พิกเจอร์ส ผู้อำนวยการสร้างที่มากประสบการณ์อย่างแมรี่ แพเรนต์ และผู้สร้างภาพยนตร์ชาวอังกฤษ ไบรอัน โรเจอร์ส จากความชื่นชอบที่มีมานานมาจนถึงการนำสัตว์ขนาดยักษ์สู่จอภาพยนตร์ในเหตุการณ์สุดตื่นเต้นแห่งช่วงซัมเมอร์ด้วยจิตใจและการเดิมพันด้วยมนุษยชาติในต้นฉบับ  “เรามีความตั้งใจว่าจะรักษาองค์ประกอบที่สำคัญต่างๆ ไว้ เพื่อให้ตัวละครมีลักษณะสำคัญที่คงไว้มาอย่างยาวนาน” ทุลอธิบายว่า “เราวางแผนไว้ว่าจะสร้างก็อดซิลล่าในแบบที่แฟนๆ อย่างเราอยากเห็น ต้องเป็นหนังที่ไม่รู้สึกว่ามีการผจญภัยที่ตื่นเต้นในตัวมันเอง แต่จะเป็นการย้อนไปถึงที่มาที่ไป และสร้างเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์ในโลกปัจจุบันขึ้นมา ผมเฝ้ารอหนังเรื่องนี้มาตลอดชีวิต”

       อุปสรรคของการนำเรื่องราวที่มีเอกลักษณ์อยู่แล้วมาสร้างใหม่ คือการเลือกผู้กำกับฯ ที่สามารถถ่ายทอดมุมมองที่แปลกใหม่และทำให้ภาพยนตร์ออกมาสวยงามพิถีพิถันได้ ซึ่งในเวลาเดียวกันต้องรักษาความสมบูรณ์และการสืบทอดของก็อดซิลล่าเอาไว้ พวกเขาพบคุณสมบัติเหล่านั้นในตัวแกเร็ธ เอ็ดเวิร์ดส ผู้สร้างภาพยนตร์ที่ไต่เต้ามาจากโลกของหนังอินดี้ที่ได้รับรางวัล เรื่อง “Monsters”  เอ็ดเวิร์ดสไม่ได้เขียนและกำกับภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังออกแบบและถ่ายทำด้วยฝีมือของเขาเพียงผู้เดียวโดยสร้างวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ทั้งหมดบนแล็ปท็อปของเขาด้วย
       “จากที่เรามีการคุยกับแกเร็ธช่วงแกรๆ เราสัมผัสได้เลยว่าเขาคือแฟนก็อดซิลล่าที่มีความหลงใหล” ทุลกล่าว “และหลังจากที่ได้ดู ‘Monsters’ ที่เขาสร้างขึ้นด้วยงบเพียงน้อยนิด เราเกิดความรู้สึกว่าถ้าเขามีเงินทุนมากขึ้นและมีขอบเขตจินตนาการกว้างขึ้น เขาต้องสร้างสิ่งที่ไม่ธรรมดาขึ้นมาได้แน่”
จอน แจชนี่กล่าวเสริมว่าผู้กำกับฯ หนุ่มยังสร้างสมดุลระหว่างนวัตกรรมและความจริงของมนุษย์ขึ้นมาได้ลงตัวมาก  “แค่เราสามารถโยนทรัพยากรในโลกดิจิตอลสู่จอภาพยนตร์ได้ นั่นไม่ได้หมายความว่าเราควรทำแบบนั้น หากมันไม่ช่วยให้ผู้ชมอินกับโลกที่เราพยายามสร้างขึ้นมา” ผู้สร้างฯ กล่าว “ในภาพยนตร์เรื่อง ‘Monsters’ แกเร็ธต้องนำเสนออะไรหลายอย่างมากกว่าที่เขาสามารถแสดงออกมาได้ เขาเริ่มจากมุมมองของตัวละคร อิงกับโลกแห่งความเป็นจริง จากนั้นนำองค์ประกอบจากโลกอื่นมาใส่ในโลกมนุษย์ ภาพยนตร์เรื่อง ‘Monsters’ เป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆ ของสิ่งที่เราหวังว่าจะสร้างขึ้นมาในภาพยนตร์ก็อดซิลล่าฉบับใหม่ของเราที่ดูสมจริงและมีมูลความจริง”
       ผู้อำนวยการสร้างฯ แมรี่ แพเรนต์ เองก็รู้สึกประทับใจกับภาพยนตร์อินดี้ที่ได้รับความนิยมของเอ็ดเวิร์ดส   เธอเล่าว่าทั้งการถ่ายทอดเรื่องราวที่มีความละเอียดอ่อนของเขา และพื้นฐานการสร้างภาพยนตร์ที่ทำให้ทุกคนมั่นใจว่าก็อดซิลล่าอยู่ในมือของผู้ที่ไว้ใจได้ “เรารู้ดีว่าแกเร็ธจะถ่ายทอดจินตนาการทั้งหมดของเขาในฐานะศิลปินและคนเล่าเรื่องได้ พร้อมทั้งควบคุมเทคโนโลยีวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ในการสร้างหนังที่มีคุณค่าต่อการวางตัวละครบนจอยักษ์ในแบบที่เหมาะกับเขาและไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน” แพเรนต์กล่าว “แต่เรารู้ว่าเขาสามารถสร้างตัวละครที่เราเข้าถึงและให้ความสนใจ และพาผู้ชมไปสัมผัสประสบการณ์ของ ‘Godzilla’ ผ่านมุมมองของผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์นั้นได้”

       เขารู้ดีว่าตัวเองต้องมาควบคุมสิ่งที่เป็นมรดกตกทอดสืบมา เอ็ดเวิร์ดสเปลี่ยนให้เป็นโลกที่เห็นได้รอบตัวเหมือนที่อิชิโร่ ฮอนด้าเคยสร้างไว้มาก่อนเขา “ผมรู้ว่าฟังแล้วเหมือนเป็นไปไม่ได้ แต่นึกภาพสิ่งมีชีวิตขนาดยักษ์ที่มนุษย์สื่อสารด้วยไม่ได้ แทบจะควบคุมอะไรไม่ได้เลย…เราจะผ่านเหตุการณ์นั้นไปได้อย่างไร?” เขาตั้งคำถามขึ้นมา “ทุกคนจะทำอย่างไร? เราทุกคนเคยเห็นหรือสัมผัสภัยพิบัติที่ยากจะเข้าใจ ทั้งจากธรรมชาติหรืออะไรก็ตามแต่ที่จะเหมือนกับเรื่องราวในหนังหากมันไม่ได้เกิดขึ้นจริง ฉะนั้นความท้าทายในการสร้างหนังก็อดซิลล่าคือการสะท้อนถึงความสมจริง ซึ่งต้องวกกลับไปหาประเด็นสำคัญว่าจริงๆ ก็อดซิลล่าเกี่ยวข้องกับอะไร”

ทุลเล่าว่า “มีอย่างหนึ่งที่เราอยากทำในภาพยนตร์ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ได้รับการแบ่งปันจากพาร์ทเนอร์ที่ Toho คือการสร้างเรื่องให้เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น และผูกเรื่องให้ก็อดซิลล่าเกี่ยวข้องกับพลังนิวเคลียร์เช่นเดิม แต่การสร้างขึ้นมาต้องคำนึงถึงเหตุการณ์ปัจจุบันด้วย”

ผู้อำนวยการสร้างฯ ไบรอัน โรเจอร์ส กล่าวเสริมว่า “สิ่งที่ควบคู่ไปกับภาพยนตร์ปี 1954 คือการสร้างสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และทุกทางที่จะยกระดับมันได้ ยังคงเป็นประเด็นสำคัญของทุกวันนี้ไม่ต่างจากวันนั้น อาจจะมากกว่าด้วยซ้ำในยุคสมัยนี้”

ในการทำงานที่ลอนดอน เอ็ดเวิร์ดสต้องอาศัยการประชุมทางไกลผ่าน Skype กับแม็กซ์ โบเร็นสตีน ผู้เขียนบทฯ ที่อยู่ลอสแองเจลิส เพื่อกำหนดโครงเรื่องที่สื่อถึงที่มาที่ไปของก็อดซิลล่า และถ่ายทอดเหตุการณ์ลึกลับ การเชิดชูการปรากฏตัวของมันในเหตุการณ์ของโลกปัจจุบัน

แม้ว่านักแสดงในภาพยนตร์อย่างเค็น วาตานาเบ้จะโตที่ประเทศญี่ปุ่น แต่เขาก็ไม่เคยดูภาพยนตร์ปี 1954 มาก่อนจนกระทั่งเมื่อไม่นานนี้ และรู้สึกชื่นชมในความใส่ใจที่พิถีพิถันของเอ็ดเวิร์ดสสำหรับการคงต้นฉบับเอาไว้ “ต้นฉบับเรื่อง  ‘Godzilla’ เน้นย้ำคำถามที่สังคมชาวญี่ปุ่นต้องเผชิญในยุคนั้น เป็นเวลา 9 ปีหลังจากเกิดระเบิด ช่วงเวลาที่บาดแผลทางความรู้สึกและร่างกายยังคงปรากฏให้เห็นอยู่” นักแสดงยกตัวอย่าง “แกเร็ธเข้าใจหนังเรื่องนั้นอย่างลึกซึ้ง และผมยอมรับในตัวเขาที่กล้าย้อนกลับไปหาไอเดียเหล่านั้นอีกครั้ง”

       โบเรนสตีนเขียนบทภาพยนตร์ขึ้นมาจากเนื้อเรื่องของเดวิด คอลลาแฮม หลังจากที่เขาทุ่มเททำการศึกษาข้อมูล ซึ่งรวมถึงการอิงข้อมูลจากหนัง “Godzilla” ทั้ง 28 เรื่องที่สร้างขึ้นโดย Toho Co., Ltd. รวมถึงซีรี่ส์ Showa, Heisei และ  Millennium “จุดมุ่งหมายของเรารคือการสร้างเรื่องนี้ขึ้นมาให้เป็นเหตุการณ์ที่น่ากลัวสมจริงในโลกปัจจุบัน พร้อมทั้งอิงจากโศกนาฏกรรมจริง ทำให้เป็นหนังสัตว์ประหลาดที่ยิ่งใหญ่อลังการสนุกสนานเมื่อรับชมได้เหมือนเดิม” โบเรนสตีนเล่ารายละเอียด  “ภาพยนตร์ต้นฉบับเป็นเรื่องราวที่น่าทึ่งเกี่ยวกับความไม่สนใจเรื่องธรรมชาติของมนุษยชาติ แต่มนุษย์ต้องใช้ความกล้าและความยืดหยุ่นเพื่อยืนหยัดเอาชีวิตรอดจากหายนะอันยิ่งใหญ่ครั้งนั้น”

       ก่อนที่จะมีการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “Godzilla” ขึ้นมาสักเฟรมนึง ผู้กำกับฯ และผู้สร้างฯ ต้องใช้เวลา 90 วินาทีในการปรับอารมณ์ให้เหมือนกับอารมณ์ที่อยากถ่ายทอดในภาพยนตร์ ซึ่งพวกเขาฉายรอบปฐมทัศน์ที่งาน Comic-Con International ประจำปีโดยมีแฟนๆ ที่ส่งเสียงกรี๊ดมากเกือบ 7,000 คน ฟุตเทจแสดงให้เห็นภาพของเมืองที่แหลกเป็นเศษ โดยมีสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์ปรากฏตัวอยู่ท่ามกลางกลุ่มควันและฝุ่นผงที่ส่งเสียงคำรามที่ดังก้อง ที่ไกลเกินจินตนาการคือเอ็ดเวิร์ดสใช้คำพูดชวนหลอนของโรเบิร์ต ออพเพนไฮเมอร์ “บิดา”  แห่งระเบิดปรมาณูที่ทำลายเมืองฮิโรชิม่าและนางาซากิของชาวญี่ปุ่นให้เหลือเป็นเถ้าถ่านกัมมันตรังสี ประโยคในคัมภีร์ของชาวฮินดูที่บรรยายถึงเรื่องที่ยากจะเข้าใจในกล่องแพนโดร่าที่เปิดขึ้นมาว่า “ตอนนี้ฉันกำลังจะตาย ผู้ทำลายล้างโลก” 

       ก็อดซิลล่ามีความลึกลับควบคู่อยู่ในตัวเอง มีสัญชาตญาณดิบที่สัมผัสได้ถึงการเคลื่อนไหวของมนุษยชาติ แต่มีความทรนงเมื่อขึ้นมาจากท้องทะเล  “สัตว์ประหลาดถูกใช้เปรียบเทียบกับบางอย่างเสมอ” เอ็ดเวิร์ดสกล่าว “พวกมันเป็นตัวแทนมุมมองแห่งความโหดร้ายของธรรมชาติและความกลัวที่เราไม่อาจควบคุมได้ ในอีกแง่หนึ่งก็อดซิลล่าก็เปรียบเสมือน ‘ความโกรธของพระเจ้า’ ไม่ได้พูดถึงเรื่องศาสนา แต่เป็นในมุมของธรรมชาติที่กลับมาลงโทษเราจากสิ่งที่เราทำไว้กับโลกมากกว่า ในหนังของเราจะมีการฝากไอเดียเหล่านั้นไว้ในเรื่อง”

