Interstellar – ทะยานดาวกู้โลก วันนี้ทุกโรงภาพยนตร์

INTERSTELLARผลงานจากผู้สร้างฯ ชื่อดัง คริสโตเฟอร์ โนแลน (ภาพยนตร์เรื่อง “The Dark Knight”, “Inception”) กำกับนักแสดงระดับโลกในภาพยนตร์เรื่อง “Interstellar” เมื่อโลกเข้าสู่ห้วงสุดท้ายในยุคเรา ทีมนักสำรวจต้องรับภารกิจที่สำคัญสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยการเดินทางสู่กาแล็คซี่อันไกลโพ้น เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ว่าในอนาคตมนุษยชาติอยู่ท่ามกลางดวงดาวได้หรือไม่

ภาพยนตร์เรื่อง “Interstellar” นำแสดงโดยแมทธิว แม็คคอนอเฮย์ เจ้าของรางวัล Oscar (“Dallas Buyers Club”), แอนน์ แฮทธะเวย์ เจ้าของรางวัล Oscar “Les Miserables”), เจสสิก้า แชสเทน ผู้เข้าชิงรางวัล Oscar (“Zero Dark Thirty”), บิล เออร์วิน (“Rachel Getting Married”), เอลเลน เบอร์สติน เจ้าของรางวัล Oscar (“Alice Doesn’t Live Here Anymore”) และไมเคิล เคน เจ้าของรางวัล Oscar (“The Cider House Rules”) นักแสดงคนสำคัญคนอื่นยังรวมถึงเวส เบนต์ลีย์, แคซีย์ เอฟเฟล็ค, เดวิด ไกอาซี่, แม็คเคนซี่ ฟอย และ โทเฟอร์ เกรซ และ เดวิด จีอาซี่

กำกับฯ โดย คริสโตเฟอร์ โนแลน เขียนบทฯ โดย โจนาธาน โนแลน และ คริสโตเฟอร์ โนแลน ภาพยนตร์เรื่อง “Interstellar” อำนวยการสร้างฯ โดย เอ็มม่า โธมัส, คริสโตเฟอร์ โนแลน และ ลินดา ออบต์ อำนวยการสร้างบริหารฯ โดย จอร์แดน โกลด์เบิร์ก, เจค ไมเยอร์ส, คิป ธอร์น และ โธมัส ทุล

ทีมงานเบื้องหลังของโนแลนนำโดยผู้กำกับภาพ ฮอยต์ แวน ฮอยทีมา (“Her”), ผู้ออกแบบฉากที่เข้าชองรางวัล Oscar นาธาน โครว์เลย์ (“The Dark Knight”), ผู้ลำดับภาพที่เข้าชิงรางวัล Oscar ลี สมิธ (“The Dark Knight”) และผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายที่เข้าชิงรางวัล Oscar แมรี่ โซเฟรียส์ (“True Grit”) เพลงประกอบภาพยนตร์โดย ฮานส์ ซิมเมอร์ เจ้าของรางวัล Oscar (ภาพยนตร์ไตรภาค “The Dark Knight”, “The Lion King”) พอล แฟรงค์ลิน เจ้าของรางวัล Oscar  (“Inception”) ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ และสก็อตต์ ฟิสเชอร์ (“The Dark Knight Rises”) ควบคุมสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์

วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส และ พาราเมาท์ พิกเจอร์ส นำเสนอภาพยนตร์ร่วมกับ Legendary Pictures, a Syncopy/Lynda Obst Productions production ภาพยนตร์จากคริสโตเฟอร์ โนแลน เรื่อง “Interstellar”

www.interstellarmovie.net

รายละเอียดการถ่ายทำ

โลกใบนี้คือสมบัติอันล้ำค่า

แต่มันกำลังบอกเราว่า ตอนนี้เราต้องออกไปจากที่นี่พักหนึ่ง

—คูเปอร์

 มนุษยชาติมักกำหนดชะตากรรมโลกโดยการนำมันไปถึงขีดสุด ตั้งแต่เรือลำแรกที่ล่องไปไกลสุดขอบฟ้า จนถึงมนุษย์คนแรกที่ก้าวไปเหยียบดวงจันทร์ แต่อย่างไรก็ตามพรมแดนสุดท้ายก็ยังคงเป็นพื้นที่ที่เกินจะเอื้อม ภาพยนตร์จากผู้กำกับฯ /ผู้เขียนฯ/ผู้สร้างฯ คริสโตเฟอร์ โนแลน เรื่อง “Interstellar” จึงจุดประกายคำถามของมนุษย์เรื่องดินแดนที่อยู่ท่ามกลางดวงดาวขึ้นมา

INTERSTELLAR “สำหรับผมแล้วการสำรวจอวกาศคือขีดสุดของประสบการณ์ที่มนุษย์จะได้สัมผัส” โนแลนกล่าว “ทั้งหมดล้วนเกี่ยวกับความพยายามกำหนดนิยามของชีวิตของเราในเชิงของจักรวาล สำหรับผู้สร้างฯ แล้วมันคือเรื่องเหนือธรรมชาติของมนุษย์บางคนที่ก้าวล้ำอาณาเขตที่มนุษยชาติเคยไปเยือนมาแล้ว หรือเป็นการเปิดรับโอกาสความเป็นไปได้ที่ไร้ขีดจำกัด ผมตื่นเต้นที่มีโอกาสสร้างหนังที่จะพาผู้ชมไปสัมผัสกับนักสำรวจคนแรกที่ไปเยือนกาแล็กซี่ ซึ่งเป็นกาแล็กซี่อื่นผ่านสายตา นั่นคือการผจญภัยครั้งใหญ่เท่าที่เราจะจินตนาการได้เพื่อถ่ายทอดเรื่องราว”

เรื่องราวเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เมื่อปัญหาด้านการเกษตรส่งผลให้โลกมาถึงจุดวิกฤติ ภาพยนตร์เรื่อง  “Interstellar” เป็นเรื่องราวของการทำภารกิจที่ต้องอาศัยความกล้าหาญ เพื่อเข้าถึงพรมแดนแห่งกาลเวลาและอวกาศเมื่อมนุษย์ต้องต่อสู้กับการสูญพันธุ์  “ผมให้ความสนใจมาโดยตลอดว่าวิวัฒนาการขั้นต่อไปของเราจะเป็นอย่างไร ถ้าโลกเปรียบเสมือนรังนก เราจะทำอย่างไรเมื่อถึงเวลาที่เราต้องย้ายรัง?”

การเล่นกับโอกาสอันไร้ขีดจำกัดของการผจญภัยสู่ดวงดาวที่มีการเดิมพันสูงครั้งนี้ โนแลนเปิดเผยว่าแรงผลักดันในท้ายที่สุดของหนังคือเรื่องส่วนตัวของมนุษย์เป็นประเด็นหลัก “ผมรู้สึกว่าความยิ่งใหญ่และงดงามของห้วงจักรวาลมีความสนใจมากพอๆ กับการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลและมีความหมายต่อเรามาก และจะได้เห็นว่ามันสัมพันธ์กับโลกของเราในจักรวาลอย่างไร”

ประเด็นสำคัญของหนังคือเรื่องความผูกพันที่เกิดขึ้นกับทุกครอบครัว “จากภาพโดยรวมภาพยนตร์เรื่อง ‘Interstellar’ คือการผจญภัยที่น่าตื่นเต้นที่ได้เดินทางสู่ห้วงจักรวาล” เอ็มม่า โธมัส ผู้สร้างฯ กล่าว “แต่ประเด็นหลักคือเรื่องสะเทือนใจระหว่างพ่อลูก มีการถ่ายทอดถึงความรักในครอบครัว ทัศนคติเรื่องความรับผิดชอบและความเสียสละ และจิตใต้สำนึกของเราต่อมนุษย์คนอื่น”

INTERSTELLARแมทธิว แม็คคอนอเฮย์ประทับใจกับการผสมผสานอารมณ์ที่เป็นพื้นฐานของความอลังการในมุมมองของมนุษย์ “สิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกทึ่งคือความตื่นเต้นของเรื่องราวที่เกิดขึ้น มีทั้งการผจญภัยที่น่าตื่นเต้นและการค้นพบสิ่งลึกลับ สิ่งหนึ่งที่ผมชอบในตัวคริส โนแลนคือความเป็นมนุษย์ที่เขาถ่ายทอดลงไปในหนังของเขา” นักแสดงกล่าว “ไม่มีใครรับมือกับโลกที่ยิ่งใหญ่ อย่างเขาได้ เพราะมันจะกลายเป็นความผูกพันและความสนิทขึ้นมา”

