โรงพยาบาลจุฬารัตน์เผยมะเร็งตับรับมือได้ ด้วยการรักษามะเร็งสมัยใหม่ ไฮฟู(HIFU) ไม่เจ็บ ไม่คีโม

มะเร็งตับผู้ชายไทยมีสถิติ เป็นมากที่สุดอันดับหนึ่ง โดยมีมะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมน้ำเหลืองตามมาเป็นอันดับสองสามสี่ห้า ตามลำดับ

นายแพทย์จิรเจษฎ์ สุขสุเพิ่ม ผู้อำนวยการศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 (กิ่งแก้ว) กล่าวว่า มะเร็งตับ ประกอบด้วย มะเร็งชนิดย่อย 3 ชนิด คือ มะเร็งเนื้อตับหรือ Hepatoma, มะเร็งทางเดินน้ำดี CholangioCarcinoma และมะเร็งอื่นๆที่กระจายมาที่ตับ มะเร็งทางเดินน้ำดีพบมากในผู้ที่พยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งได้รับจากการกินปลาน้ำจืดแบบสุกๆดิบ มะเร็งเนื้อตับพบว่าความสัมพันธ์กับภาวะตับแข็งและ ไม่ว่าจะเกิดจาก  ไวรัสตับอักเสบชนิด บีและ ซี กินเหล้าต่อเนื่อง หรือ ไขมันสะสมในตับจนเกิดตับอักเสบ  ภาวะที่ทำให้เกิดตับแข็งต่างๆ เหล่านี้ มีส่วนทำให้โรคมะเร็งเนื้อตับจึงเพิ่มขึ้น ดังนั้นถ้าควบคุมปัจจัยเหล่านี้ก็จะทำให้โรคมะเร็งตับลดลง เช่น การลดการบริโภคแอลกอฮอล์ การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ ชนิด บี

“การทำลายเนื้องอกโดยใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ความเข้มข้นสูงหรือ HIFU Ablation เป็นการรักษามะเร็งสมัยใหม่โดยการใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ที่รวมศูนย์ให้เกิดความเข้มสูง เข้าไปทำลายก้อนเนื้องอกในช่องท้องผ่านทางผิวหนังโดยไม่ต้องมีบาดแผล โดยมีการใช้ภาพอัลตราซาวด์เป็นตัวชี้เป้ากำหนดตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ  สามารถทำได้กับอวัยวะในช่องท้องที่สามารถตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์ ได้แก่ ตับ ตับอ่อน ก้อนของต่อมน้ำเหลืองในท้อง ต่อมลูกหมาก รวมทั้งเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก หรือ Myoma” นายแพทย์จิรเจษฎ์  กล่าว

หลักการการทำงานของ HIFU คือการส่งคลื่นอัลตร้าซาวด์ ที่รวมศูนย์ให้เกิดคลื่นความเข้มสูง เหมือนใช้เลนส์นูนรวมแสงแดดเพื่อจุดไฟ ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณ ที่ถูกส่งคลื่นความเข้มสูงเข้าไปนั้น จะก่อให้เกิดความร้อนขึ้นเป็นจุดเล็กๆ ขนาดประมาณ 5-8 มิลลิเมตร โดยทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ประมาณ 55-60 องศาเซลเซียสทำให้เนื้องอกบริเวณนั้น ตายเฉพาะจุดที่แพทย์กำหนดเพราะความร้อนดังที่กล่าว

การทำการรักษาแพทย์จะใช้อัลตราซาวด์ชี้เป้าหมายสแกนขอบเขตของก้อนเนื้องอก แล้วกำหนดตำแน่งด้วยผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตั้งค่าพลังงานและปล่อยคลื่นอัลตราซาวด์จากหัวปล่อยพลังงานแบบ 6 หัว ควบคุมอย่างอิสระจากัน รวมเป็นจุคลื่นความเข้มสูงไปที่เนื้องอกอย่างเม่นยำเป็นจุดเล็ก และจะยิงไปทีละจุดจนเต็มขนาดหน้าตัดของเนื้องอกจนครบแผ่น ทีละแผ่นห่างกันประมาณแผ่นละ 5 มิลลิเมตร  จนครบตลอดจนทั่วทั้งก้อน แบบสามมิติ และควบคุมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นระบบ HIFU จึงสามารถปล่อยพลังงาน ทำลายได้ครบทั่วทั้งก้อนเนื้องอกทุกชนาด แต่ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่อาจต้องทำ HIFU หลายครั้งแต่ก็ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนครั้งที่ทำเหมือนการฉายกัมมันตภาพรังสี