 

เนื้อเรื่องและตัวละครต่างๆ

_KF14095.DNG

       ภาพยนตร์เรื่อง “Godzilla” ถ่ายทอดเรื่องราวที่รู้จักกันในหลายทวีปและยาวนานหลายทศวรรษ มีการติดตามความลึกลับและเหตุการณ์หายนะที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องผ่านมุมมองของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์แผ่นดินไหว “หนังของเราไม่ได้เล่าเรื่องจากมุมของผู้ที่มีอำนาจเหมือนพระเจ้า” ทุลอธิบาย “ท่ามกลางวิกฤติที่เกิดขึ้นยังมีผู้คนที่ต้องใช้ชีวิตเหมือนเดิม ไม่มีซูเปอร์ฮีโร่แต่มีเพียงมนุษย์ธรรมดาที่อยู่ในสถานการณ์อันเลวร้าย การคัดตัวนักแสดงจึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับหนังของเรา”

จากความรู้สึกนี้เอ็ดเวิร์ดสต้องการให้ภาพยนตร์มีนักแสดงที่สามารถถ่ายทอดความสมจริงของตัวละครในช่วงเวลาที่ไม่ธรรมดาออกมาได้ “ในภาพยนตร์แนวนี้คุณมีโอกาสเดียวซึ่งเป็นสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์ของโลก” เขากล่าว “ส่วนอื่นๆ ก็ต้องดูน่าเชื่อถือมากที่สุด นี่เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ผมรู้สึกโชคดีมากเรื่องนักแสดงกลุ่มนี้ พวกเขาสามารถแสดงออกมาได้ตรงตามบท ทำให้เรื่องราวมีชีวิตชีวา และช่วยทำให้ทุกอย่างมีความรู้สึกที่สมจริง”

       นักแสดงต้องมารวมตัวกับไอคอนแห่งภาพยนตร์และจินตนาการของเอ็ดเวิร์สในภาพยนตร์เรื่อง “Godzilla” ที่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ด้วยภาพที่น่าตื่นเต้น “ตอนที่แกเร็ธกับผมคุยกันเรื่องภาพยนตร์เป็นครั้งแรก เขาบอกให้ผมลืมไปเลยว่ามันเป็นหนังสัตว์ประหลาดฟอร์มยักษ์” อารอน เทย์เลอร์-จอห์นสัน เล่าถึงช่วงนั้นให้ฟัง “ผมชอบมากที่ก็อดซิลล่ามีความหมายต่อเขาขนาดไหน เขาอยากนำก็อดซิลล่าสู่จอภาพยนตร์พร้อมภาพของหายนะครั้งยิ่งใหญ่ แต่ถ่ายทอดเรื่องราวให้ดูงดงามและมีความเร้าใจมากที่สุด นั่นคือเหตุผลที่ผมอยากร่วมงานในโปรเจ็กต์นี้ และแกเร็ธก็สสร้างประสบการณ์อันน่าเหลือเชื่อขึ้นมา”
       นักแสดงชายต้องมารับบทสำคัญอย่าง ฟอร์ด โบรดี้ ทหารเรือผู้ชำนาญด้านการกู้ระเบิดเป็นพิเศษ เขาเพิ่งได้กลับมาเจอภรรยาและลูกชายของเขาที่ซานฟรานซิสโก หลังจากที่เขาถูกเรียกตัวเพื่อไปช่วยแก้วิกฤติใหญ่ที่ญี่ปุ่น
       “ฟอร์ดเป็นฮีโร่ในหนังของเราและเขาได้พบเห็นอะไรหลายอย่าง” เอ็ดเวิร์ดสกล่าว “และเนื่องจากการเล่าเรื่องราวมากมายต้องอาศัยภาพ จึงถือเป็นเรื่องจำเป็นมากที่เราต้องเข้าใจว่าเขาคิดและรู้สึกยังไง เราเลยต้องการนักแสดงที่สามารถสื่อสารผ่านบุคลิกท่าทางได้หลายอย่าง ผมเคยดูเรื่อง ‘Nowhere Boy’ ที่อารอนรับบทเป็นจอห์น เล็นนอน ซึ่งเป็นการแสดงที่กินใจมาก มีความมุ่งมั่นและความรู้สึกหลายอย่างซ่อนอยู่ในแววตาของเขา ตอนนั้นผมรู้เลยว่าเราต้องเอาตัวเขามาให้ได้”

       ความชำนาญของฟอร์ดด้านการกู้ระเบิดทำให้เขาต้องเป็นด่านหน้าเมื่อมนุษยชาติรวมตัวกัน เขาต้องต่อสู้กับภัยคุกคามอันยิ่งใหญ่กว่าที่เราเคยพบ แต่เขาต้องใช้ชีวิตสวนทางกันระหว่างภาระหน้าที่กับการค้นหาและปกป้องครอบครัวน้อยๆ ของเขา “เขาเป็นผู้ชำนาญในกองทัพที่ต้องการตัวและต้องแก้สถานการณ์เฉพาะหน้า” เทย์เลอร์-จอห์นสันอธิบาย “ขณะเดียวกันภารกิจของเขาคือการกลับไปหาครอบครัว ภารกิจทางการทหารเป็นหนทางเดียวที่เขาจะย้ายตัวเองไปอยู่ใกล้ซานฟรานซิสโกมากขึ้นได้ แต่มันกลับเป็นเรื่องทำร้ายจิตใจเพราะเขารู้ดีว่าตัวเองอาจไม่มีชีวิตกลับบ้าน”

       ผู้ที่ติดอยู่ในเมืองตอนที่ก็อดซิลล่า Godzilla zeroes ที่ซานฟรานซิสโกคือ แอล โบรดี้ ภรรยาของฟอร์ดที่รับบทโดย เอลิซาเบ็ธ โอลเซน เธอเป็นพยาบาลในโรงพยาบาลที่เกิดความโกลาหล แอลต้องรับภาระหนักทั้งจำนวนผู้เสียชีวิตและปกป้องลูกชายวัย 4 ขวบของเธอที่รับบทโดยนักแสดงหน้าใหม่อย่างคาร์สัน โบลด์  “เรื่องราวของแอลเรียกว่าเป็นความกล้าหาญ เพราะเธอมีหน้าที่ที่ต้องทำแต่ก็ปกป้องลูกตัวเองอย่างเต็มที่ด้วย” โอลเซนเล่ารายละเอียดว่า “เรื่องราวของพวกเขาและการเดินทางของฟอร์ดที่พยายามหาทางกลับไปหาครอบครัวเป็นสิ่งที่ฉันชอบมากในหนังเรื่องนี้ มีการให้ความสำคัญกับครอบครัวและแสดงให้เห็นว่าทุกคนจะเอาความกล้าหาญที่อยู่ในตัวมาใช้ในช่วงเวลาวิกฤติอย่างไร”
       สำหรับเอ็ดเวิร์ดส ความรู้สึกของเธอกับเนื้อหาที่สะเทือนใจทำให้เธอกระตือรือร้นอยากศึกษาบทนี้ “เอลิซาเบ็ธมีสไตล์ของผู้ให้ข้อมูลข่าวสารอยู่ในการแสดงของเธอ ไม่รู้สึกเลยสักนิดว่าเป็นการแสดง สำหรับเธอแล้วมันเหมือนกับมีเรื่องรุนแรงเกิดขึ้นและมีสัตว์ประหลาดยักษ์อยู่ในเหตุการณ์ ” 

       โอลเซนสัมผัสได้ถึงความสมจริงที่เอ็ดเวิร์ดสอยากนำเสนอในภาพยนตร์เมื่อตอนที่เธอเห็นทีเซอร์เหตุการณ์ต่างๆ ที่เขาสร้างขึ้นมา “ผลงานของแกเร็ธคือสิ่งที่ได้ใจฉันไป มันมีการสะท้อนถึงภาพโศกนาฎกรรมต่างๆ ทั่วโลกที่เราเคยเห็น” เธอกล่าว “สิ่งที่แอลต้องรับมือในหนังเรื่องนี้มันจะเหมือนกับคนที่ต้องพบเหตุการณ์ต่างๆ และต้องต่อสู้กับระยะทางเพื่อไปปกป้องคนที่เรารัก”

แรงผลักดันแบบเดียวกันนี้เองที่ผลักดันฟอร์ดตลอดการเดินทางของเขา เทย์เลอร์-จอห์นสันยอมรับว่าท่ามกลางฉากแอ็คชั่นสุดยิ่งใหญ่ในภาพยนตร์ บทบาทการแสดงทางร่างกายก็ต้องแพ้ให้กับความท้าทายเรื่องอารมณ์ที่ตัวละครของเขาต้องรู้สึก “ฟอร์ดถูกทดสอบอย่างจริงจังในหนังตลอดทั้งเรื่อง ทั้งจากภายในและภายนอก” เขากล่าว “ครั้งแรกที่เราพบเขา เขาอยู่ในร่างของสามี คุณพ่อ และลูกชายที่พยายามทำทุกอย่างให้ถูกต้องเหมาะสมภายใต้ความรู้สึกที่ตึงเครียด เขามีปัญหาที่แก้ไม่ตกเรื่องพ่อของเขา และเขาพยามยามสานสัมพันธ์ที่เขาต้องจากบ้านมาไกลในยามที่ครอบครัวต้องการเขามากที่สุด”

       ฟอร์ดมีบาดแผลบางอย่างจากวัยเด็กที่ตัดขาดเขากับครอบครัวไปเมื่อ 15 ปีก่อนหน้านี้ ตอนนั้นเขาอาศัยอยู่กับพ่อแม่ที่ญี่ปุ่น แต่เหตุการณ์ต่างๆ กำลังนำไปสู่วันที่แสนโหดร้ายเมื่อปี 1999 ซึ่งเกิดขึ้นที่ทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์จุดเริ่มต้นของภาพยนตร์
       เหมืองแร่ที่อยู่ห่างไกลในป่าที่ฟิลิปปินส์ทรุดตัวลง ทำให้เห็นซากของเก่าที่อยู่ด้านใน มีกัมมันตภาพรังสีขนาดสูงของบางสิ่งบางอย่างที่มีขนาดใหญ่และเก่าแก่มาก นักวิทยาศาสตร์คู่หนึ่งจากองค์กรรัฐบาลลับคือ ดร.อิชิโร่ เซริซาวะ และ ดร.วิเวียน กราแฮม เดินทางมาถึงสถานที่เกิดเหตุเพื่อตรวจสอบสิ่งประหลาด 

       เค็น วาตานาเบ้ รับบทเป็นเซริซาวะ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นผู้อุทิศชีวิตเพื่อค้นหาก็อดซิลล่า และหวังว่าจะพบในอุโมงค์พิสูจน์หลักฐานของสิ่งมีชีวิตในตำนานที่มีอยู่ “ภารกิจของเขาเจาะลึกมากกว่าความอยากรู้อยากเห็นของนักวิทยาศาสตร์” วาตานาเบ้อธิบาย “เขากังวลเรื่องความรุนแรงที่อาจหลงเหลืออยู่ในโลก รวมถึงทฤษฎีของเขาเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า ‘เพชฌฆาตแถวหน้า’ และอิทธิพลของมันที่มีต่อโลก”

ต้นกำเนิดของก็อดซิลล่าในภาพยนตร์จะเชื่อมโยงกับเรื่องราวที่ผ่านมาเมื่อไม่นานมานี้ เรื่องร้ายในอดีตที่ตามหลอกหลอนเซริซาวะที่มีสมญานามและได้แรงบันดาลใจจากตัวละครสำคัญในภาพยนตร์ต้นฉบับของชาวญี่ปุ่น “ดร.เซริซาวะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เข้าใจเรื่องสัตว์ประหลาดอย่างลึกซึ้ง และเค็นก็ถ่ายทอดความรู้สึกที่ซับซ้อนและลึกซึ้งลงไปในตัวละครนี้ได้” เอ็ดเวิร์ดสกล่าว “เราเคยแซวกันตอนถ่ายหนังว่าไม่มีใครดูแปลกตาไปมากกว่าเค็นแล้ว เขาเป็นนักแสดงที่มีเสน่ห์เวลาที่ดู เพราะเราจะอ่านความรู้สึกเขาออกจากสีหน้า ตอนที่เราถ่ายทำเขาจะแสดงท่าทางอย่างอื่น ถอนหายใจ หรือเดินออกไปจากห้องแล้วเราก็จะพูดว่า ‘ไม่นะ อย่าหยุด อย่าหยุด’ การแสดงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ เพราะเราไม่อยากจะตะโกนคำว่า ‘คัท’ ออกมา”