แอท แฮทธะเวย์มีคุณสมบัติตรงกับหนังของโนแลนที่ให้ความสนใจเรื่องการเดิมพันของมนุษยชาติเช่นเดียวกับความพยายามของมวลมนุษย์ “ตั้งแต่ช่วงแรกที่พยายามขยายโลกของเราหรือขับเคลื่อนอารยธรรมของเราต้องอาศัยการอุทิศตนของคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งยอมเสี่ยงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า หนังเรื่องนี้คือการยกย่องผู้ที่กล้าหาญพอที่จะทำแบบนั้น”

เจสสิก้า แชสเทนกล่าวเสริมว่าหนังเรื่องนี้ยังเป็นการยกย่องผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องพวกเราเอาไว้ด้วย “หนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยความหวังและเรื่องสะเทือนใจ แต่ประเด็นสำคัญคือความคิดอันงดงามที่กล่าวว่า หากความรักคือสิ่งที่เราสามารถจับต้องได้ มันคือสิ่งที่คงอยู่กับเราไม่เวลาหรือระยะทางจะยาวนานแค่ไหน”

ไมเคิล เคนร่วมงานกับโนแลนมาอย่างยาวนาน เขาสังเกตเห็นความเป็นมนุษย์ตลอดทั้งเรื่อง “Interstellar” ที่สะท้อนถึงบุคลิกของคนที่เป็นผู้นำ “ในชีวิตส่วนตัวคริสก็เป็นหัวหน้าครอบครัวคนหนึ่ง และไม่ว่าเขาจะทำหนังระทึกขวัญหรือหนังผจญภัยในยานอวกาศ หนังของเขาจะอยู่บนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่สำคัญของเขาเสมอ”

โนแลนยืนยันว่าถึงแม้เขาจะจินตนาการถึงการก้าวข้ามความศรัทธาสู่ความลึกลับ แนวคิดเรื่องครอบครัวยังคงอยู่บนพื้นฐานแห่งความจริงอยู่ “ภาพยนตร์เรื่อง ‘Interstellar’ เกี่ยวข้องกับทุกประเด็น เช่น เราเป็นใคร เราจะไปที่ไหน แต่สำหรับผมแล้วมันเกี่ยวกับเรื่องของความเป็นพ่อ ให้ความสำคัญกับไอเดียเหล่านั้นมากที่สุด มากกว่าความสนุกสนานกับสิ่งต่างๆ บนห้วงอวกาศ”

โจนาธาน โนแลน ผู้ร่วมเขียนบทฯ ยอมรับว่า มุมมองต่างๆ เกี่ยวกับจักรวาลที่ดูแล้วคล้ายกับเป็นเรื่องเหลือเชื่อได้นำพวกเขาสู่การเล่าเรื่องราวบางอย่างที่น่าสนใจ “เรื่องจริงของจักรวาลคือขณะที่มันดูงดงามและสร้างความพิศวงขึ้นมา มันทั้งเยือกเย็น ขาดอากาศบริสุทธิ์ และกว้างใหญ่ไพศาล กว้างใหญ่มากจนเรานึกไม่ออกว่าจริงๆ แล้วมันกว้างใหญ่ขนาดไหน” เขากล่าว “ฉะนั้นต้องอาศัยการลองจินตนาการครั้งใหญ่ขึ้นมา และอิงบนพื้นฐานความเป็นไปได้มากที่สุด และเราจะสัมผัสได้ว่าการเดินทางผ่านห้วงอวกาศระหว่างดวงดาวจะรู้สึกแบบไหน มันไม่ใช่แค่การสัมผัสประสบการณ์เท่านั้น แต่หากพูดถึงผลลัพธ์ทางจิตใจแล้วมันเป็นการเดินทางที่ยากลำบากและมืดหม่นอย่างที่ควรจะเป็นของมนุษย์ด้วย”

ด้านความพยายามของพวกเขาสำหรับการสร้างอวกาศให้ดูมีชีวิตสมจริงมากที่สุดเทียบเท่ากับเรื่องราวที่มีความแปลกใหม่และตัวละครต่างๆ ผู้สร้างฯ ต้องอาศัยคิป ธอร์น ซึ่งเป็นทรัพยากรสำคัญในงานของนักฟิสิกส์เชิงทฤษฎีระดับแถวหน้าที่เปิดเผยความเร้นลับของจักรวาล เพื่อสร้างบทภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ขึ้นมา “คิปเป็นทั้งนักเขียน นักวิชาการศึกษา และเป็นผู้ทรงอัจฉริยะที่สุดคนหนึ่งในโลก” ลินดา ออบต์ ผู้อำนวยการสร้างฯ กล่าว “ผลงานของเขาได้พบคลื่นแห่งแรงโน้มถ่วงที่เขาได้พบกับแรงปะทะของหลุมดำ และเข้าใจถึงความเป็นไปได้ของเรื่องรูหนอนไชเป็นอย่างดี แนวคิดเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าศึกษาเพื่อถ่ายทอดเรื่องราว”

สำหรับธอร์น หนึ่งในผู้อำนวยการสร้างบริหารของภาพยนตร์ ขั้นตอนการทำงานมีความสนุกสนานมาก “เนื้อเรื่องเกิดขึ้นจากจินตนาการอันกว้างไกลของบรรดาผู้เขียนบทฯ แต่อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ หรือคอนเซ็ปต์ที่สมเหตุผลเหนือขอบเขตทางความรู้ของเรา”

คริสโตเฟอร์ โนแลนเล่าว่าธอร์นใช้เวลาทดสอบแต่ละไอเดียที่มีการบอกเล่ามา เพื่อสร้างความแน่ใจว่ามันสอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ “ในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความรับผิดชอบ คิปมักกังวลตลอดเวลาว่าทุกสิ่งที่เขาบอกผมอาจผิดพลาดได้ วิทยาศาสตร์โดยเฉพาะระดับที่คิปกำลังทำงานอยู่ได้ให้ความคิดเห็นถึงความเป็นไปได้ที่น่าอัศจรรย์ จากมุมมองการบอกเล่า เพราะเรากำลังพูดถึงนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งความเป็นไปได้เหล่านั้นแผ่กระจายตลอดเวลา ผมพบว่ามันเป็นบรรยากาศการทำงานที่มีความสร้างสรรค์มากครับ”

ภารกิจสำหรับการแปลงบทภาพยนตร์สู่สัมผัสแห่งการชมภาพยนตร์ที่มีความยิ่งใหญ่และตื่นเต้น ซึ่งจะทำให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมในการผจญภัยของการสร้างภาพยนตร์ที่ยกระดับและทำลายกฏเกณฑ์ทั้งหมด ถึงแม้จะสร้างขึ้นบนโกลก็ตาม จะมีการเดินทางที่พวกเขานำเสนอบนจอภาพยนตร์อย่างสมจริง “สิ่งที่ผมให้ความสนใจในการทำหนังเรื่องนี้ คือการพยายามพาผู้ชมสู่ห้วงอวกาศ” โนแลนยืนยัน “ให้พวกเขาได้สวมบทบาทของนักอวกาศที่ต้องเดินทางไปสำรวจโลกใบใหม่และกาแล็กซี่ใหม่ๆ นั่นคือสิ่งที่ผมตื่นเต้นมากครับ ผู้ชมจะได้สัมผัสการเดินทางระหว่างดวงดาวที่มีความตื่นเต้นเป็นพิเศษ”

 

ทีมนักแสดงและตัวละครต่างๆ จาก INTERSTELLAR

เราเคยเงยหน้ามองท้องฟ้าและสงสัยในโลกของเราท่ามกลางดวงดาว

ตอนนี้เราแค่ก้มหน้าและสงสัยในโลกของเราบนพื้นดิน

—คูเปอร์

ในภาพยนตร์เรื่อง “Interstellar” แมทธิว แม็คคอนอเฮย์รับบท คูเปอร์ ตัวละครสำคัญของเรื่อง อดีตนักบินฝึกหัดและวิศวกรที่อยู่ในร่างของนักผจญภัยที่เต็มไปด้วยแรงผลักดันที่ต้องท้าทายขีดจำกัดของพวกเขาเรื่องการเดินทางสู่ดวงดาวตลอดเวลา สำหรับคริสโตเฟอร์ โนแลนมีนักแสดงเพียงคนเดียวที่สามารถถ่ายทอดบุคลิกนั้นออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ “เขามีทุกสิ่งอย่างที่เรามองหาผู้มารับบทคูเปอร์ที่ชอบการผจญภัย มีมาดเหมือนคาวบอย และความอบอุ่นของผู้ชายที่ให้ความสำคัญกับครอบครัวที่สุด” ผู้กำกับฯ กล่าว “เขามีบุคลิกที่ดูคลุมเครือเหมาะกับตัวละคร ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นมืออาชีพและอารมณ์ขันของเขา การได้ร่วมงานกับเขาในหนังเรื่องนี้ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่น่าทึ่งมากครับ”