ผลข้างเคียงที่อาจจะพบ คือเกิดการอักเสบจากความร้อนที่ผิวหนังทำให้มีรอยบวมแดงบริเวณคลื่นเสียงผ่าน โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังซึ่งมีรอยแผลเป็นหรือผิวไม่เรียบถ้ามีรอยแผลเป็น  และอาจเกิดการเจ็บได้เล็กน้อยถ้าทำการปล่อยพลังงานใกล้กับใกล้กระดูกซี่โครง ( ในกรณีที่ก้อนเนื้องอกอยู่ใต้กระดูกซี่โครงโดยตรง จะไม่สามารถทำ HIFU ได้เพราะว่า เกิดการสะท้อน ของคลื่นอัลตราซาวด์ )

นอกเหนือจากการรักษามะเร็งโดยการใช้  HIFU Ablation แล้วทางโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 (กิ่งแก้ว) ยังมีการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการอื่นๆ อาทิเช่น การรักษาด้วยการแทงเข็มเข้าที่ก้อนมะเร็งเพื้อ จี้ไฟฟ้า (RFA) หรือ ฉีดแอลกอฮอล์เข้มข้น (PEI), การใส่สายสวนเส้นเลือดเข้าไปอุดเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงก้อนมะเร็งและฝังสารเคมีเพื่อทำลายเฉพาะเนื้องอกโดยไม่กระทบเนื้อเยื่อข้างเคียง (TACE ), การใช้ยากินกลุ่มใหม่ซึ่งไม่ใช่ยาเคมี แต่ออกฤทธิ์ทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็งโดยยับยั้งการแบ่งเซลล์ และ ยับยั้งการสร้างเส้นเลือดเลี้ยงเซลล์มะเร็ง , โภชนาบำบัดด้วยอาหารทางการแพทย์ ที่ออกแบบสูตรมาเพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยเฉพาะ โดยมีส่วนผสมของสารอาหารที่ช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิต้านทาน และผสมผสานการแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนจีนเพื่อระงับอาการปวด ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย อย่างครบวงจร

อัตราของการเป็นมะเร็งในผู้หญิงอันดับที่หนึ่งคือ มะเร็งเต้านมและรังไข่ อันดับที่สองมะเร็งปากมดลูกและมดลูก อันดับที่สาม มะเร็งทางเดินอาหารและลำไส้ อันดับที่สี่มะเร็งปอดและทางเดินหายใจ ส่วนอัตราการเป็นมะเร็งในผู้ชาย อันดับที่หนึ่ง มะเร็งตับและทางเดินน้ำดี อันดับที่สอง มะเร็งลำไส้และทางเดินอาหาร อันดับที่สาม  มะเร็งต่อมลูกหมาก และ อันดับสี่ มะเร็งปอดและทางเดินหายใจ

นายแพทย์จิรเจษฎ์  กล่าวเพิ่มเติมว่า “จากการรักษาโดยใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ความเข้มข้นสูงหรือ HIFU Ablation พบว่าผลของการรักษาจากตามการรักษาด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ พบว่าเห็นการเปลี่ยนแปลงของก้อนเนื้องอกที่ถูกทำลาย กลายเป็นช่องว่างสีดำจากภาพเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ และยังไม่พบการเป็นซ้ำในส่วนที่มีเนื้องอกที่ยิง HIFU หลังจากที่ทำการรักษาไปประมาณ 2-3 เดือน แต่ในสำหรับผู้ป่วยซึ่งมีมะเร็งหลายระบบเช่น มีก้อนมะเร็งทั้งที่ปอดและตับ ยังไม่สามารถรักษาได้โดยการทำ HIFU ที่ปอดได้ หรือ อวัยวะอื่นนอกช่องท้องได้ จึงต้องทำ HIFU เสริมกับการรักษาหลัก ได้แก่ การผ่าตัด ฉายรังสี และ การรักษาด้วยยามะเร็งแบบเคมีหรือยาใหม่ที่ไม่ใช่เคมี ” ถ้าก้อนมะเร็งชนิดไม่ตอบสนองกับการรักษาหลักหรือมีการกระจาย การทำ HIFU สามารถช่วยลดอาการปวดเนื่องจากก้อนในช่องท้องได้ แม้ไม่ได้มีผลทำให้ตัวโรคหายไปทั้งหมด แต่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดน้อยลง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และ ลดผลข้างเคียงจาการใช้ยาแก้ปวดในปริมาณมากได้