วาตานาเบ้ให้ความเห็นต่อความต้องการของเอ็ดเวิร์ดสทที่อยากสานสัมพันธ์ทางอารมณ์กับผลงานต้นฉบับในสภาพแวดล้อมของโลกปัจจุบัน “ผมรู้สึกว่าที่ประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลกต่างพบกับอุปสรรคที่คล้ายกันในทุกวันนี้ เพราะเราอยู่ในยุคที่ภาพยนตร์เรื่องแรกถูกสร้างขึ้นมา” วาตานาเบ้กล่าว “ก็อดซิลล่าไม่สามารถแยกกับชิ้นส่วนพลังงานนิวเคลียร์ได้ และมันเตือนให้เราคำนึงถึงเรื่องอนาคตและคิดว่าเราอยากให้โลกเป็นแบบไหน ตอนที่ผมอ่านบทภาพยนตร์ ผมรู้สึกประทับใจที่หนังของแกเร็ธยังมีการเชื่อมโยงระหว่างก็อดซิลล่ากับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการควบคุมพลังอำนาจที่เรายากจะเข้าใจได้”

       แซลลี่ ฮอว์คินส์ ผู้รับบท ดร.กราแฮม ผู้ร่วมงานของเซริซาวะเล่าว่าความหลงใหลในโปรเจ็กต์ของเอ็ดเวิร์ดสแสดงให้เห็นในความริเริ่มสร้างสรรค์ทุกอย่างที่อยู่ในฉาก “เขาต้องต่อสู้กับอะไรหลายอย่าง แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในตัวนักแสดงและเรื่องราวมาก เขาย้ำเสมอว่าอยากรักษาใจความสำคัญและข้อมูลจริงในเรื่องเอาไว้”
       ฉากทั้งหมดของเธอเสร็จสิ้นเรียบร้อยไปพร้อมกับวาตานาเบ้ โดยทั้งคู่ต้องผูกมิตรกันอย่างกระทันหัน “กราแฮมและเซริซาวะต้องเดินทางร่วมกันครั้งนี้ เพราะมันคือชีวิตการทำงานของทั้งคู่” ฮอว์คินส์เล่าให้ฟังว่า “ตอนที่เราพบพวกเขา เราจะเห็นว่าเหมือนพวกเขาส่งกระแสจิตคุยกันได้เลย ผมคิดว่าเค็นเป็นคนที่เก่งมาก ทั้งบุคลิกท่าทางของเขาและการทำงานร่วมกับเขาเพื่อถ่ายทอดมิตรภาพระหว่างพวกเขาเป็นความสุขที่เกิดขึ้นจริง”
       เมื่อกราแฮมและเซริซาวะลงไปในหุบเขาลึกขึ้น พวกเขาได้พบกับระบบถ้ำที่ครั้งหนึ่งเคยห่อหุ้มซากสัตว์ประหลาดยักษ์เอาไว้ แต่ก็มีอย่างอื่นด้วย จนท้ายที่สุดพวกเขาต้องช็อคเมื่อพบว่าหุบเขานั้นระเบิดจากด้านใน ทำให้เกิดช่องที่เป็นทางสู่ป่าและทะลุตรงไปยังมหาสมุทรได้

       จากทางตอนเหนือสู่ทะเลจีนฝั่งตะวันออก เกิดการสั่นสะเทือนของหินที่โรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์จันจิระใกล้กับเขตโตเกียวที่ ฟอร์ด ซึ่งรับบทตอนเด็กโดย ดีเจ อดัมส์ อาศัยอยู่กับแซนดร้าและโจ โบรดี้ พ่อแม่ของเขาที่รับบทโดยจูเลียต บินอช และ ไบรอัน แครนสตัน เมื่อปี 1999 ทั้งคู่เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในโรงปฏิกรณ์ และช่วงเช้าหลังจากเกิดการสั่นสะเทือน พ่อของเขาเป็นคนแรกที่กดสัญญาณเตือน แครนสตันเล่ารายละเอียดว่า “โจเป็นวิศวกรนิวเคลียร์และปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองได้อย่างดีเยี่ยม เขาทำการตรวจสอบคลื่นเสียงที่ผิดปกติจากการสั่นสะเทือนที่คนอื่นพยายามจดบันทึกว่าเป็นเพียงแผ่นดินไหว แต่ข้อมูลของเขาไม่สนับสนุนข้อสรุปนั้น เขารู้ดีว่ามีบางอย่างเกิดขึ้นที่นี่และต้องการปิดโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์แต่กลับไม่มีใครฟัง กว่าพวกเขาจะตัดสินใจปิดได้ก็สายไปแล้ว เขาเป็นคนที่แตกตื่นในทางที่ดีตามที่ควรจะเป็น และเจ้าตัวการที่ก่อปัญหานั้นได้ตามหลอกหลอนเขามาถึงทุกวันนี้”

แม้ว่าแครนสตันจะเป็นที่รู้จักดีจากการรับบทวอลเตอร์ ไวท์ ที่มีชีวิตน่าตื่นเต้นและโศกเศร้าจากภาพยนตร์ทางทีวีเรื่อง “Breaking Bad” เอ็ดเวิร์ดสกลับจำเขาได้จากบทคุณพ่อในซีรี่ส์เรื่อง “Malcolm in the Middle” และนึกภาพเขามารับบท โจ ตั้งแต่แรกเริ่ม “ผมเป็นแฟนประจำของเรื่องนั้นเลย ผมคิดว่าการเป็นนักแสดงตลกที่เก่งยากกว่าการเป็นนักแสดงแนวดราม่าที่เก่งอีกนะ ไบรอันเล่นมุกได้ตลอดเวลา แต่เขาก็สามารถถ่ายทอดอารมณ์ไปกับสิ่งที่เขาแสดงได้เสมอ ฉะนั้นตลอดเวลาที่เราเขียนบทนี้ ไบรอันคือตัวละครโจในความคิดผมเสมอ และโชคดีที่เขาตอบ ‘ตกลง’”

สำหรับบทของเขา แม้แครนสตันจะมีความรักและหลงใหลในหนังก็อดซิลล่า แต่เขาก็ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะได้มีส่วนร่วมในหนังเรื่องนี้ “แต่แกเร็ธบอกกับผมว่า หนังเรื่องนี้ไม่เหมือนใคร” นักแสดงชายกล่าว “มันเป็นตัวละครที่มีความลึกซึ้ง ทำให้องค์ประกอบของเรื่องราวมีควมเข้มข้นมากขึ้น เพราะเมื่อเราติดตามคนเหล่านี้ผ่านการผจญภัย เราจะเห็นการตัดสินใจที่ดีและแย่ รวมถึงมิตรภาพที่ขาดสะบั้นและกลมเกลียวกัน องค์ประกอบทั้งหมดของภาพยนตร์แนวดราม่าที่สนุกสนานอยู่ในหนังเรื่องนี้ มันถูกรวมไว้ในภาพยนตร์สัตว์ประหลาดฟอร์มยักษ์สุดอลังการ”

       จูเลียต บินอช ก็เห็นด้วยและเล่าว่า “สัตว์ประหลาดปล่อยพลังออกมาได้อย่างยิ่งใหญ่ เรื่องราวเหล่านี้ช่วยให้เราเข้าใจตัวเองในบางมุมมากขึ้น และเห็นความรู้สึกของเราในมุมกว้าง แกเร็ธในฐานะของผู้เล่าเรื่องเข้าใจสัญชาตญาณนั้นดี เขาเป็นคนมีพรสวรรค์ และฉันตื่เนต้นมากที่ได้ร่วมงานกับเขาในหนังเรื่องนี้”

       ตัวละครของบินอชคือ แซนดร้า โบรดี้ ไม่ต่างจาก โจ สามีของเธอสักเท่าไหร่ เธอเองก็เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเสียสละ แต่ในช่วงเช้าที่เกิดเหตุ ด้วยสัญชาตญาณของผู้เป็นแม่ต้องทิ้งเรื่องการนึกถึงคนอื่นทิ้งไปก่อน “เมื่อสถานการณ์ที่โรงงานเลวร้ายเข้าขั้นวิกฤติ เธอต้องตัดสินใจทำบางอย่าง” บินอชกล่าว “สถานการณ์แบบนี้เกิดขึ้นจริงอยู่บ่อยๆ และในช่วงเวลาแบบนั้นการตัดสินใจของเธอได้อิทธิพลมาจากความรักที่มีต่อลูกและสามีของเธอ”

       15 ปีต่อมาเมื่อฟอร์ดเดินทางไปที่ญี่ปุ่นเพื่อไปพบกับพ่อของเขาด้วยความเป็นห่วง เขาพบว่าโจยังฝังใจกับอุบัติเหตุครั้งนั้นที่ทำลายโรงงานและทำให้ครอบครัวของเขาต้องพังทลาย แครนสตันเล่าว่า “โจใช้ชีวิตเพื่อค้นหาปริศนาที่เกิดขึ้นในวันนั้น แต่การสูญเสียที่ยิ่งใหญ่สุดซึ่งฝังแน่นอยู่ในความรู้สึกของเขาคือความผูกพันที่เขามีต่อลูกชาย”
       ช่วงที่ลูกชายของเขาเดินทางมาถึงเพื่อพาเขากลับบ้าน  โจกำลังอยู่ในช่วงพิสูจน์ว่าสิ่งที่มีพลังทำลายล้างโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์จันจิระเมื่อปี 1999 จะกลับมาอีกครั้ง ซึ่งบันทึกของเรื่องรังสีที่รั่วไหลตกไปอยู่กับรัฐบาลที่วางแผนปกปิดความจริง ในการร้องขอครั้งสุดท้ายเขาโน้มน้าวให้ฟอร์ดเดินทางกลับไปยังบ้านของพวกเขาที่พังทลายลงไปแล้ว เพื่อหาหลักฐานว่าหายนะครั้งนั้นมีบางสิ่งที่ไม่ใช่ภัยธรรมชาติ แต่หลังจากถูกจู่โจมโดยหน่วยปฏิบัติการ สิ่งที่พวกเขาพบในเขตกักกันกลับเป็นสิ่งที่เลวร้ายมาก 
       ภายในวัตถุในโพรงจันจิระ พวกเขาต้องพบกับความลับอันเลวร้ายของรัฐบาล ซึ่งเป็นการใช้นิวเคลียร์หล่อเลี้ยงสัตว์ประหลาด และหลังจากนั้น 15 ปีมันตื่นขึ้นมาในที่สุด แมรี่ แพเรนต์ เล่าว่า “ในหนังของเรามีการแนะนำให้รู้จักกับพลังแห่งการทำลายล้าง ซึ่งบางมุมมันคือผลลัพธ์จากเศษขยะของมนุษย์ และนั่นคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์เกิดปัญหากับก็อดซิลล่า จนนำไปสู่ปัญหาครั้งใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับโลกของเรา”
       จากเหตุการณ์น่ากลัวที่เกิดขึ้นได้นำฟอร์ดและโจไปพร้อมกับดร.เซริซาวะและดร.กราแฮมไปบนเรือกองทัพที่จะใช้เป็นกองบัญชาการสำหรับวิกฤติที่ทวีความรุนแรงอย่างรวดเร็ว เป็นการนำกองกำลังเฉพาะกิจไปปกป้องโลกจากการเผชิญหน้ากับแบบจำลองใหม่ที่น่ากลัวคือ พลเรือเอกสเตนซ์ ที่สะกดรอยก็อดซิลล่าทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกไปจนถึงทวีปสหรัฐฯ
       นักแสดงที่เป็นที่ชื่นชอบอย่างเดวิด สตราเธรน มารับบทพลเรือเอกวิลเลียม สเตนซ์ เล่าว่า “ไม่มีใครบนโลกเคยพบกับสิ่งที่มีขนาดใหญ่แบบนี้มาก่อน สเตนซ์จึงมีข้อมูลเชิงลึกเพื่อรับมือกับมันเพียงน้อยนิด เราจะสยบสัตว์ประหลาดด้วยอาวุธธรรมดาไม่ได้ ฉะนั้นเราจะใช้วิธีไหน? อาวุธนิวเคลียร์? นั่นเป็นทางเลือกสุดท้ายของกองทัพ แต่มันเป็นการยกระดับในเชิงเนื้อหา และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในปฏิบัติการเฉพาะกิจ สเตนซ์ต้องวางกลยุทธร่วมกับเซริซาวะ”
สตราเธรนสนุกไปกับการศึกษาความขัดแย้งเรื่องนี้ตามหลักปรัชญาไปพร้อมกับวาตานาเบ้ “เซริซาวะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความกระตือรือร้นและมีความรับผิดชอบมาก  เขามีความเศร้าและกลัวความเย่อหยิ่งของมนุษย์เราที่ท้าทายธรรมชาติอยู่ลึกๆ” สตราเธรนแสดงความเห็นว่า “สเตนซ์ตัดสินใจได้ดีมาก ซึ่งขัดกับความคิดของเซริซาวะเรื่องการแก้ไขสถานการณ์ ซึ่งเค็นก็แสดงความอ่อนโยนออกมาในช่วงเวลาที่เข้มข้นระหว่างพวกเขาได้ เซริซาวะคือหัวใจสำคัญในเรื่องความเห็นใจของภาพยนตร์เลย”
เช่นเดียวกับเพื่อนนักแสดงของเขา สตราเธรนมีความประทับใจในความฉลาดของเอ็ดเวิร์ดสที่ถ่ายทอดหลากหลายแง่มุมของมนุษย์ในเรื่องก็อดซิลล่าได้ “ผมรู้สึกว่าโดยพื้นฐานแล้วนี่เป็นหนังเกี่ยวกับมนุษย์ที่มีความบอบบางอย่างเราขาดการตระหนักถึงสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอบตัวมากเกินไป ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของก็อดซิลล่า มีการผูกเรื่องเปรียบเทียบกับอะไรหลายอย่างที่เรามีความเกี่ยวข้องในฐานะสัตว์สายพันธุ์หนึ่ง แกเร็ธต้องรับบทหนักในหนังเรื่องนี้ ฉะนั้นพูดได้เลยว่าผมรู้สึกประทับใจมากที่เขามาควบคุมแฟรนไชส์เรื่องนี้ เจ้าไดโนเสาร์ตัวนี้ในมือของเขาที่เคารพและให้เกียรติมนุษยชาติ”