INTERSTELLARแม็คคอนอเฮย์เล่าถึงคูเปอร์ว่า “เขาเป็นคนช่างฝันและเหมือนคนหลงยุค เขาไม่เหมาะจะเป็นชาวไร่เลย เขาเหมาะจะอยู่ที่ตรงนั้น นั่นคือที่ๆ เขาอยู่” แต่ในภาพยนตร์เรื่อง “Interstellar” เป็นโลกที่เราต้องการชาวไร่ ไม่ใช่นักบิน หลังเกิดปัญหาเรื่องเสบียงอาหาร อารยธรรมได้ย้อนกลับสู่โลกใบนี้ และมีพืชชนิดเดียวที่เจริญเติบโตคือข้าวโพด “การใช้ชีวิตต้องให้ความสนใจเรื่องการเพาะปลูกอาหารและการมีน้ำที่สะอาด” นักแสดงกล่าวต่อว่า “เราไม่ต้องการนักสำรวจ ไม่ต้องการมนุษย์อวกาศ ไม่ต้องการไอเดียที่หรูหราอะไร แต่คูเปอร์พยายามอย่างเต็มที่เพื่อการใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ และรักษาสิ่งต่างๆ เอาไว้เพื่อลูกของเขา”

ในบ้านไร่ที่รายล้อมไปด้วยข้าวโพดหลายเอเคอร์ คูเปอร์เลี้ยงลูกของเขาโดยมี โดนัลด์ พ่อตาของเขาช่วยดูแล รับบทโดยจอห์น ลิธโกว์ “ครอบครัวนี้เติบโตมากับฟาร์มหลายยุคสมัย และโดนัลด์เองก็เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลกมาหลายครั้ง” ลิธโกว์กล่าว “ความเสียหายทำให้โลกมีความสงบสุขขึ้น ปรากฏการณ์ทำให้โลกใบนี้เงียบสงบลง กลับสู่พื้นฐานมากขึ้น และเขามองเห็นความเงียบสงบจากเหตุการณ์นั้น สิ่งที่ผมชอบมากในเรื่องคือมีการแสดงให้เห็นถึงความกลัวของเราที่อยู่ลึกๆ แต่ก็มีการมองโลกแง่ดีอยู่ เป็นเรื่องราวของมนุษย์ที่ไม่ได้คิดแต่เรื่องการเอาตัวรอดเท่านั้น แต่รวมถึงการหาทางเอาชนะด้วย”

ทอม ลูกชายวัยรุ่นของคูเปอร์ที่รับบทโดย ไทโมธี ชาลาเม็ต รู้สึกรักไร่ไม่ต่างจากคุณตาของเขาและหาทางช่วยพ่อรักษาไร่เอาไว้ ชาลาเม็ตเล่าถึงช่วงก่อนมีการถ่ายทำว่าแม็คคอนอเฮย์ช่วยสร้างมิตรภาพบนหน้าจอระหว่างพวกเขาขึ้นมา “แมทธิวถามผมว่า ‘รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับการใส่ปุ๋ยและการเลือกใช้ยาฆ่าแมลงแบบไหนฉีดพ่นไร่ข้าวโพดบ้าง?’” ชาลาเม็ตเล่าให้ฟัง “คืนนั้นผมศึกษาทุกสิ่งเพื่อให้แน่ใจว่าจะตอบคำถามเหล่านั้นได้ในวันถัดมา แต่ประสบการณ์นั้นกับแมทธิวได้บอกผมหลายอย่างถึงมิตรภาพระหว่างทอมกับพ่อของเขา คูเปอร์อยากแน่ใจว่าเขาจะรับมือกับสิ่งต่างๆ ได้ และทอมก็อยากพิสูจน์ให้เห็นว่าเขาทำได้”

เมิร์ฟ ลูกสาวของคูเปอร์รับบทโดยแม็คเคนซี่ ฟอย ดูแลพ่อของเธอได้อย่างที่ทอมทำไม่ได้ “เมิร์ฟชอบพวกจรวดและอวกาศมากครับ แม้ว่าจะไม่มีใครพูดถึงสิ่งเหล่านั้นเลยก็ตาม” ฟอยกล่าว   “เธออาจรู้สึกโดดเดี่ยวบนโลกใบนี้ แต่พ่อของเธอสนับสนุนให้เป็นคนอยากรู้อยากเห็น ซึ่งนั่นทำให้เธอมีความมั่นใจที่จะกลายเป็นคนกล้าหาญ”

เอ็มม่า โธมัส เล่าว่า “คูเปอร์รักลูกทั้งสองคนมาก แต่การสร้างความผูกพันกับเมิร์ฟขึ้นมาเป็นพิเศษก็ทำให้พวกเขาแตกต่างกัน”

ที่ตั้งบังเกอร์ใต้ดินที่ซ่อนเอาไว้ มีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่มีความคาดหวังอันสูงกว่าพื้นดินที่ปกคลุม และไม่รีรอที่จะช่วยมนุษยชาติ โดยเดิมพันชีวิตของพวกเขาบนพื้นฐานว่ามีสถานที่แห่งหนึ่งในจักรวาลที่เหมาะสม โครงการที่จุดประกายจากปรากฏการณ์ลึกลับของดาวเสาร์ รูหนอนที่สร้างมิติที่สูงกว่าอวกาศและเวลาสู่กาแล็กซี่ที่ต้องใช้เวลาชั่วอายุคนเพื่อไปให้ถึง และเพื่อให้เราพิชิตการเดินทางได้ คนกลุ่มนี้ได้เก็บเกี่ยวเทคโนโลยีที่ดีที่สุดจากสิ่งที่หลงเหลือในโครงการอวกาศ เพื่อสร้างยานอวกาศ 3 ลำของภารกิจครั้งนี้ ได้แก่ ยาน Ranger ยานบรรทุกขนาดหนัก Lander ยานแม่ Endurance ที่คอยอยู่ในวงโคจรของโลกใบนี้

ภารกิจยังขาดสิ่งหนึ่งคือนักบินผู้ชำนาญ แม็คคอนอเฮย์เล่าว่า “ตอนนั้นความฝันที่คูเปอร์ตามล่ามาทั้งชีวิตก็มาเคาะประตูบ้านเขา มันไม่ใช่แค่โอกาสที่จะได้เป็นนักบินอีกครั้ง แต่เป็นโอกาสที่จะได้นำภารกิจครั้งยิ่งใหญ่สุดอีกด้วย ซึ่งผลที่ตามมากับโอกาสนั้นคือเขาต้องทิ้งลูกทั้งสองคนไป และไม่มีใครตอบเขาได้ว่าต้องไปนานแค่ไหน”

INTERSTELLAR “ถึงแม้พวกเขาจะเป็นนักแสดงที่อายุน้อย ผมรู้สึกทึ่งกับการแสดงอารมณ์ของไทโมธีและแม็คเคนซี่ที่สามารถถ่ายทอดการแสดงเหล่านี้ออกมาได้” โธมัสกล่าวด้วยความชื่นชม “วินาทีที่คูเปอร์ต้องบอกลาเมิร์ฟเป็นช่วงที่บีบหัวใจมาก เพราะเธอไม่เชื่อว่าเขาจะกลับมา และแม็คเคนซี่ก็ทำให้ทุกคนต้องใจสลาย”

แต่คูเปอร์ไม่ใช่พ่อเพียงคนเดียวที่ต้องยอมเสียสละ ภารกิจนี้คิดขึ้นมาโดยศาสตราจารย์แบรนด์ที่รับบทโดยไมเคิล เคน เขามีลูกสาวชื่ออมีเลียที่จะรวมอยู่ในทีมเล็กๆ นี้ด้วย “ภาระของแบรนด์ยิ่งใหญ่มากเพราะเขากำลังส่งลูกสาวตัวเองออกไปพบกับสิ่งที่ไม่มีใครรู้ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ไม่มีใครรู้ว่าที่นั่นมีอะไร และถ้าเกิดอะไรผิดพลาดนั่นก็เป็นเพราะเขา”