       หลังมีการเห็นก็อดซิลล่าบุกทำลายโลกตรงทางเข้าสนามบิน Honolulu Airport ฟอร์ดต้องร่วมเดินทางไปที่แผ่นดินใหญ่พร้อมกับกองกำลังหลังจากเกิดเหตุการณ์ทำลายล้างครั้งใหญ่ทั่วชุมชนและเมืองต่างๆ ที่ถูกเหยียบราบโดยพลังที่ไม่อาจคาดคิดได้ นี่เป็นโอกาสเดียวของเขาที่จะได้ช่วยครอบครัว ฟอร์ดเสนอตัวเองเป็นอาสาสมัคร ซึ่งสุดท้ายมันอาจกลายเป็นภารกิจปลิดชีพตัวเองเมื่อต้องพุ่งตัวสู่ใจกลางซานฟรานซิสโกที่ถูกโจมตี เพื่อปกป้องเมืองจากการทำลายล้างของนิวเคลียร์ที่กำลังจะเกิดขึ้น

ตึกสูงเสียดฟ้าพังทลายลงมาเหมือนกับของเล่นที่หัก และที่พักพิงใต้ดินเต็มไปด้วยผู้ลี้ภัยที่ตื่นตระหนก เมืองแห่งมนุษย์ที่บอบบางกลายเป็นสมรภูมิระดับยักษ์ของอสูรกายที่เพชฌฆาตแถวหน้าคืบคลานเข้าใกล้เหยื่ออันโอชะ โดยมีการปลดปล่อยพลังแห่งความโกรธแค้นออกมาในการต่อสู้เพื่อเป็นหนึ่ง และใช้อนาคตของมนุษยชาติเป็นเดิมพัน

“เราต้องเลือกว่าจะให้ก็อดซิลล่าปรากฏขึ้นในโลกของหนังเรื่องนี้ยังไง” เอ็ดเวิร์ดสกล่าว “มันเป็นการตัดสินใจที่ยากมาก แต่ต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่าก็อดซิลล่าเป็นตัวละครฝ่ายดีหรือร้าย ผมคิดว่าเขาเป็นตัวแทนของความแตกต่าง เหมือนการตั้งคำถามว่าพายุเฮอร์ริเคนดีหรือไม่ดี ก็อดซิลล่าคือพลังอย่างหนึ่งจากธณรมชาติ แต่มันมีความรุนแรงมากกว่าและไม่สามารถคาดเดาได้ การปรากฏตัวของเขาเหมือนเป็นตัวแทนของการใช้ธรรมชาติในทางที่ผิดของเรา ฉะนั้นเมื่อก็อดซิลล่าปรากฏตัวขึ้น นั่นคือการมาเพื่อทำให้ทุกอย่างถูกต้องเหมาะสม”

 

การให้ชีวิตใหม่กับตำนานอายุ 60 ปี

 

       สำหรับผู้สร้างภาพยนตร์ที่ต้องควบคุมการทำงานที่มีความซับซ้อน น่าจะไม่มีอะไรท้าทายหรือมีความสุขไปมากกว่าการเสริมสร้างเหตุการณ์สำคัญ “Toho เปิดทางให้เราจินตนาการตัวละครขึ้นมาใหม่ได้ แต่สิ่งสำคัญสำหรับเราและ Toho คือก็อดซิลล่าต้องดูเป็นก็อดซิลล่า” ทุลกล่าว “เราอยากให้เขาอยู่ในยุคร่วมสมัย แต่ต้องไม่ผิดเพี้ยนจากภาพเดิมที่พวกเราหลายคนเติบโตมาพร้อมกัน แกเร็ธและทีมงานทั้งหมดยึดมาตรฐานนั้นด้วยความหลงใหลและความกระตือรือร้น”
ความพยายามในการสร้างก็อดซิลล่าให้มีชีวิตขึ้นมาบนจอภาพยนตร์ พร้อมรายละเอียดหลายอย่างและความสมจริงที่มากที่สุดโดยการรวมเหล่ามันสมองแห่งความสร้างสรรค์ มีการร่วมมือกันระหว่างผู้สร้างสัตว์ประหลาดตัวนำ และผู้ออกแบบคอนเซ็ปต์ แม็ตต์ ออลซอป และผู้ออกแบบสิ่งมีชีวิตจาก Weta Workshop, Ltd. แอนดรูว์ เบคเกอร์, คริสเตียน เพียร์ซ และ เกร็ก บรอดมอร์ รวมถึงผู้วาดสตอรี่บอร์ด คีย์เฟรมแอนิเมชั่นและผู้ชำนาญด้านรายละเอียดจาก Motion Picture Company (MPC) และผู้ชำนาญด้านเสียง การเคลื่อนไหว ทั้งหมดรวมตัวกันเพื่อตัวละครตามจินตนาการของเอ็ดเวิร์ดส 
       “ทุกคนมีส่วนร่วมกันหมด” ผู้กำกับฯ จดจำได้ “สิ่งที่เราพยายามค้นหาคือก็อตวิล่าต้องมีหน้าตาแบบไหนถ้าเราได้เห็นเขาในโลกแห่งความจริง หนึ่งในหัวข้อที่เราพูดคุยกันบ่อยๆ คือ ‘ถ้าเขาเป็นคน เขาจะมีลักษณะแบบไหน?’ หลังจากใช้เวลาคิดอยู่พักหนึ่ง เราก็เกิดไอเดียขึ้นว่าเขาน่าจะเหมือนกับซามูไรคนสุดท้าย เป็นนักรบโบราณที่รักสันโดษ ขอเลือกที่จะปลีกตัวออกจากโลกหากทำได้ แต่เหตุการณ์ต่างๆ บังคับให้เขาต้องกลับขึ้นมาอีกครั้ง พวกเราวาดภาพและวางคอนเซ็ปต์ไว้เยอะมาก มันทำให้เราต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปีเพื่อทำให้มันลงตัวที่สุด”

       ด้วยขนาดความสูงถึง 355 ฟุตจึงเป็นตัวละครที่มีขนาดใหญ่สุดกว่าตัวไหนบนจอภาพยนตร์ ก็อดซิลล่าเป็นที่เข้าใจตั้งแต่แรกว่าต้องสร้างด้วยดิจิตอลขึ้นมาทั้งหมด ซึ่งจะสามารถคงรูปร่างและเอกลักษณ์ที่คลาสสิคของตัวละครเอาไว้ได้ ในบรรดาสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่มี 2 เท้า สัตว์ประหลาดกัมมันตภาพรังสีพร้อมทั้งมีครีบด้านหลังเพื่อใช้ป้องกันตัวยามเกิดอันตรายยาวจรดปลายหาง ก็อดซิลล่าเป็นส่วนหนึ่งของสายพันธุ์ในจินตนาการอย่างก็อตซิลาซอรัส ซึ่งนักบรรพชีวินวิทยาตั้งชื่อโยงเล่นๆ ระหว่างไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ หรือพวกตระกูลเซราโตซอรัส แต่มีขนาดใหญ่กว่ามาก

       ความพยายามของผู้สร้างภาพยนตร์เพื่อแกะลักษณะสำคัญของก็อดซิลล่าได้พาพวกเขาย้อนกลับไปยังปี 1954 จนได้ ชุดที่ผลิตขึ้นจากยางอันมีเอกลักษณ์ที่ออกแบบโดย เทอิโซะ โทชิมิตซึ แห่ง Toho เขาผลิตชุดร่วมกับเออิโซะ ไคมาอิ, คันจู ยากิ และ ยาซูเอะ ยากิ มีการสวมใส่ให้มีประสิทธิภาพโดยนักแสดงชาย ฮารูโอะ นากาจิมะ แรงบันดาลใจของเครื่องแต่งกายมาจากมุมมองของอิชิโร่ ฮอนด้า ที่มีต่อมหันตภัยนิวเคลียร์ กลุ่มควันจากการระเบิดที่ทำลายเมืองโตเกียว แม้ว่าเอ็ฟเฟ็กต์ทั้งหลายเหล่านี้จะเป็นที่ตื่นตาในยุคนั้น แต่ผู้สร้างภาพยนตร์รู้ดีว่าในอีก 60 ข้างหน้าพวกเขาจะมีเครื่องมือที่ทำให้ก็อดซิลล่าดูสมจริงขึ้นมาแน่ 
       “มันน่าตื่นเต้นมากที่ได้แรงบันดาลใจจากหนังในยุคก่อน แต่แกเร็ธออกคำสั่งไว้ตั้งแต่แรกว่าทุกอย่างที่เราสร้างขึ้นมาต้องดูสมจริงที่สุด” ผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ จิม ไรเกล ยืนยันว่า “เราอยากเชื่อว่ามีสัตว์ประหลาดขนาด 355 ฟุตเดินผ่านถนนที่ซานฟรานซิสโกจริงๆ” 
       การถ่ายทำในช่วงแรก ไรเกลฉายการทดสอบการเคลื่อนไหวของสัตว์ประหลาดที่ทำเสร็จครั้งแรกให้ผู้สร้างภาพยนตร์ดู “เราได้ยินเสียงหอบดังทั่วห้อง” ทุลเล่าถึงตอนนั้นว่า “แกเร็ธและทีมงานฝ่ายวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์สร้างผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม เขาทำให้ตัวละครมีรายละเอียดและเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติอย่างที่ไม่สามารถทำได้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว มันรู้สึกเหมือนเราได้เห็นก็อดซิลล่ามีชีวิตขึ้นมาเป็นครั้งแรก”
       แต่เบื้องลึกแล้วสิ่งที่ทำให้ก็อดซิลล่ามีความแตกต่างคือบุคลิกและท่าทางที่เป็นเอกลักษณ์ “เขามีอิทธิพลต่อมนุษย์อย่างน่าทึ่ง เราจะทั้งหวาดกลัวและเกรงเขา ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ตัวละครนี้เป็นอมตะ” แมรี่ แพเรนต์กล่าว “ก็อดซิลล่าเป็นตัวร้ายที่เห็นได้อย่างชัดเจน แต่ก็มีความใสซื่อและความซื่อสัตย์อยู่ในตัวเขาด้วย ตั้งแต่แรกเริ่มเราไม่มีทางรู้เลยว่าเขาจะทำอะไร ขณะเดียวกันเขาก็มีความกล้าหาญมาก และหลักการคือสิ่งที่ทำให้เขามความน่าสนใจและน่าหลงใหลมาก”
       เช่นเดียวกับมนุษย์ที่ร่วมแสดงกับเขา ความรู้สึกของก็อดซิลล่าจะแสดงออกทางหน้าตา ขณะที่ลักษณะฟันแบบใหม่จะมีขนาดใกล้เคียงกับกระโหลกที่สูงและสั้น จมูกกว้างและกัดกินเนื้อ เพื่อให้เขาแสดงออกได้อย่างเต็มที่ในการต่อสู้ ผู้สร้างภาพยนตร์มีการศึกษาสีหน้าของสุนัขและหมี จากนั้นมีการนำไปรวมเข้ากับนกอินทรีที่งามสง่าอีกด้วย
       สำหรับการกำกับฯ ตัวละครที่มีการแสดงพิถีพิถัน เอ็ดเวิร์ดได้รับความช่วยเหลือจากแอนดี้ เซอร์คิส ผู้ประสานงานและผู้บุกเบิกด้านการจับภาพการแสดงเรื่อง “The Lord of the Rings” ของไรเกล เขานำศิลปะที่มีเอกลักษณ์มาสร้างตัวละครดิจิตอลอย่างกอลลัม ซีซาร์ และคิงคองมาแล้ว เขาช่วยสร้างอารมณ์ของตัวละครขึ้นมา
       “ในช่วงเริ่มการทำทงาน ผมรู้สึกว่าเรามีสิทธิ์เลือกและกำหนดได้ว่าจะให้ก็อดซิลล่าเป็นแบบไหน” เอ็ดเวิร์ดสกล่าว “แต่พอเราทำงานไปเรื่อยๆ เราก็เริ่มเข้าใจว่าก็อดซิลล่าจะคอยบอกเราว่าเขาเป็นยังไง เหมือนกับนักแสดงที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เรากำหนดทั้งหมดไม่ได้ว่าจะต้องเป็นยังไง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการลองใช้ไอเดียและปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ให้มีความแตกต่าง จนเขาค่อยๆ เผยตัวเองออกมาให้เราเห็น” 
       องค์ประกอบสุดท้ายในการปรับเปลี่ยนก็อดซิลล่าไม่ใช่ท่าทางของเขาแต่เป็นเสียง อากิระ อิฟุคูเบะ ผู้ประพันธ์ดนตรีที่ชวนหลอนที่ประกอบในฉากภาพยนตร์ก็อดซิลล่าปี 1954 เขาเกิดไอเดียในการสร้างเสียงคำรามอันเลื่องชื่อโดยการใช้เรซินคลุมถุงมือหนัง และลากผ่านสายดนตรีดับเบิลเบส โดยเอ็ฟเฟ็กต์สุดท้ายสำเร็จได้โดยผู้ออกแบบซาวด์และเสียงเอ็ฟเฟ็กต์ อิชิโร่ มินาวะ มีการใช้ความเร็วในการเล่นเพื่อสร้างเสียงคำรามที่ต้องการ 
ga_0430_v0602_1221_hi.tif       “เสียงคำรามของก็อดซิลล่าคือสิ่งที่เราไม่สามารถสร้างหรือปรับเปลี่ยนได้” ทุลกล่าว “มันมีเพียงเสียงเดียว และแทบจะสร้างขึ้นมาใหม่ไม่ได้ด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะพยายามแค่ไหนก็ตาม” 
       ก่อนที่จะมีการถ่ายทำเป็นเวลานาน ผู้สร้างภาพยนตร์มีการเจาะจงรายชื่อให้ผู้ออกแบบซาวด์เจ้าของรางวัล  Oscar® เอริค อาดาห์ล และ อีธาน แวน เดอร์ ริน (“Transformers”) มาทดลองใช้เทคนิคต่างๆ มาสร้างเสียงคำรามที่เย็นชาและชวนเศร้าของก็อดซิลล่า รวมถึงโลกแห่งเสียงที่จะให้การแสดงที่ตื่นตาและทำให้โรงหนังสั่นสะเทือนได้ “หากคุณคิดว่าก็อดซิลล่ามีตัวตนจริง เสียงที่เราได้ยินในหนังปี 1954 คือเสียงเดียวกับปี 1950” เอ็ดเวิร์ดสอธิบาย   “เราอยากถ่ายทอดเสียงที่มีพลังเหมือนจริงให้ถูกต้องเท่าที่เราจะทำได้ในวันนี้”

       ผู้ออกแบบซาวด์มีการใช้เทคนิคต่างๆ อย่างหลากหลาย แม้แต่พยายามใช้ถุงมือหนังที่ราดยางและรูดบนดับเบิลเบส เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ไม่น่าเป็นไปได้ “เสียงคำรามแบบนั้นน่าจะเป็นน่าจะเป็นซาวด์เอ็ฟเฟ็กต์ที่เลื่องชื่อที่สุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ และเราต้องการให้เกียรติต้นฉบับระหว่างที่มีการสร้างเสียงขึ้นมาใหม่ด้วย” อาดาห์ลกล่าว “เรามีการบันทึกเสียงแบบต่างๆ นับร้อยเสียงที่มีลักษณะเหมือนกัน และเป็นเสียงเหมือนต้นฉบับและในที่สุดก็สะดุดกับการผสมผสานที่ชวนขนลุก จนในที่สุดเราอยากให้มันถ่ายทอดพลังเสียงและความโหดร้ายของก็อดซิลล่าที่เป็นพลังจากธรรมชาติออกมา สำหรับผู้ที่หลับตาเมื่อได้ยินเสียงก็จะรู้ได้ทันทีว่า ‘นั่นคือก็อดซิลล่า!’”

มีการแบ่งเสียงต้นฉบับออกเป็น 3 ส่วน เสียงกรีดร้องแบบโลหะ  ตามมาด้วยการคำรามที่สะท้านโลก และเสียงรำพึงรำพันตอนจบ ผู้ออกแบบซาวด์มีการทดลองเสียงต่างๆ จนกระทั่งพวกเขาพบการผสมผสานระหว่างรายละเอียดทั้งหมดกับดราม่าสะท้านโลกของเสียงคำรามก็อดซิลล่าที่เป็นต้นฉบับ ทุลกล่าวว่า “สิ่งที่พวกเขาสร้างขึ้นมาจะทำให้คุณกลัวเข้ากระดูก มันเป็นเสียงคำรามที่ใหญ่และน่ากลัวซึ่งเป็นแบบฉบับของก็อดซิลล่าเสมอมา”

ซาวด์เอ็ฟเฟ็กต์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกบันทึกด้วยความเร็ว 192-กิโลเฮิร์ต แซมเปิ้ลเรท 192 กิโลเฮิร์ต— ซึ่งเกินกว่าระดับที่มนุษย์จะได้ยิน จากนั้นพวกเขาต้องปรับให้ช้าลงเพื่อให้หูของมนุษย์สามารถรับฟังได้ ข้อจำกัดของเสียงในภาพยนตร์เรื่อง “Godzilla” ยังรวมถึงความสมจริงของสภาพแวดล้อมที่เรื่องราวเกิดขึ้นด้วย อาดาห์ลกับแวน เดอร์ ริน ต้องเดินทางไปยังสถานที่เพื่อบันทึกเสียงในอุโมงค์และในเครื่องบิน   “แกเร็ธช่างจินตนาการและไร้ที่ติ เขาผลักดันให้เราทำการทดลองและพยายามมากขึ้น” แวน เดอร์ ริน กล่าว “การทำงานในภาพยนตร์เรื่อง ‘Godzilla’ เป็นการผจญภัยสุดพิเศษที่พวกเราทุกคนได้เผชิญร่วมกัน และเป็นหนึ่งในสุดยอดประสบการณ์ของอาชีพเราเลย”

หนึ่งในเป้าหมายของพวเขาคือการนำเสียงคำรามของก็อดซิลล่ามาใส่ในโลกแห่งความเป็นจริง ฉะนั้นผู้ออกแบบซาวด์จึงต้องสร้างระบบเสียงที่อลังการขนาดสูง 12 ฟุตขึ้นมาบนถนนในโรงถ่ายของวอร์เนอร์ บราเดอร์สที่เบอร์แบงค์ มีการระเบิดเสียงคำรามผ่านลำโพง 100,000 วัตต์ถูกเรียงรายเป็นแถว พวกเขาบันทึกเสียงที่ดังก้องกังวาลจากหลากหลายมุม เช่น ในรถยนต์ ด้านในหน้าต่างร้าน ในตรอกซอกซอย มันไม่ใช่แค่เสียงในท่อและบนหลังคา แต่ห่างออกไป 3 ไมล์ก็ยังได้ยิน

       ในอาณาจักรของสัตว์ เสียงคำรามสามารถสื่อถึงอารมณ์หลายแบบได้ แต่อาจมีการใช้เพื่อแสดงอำนาจเมื่อเพชฌฆาตระดับแนวหน้าถูกคุกคามได้เหมือนกัน “สิ่งที่เกิดขึ้นในหนังของเรา” เอ็ดเวิร์ดสเผยข้อมูลเล็กน้อย “ในหนังของเราก็อดซิลล่าไม่ได้ตั้งใจทำลายโลก เขาไม่เข้าใจพฤติกรรมของเรา สำหรับเขาแล้วเราก็เหมือนกับมด แต่เรามีการแบ่งปันที่พัก การกระทำของเราแสดงออกถึงการคุกคามโลกและก็อดซิลล่าที่ร้ายแรง เราอยากกำหนดบทลงโทษให้ก็อดซิลล่า และหวังว่าในการถ่ายทำเราได้สร้างความแปลกใหม่ขึ้นมาเพื่อผู้ชมได้สำเร็จ”
 
การนำเสนอโลกที่เปลี่ยนไป
 _KF19502.dng

       จากพื้นฐานการสร้างภาพยนตร์ด้วยตัวเอง แกเร็ธ เอ็ดเวิร์ดสนึกถึงการสร้างแมมมอธ โดยมีแรงบันดาลใจและการแก้ปัญหาแบบเดียวกับที่เขาใช้ในภาพยนตร์อินดี้เรื่อง “Monsters” ของเขา มีการร่วมงานกับผู้ชำนาญที่มีผลงานอันน่าชื่นชมมาอย่างยาวนาน ผู้กำกับฯ ได้พบกับทีมงานที่มีฝีมือมาช่วยแบ่งปันและสร้างจินตนาการของเขาให้ดีขึ้น

“เวลาที่เราต้องสร้างหนังแนวนี้ เราสามารถกำหนดรายชื่อบุคคลที่มีฝีมือบนโลกที่เราอยากร่วมงานด้วยได้เลย และผมโชคดีมากที่ผมได้ร่วมงานกับทุกคนที่ผมต้องการ” เขากล่าว “หัวหน้าแผนกของเราทุกคนปรับเปลี่ยนภาพยนตร์ตามแนวของพวกเขา และทุกคนมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ประสบการณ์นี้สะเทือนอารมณ์ ยิ่งใหญ่ น่าตะลึงกับภาพยนตร์ดั้งเดิมที่เราเติบโตขึ้นมาพร้อมกับมัน หนังพวกนั้นคือเหตุผลที่เราอินกับการสร้างภาพยนตร์ครั้งแรก ทุกคนมีฝีมือและคอยช่วยเหลืออย่างน่าเหลือเชื่อ นี่เป็นหนังฟอร์มยักษ์เรื่องแรกของผม ผมถามตัวเองตลอดว่า ‘นี่มันปกติหรอ?’   มันเป็นอะไรที่น่าอัศจรรย์มาก”

เอลิซาเบ็ธ โอลเซน เล่าว่าแม้จะต้องควบคุมทีมนักแสดงจำนวนมาก 7 กองถ่ายและทีมงานที่แข็งขันนับ 500 คน เอ็ดเวิร์ดสไม่เคยสติแตกเลย “เขาสามารถพูดคุยกับนักแสดงถึงเรื่องราวได้ เพราะเขามีพื้นฐานด้านการควบคุมเทคนิคการสร้างภาพยนตร์ร่วมกับทีมงานของเขามาก่อน ฉันคิดว่านี่เป็นเรื่องไม่ธรรมดาของผู้กำกับฯ ที่สร้างหนังฟอร์มยักษ์เป็นครั้งแรกที่สามารถสร้างสมดุลทุกอย่างได้และไม่รู้สึกท้อแท้ ความเป็นผู้นำที่มั่นคงและความรู้สึกสงบนิ่งช่วยให้ทุกงานทำงานได้อย่างเต็มที่จริงๆ”