ศาสตราจารย์แบรนด์เป็นตัวละครที่ 6 ของเคนในหนังของโนแลน และน่าจะเป็นบทที่มีอารมณ์ซับซ้อนที่สุดด้วย  “ไมเคิลคือหนึ่งในสุดยอดนักแสดงหนังแห่งยุคนี้” โนแลนยืนยันว่า “เขาถ่ายทอดเสน่ห์และความโดดเด่นออกมาได้ไม่เป็นสองรองใคร ในกรณีของเรื่อง ‘Interstellar’ ถือว่าน่าตื่นเต้นมากที่จะได้เห็นเขามารับบทที่ผมไม่เคยเห็นเขาแสดงมาก่อนในลำดับแห่งวิชาชีพอันสูงสุด นั่นถือเป็นความแปลกที่จะได้สัมผัส”

ส่วนผู้มารับบทดร.แบรนด์คือแอน แฮทธะเวย์ที่กลับมาร่วมงานกับผู้กำกับฯ หลังจากที่ได้ร่วมงานกันในเรื่อง “The Dark Knight Rises” “แอนมีพรสวรรค์พิเศษโดยที่สามารถอินไปกับบทบาทได้อย่างสมจริง” โนแลนกล่าว “เธอดูเป็นคนมีความคิดและสนใจเรื่องวิทยาศาสตร์ จึงเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นเธอในร่างของแบรนด์ ตัวละครที่มองโลกตามหลักวิทยาศาสตร์ แต่ขณะเดียวกันแอนก็ดูมีความอบอุ่นและการแสดงของเธอที่มีความซับซ้อนได้ถ่ายทอดถึงตัวตนของตัวละครมากกว่าแค่การเป็นนักวิทยาศาสตร์”

แฮทธะเวย์ยอมรับว่าเธอรู้สึกทึ่งกับการส้รางภาพยนตร์เกี่ยวกับอวกาศ แต่เริ่มแรกเธอรู้สึกสนใจในการเดินทางของตัวละครที่มีความตื่นเต้น “คอนเซ็ปต์เบื้องหลังของหนังเรื่องนี้จะทำให้คุณตาสว่างข้ามคืน แต่เนื้อเรื่องยังมีมุมมองที่งดงามของความรักด้วย” เธอกล่าว “ถ้าเรามองมนุษยชาติในแง่ของวิวัฒนาการแล้ว ความรักคือปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งเหมือนกัน และการผสมผสานไอเดียนี้เข้ากับประสบการณ์ในการทำภารกิจของแบรนด์ทำให้ฉันรู้สึกตื่นเต้นและเหมือนมันเกิดขึ้นจริงมากค่ะ ฉันคิดว่ามันเป็นเรื่องที่กล้าหาญ และไม่ธรรมดาเลยที่คริสจะผสมผสานเรื่องราวความรักเข้ากับสาระสำคัญของเรื่องที่เกี่ยวกับการผจญภัยอย่างยิ่ใหญ่ในห้วงอวกาศ”

เดวิด จีอาซี่รับบทโรมิลลี่มนุษย์อวกาศของทีม เขาเห็นด้วยว่า “ตัวละครของผมหายใจเข้าออกเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ แต่หลายๆ อย่างทำให้เขารู้สึกว่าไม่ใช่คนที่สมบูรณ์แบบ เวลาที่เราปฏิบัติภารกิจ เขียนสมการเพื่อพยายามทำความเข้าใจเรื่องจักรวาล มันจะยังเหลืออะไรอีก? สิ่งที่ทำให้ฉันทึ่งคือการผจญภัยครั้งนี้ทำให้เขาเกิดควมสนใจความลึกลับของสิ่งต่างๆ ซึ่งสิ่งที่สัมผัสไม่ได้นำเรามารวมตัวกัน”

สมาชิกคนที่ 4 ของทีมคือดอยล์รับบทโดยเวส เบนต์ลีย์ “ดอยล์ผ่านการฝึกการเป็นนักบินบนยานอวกาศ แต่ฝึกแค่บนเครื่องจำลองเท่านั้น” เบนต์ลีย์กล่าว “แรกเริ่มเขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ เขาได้เบาะใจลงเมื่อคูเปอร์รับภารกิจทำให้เขาโฟกัสไปที่การทำงานจริง แต่อย่างไรแล้วที่เหนือกว่าความสนใจเรื่องวิทยาศาสตร์คือเขาเชื่อมั่นในภารกิจและเชื่อว่าการเป็นผู้นำต้องเอาใจใส่เรื่องความเสี่ยงอย่างพิถีพิถัน แต่นั่นก็เป็นภาระที่เขาต้องตระหนักว่าทุกการตัดสินใจของเขาไม่ได้ส่งผลถึงชีวิตของลูกเรือเท่านั้น แต่รวมถึงชีวิตทุกคนที่อยู่บนโลกด้วย”

การมุ่งหน้าผ่านรูหนอนไชโดยวงล้อขนาดใหญ่ของ Endurance ที่เปรียบเสมือนสมาชิกลูกเรือคนที่ 5 และ 6 หุ่นยนต์กองทัพ 2ตัวมีนามว่า CASE และ TARS ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อเลียนแบบมนุษย์ “ส่วนสำคัญที่พวกเขาถูกโปรแกรมไว้คงเป็น esprit de corps” โจนาธาน โนแลน กล่าว “พวกเขาถูกออกแบบมาเพื่อให้กำลังใจในกลุ่มด้วยมุกตลกหรือการปลุกกระตุ้นความกล้า มีบางอย่างที่สะเทือนใจผมเกี่ยวกับไอเดียนี้ตรงที่เราอาจสร้างทหารกลุ่มนี้ที่รวมด้านดีของเราไว้ และเมื่อพวกเขาไร้ประโยชน์ก็ทำลายพวกเขาเป็นส่วนๆ และรีไซเคิลเป็นผู้บุกเบิก TARS และ CASE เหมือนกับผลผลิตรุ่นสุดท้ายของพวกเขา”

หุ่นยนต์ทั้งสองตัวแสดงในฉากโดยบิล เออร์วินผ่านรอกการควบคุมหุ่นโดยใช้ไฮดรอลิกที่ซับซ้อน บนหน้าจอจะได้ยินเสียงของนักแสดงชายในบท TARS ส่วนจอช สจ๊วตจะให้เสียงของ CASE เมื่อภาพยนตร์เสร็จสิ้น เออร์วินมองว่า CASE มีความรอบคอบมากกว่า TARS ซึ่งเขาค้นพบน้ำเสียงแบบนั้นจากการแสดงของเขากับคูเปอร์ตัวละครของแม็คคอนอเฮย์ “มันมีบางอย่างซ่อนอยู่ คูเปอร์เล่าว่า ‘สำหรับผมคุณมีเสียงเหมือนทหารเก่าเลย’ ทำให้ผมนึกได้ทันทีว่า TARS มีเสียงแบบไหน” เออร์วินกล่าว “ฉะนั้นเขาเลยถูกพัฒนาเป็นนายทหารระดับกลางที่มีเสียงขรึมด้วยมุกตลกแบบทหารเก่า”

การแสดงของพวกเขาได้สร้างความสนุกสนานให้แม็คคอนอเฮย์ “บิลใส่มุกตลกไม่อั้นและสร้างบุคลิกให้ TARS ผมว่ามันเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากครับที่ได้ทำให้บางสิ่งมีบุคลิกดูสมจริงสะท้อนออกมาจากมิตรภาพระหว่างพวกเขา” เขากล่าว   “มีหลายอย่างในตัว TARS ที่คูเปอร์ชอบมาก เขาชอบอวดเก่งแต่ก็ทำภารกิจให้สำเร็จได้ และอีกอย่างเขาคือเพื่อนสนิทของคูเปอร์บยานอวกาศ”

เป้าหมายสู่กาแล็กซี่ของพวกเขาเต็มไปด้วยความหวังแต่ไม่มีอะไรมายืนยันได้ “โลกของเราคือสิ่งล้ำค่ามากและมีคววามพิเศษ ใครจะรู้ได้ว่ายังมีโลกแบบนี้อยู่ที่อื่นหรือเปล่า” โธมัสกล่าว “ที่เห็นได้ชัดคือในขอบเขตของจักรวาล อาจมีสถานที่อื่นที่สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ แต่ไม่มีใครรู้ว่าจะมีความสมบูรณ์เหมือนโลกใบนี้ของเรามั้ย ความเป็นไปได้ที่เราจะไม่เจออะไรเลยคือหนึ่งในความเสี่ยงที่สมาชิกในทีมต้องเผชิญ”