       ผู้กำกับฯ ใช้ความปรารถนาจะนำเสนอ “Godzilla” ด้วยเนื้อเรื่องก่อน “มันสำคัญต่อเราทุกคนมากที่ผู้ชมให้ความสนใจว่าเกิดอะไรขึ้นและเพราะอะไร ผมไม่อยากให้มีแค่ภาพที่ตื่นเต้นต่อๆ กัน” เขาอธิบาย “ในทางกลับกันผมมีไอเดียที่จะใช้การควบคุมบางอย่างเพื่อสร้างความเครียดและความกังวลขึ้นมา รวมถึงสร้างช่วงเวลาที่เราจะเปิดตัวก็อดซิลล่าอย่างยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรก”
       การถ่ายทำครั้งนี้ต้องอาศัยความชำนาญทุกด้านของภาพยนตร์ และช่วยถ่ายทอดภาษาภาพในหนังที่ทำให้ต้องอ้าปากค้าง “ผมไม่ชอบการตั้งกล้องนจุดที่กล้องเข้าไม่ถึง ผมไม่อยากกำหนดทิศทางกล้องในแบบที่ไปไม่ได้ในชีวิตจริง” เอ็ดเวิร์ดสกล่าว “เราถ่ายฉากสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ในมุมกว้าง และใช้เอ็ฟเฟ็กต์ต่างๆ ที่เห็นได้ในฟุตเทจของการแข่งกีฬา ตากล้องเหล่านั้นอ่านใจเราไม่ออก ฉะนั้นฟุตเทจจะไม่มีทางสมบูรณ์แบบเลย พวกเขาจะตั้งกล้องไว้ในตำแหน่งที่พวกเขาจะจับภาพฟุตเทจที่ดีที่สุดได้และเตรียมพร้อม นั่นคือเอ็ฟเฟ็กต์ที่เราต้องการใช้”
       ตากล้องซีมุส แม็คการ์เวย์ เคยดูหนังเรื่องแรกของเอ็ดเวิร์ดสตอนที่มีการฉายที่งาน Edinburgh Film Festival และรู้สึกประทับใจในมุมมองของการกระทำมนุษย์แม้จะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ที่รุนแรง “ในภาพยนตร์เรื่อง ‘Godzilla’ เราต้องรับมือกับสัตว์ประหลาดในตำนาน และสิ่งที่สร้างความสนใจคือการเปรียบเทียบกับช่วงเวลาสั้นๆ ที่ทุกคนเคยผ่านประสบการณ์ จากนั้นถอยมาเป็นพยานของสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์” แม็คการ์เวย์กล่าว   “เวลาที่เราเห็นคนยืนเทียบกับสัตว์ประหลาดสูง 350 ฟุต มันเป็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เล็กจิ๋วกับสิ่งที่ใหญ่ยักษ์  มันทำให้เราต้องอ้าปากค้าง”
สำหรับการประพันธ์ดนตรีให้องคืประกอบของไลฟ์แอ็คชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟฟิค ในหนังทั้งเรื่องจะถูกวางแผนโดยการสร้างภาพขึ้นมาก่อนล่วงหน้า (previs) ซึ่งเป็นตัวช่วยแนะแนวให้ผู้ลำดับภาพ บ็อบ ดัคเซย์ เรียบเรียงฉากต่างๆ ได้  ซึ่งรวมกับฉากที่ถ่ายทำเสร็จแล้ว “นี่เป็นหนังที่มีความซับซ้อนมาก แต่ก็เป็นหนังที่น่าดูมากด้วยเหมือนกัน” ดัคเซย์กล่าว “แกเร็ธถ่ายหนังเยอะมากทำให้เรามีโอกาสถ่ายทอดรายละเอียดต่างๆ ในฉากที่มีความซับซ้อนได้”
       ภาพจำลองล่วงหน้าที่ค่อยๆ พัฒนาขึ้นมายังเป็นตัวช่วยสำคัญของเอ็ดเวิร์ดส เพื่อใช้ถ่ายทอดจินตนาการของเขากับทีมผู้สร้างภาพยนตร์ทั้งหมด “ขนาดตอนดูภาพจำลองยังรู้สึกเครียดจนนั่งไม่ติดเบาะเลย ซึ่งมันไม่เกิดขึ้นบ่อยนักเวลาที่เราดูภาพเคลื่อนไหวที่ร่างมาคร่าวๆ” ทุลเปิดเผยว่า “มันรู้สึกได้ว่าจะมีลางร้ายและความลึกลับ ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้ชมภาพยนตร์ฉบับสมบูรณ์แล้ว”
       เอ็ดเวิร์ดสยังนำไปให้นักแสดงดูฉากสำคัญ เพื่อให้พวกเขานึกภาพออกและช่วยให้พวกเขาตัดสินใจได้ว่าต้องแสดงร่วมกับเพื่อนร่วมแสดงล่องหนขนาดยักษ์แบบไหน เมื่อกล้อง  เมื่อกล้องเดินหน้าถ่ายทำ เอ็ดเวิร์ดสใช้ลำโพงบรรยายการแสดง เหมือนนักพากย์กีฬาที่ถูกคั่นจังหวะโดยระเบิดที่ควบคุมโดย โจเอล วิสต์ ผู้ควบคุมด้านสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์อยู่บ่อยๆ หรือเสียงคำรามที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเอ็ฟเฟ็กต์ที่สมบูรณ์

       “ผมจะต่อไมโครโฟนเข้ากับลำโพง iPod ฉะนั้นเสียงคำรามจะดังถูกจังหวะและมันได้ผลจริงๆ” เอ็ดเวิร์ดสจดจำได้  “เราสามารถบอกความแตกต่างได้เลย ระหว่างการถ่ายทำที่ไม่มีเสียงในฉากกับช่วงที่มีเสียงก็อดซิลล่าคำรามออกมา เพราะมันมีความดั้งเดิมอยู่ในตัว และผมคิดว่ายังไงคุณก็ต้องมีปฏิกิริยาต่อมัน”

สำหรับการแสดงผาดโผนในช่วงที่เกิดความโกลาหลที่สร้างขึ้นโดยผู้ควบคุมสตั๊นท์ จอห์น สโตนแฮม จูเนียร์ และ เจค เมอร์ไวน์ และ เลย์ตัน มอร์ริสัน ผู้ควบคุมสตั๊นท์กอง 2 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นักแสดงสนุกสนานมาก อารอน เทย์เลอร์-จอห์นสันเล่าว่า “ระหว่างนั้นจะมีความวุ่นวายเกิดขึ้นรอบตัวเรา กล้องจะอยู่ตรงกลางฉากแอ็คชั่น ฉะนั้นตอนที่เราดูจะมีความรู้สึกเหมือนเราอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ” เขาอธิบาย “ลักษณะการถ่ายหนังเรื่องนี้ของแกเร็ธ เราจะได้เห็นจากมุมภายในรถหรือบนยอดตึก มันจะเป็นภาพที่ยิ่งใหญ่อลังการแม้จะไม่ใช้สเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ก็ตาม”
       การกำหนดอารมณ์ ฉากแอ็คชั่น และฉากที่น่ากลัวในหนังต้องมีการอาศัยแสงสว่าง ความมืด การออกแบบแสงที่ช่วยสร้างบรรยากาศ แม็คการ์เวย์ได้สร้างความแตกต่างให้ภาพขึ้นมาโดยการใช้ C Series anamorphic lenses จากกล้องดิจิตอลที่ทันสมัยในปี 1970 ของ Arri Alexa® “เราอยู่ในยุคที่วิชวลเอ็ฟเฟ็กต์มีความล้ำสมัยและมีการใช้กล้องดิจิตอลในภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่เกิดไอเดียว่าจะทำให้ดูเหมือนไม่ใช้เทคนิค ซึ่งมันจะดูไม่รุนแรงแต่มีความคมชัดที่จะทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าสิ่งที่เห็นคือเรื่องที่เกิดขึ้นจริง” แม็คการ์เวย์กล่าว “เราใช้เลนส์เก่ากับกล้องใหม่เพื่อสร้างอารมณ์ความคลาสสิค และเป็นสิ่งที่แกเร็ธกับผมชอบมากในภาพยนตร์ยุคนั้น เรามีการใช้กล้องแฮนด์เฮลด์เยอะมากเพื่อให้ได้ภาพในมุมด้านใน เหมือนตากล้องเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์แบบบสดๆ และในขณะเดียวกันเราก็มีการถ่ายทำโดยใช้เลนส์ anamorphic และมีสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์ออกมาในภาพยนตร์ ฉะนั้นมันต้องได้อารมณ์ CinemaScope ที่ยิ่งใหญ่อย่างที่เราคาดหวังในภาพยนตร์ระดับนี้”

       ภาพยนตร์เรื่อง “Godzilla” ถ่ายทอดผ่านสองช่วงเวลาหลักคือปี 1999 ที่โตเกียว ฟิลิปปินส์ และยุคปัจจุบัน ผู้ออกแบบฉากฯ โอเว่น พาเทอร์สัน ได้ถ่ายทอดสถานที่ต่างๆ และช่วงเวลาที่เป็นปกติไปจนถึงช่วงแห่งความหายนะ “เราต้องสร้างภาพขึ้นมาจำนวนมากเพื่อกำหนดสภาพแวดล้อมของเรา จากนั้นมีการสร้างและตกแต่งฉากเกือบ 100 ฉาก ซึ่งถือว่าเยอะมากสำหรับหนังเรื่องหนึ่ง บางฉากก็มีรายละเอียดเยอะมาก เราเกิดไอเดียว่าต้องทำให้มันดูน่าสนใจและสมจริงตามยุคสมัยและสถานที่”

ผู้ออกแบบฉาก ชาเรน ดาวิส ต้องปรับเปลี่ยนยุคสมัยของภาพยนตร์ โดยการสร้างเสื้อผ้าที่ไม่โดดเด่นแต่ดูเป็นธรรมชาติของตัวละครและการใช้ชีวิตของพวกเขาในเรื่อง “เรามีกองกำลังทหารอยู่ในหนังเรื่องนี้เยอะมาก ซึ่งมีการอ้างอิงหรือสร้างทุกอย่างขึ้นมาตั้งแต่เครื่องแต่งกายพนักงานปี 1950 ไปจนถึงพนักงานรักษาความปลอดภัยชาวญี่ปุ่นปลายปี 90 กองทัพบกและกองทัพเรือสหรัฐฯ ปัจจุบัน การสร้างทุกอย่างให้ถูกต้องถือเป็นเรื่องสำคัญมาก” ดาวิสยืนยัน “แต่ที่น่าตื่นตาไม่แพ้กันคือพัฒนาการของตัวละครเหล่านี้ เช่น โจ โบรดี้ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างน่าตื่นเต้นในช่วง 15 ปี ภาพลักษณ์ทั้งหมดในภาพยนตร์ถูกออกแบบให้มีความโดดเด่น แต่ต้องเข้ากับชีวิตประจำวัน เช่น เสื้อผ้าของคนที่เราเห็นในภาพข่าว พวกเขาเป็นคนที่พบว่าตัวเองอยู่ในเหตุการณ์ที่ไม่ธรรมดา”

สำหรับภาพวาดที่แสดงถึงเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ในทุกวัน พาเทอร์สันออกแบบและสร้างบรรยากาศต่างๆ ในภาพยนตร์ขึ้นมาจากมุมมองที่ดูเป็นธรรมชาติและสมจริงที่สุด “แกเร็ธเปิดการเล่าเรื่องได้อย่างน่าสนใจมาก” เขายืนยัน “ผมคิดว่าเขาอยากให้เรารู้สึกเหมือนผู้บันทึกสารคดีธรรมชาติกำลังยืนอยู่ในท้องทุ่งแอฟริกาและมองแรด จากนั้นมันก็มาพุ่งใส่เรา … ยกเว้นสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์ เขาเป็นนักเล่าเรื่องที่เก่ง ฉะนั้นมันวิเศษมากที่ได้ลองสร้างสภาพแวดล้อมขึ้นมาให้เขารู้สึกได้ถึงความสมจริง ขณะเดียวกันก็รวมสัตว์ประหลาดจากดิจิตอลไว้ด้วย เขาอยากถ่ายทอดภาพจากกล้องออกมาให้ได้มากที่สสุด ซึ่งมันมีรายละเอียดในฉากทั้งที่อยู่ด้านหน้าและกึ่งกลาง ซึ่งต่อมาจะถูกขยายหรือรวมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์เพื่อเพิ่มความอลังการและความสัมพันธ์ในเรื่องราว”

       ผู้กำกับฯ เคยฝึกทักษะด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ในช่วงแรกที่ได้ร่วมงานกับทีวีอังกฤษ เขาร่วมงานกับผู้บุกเบิกด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ จิม ไรเกล อย่างสนุกสนาน เขาเป็นผู้ทำให้มิดเดิ้ล-เอิร์ธในเรื่อง “The Lord of the Rings” มีชีวิตชีวาขึ้นมาได้ เขามีโอกาสได้ร่วมงานด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์เพิ่มเติมกับจอห์น ไดค์สตรา ผู้เป็นตำนานของวงการจากผลงานในเรื่อง “Star Wars” ในอดีตอีกด้วย
GODZILLA       “แกเร็ธรู้ดีว่าต้องสร้างสัตว์ประหลาดแบบ 3 มิติขึ้นมาบนแล็ปท็อปของเขาอย่างไร ซึ่งทำให้งานของผมง่ายขึ้นและสนุกมาก” ไรเกลกล่าว “สำหรับโปรเจ็กต์อื่นผมอาจต้องขึงกรีนสกรีนไว้ทุกที่ แต่แกเร็ธอยากถ่ายทั้งหมดบนพื้นสีดำเพื่อให้มันใกล้เคียงกับวิธีการถ่ายทำตามบรรยากาศของซีมัส ผู้สร้างวิชวลเอ็ฟเฟ็กจ์จะเกลียดพวกฝุ่นควันเพราะเราต้องวาดและขึงมันขึ้นมาใหม่ แต่พอเราดูฉากที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว เราจะสัมผัสได้ถึงความลึกซึ้งและรายละเอียดต่างๆ มากกว่าเห็นในฉากที่สว่าง”
       วิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ในภาพยนตร์ต้องแยกกันทำเอ็ฟเฟ็กต์ 2 แห่ง โดย Double Negative ซึ่งตั้งอยู่ที่ลอนดอนจะรับหน้าที่เรื่องสภาพแวดล้อม ส่วนที่ Motion Picture Company ในประเทศแคนาดาจะรับหน้าที่ของสิ่งมีชีวิต ความท้าทายอยู่ที่การสร้างผลงานให้แนบเนียน โต้ตอบกับองค์ประกอบดิจิตอลและโลกแห่งความจริงได้อย่างน่าเชื่อถือ ไรเกลเล่าว่า “ในหนังของเราจะมีสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์มาต่อสู้กัน เมืองต่างๆ ถูกทำลาย เกิดสึนามิ มีการใช้ปฏิบัติการทางทหาร และมีองค์ประกอบพิเศษอีกมากมาย ซึ่งส่วนประกอบทั้งหลายต้องอิงจากความเป็นจริงมากที่สุด”

       องค์ประกอบสุดท้ายคือเพลงประกอบภาพยนตร์ ซึ่งเอ็ดเวิร์ดสกำหนดรายชื่ออเล็กซานเดร เดสแพล็ต มาประพันธ์เพลงเป็นคนแรก “เวลาที่เราสร้างหนังแนวนี้ สิ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือเสียงดนตรี” เอ็ดเวิร์ดสกล่าว “สิ่งแรกที่ผมทำคือสร้างตารางเพลงไว้ในโทรศัพท์ของผม โดยมีซาวด์แทร็คต่างๆ ที่ผมรักและคิดว่าเหมาะกับหนังเรื่องนี้ ช่วงเวลาที่ชวนหลอนในหนัง รวมถึงลางร้ายและความเศร้าที่เกิดขึ้นในการแสดง และอเล็กซานเดรก็มีผลงานการประพันธ์ที่โดนใจมากด้วย”

เมื่อได้ดูเรื่อง “Monsters” เดสแพล็ตรู้สึกชื่นชมที่เอ็ดเวิร์ดสให้ความสนใจอารมณ์ของตัวละครที่ซ่อนอยู่ในภาพอันน่าต่นเต้น จนสุดท้ายเขารู้สึกว่าเขาต้องมาประพันธ์เพลงให้ภาพยนตร์เรื่อง “Godzilla” “แม้ว่ามันจะเสี่ยง แต่เราก็แชร์ความเสี่ยงหากเรามีอารมณ์ไปกับตัวละคร” ผู้ประพันธ์กล่าว “สำหรับภาพยนตร์เรื่อง ‘Godzilla’ สิ่งสำคัญสำหรับผมคือการเน้นย้ำเรื่องความสูญเสียที่เกิดขึ้นรอบตัวฟอร์ดและโจตั้งแต่เปิดตัวภาพยนตร์ และเรายังรู้สึกหวาดกลัวช่วงเวลานั้น รวมถึงติดตามผู้ที่สะเทือนใจสู่ยุคปัจจุบัน”

พลังอันมหาศาลของก็อดซิลล่าทำให้เกิดเหตุการณ์ต่างๆ เดสแพล็ตใช้โอกาสนี้คิดเสียงที่สร้างอิทธิพลขึ้นมา โดยมีดนตรีที่เขาบันทึกเพลงตอนจบเอาไว้กับ Hollywood Studio Orchestra “ผมไม่เคยร่วมงานในหนังสัตว์ประหลาดมาก่อน การทำงานในเรื่องนี้ต้องใช้นักดนตรีมากกว่าร้อยคน เครื่องเป่าเป็นสองเท่า แตรเป็นสองเท่า ทำให้ผมเปิดจินตนาการไปสู่อีกดินแดนหนึ่ง และมันเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้นมาก” เดสแพล็ตอธิบาย “แกเร็ธมีความพิถีพิถันเรื่องดนตรีมาก และนั่นคือสิ่งที่วิเศษสำหรับผม ตอนที่ผมเปิดเพลงย้อนให้เขาฟังที่สตูดิโอ ผมเห็นเขานึกภาพและฟังเสียงได้ในเวลาเดียวกัน ผมพยายามรักษาระดับความเครียดในระดับสูงเอาไว้ แต่เทคนิคอยู่ที่ต้องรู้ว่าควรระบายความกดดันออกมาเมื่อไหร่ ตัวอย่างเช่น ฉากที่ผู้คนบนท้องถนนดูธรรมดามากก ไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่แทนที่จะปลดปล่อยความเครียดออกมา เรากลับปล่อยให้มันเป็นไป องค์ประกอบนั้นคือสิ่งที่ผมสร้างร่วมกับแกเร็ธในฐานะที่ภาพยนตร์และเพลงประกอบต้องเห็นเป็นรูปร่างขึ้นมา นั่นคือประสาทสัมผัสที่ดีที่สุดเมื่อรักษาระดับของสิ่งที่เราเห็นกับสิ่งที่ได้ยินควบคู่ไปด้วยกันได้”

ผู้กำกับฯ กล่าวด้วยความรู้สึกประหลาดว่า “อเล็กซานเดรเหมือนฮีโร่ในแวดวงดนตรี และบทเพลงที่เขาสร้างขึ้นมาเพื่อหนังเรื่องนี้เพราะจับใจมาก ผมรู้สึกตื่นเต้นจริงๆ ไม่อยากเชื่อเลยว่าอเล็กซานเดรมาประพันธ์ซาวด์แทร็ค ‘Godzilla’ ให้ผม เขาประพันธ์เพลงให้ผมจริงๆ มันเป็นของขวัญสุดพิเศษที่ผมคิดว่าตัวเองจะได้รับเลยล่ะ”

 

ก็อดซิลล่าบุกแผ่นดิน
 
       ไม่ต่างจากตัวละครนำ เรื่องราวที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์เริ่มต้นที่ประเทศญี่ปุ่น “ที่นั่นคือบ้านเกิดของก็อดซิลล่า เราคิดว่าที่นั่นเหมาะจะเป็นจุดเริ่มเรื่องของเรา ซึ่งจะพาเราเดินทางไปครึ่งค่อนโลกจนเดินทางไปถึงซานฟรานที่เกิดการต่อสู้ครั้งสำคัญขึ้น” ทุลกล่าว
       ภาพยนตร์ใช้สถานที่ถ่ายทำใน Oahu บนเกาะฮาวาย; ลาสเวกัส, เนวาด้า และแวนคูเวอร์ บริติชโคลัมเบียในประเทศแคนาดา และยังมีการถ่ายทำที่ซานดิเอโก้ แคลิฟอร์เนีย และเมืองโตเกียวประเทศญี่ปุ่น พาเทอร์สันและแผนกศิลป์ของเขาซึ่งนำทีมโดยผู้ควบคุมการกำกับศิลป์ฯ แกรนต์ แวน เดอร์ สแลก ร่วมกับผู้กำกับศิลป์ฯ แดน เฮอร์แมนสัน, รอส เดมป์สเตอร์ และ คริสเทน แฟรนสัน และผู้ตกแต่งฉากเอลิซาเบ็ธ วิลค็อกซ์ ที่ออกแบบและสร้างรายละเอียดฉากทั้งภายในและภายนอกที่มีความซับซ้อนในโรงถ่าย และพื้นที่ในโรงถ่ายที่ Canadian Motion Picture Park (CMPP) ในแถบ Burnaby ชานเมืองแวนคูเวอร์
หนึ่งในฉากแรกๆ ถ่ายทำที่ Vancouver Convention Center โดยโครงสร้างขนาดใหญ่ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นทั้ง  Honolulu และ Tokyo International Airports
       สถานที่หลักๆ ในแคนาดาหลายแห่งต้องพังราบ สำหรับฉากทำลายล้างที่น่าตื่นเต้นของภาพยนตร์ “สัตว์ประหลาดขนาดยักษ์ไม่เคยออกมาทำลายเมืองของเรา แต่มนุษย์ทุกคนบนโลกถ้าไม่เคยผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการทำลายล้างก็ต้องเคยเห็นผลกระทบจากเหตุการณ์ทางทีวี” เอ็ดเวิร์ดสกล่าว   
       ถนนหนทางในเมืองแวนคูเวอร์ถูกปรับเปลี่ยนให้เป็นแหล่งการเงินที่ถูกโจมตีของซานฟรานซิสโกที่มีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างเกิดขึ้น เอลิซาเบ็ธ โอลเซน อยู่ในฉากหนึ่งที่เธอต้องอยู่ท่ามกลางผู้ลี้ภัยน้ำท่วมที่หวาดกลัวการปะทะกันของสัตว์ประหลาดที่ทำลายเมืองของพวกเขา “หนึ่งในประสบการณ์สุดพิเศษของฉันคือการได้เป็นส่วนหนึ่งในฉากที่ผู้คนพยายามหาทางเอาตัวรอด” โอลเซนจดจำได้ “ฉันเป็นนหึ่งในกลุ่มคนที่ต้องไปทิศทางเดียวกัน ฉันไม่เคยร่วมฉากที่มีนักแสดงสมทบเยอะขนาดนี้มาก่อน แต่มีบางอย่างของคนที่โจมตีเราในระดับต้นๆ มันรู้สึกเหมือนสิ่งที่เกิดขึ้นในฉากเป็นเรื่องจริงมาก”
       ซานฟรานซิสโกถูกประกอบขึ้นมาในโรงถ่ายที่ CMPP มีฉากหนึ่งในโรงถ่ายที่พาเทอร์สันออกแบบทิวทัศน์ของเมืองขึ้นมาใหม่ เพื่อแสดงให้เห็นถนนไชน่าทาวน์เล็กๆ และสร้างทางเข้าสู่บ่อน้ำขนาดยักษ์ที่อยู่ด้านล่างไชน่าทาวน์ ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของฟอร์ดตอนที่เขาพุ่งตัวด้วย HALO [High Altitude – Low Opening] พร้อมกับทีมสู่ตัวเมือง 
       ฉากบ่อน้ำมีความวุ่นวายอยู่ในตัวมันเองโดยเอ็ดเวิร์ดสเรียกว่า “Dragon’s Den” ที่ถูกสร้างขึ้นมาในดรงถ่าย และตกแต่งด้วยรถที่ถูกชนหลายคัน ชิ้นส่วนตึกอาคารและซากปรักหักพังต่างๆ หลังถ่ายทำฉากนี้เสร็จสิ้นก็มีการใช้ฉากเป็นถ้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ด้านล่างเหมืองในประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่นักวิทยาศาสตร์กราแฮมและเซริซาวะเห็นชัดเจนว่ามีบางสิ่งที่ใหญ่ยักษ์ถูกปลดปล่อยออกมาสู่โลก “เราพบว่าถ้ำหลังนี้ไม่ใช่ถ้ำที่เกิดจากธรรมชาติ มันมีโครงกระดูกขนาดยักษ์ โดยมีโครงกระดูกที่ลอยกลางอากาศ 25 ฟุต” พาเทอร์สันอธิบาย “มันเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวที่ดีในแง่ความรู้สึก เหมือนปีศาจถูกปลดปล่อยออกมาจากขวด”
       “ฉากนั้นเกินกว่าคำว่ามหัศจรรย์ มันพิเศษมาก” แซลลี่ ฮอว์คินส์กล่าว “ถึงแม้เราจะมีการใช้กรีนสกรีนร่วมแสดง แต่ส่วนใหญ่เราไม่ต้องจินตนาการอะไรเลย มันเห็นได้จากตรงนั้น เราอยู่ในโครงสร้างขนาดยักษ์นี้ที่มีรายละเอียดน่าอัศจรรย์มาก มันทำให้นักแสดงก้าวเข้าไปในโลกอันเหลือเชื่อนี้ได้อย่างง่ายดาย”
       เอ็ดเวิร์ดสสังเกตว่าการถ่ายทำทั้งสองฉากภายในโรงถ่ายเดียวกัน สะท้อนถึงความสมดุลบางอย่างที่รวมหลอมอยู่ในลักษณะของภาพยนตร์ “สิ่งที่กราแฮมและเซริซาวะสังเกตในโครงกระดูกขนาดยักษ์ในช่วงแรกของภาพยนตร์ และสิ่งที่ฟอร์เห็นใน Dragon’s Den ช่วงใกล้ตอนจบมีความเกี่ยวข้องกันในเรื่อง” เขากล่าว “ฉะนั้นมันจะรู้สึกเหมือนเป็นวงโคจรที่สมบูรณ์”
       ฉากภายนอกฉากอื่นที่พาเทอร์สันสร้างขึ้นมาในโรงถ่าย CMPP คือสะพานโกลเด้นเกตที่มีขยายความยาวไปอีก  400 ฟุตจากความยาว 8,980 ฟุต เอ็ดเวิร์ดสได้รับการช่วยเหลือจากผู้กำกับฯ กอง 2 ที่มากประสบการณ์อย่าง อี.เจ.ฟอร์สเตอร์ ที่จัดช่วงเวลาอันน่าตื่นเต้นในภาพยนตร์และมีฉากหลังของน่านฟ้าอันมีชื่อเสียง
       ในการทำให้เอ็ฟเฟ็กต์นี้ประสบความสำเร็จ ไรเกลต้องส่งทีมงานขึ้นไปยังตึกสูงหลายแห่งที่ซานฟรานซิสโก เพื่อเก็บภาพพาโนรามาระดับสูงจากหลายมุม ซึ่งต้องใช้ภาพท้องฟ้าแบบ 360 องศาและมีการเทียบภาพกับสถานที่ที่จะรวมเข้ากับภาพของเมืองแบบ 3 มิติได้ “เทคนิคนี้ทำให้เราได้ภาพเมืองที่สมจริงทุกรายละเอียดของตึกอาคาร” เขากล่าว “ฉะนั้นการใช้เทคนิคนั้นทำให้รเสามารถผสมฉากไลฟ์แอ็คชั่นเข้ากับสัตว์ประหลาดแอนิเมชั่นที่ทำลายตึกอาคารดิจิตอลได้อย่างแนบเนียนมาก”
       สถานที่อื่นที่สำคัญต่อการถ่ายทำคือ Finn Slough แหล่งตกปลาของชาวฟินนิชที่มีอายุกว่าร้อยปีแถบ Fraser River ใน Richmond, B.C.  ที่ตอนนี้เกือบทิ้งร้างไปแล้ว ผู้อาศัยที่ Finn Slough หลายคนอาศัยอยู่ในกระต๊อบไม้ที่เสื่อมโทรมลอยอยู่และสร้างขึ้นแถบชายฝั่งแม่น้ำที่มีแต่โคลน เอ็ดเวิร์ดสใช้ฉากที่มีเอกลักษณ์รวมถึงหลายสถานที่ของ New Westminster ที่ถูกตกแต่งให้เป็นสถานที่ธรรมชาติเพื่อเป็นเขตกักกันที่ฟอร์ดลักลอบเข้าไปกับพ่อของเขา เพื่อสร้างบ้านสมัยที่เขาเป็นเด็กขึ้นมา
       สถานที่สำคัญในแวนคูเวอร์อีก 2 แห่งถูกเลือกให้เป็นโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์จันจิระ ได้แก่ โรงงานกระดาษที่ถูกทิ้งและมีสภาพทรุดโทรม Catalyst เพื่อใช้เป็นส่วนด้านนอก และแหล่งน้ำเสีย Annacis Island ที่อยู่ด้านใต้ของแวนคูเวอร์ สำหรับส่วนด้านใน ทำให้โรงถ่ายดูเหมือนโรงนิวเคลียร์มากขึ้น
       สถานที่อื่นในแวนคูเวอร์ยังรวมถึงชายฝั่งของ Lake Alouette ใน Golden Ears Provincial Park ที่เอ็ดเวิร์ดสถ่ายทำฉากกู้ภัยทางเฮลิคอปเตอร์ภายใต้ภูมิประเทศที่ถูกทำลาย และท่าเรือ Steveston ในแวนคู่เวอร์ที่กลายเป็น Fisherman’s Wharf อันเลื่องชื่อในซานฟรานซิสโก
       เมื่อส่วนที่ต้องถ่ายทำที่แคนาดาสิ้นสุดลง ทีมงานได้ออกเรือไปยังสถานที่ที่มีประชากรอยู่หนาแน่นบนเกาะฮาวายคือ Oahu เพื่อเก็บภาพสถานที่หลายแห่งตั้งแต่ Waikiki Beach ไปจนถึงเหมืองหินเพื่อใช้เป็นทางเข้าสู่เหมืองที่พังทลาย
       สำหรับการเก็บภาพฉากต่างๆ เพื่อใช้เป็นฉากสำคัญของภาพยนตร์ กองถ่ายต้องเดินทางไปที่ Windward (หรือฝั่งตะวันออก) ของ Oahu เพื่อสร้าง Pacific Atoll ที่ใช้ทดลองระเบิดก๊าซไฮโดรเจนเมื่อต้นปี 1950 ขึ้นมาใหม่ และในความเป็นจริงเคยเกิดโศกนาฏกรรมขึ้นในปีเดียวกับที่มีการฉายภาพยนตร์ต้นฉบับเรื่อง “Godzilla”
       ต่อมาทีมงานได้เดินทางไปยังสถานที่ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ยังมีอยู่ใน Pearl Harbor ซึ่งใช้เป็นฐานที่ตั้งกองทัพเรือและอนุสรณ์รำลึกถึงความสูญเสียจากเหตุการณ์ที่ผลักดันอเมริกาเข้าสู่สงคราม  ซึ่งที่นี่เอ็ดเวิร์ดสได้แสดง 3 ฉากบนเรือ USS Missouri ซึ่งเป็นอนุสาวรีย์ลอยน้ำที่ตจำลองเรือ USS Saratoga อันยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นเรือที่ติดตามก็อดซิลล่าข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก จากนั้นเดินทางไปที่ Hickam Air Force Base ซึ่งอยู่ติดกัน เอ็ดเวิร์ดสเก็บภาพอารอน เทย์เลอร์-จอห์นสันอยู่ในเครื่องบิน C-17 ของจริงที่แสดงถึงช่วงเวลาสำคัญที่เขาพุ่งตัวแบบ HALO สู่ซานฟรานซิสโก 