อีกความเสี่ยงหนึ่งคือเรื่องของเวลา “ผมรู้สึกหลงใหลในเรื่องของเวลาเป็นการส่วนตัวมาโดยตลอด” โนแลนกล่าว   “แต่ในกรณีของเรื่อง ‘Interstellar’ เวลาคืออิทธิพลจากภายนอกที่มีบทบาทต่อเรื่องราวมากกว่าความคิดของตัวละครซะอีก เรียกได้ว่าแทบจะเป็นศัตรูของตัวละครเหล่านี้เลย และไม่ใช่ตัวการร้ายเพียงตัวเดียวที่พวกเขาต้องพบเจอด้วย เวลาที่เราต้องผจญภัยอยู่ในเรื่องของมนุษย์ต่อสู้กับสภาพแวดล้อม ความเป็นไปได้ของสิ่งที่คุกคามพวกเขากลายเป็นสิ่งที่แผ่กระจาย”

เจสสิก้า แชสเทน ผู้รับบทผู้ช่วยของศาสตราจารย์แบรนด์เล่าว่า ความกระตือรือร้นของคนที่ตื่นตัวอยากอยู่รอดบนโลกใบนี้กำลังเร่งความจำเป็นของภารกิจการหาทางแก้ของตัวละครเธอ “เธอเป็นคนที่รู้ว่าเวลามีค่าแค่ไหน น่าจะรู้มากกว่าใครด้วยซ้ำ”

การร่วมงานกับคริสโตเฟอร์ โนแลนเป็นครั้งแรก แชสเทนได้พบกับบรรยากาศในฉากที่ชวนประหลาดใจ “นี่เป็นหนังที่ใหญ่สุดเท่าที่ฉันเคยร่วมงานมาเลยค่ะ แต่มีหลายครั้งที่รู้สึกเหมือนเรากำลังเล่นหนังอินดี้กันอยู่” เธอกล่าว “คริสบรรเลงหนังฟอร์มยักษ์ได้อย่างวิเศษ แต่เขาก็สร้างความน่าทึ่งให้เรื่องราวของมนุษย์ได้ด้วย และในระหว่างการถ่ายทำที่ยิ่งใหญ่อลังการนี้เขาให้ความสำคัญกับช่วงเวลาเล็กๆ น้อยๆ กับบรรดานักแสดง เขาเป็นคนที่ฉลาดและพิถีพิถันในการควบคุมของเขา โดยคำพูดของเขาเพียงไม่กี่คำสามารถพัฒนาการแสดงของเราได้”

คาซีย์ เอ็ฟเฟล็คเห็นด้วยและเล่าว่าผู้สร้างฯ ทำให้เขารู้สึกผ่อนคลายขึ้นมาทันที “คริสสร้างบรรยากาศสบายๆ ขึ้นมาในฉาก และผมคิดว่านั่นคือบรรยากาศที่เขากับเอ็มม่าพบในหนังทุกเรื่องของพวกเขาด้วย” เขากล่าว “เมื่อไหร่ก็ตามที่คนเราทำอะไรที่ดูง่ายๆ นั่นเป็นเพราะพวกเขาถนัดในสิ่งที่ทำเป็นอย่างดี”

คิป ธอร์นก็ใช้เวลาร่วมกับทีมนักแสดงเพื่อช่วยสรุปความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับการแสดงในหนัง เอ็มม่า โธมัสเล่าว่า “คิปเป็นครูที่เก่งมากค่ะ เพราะเขาใช้เวลานานกับทีมนักแสดงเรา พวกเขาสร้างผลงานที่น่าทึ่งของวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานในแบบที่มนุษย์ทั่วไปเข้าใจได้ ฉะนั้นคุณจะอินไปกับหนังได้ทั้งเรื่องเลยค่ะ”

พวกเขายังได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลที่มีตัวตนจริงคือ มาร์ชา ไอวินส์ มนุษย์อวกาศสหรัฐฯ ที่มาเยี่ยมในฉากระหว่างการถ่ายทำ โธมัสเล่าว่า “มาร์ชา ไอวินส์เป็นมนุษย์อวกาศที่ผ่านประสบการณ์มามากครับ เธอเคยขึ้นไปในห้วงอวกาศแล้วหลายครั้ง เธอคือแรงบันดาลใจและยินดีถ่ายทอดความรู้ให้พวกเรา คริสกับผมมีโอกาสได้ขอคำปรึกษาจากเธอ และเธอก็พูดคุยกับนักแสดงอยู่นาน การมาเยือนของเธอช่วยให้เราเห็นภาพความสมจริงของฉากในหนังที่เป็นห้วงอวกาศขึ้นมาเลยครับ”

 

 

เริ่มการเดินทาง

เราต้องหาทางออกให้ได้ มันมีทางออกเสมอ

—คูเปอร์

 คริสโตเฟอร์ โนแลนเลือกที่จะถ่ายหนังบนฟิล์มแทนการใช้ดิจิตอลจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของหนังเขา กลุ่มผู้ร่วมงานที่ใกล้ชิดของเขามีหลายคนที่ร่วมงานเคียงข้างกับผู้กำกับฯ มานานเกือบ 10 ปีได้มาถึงจุดแห่งการรับรู้วิสัยทัศน์ของเขาที่มองผ่านวิศวกรรมล้ำสมัย เพื่อจับภาพการแสดงในกล้องให้ได้มากที่สุด ความอลังการและภาพที่นำมาใช้เล่าเรื่องอย่างที่เขานึกภาพไว้สำหรับ “Interstellar” ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมทำสุดความสามารถของพวกเขา

INTERSTELLAR “เราให้ความสนใจกับจินตนาการที่เราจะสร้างขึ้นมาได้เสมอ แต่สิ่งที่ผมอยากให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในหนังได้ร่วมด้วยคือพลังแห่งจินตนาการในหนังเรื่องนี้ต้องยิ่งใหญ่กว่าที่เคยสร้างมาในหนังเรื่องก่อนๆ  ฉะนั้นผู้ชมจะได้รับอิทธิพลไปเต็มๆ ไม่ใช่แค่จากการแสดงของตัวละครเพียงอย่างเดียว” โนแลนอธิบาย “ตั้งแต่มุมมองด้านเทคนิคที่นำพาให้เรารักการผจญภัยมากขึ้นด้วย”

ในช่วงที่กล้องไม่ได้ถ่ายทำฉากอวกาศนานหลายเดือน ผู้สร้างฯ ได้เริ่มจากการร่วมงานกับคิป ธอร์นและผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์พอล แฟรงค์ลินเป็นพิเศษ เพื่อหาความเที่ยงแท้แห่งจักรวาลที่ไร้ขอบเขต ซึ่งเชื่อมโยงกับตัวละครในเรื่องนี้  ธอร์นเดินทางไปที่ลอนดอนเพื่อพบกับทีมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ที่ Double Negative และร่วมงานกับผู้ออกแบบเอ็ฟเฟ็กต์ของบริษัทและนักพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างสิ่งต่างๆ ให้มีความสมจริงตามหลักวิทยาศาสตร์อย่างที่เข้าใจในทุกวันนี้มากที่สุด “การร่วมงานกับคิปถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์มากครับ เพราะเขาคือหนึ่งในนักฟิสิกส์ผู้ปราดเปรื่องที่สุดในยุคศตวรรษที่ 20 แต่เขามีความสร้างสรรค์และมีความเป็นศิลปินอยู่ในตัวด้วย_ด้วด” แฟรงค์ลินกล่าว “เขาเยินดีร่วมงานกับเราโดยใช้หลักการและไอเดียพิเศษต่างๆ เหล่านี้เพื่อถ่ายทอดเรื่องราว เราอยากให้ทุกคนได้ร่วมประสบการณ์และเขาก็พร้อมสละทั้งเลาและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรูหนอนไชและหลุมดำ”

การใช้สูตรของธอร์นที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทำโดยทฤษฎีถ่ายทำแบบแรงโน้มถ่วง หรือผลลัพธ์ที่แรงโน้มถ่วงมีต่อแสง รอบหลุมดำและการเดินทางผ่านรูหนอนไช แฟรงค์ลินและทีมงานของเขาที่ Double Negative สามารถสร้างวัตถุลึกลับขึ้นมาได้ที่ความละเอียดสูงและถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์กว่าที่เคยสร้างในครั้งก่อน สำหรับธอร์นแล้วการได้เฝ้าสังเกตุดูรูปร่างทำให้เขาได้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ “ผมพูดได้แค่เราได้เห็นสิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกประหลาดใจ” ธอร์นเล่าด้วยความทึ่ง “เราได้เรียนรู้สิ่งแปลกๆ เกี่ยวกับลักษณะของหลุมดำและรูหนอนไชจากขั้นตอนการสร้างหนังเรื่องนี้”

“เราคิดว่าอาจต้องปรับเปลี่ยนไปจากความถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจวัตถุเหล่านี้ได้ แต่ผลที่ได้รับจากการคาดการณ์ของคิปทำให้เราตื่นเต้นมากเป็นพิเศษ” โนแลนกล่าว “โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากเลนส์แรงโน้มถ่วงแปลกประหลาดรอบหลุมดำ มันมีความผิดปกติที่เกิดขึ้นแทรกขึ้นมา รูปร่างของมันจะเปลี่ยนไปเมื่อเรามองมันจากมุมที่มีความแตกต่างกันหรือระยะทางที่ต่างกันไป”

Double Negative ได้พัฒนาความสมจริงของห้วงอวกาศโดยได้แรงบันดาใจมาจากการถ่ายภาพดวงดาวและอวกาศจากห้องเก็บเอกสารของ UK’s Royal Observatory และภาพวาดที่มีรายละเอียดสูงจาก Hubble Space Telescope พวกเขาได้ขุดค้นฐานข้อมูลของนาซ่า 2.5 ล้านดวงที่สะท้อนถึงจักรวาลที่ปกคลุมพื้นผิวดาวในภาพยนตร์

ขณะที่ความสมจริงของจักรวาลมีการสร้างขึ้นมาโดยอาศัย CGI โนแลนได้รวบรวมหัวหน้าแผนกคนสำคัญของเขามาเริ่มร่างพื้นฐานเตรียมความพร้อมให้หนัง “บางสิ่งเราสร้างขึ้นมาได้โดยวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์เท่านั้น” เขากล่าว “แต่ก็ยังมีเทคนิคอีกหลายอย่างที่เราต้องใช้เพื่อจูงใจผู้ชมว่าสิ่งที่เห็นคือเรื่องจริง”

สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “Interstellar” โนแลนต้องการผสมผสานทั้งความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและความรวดเร็วของการถ่ายหนังด้วยสไตล์แบบภาพยนตร์สารคดี โดยมีความงดงามและรายละเอียดที่เขารู้สึกว่าเกิดขึ้นได้ใน large-format IMAX film เท่านั้น ซึ่งนั่นผลักดันให้ทั้งผู้กำกับฯ และตากล้องฮอยต์ แวน ฮอยทีมาต้องหาวิธีการใช้กล้องแบบใหม่ “พวกเรารู้เสมอมาว่าเราต้องการภาพทิวทัศน์ด้านนอกที่มีความยิ่งใหญ่ ภาพแรกของหลุมดำหรือรูหนอนไชของเราถ่ายทำในระบบ IMAX” ผู้กำกับฯ กล่าว “เราไม่คิดว่าจะนำกล้อง IMAX มาใช้กับที่แคบๆ หรือบรรยากาศที่คุ้นเคย เพราะกล้องมีขนาดใหญ่และหนักมาก แต่ฮอยต์ยืนยันที่จะแบกกล้องไว้บนบ่าของเขาโดยไม่สนว่าจะหนักขนาดไหน ผมไม่รู้ว่าเขาทำได้ยังไง แต่มันทำให้เราใช้กล้อง IMAX ได้อย่างเป็นอิสระมากกว่าที่เราคิดไว้ในตอนแรก”

INTERSTELLARสำหรับแวน ฮอยทีมา เทคนิคนี้ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติจากความรู้สึกต่างๆ ที่เขาสัมผัสได้ในบทภาพยนตร์ “หนังเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยวิชวลเยอะมาก แต่ก็มีจิตวิญญาณมากด้วยเช่นกัน และนั่นคือสิ่งที่เราต้องรักษามันเอาไว้” ตากล้องกล่าว “เราอยากหาทางใช้กล้อง IMAX เหมือนกล้อง Go-Pro ที่หนักที่สุดในโลก แต่ในการพลิกเทคโนโลยีก็ต้องอาศัยการทดลองอยู่บ้าง ซึ่งวิธีนี้เราจะมีอิสระและเป็นธรรมชาติของช่วงที่ถ่ายโคลสอัพและพูดคุยกัน แต่มีความละเอียดตามระบบ  IMAX คริสเป็นคนชอบเปิดรับและกล้ามากเมื่อต้องยอมให้องค์ประกอบสุดมหัศจรรย์ที่คืบคลานเข้ามา เพราะมันจะช่วยเพิ่มความมีชีวิตชีวาและความสมจริงให้กับภาพได้”

ระหว่างที่กำลังร่างบทภาพยนตร์ขึ้นมา  โนแลนและนาธาน โครว์ลีย์ ผู้ออกแบบฉากที่ร่วมงานกันมานานได้เริ่มวางแผนผังทิวทัศน์ของอนาคตอันใกล้ใน “Interstellar” ที่โรงรถ/ออฟฟิศ/ห้องปฏิบัติการของผู้สร้างฯ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่งในหนังของโนแลน “คริสมีความหลงใหลเรื่องการออกแบบมากครับ” โครว์ลีย์กล่าว “สำหรับเราแล้วมันเหมือนการผจญภัยตลอดเวลา และการผจญภัยในเรื่อง ‘Interstellar’  ก็เข้มข้นเป็นพิเศษด้วย”

ตั้งแต่การออกแบบในช่วงแรกสุดจนถึงการผสมผสานขั้นตอนสุดท้าย ผู้กำกับฯ และทีมงานได้ค้นหาวิธีใหม่ๆ เพื่อทำให้ผู้ชมอินไปกับแผ่นดินที่ปกคลุมด้วยฝุ่นของดาวดวงนี้ ห้วงอวกาศที่กว้างใหญ่ไพศาล และภูมิประเทศของโลกอื่นที่ดูแปลกตา 

 

ภูมิศาสตร์ของ “INTERSTELLAR”

เราต้องเผชิญหน้ากับความจริงที่ว่า ไม่มีสิ่งใดในระบบสุริยะจะช่วยเราได้

—ศาสตราจารย์แบรนด์

บ้านไร่

ก่อนจะออกไปเยือนดาวต่างๆ ภาพยนตร์เรื่อง “Interstellar” เปิดฉากบนภาคพื้นดินที่มีความสมบูรณ์ใจกลางของอเมริกา ซึ่งที่นั่นมีชาวไร่กลุ่มเล็กๆ ปลูกทำไร่ข้าวโพดกันเป็นวงกว้าง ซึ่งนี่คือกุญแจสำคัญสำหรับการตระเวนหาบ้านไร่ที่คูเปอร์อาศัยอยู่กับลูกๆ และพ่อตาของเขา เป็นการตามหาที่พาผู้สร้างฯ สู่บริเวณ Okotoks ทางตอนใต้ของแคลการีในอัลเบอร์ต้าประเทศแคนาดา”

“เราอยากได้ภาพบรรยากาศที่ดูสมจริง มีการปลูกข้าวโพดในที่ๆ ไม่น่าปลูกได้ และแคลการีก็เข้ากับไอเดียนั้นเลย” โนแลนกล่าว “ที่นั่นเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ เนินที่เรียบซึ่งนำไปสู่ Canadian Rockies”

โนแลนต้องการให้วิชวลในหนังมีรายละเอียดที่สมจริง โดยไม่มีการถ่ายทำบ้านไร่ ไร่ข้าวโพด ภูเขาแยกกันแล้วค่อยใช้ดิจิตอลรวมภาพ เขาอยากให้ได้ความรู้สึกของสถานที่จริง ซึ่งแปลว่าต้องเริ่มจากพื้นที่โล่งของแผ่นดินที่น่าจะเป็นไปได้ และเสริมสร้างจากสิ่งที่ไม่มีอะไรเลย

ความพยายามครั้งใหญ่ทำให้เกิดทีมงานสร้างที่ต้องแข่งกับเวลา ซึ่งนั่นคือการรวบรวมสถานที่ต่างๆ เข้าด้วยกัน จากนั้นกำหนดเวลาการถ่ายทำในช่วง 4 เดือนไปจนถึงเตรียมความพร้อมของกล้องในแต่ละฉาก “เราถ่ายหนังเรื่องนี้จากฉากจริง ฉะนั้นช่วงเวลาหลายเดือนที่ถ่ายทำมันน่าทึ่งมากค่ะ บอกได้แค่นั้นจริงๆ” เอ็มม่า โธมัสเล่าถึงช่วงนั้นด้วยเสียงหัวเราะ “อุปสรรคสำคัญที่แคนาดาคือเราต้องปลูกข้าวโพดขึ้นในบริเวณที่ปกติข้าวโพดจะไม่ขึ้นกัน ด้วยเหตุผลที่ดีอย่างที่เห็นค่ะ เราเลยมีอะไรหลายอย่างต้องทำในช่วงที่มีเวลาเตรียมตัวเพียงนิดเดียว ข่าวดีของเราคือข้าวโพดในหนังไม่จำเป็นต้องดูเจริญงอกงามมากนัก เพราะไอเดียโดยรวมคือตอนนั้นโลกไม่ค่อยสมบูรณ์สักเท่าไหร่”