       เจมส์ ดี. ดีเวอร์ ผู้ให้คำปรึกษาทางเทคนิคเกี่ยวกับทหารของภาพยนตร์มีส่วนร่วมในการกระโดด HALO และได้ worked with HALO Jump ผู้ประสานงานด้านสตั๊นท์ เจที โฮล์มส เพื่อทำให้การดิ่งแบบอิสระจากระดับสูงดูน่าตื่นเต้นสมจริง   “ผู้แสดงผาดโผนต้องฝึกซ้อม HALO และแสดงผลงานที่ยอดเยี่ยมออกมาได้” ดีเวอร์กล่าว “ในภาพยนตร์เรื่องนี้เราจะเห็นกองทัพอากาศเคลื่อนจรวด ICBM กองทัพเรือเคลื่อนเครื่องบิน และมีอีกหลายชิ้นส่วนจากเฮลิคอปเตอร์ Huey และเครื่องบิน  F-35 หน้าที่ของผมคือต้องแน่ใจว่าการแสดงทั้งหมดมีความถูกต้องแม่นยำ”

นอกจากการใหค้ำปรึกษาด้านยุทโธปกรณ์ทางทหาร เช่น คำสั่งต่างๆ ศัพท์เฉพาะ อุปกรณ์ อาวุธและสภาพแวดล้อมแล้ว ดีเวอร์ยังต้องมีการประสานกับกระทรวงกลาโหมเพื่อช่วยประกันความปลอดภัย และช่วยให้มีโอกาสได้ใช้อาวุธที่ต้องใช้ในหนัง รวมถึงองค์ประกอบของสหรัฐฯและนายทหารชาวแคนาดาเพื่อแสดงให้เห็นถึงกองกำลังส่วนใหญ่ในภาพยนตร์ “กลายเป็นว่าคนส่วนใหญ่ในกระทรวงกลาโหมคือแฟนก็อดซิลล่าที่เหนียวแน่นด้วย” เอ็ดเวิร์ดสยิ้ม “ผมคิดว่าพวกเขามีส่วนร่วมในหนังเรื่องนี้มาก”

นายสิบผู้เกษียณในหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ ดีเวอร์ยังได้ร่วมงานกับอารอน เทย์เลอร์-จอห์นสัน เพื่อให้แน่ใจว่ากองทัพของเขามีความพร้อม “ผมมีเวลา 3 วันที่ได้ร่วมงานในแคมป์ฝึกฝนกับเขา ได้สอนวิธีใช้อาวุธให้เขา การใช้อุปกรณ์ของเขา การเคลื่อนไหวและวางตัวในฐานะของเจ้าพนักงานในกองทัพสหรัฐฯ” ดีเวอร์กล่าว “และอารอนก็เหมือนกับผู้กักเก็บข้อมูล เพราะเขาอยากให้มันออกมาถูกต้อง และเขาก็ทำได้ ถือว่าสนุกมากที่ได้ร่วมงานกับเขา”

       กองถ่ายยังใช้สถานที่ของ Waikiki Beachfront อันเลื่องชื่อเป็นเวลา 2 วันเพื่อถ่ายฉากการเกิดสึนามิที่ทำลาย Hilton Rainbow Tower สถานที่สำคัญของชายหาดให้เสร็จสมบูรณ์ การถ่ายทำเกือบจะล้มเหลวเพราะต้องมีการปิด Lewers Street ซึ่งเป็นตลาดการค้าที่ขึ้นชื่อของ Waikiki เป็นเวลา 15 ชั่วโมงเพื่อเก็บภาพฟุตเทจนักแสดงสมทบหลายร้อยคนหนีคลื่นยักษ์
       “ความตั้งใจของเราสำหรับสถานที่แห่งนี้และฉากการทำลายล้างทั้งหมดในหนังมีความสมจริงมาก” พาเทอร์สันกล่าว   “แกเร็ธอยากให้ฉากมีความสมจริงจนผู้ชมเดินออกจากโรงภาพยนตร์หลังหนังจบแล้วคิดว่าตึกอาคารต่างๆ จะพังทลายลงมา”

       “มันตื่นเต้นเร้าใจและเข้มข้นมาก ซึ่งท้ายที่สุดผมคิดว่ามันจะเป็นประสบการณ์แห่งภาพยนตร์ที่ทำให้คุณมีความสุขได้หากคุณเชื่อเรื่องที่เกิดขึ้น” แพเรนต์กล่าวเสริม “ก็อดซิลล่าในหนังควรคู่แก่การกล่าวขาน และแกเร็ธสามารถรวมกลุ่มคนที่อยู่แถวหน้าซึ่งมีพรสวรรค์และมีศิลปะในการแสดงมารวมกันได้อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน มันเป็นการจับคู่ที่ลงตัว และทำให้คุณได้อยู่แถวหน้าของการผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ไปพร้อมกับก็อดซิลล่าที่เป็นตัวละครสำคัญของเรื่อง”

โรเจอร์สกล่าวว่า “ผมภูมิใจมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของทีมงานที่เก่ง และสามารถพาก็อดซิลล่าย้อนเวลากลับไปในช่วงครบรอบ 60 ปีของเขาได้ และแนะนำเขาให้แฟนๆ ผู้จงรักภักดีต่อแฟรนไชส์ได้รู้จักอีกครั้งไปพร้อมกับผู้ชมรุ่นใหม่ที่ยังไม่เคยพบกับ ‘จ้าวแห่งสัตว์ประหลาด’”

“การสังเกตฉากต่างๆ ตอนถ่ายทำหรือการนั่งดูแต่ละวันเทียบไม่ได้กับการนั่งดูฉากที่ถูกตัด และพิจารณาความสมจริงที่ผู้สร้างภาพยนตร์ของเรากำหนดโทนเรื่อง ขนาดและคุณภาพได้อย่างสำเร็จ” แจชนี่กล่าว “ผมจำช่วงเวลาที่นั่งอยู่ในห้องลำดับภาพและดูแกเร็ธเอาตัวอย่างช่ววงแรก 4-5 ฉากมาให้เราดูและรู้สึกว่าเขา ‘ทำสำเร็จ’ แล้วได้ เขามีวิธีสร้างหนังเรื่องนี้ขึ้นมาในแบบของเขา ผมรู้สึกตื่นเต้นในตัวเขาและตัวเราที่เขาทำสิ่งที่พวกเราต้องการให้สำเร็จได้ทุกประการ”

       “พวกเราที่เติบโตมาพร้อมก็อดซิลล่าต่างรู้สึกรักและคิดถึงตัวละครนี้มาก จนเราอดใจรอดูเขาออกมากระทืบบนจอภาพยนตร์อีกครั้งไม่ไหวแล้ว” ทุลกล่าว “หนังเรื่องแรกออกมาเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นเวลาที่นานพอที่ฐานแฟนๆ จะโตขึ้นแล้ว และตอนนี้คนรุ่นใหม่ยังไม่เคยสัมผัสก็อดซิลล่าอย่างแท้จริง ฉะนั้นเราหวังว่าเราจะมอบภาพยนตร์อย่างที่แฟนกลุ่มเดิมและแฟนรุ่นใหม่เฝ้ารอ”
       การรวบรวมการเดินทางอันยิ่งใหญ่จากความรู้สึกส่วนตัวของเขาในการนำเสนอหนังเรื่องนี้ เอ็ดเวิร์ดสเปรียบเท่ยบกับประสบการณ์ในช่วงเวลาตัวละครสำคัญของเรื่องอย่างฟอร์ดจดจ้องไดโนเสาร์แห่งตำนาน “ก่อนที่ผมจะเริ่มลงมือ มันมีความรู้สึกอึดอัดและถูกคุกคามอยู่ในตัว” เขากล่าว “แต่หลังจากนั้นจนถึงช่วงปิดกล้องการถ่ายทำภาพยนตร์ ผมเริ่มเข้าใจแล้วว่าก็อดซิลล่ากลายเป็นผู้ช่วยชีวิตของผม ผมได้การช่วยเหลือหลายอย่างจากคนที่มีพรสวรรค์ซึ่งทำงานทุกชั่วโมงเพื่อถ่ายทอดสิ่งนี้ออกมา ทำให้มันดูไร้ที่ติและพวกเขาก็ทำได้สำเร็จ ผมภูมิใจมากที่ได้มากำกับฯ เรื่องนี้ หากคนจะจดจำผมจากประเภทภาพยนตร์ ผมคงมีความสุขถ้าจะต้องติดอยู่ในโลกของสัตว์ประหลาด และไม่มีสัตว์ประหลาดตัวใดในโลกจะดีไปกว่าก็อดซิลล่าแล้ว”