INTERSTELLARนอกจากความตื่นเต้นของการหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับสภาพอากาศ แผนการเจริญเติบโต และมีการพูดคุยกับกรมวิชาการเกษตรที่แคนาดา ผู้สร้างภาพยนตร์และผู้ออกแบบฉากนาธาน โครว์ลีย์ ได้ขึ้นเครื่องบินไปที่แคลการีและขับรถไปที่เมือง Longview เพื่อพบกับเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ริค เซียร์ส เจ้าของไร่ที่ตรงตามความต้องการ “เรามาถึงพื้นที่ที่เหมือนคลื่นที่ตั้งอยู่บนที่ราบ และห่างจากนั้นไปอีกก็เป็นภูเขา” โครว์ลีย์เล่าว่า “มันน่าทึ่งมากครับ”

และด้วยเหตุนั้นโนแลนกับทีมงานจึงพบว่าพวกเขากำลังอยู่ในธุรกิจด้านข้าวโพด ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากเจ้าของฟาร์มมาสร้างถนนบนโลเคชั่นและหว่านเมล็ดพันธุ์บนพื้นที่ 500 เอเคอร์ กองถ่ายมีเวลาเพียง 6 เดือนเพื่อทำการปลูกจนมันโตเต็มที่ ในช่วงนั้นต้องเผชิญหน้ากับอากาศที่หนาวเย็นและความเสียหายจากน้ำท่วมที่ผ่านแคลการี แต่ในที่สุดช่วงอาทิตย์สุดท้ายก็มีแดดออก ต้นข้าวโพดสูงขึ้นอีกหลายฟุตทันจังหวะที่กองถ่ายหลักเดินทางมาถึงเพื่อถ่ายทำ ภาพโดยรวมที่ออกมาคือเหมือนมีการปลูกต้นข้าวโพดที่นั่นไว้ตลอดอยู่แล้ว

โนแลนนึกภาพบ้านไร่ของครอบครัวคูเปอร์แบบร่วมสมัยแต่ไม่ฉูดฉาด มีโครงสร้างที่ดูมีความเป็นอมตะซึ่งได้แรงดลใจมาจากการทาสีของแอนดรูว์ ไวแอธ “คูเปอร์เหมือนคนหลงยุค” โครว์ลีย์อธิบายว่า  “เขามาจากอดีตและใช้ชีวิตอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยภาษาภาพทางเทคนิค  ฉะนั้นการสร้างโครงสร้างที่ดูฉูดฉาดจึงไม่ใช่ตัวเลือกเลย มันต้องดูเรียบง่ายแบบตัวเขา”

โครว์ลีย์ได้ออกแบบบ้านให้ดูเหมือนครอบครัวอาศัยอยู่ที่นี่มานานหลายยุคสมัยแล้ว จากนั้นได้ขอความช่วยเหลือจากแผนกศิลป์ของเขาให้สร้างบ้านที่มีความงดงามและถูกต้องตามโครงสร้างของบ้านจริง ยกเว้นการต่อท่อประปา เนื่องจากสถานที่นี้เป็นโลเคชั่นแรกในการถ่ายทำ จึงต้องแข่งกับเวลาเพื่อทำภารกิจให้เสร็จสิ้นในเวลา 10 อาทิตย์ โครว์ลีย์เล่าว่า  “ต้นข้าวโพดโตขึ้นแล้วเลยไม่มีทางเลือกอื่น”

เนื่องจากที่บ้านไร่ต้องมีการสื่อออกมาทั้งภายในและภายนอก โครว์ลีย์ต้องร่วมมือกับแวน ฮอยทีมาด้านเลย์เอาท์ เพื่อเน้นย้ำถึเรื่องราวละเอียด แสงธรรมชาติ และบรรยากาศที่สมจริง “สำหรับคูเปอร์แล้วที่บ้านไร่มีความทรงจำมากมาย และสำหรับเรามันคือตัวช่วยให้เข้าใจเขาด้วย” แวน ฮอยทีมาเล่าว่า “เราเลยอยากสะท้อนออกมาในแบบที่สัมผัสได้ ให้มันมีความคุ้นเคยและมีรายละเอียด เราไม่ได้ไปที่นั่นเพื่อเก็บภาพบรรยากาศ แต่เราไปเพื่อติดตามคนในพื้นที่ และสิ่งที่งดงามมากในการออกแบบของนาธานคือเราจะรู้สึกว่าฉากของเขาเหมือนสถานที่จริง การออกแบบของนาธานดีมากจนผสมเข้ากับแสงแห่งอัลเบอร์ต้าที่งดงามได้ ในแบบที่สามารถหยิบกล้องขึ้นมาและเริ่มถ่ายทำได้เลยบ่อยๆ”

“บ้านไร่คือตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในเรื่อง” โนแลนกล่าว “มันต้องรู้สึกเหมือนเป็นบ้านของครอบครัวจริงๆ มีประโยชน์และใช้งานได้จริง มีรายละเอียดเรื่องสีสัน โทนสี และรายละเอียดที่ผสมผสานอยู่ในการออกแบบเพื่อความสมจริง แต่มันรู้สึกเหมือนถูกวางไว้ตามความต้องการของพื้นผิวพร้อมด้วยประชาชนที่อยู่ในละแวกนั้นและมีการทำไร่ที่นั่น มันให้ความรู้สึกถึงเรื่องราวในอดีตและที่นั่นเป็นสถานที่ที่น่าอยู่มากครับ”

INTERSTELLAR       แต่ที่ตั้งในชนบทที่ทำให้เราจดจำได้ตลอดเวลาของช่วงที่คูเปอร์และครอบครัวของเขาอาศัยอยู่ ขณะที่การเดินทางบนอวกาศในภาพยนตร์เรื่อง “Interstellar” สะท้อนถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ผู้สร้างฯ ได้มองย้อนกลับไปในยุคที่มีความตกต่ำทางเศรษฐกิ กำลังใจของผู้คนที่ได้รับผลกระทบตอนนั้นได้จุดประกายการเดินทางของหนังคือ Dust Bowl ของอเมริกา  เมื่อไม่นานนี้โนแลนเพิ่งได้ดูซีรี่ส์ทาง PBS ของผู้สร้างภาพยนตร์สารคดีเค็น เบิร์นสเกี่ยวกับหายนะในเชิงนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้นมาที่เลวร้ายสุดในประวัติศาสตร์อเมริกาเหนือ เมื่อมีมูลแห่งการขุดหน้าดินที่กระจายอยู่ทั่วไร่ของประเทศนี้ได้เปลี่ยนทุ่งหญ้าเป็นทะเลทรายขนาดกว้าง จนเกิดพายุดำขนาดยักษ์ที่ทำลายสภาพอากาศทำให้ผู้คนนับล้านซึ่งเป็นคนในพื้นที่เดียวกันขาดอาหาร ฟุตเทจชวนสะเทือนใจของเบิร์นสและบทสัมภาษณ์ของ Dust Bowl ผู้รอดชีวิตและเห็นเหตุการณ์มีผลลัพธ์ที่ส่งผลต่อโนแลนและภาพยนตร์ในที่สุด

“ผมดูภาพยนตร์สารคดีนานกว่า 6 ชั่วโมง ผมอึ้งกับจินตนาการของเค็นที่ถ่ายทอดออกมาได้ยิ่งใหญ่กว่าหนังไซไฟทุกเรื่องที่เราเคยดูมา” ผู้กำกับฯ กล่าว “หนังบางเรื่องมันก็ยากเกินจะเชื่อ มันดูฝันเฟื่องเกินไปสำหรับหนังไซไฟ ในที่สุดเรามีการรวบรวมทุกอย่าง ข้อมูลจริงบางส่วนเข้าไปในภาพยนตร์ เพราะผมอยากตอกย้ำไอเดียว่าเรื่องนี้สามารถเกิดขึ้นจริงได้ มีคนผ่านมันมาแล้วและลูกของพวกเขาก็เคยพบเจอ จนมาบอกเล่าเรื่องราวสุดพิเศษเหล่านี้ในหนังของเค็น”

นอกจากการรวบรวมคำบอกเล่าจากภาพยนตร์สารคดีต้นฉบับแล้ว โนแลนได้รวมหลักฐานคำบอกเล่าจากผู้ที่เคยผ่านเหตุการณ์เข้าไปในเรื่อง “Interstellar” ด้วย ซึ่งเรื่องเหล่านี้ เรานึกถึงเอลเลน เบิร์สตินแห่งตำนาน “ไอเดียที่คริสรวมไว้ในเรื่องราวทำให้ฉันรู้สึกหลงใหลค่ะ” เบอร์สตินเล่าว่า “มีหลายสิ่งให้คิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเรากับโลกใบนี้ เป็นการเล่าเรื่องในยามที่ขาดแคลนอาหารและผู้คนพยายามใช้ชีวิตตามปกติในบรรยากาศที่มีฝุ่นฟุ้งตลอดเวลา”

พายุฝุ่นของ “Interstellar” เกิดขึ้นปกคลุมทั่วขอบฟ้า มีหนอนโผล่ขึ้นมาตามร่องพื้นและปกคลุมไปทั่วโลกของคูเปอร์ โนแลนรู้ว่าเขาไม่มีทางได้สภาพฝุ่นผงที่ปกคลุมทั่วโดยใช้ CGI เขาเลยขอความคิดเห็นจากผู้ควบคุมด้านสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ สก็อตต์ ฟิสเชอร์ จนได้คำตอบว่า C-90 สารไร้มลพิษเกิดขึ้นจากแผ่นกระดานที่ต่อจากพื้นดินขึ้นมา ซึ่งปลอดภัยต่อการนำมาใช้บรรจุอาหารและมีน้ำหนักเบาพอที่จะนำมาลอยเป็นเอ็ฟเฟ็กต์อย่างที่โนแลนตามหา

“สำหรับคริสแล้วทุกสิ่งต้องดูสมจริงและมีความชัดเจน” โจนาธาน โนแลน เล่าว่า “ฉะนั้นถ้าเราพบว่าตัวเองกำลังยืนอยู่ในไร่ข้าวโพดจำลองขนาดยักษ์ ข้างบ้านไร่จำลองท่ามกลางพายุฝุ่นที่สร้างขึ้นมา เรารู้ได้เลยว่ากำลังอยู่ในหนังของคริส โนแลน”

ฝุ่นผงยังสร้างเอ็ฟเฟ็กต์ที่น่าตื่นเต้นทั้งในแง่ของลักษณะและระดับแสงไฟ ซึ่งทำให้ผู้สร้างฯ นึกภาพเหมือนพวกเขาอยู่ในภาพยนตร์สารคดีของเบิร์นส “เราตั้งใจถ่ายทอดให้เห็นว่ามันต้องรู้สึกอย่างไรสำหรับการรับมือกับกำแพงแห่งความมืดที่ปกคลุมทั่วไร่และผู้คน” แวน ฮอยทีมากล่าว

การที่ฟิสเชอร์ใช้พัดลมขนาดยักษ์เพื่อให้บรรยากาศปกคลุมไปด้วย C-90 จึงต้องมีการป้องกันกล้อง IMAX ด้วยพลาสติกที่สร้างขึ้นมาเป็นพิเศษ และนักแสดงพบว่าตัวเองถูก วัสดุหนาปกคลุมหลังจากที่อยู่ในฉากแต่ละวัน คาซีย์ เอ็ฟเฟ็กต์ เล่าว่า “เราอ้าปากจะพูดแล้วทันใดนั้นก็มีแต่ฝุ่นเข้ามา แต่เรามีคริสเป็นผู้นำที่กล้าหาญของเรา เขาเดินไปรอบๆ โดยไม่สวมหน้ากากหรือแว่นตา พร้อมทรงผมของเขาที่ดูดีสุดๆ ผมเลยไม่อยากบ่นเรื่องฝุ่นมากเท่าไหร่” เขายิ้ม

ไร่ข้าวโพดมีบทบาทที่มีอานุภาพมากกว่าฝุ่น ซึ่งมีผลต่อรถปิคอัพของคูเปอร์ที่วิ่งผ่านทุ่งหญ้าในการไล่ล่า drone ที่สร้างขึ้นโดยอินเดีย drone ออกแบบขึ้นมาโดยโครว์ลีย์ จากนั้นนำมาสร้างขนาดเท่าของจริงซึ่งไม่สามารถบินได้ และ drone แบบบังคับวิทยุที่มีขนาด 1/3 มีปีกขนาด 15 ฟุตที่ใช้งานได้ ซึ่งจะถูกควบคุมโดยนักบินบังคับวิทยุผู้ชำนาญ แลร์รี่ จอลลี่

รถบรรทุกของคูเปอร์ที่ไล่ล่ายี่ห้อ Dodge คันใหม่ปี 2014  ที่ทำให้ดูเก่าเหมือนเขาเก็บมานานหลายปีโดยแผนกศิลป์ รถบรรทุกทำหน้าที่เป็นหัวใจของฉากที่ตื่นเต้น และโนแลนต้องการให้กล้อง IMAX จับภาพนักแสดงใกล้ๆ เหมือนรถบรรทุกขับผ่านต้นข้าวโพดสูงๆ ด้วยความเร็ว 70 ไมล์ต่อชั่วโมง

ฟิสเชอร์ แวน ฮอยทีมา และผู้ควบคุมสตั๊นท์ จอร์จ คอทเทิล มาช่วยกันระดมความคิดว่าจะขับรถไล่ล่าอย่างปลอดภัยและถ่ายทอดภาพทั้งหมดผ่านกล้องด้วยพลังอย่างที่โนแลนต้องการอย่างไรดี คอทเทิลเล่าให้ฟังว่า “คริสอยากให้บรรดานักแสดงที่ไม่ใช่นักแสดงผาดโผนในการขับรถบรรทุกของเขาที่กำลังไล่ล่า drone เรารู้เลยว่าฉากไล่ล่าไม่ง่ายแน่ เพราะมีอุปสรรคเรื่องการมองผ่านต้นข้าวโพดที่มีขนาดสูง”

แทนที่จะพ่วงรถบรรทุกกับรถกล้อง ทีมงานได้อาศัยระบบรอกตั้งกล้องเคลื่อนไหวได้บนหลังคารถบรรทุก เมื่อนักขับผาดโผนบังคับเครื่องยนต์ก็จะทำให้แม็คคอนอเฮย์ควบคุมรถได้ ชาลาเม็ตและฟอยอยู่ข้างๆ เขา ส่วนกล้องจะอยู่ทุกแห่งที่โนแลนต้องการ คอทเทิลเล่าว่า “ด้วยระบบรอกตั้งกล้อง นักแสดงที่อยู่ในรถต้องฝ่าดงข้าวโพด แต่คนขับจะควบคุมรถจากหลังคาและเห็นภาพชัดเจน ฉะนั้นมันปลอดภัยแน่นอน 100% และเป็นการถ่ายฉากไล่ล่าอย่างที่เราต้องการได้อย่างน่าทึ่ง”

ระหว่างที่คูเปอร์มุ่งมั่นกับการไล่ล่า drone เพื่อแปลงเครื่องยนต์ให้เหมาะกับการใช้งานในฟาร์ม ช่วงที่เขาเห็นมันพุ่งขึ้นผ่านท้องฟ้า เป็นครั้งแรกที่กล้องทะยานขึ้นไปเป็นภาษาภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงก้าวสู่โลกของคูเปอร์

 

 

การควบคุมภาคพื้นดิน

การออกแบบชุดมนุษย์อวกาศที่คูเปอร์และทีมมนุษย์อวกาศต้องสวมใส่เพื่อเดินทางสู่ห้วงอวกาศอิงมาจากชุดจริง “เราไม่อยากให้เบี่ยงเบนจากความจริงที่จำเป็นตามสภาพนอกอวกาศมากนัก” โนแลนกล่าว “เราเลยพยายามคงสภาพมนุษย์อวกาศแบบศตวรรษที่ 20 เอาไว้ เพราะเราอยากลงลึกถึงประวัติศาสตร์ช่วงนั้น เราอยากให้ดูเหมือนมนุษย์อวกาศที่มีความคลาสสิค ไม่ใช่เหมือนมนุษย์อวกาศในอนาคต”

“คริสมีสายตาที่แหลมคมและพิถีพิถันในสิ่งที่เขามองหา แต่เรามีเวลาเพียง 12 อาทิตย์สำหรับการร่างแบบจนถึงสร้างชุดขึ้นมา ฉะนั้นตลอดเวลาจึงมีแต่ความรีบเร่ง” แมรี่ โซเฟียร์ส ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายกล่าว “เราผลิตชุดทั้งหมดขึ้นมาจากภาพร่าง และแทบทุกวันเราจะมีรายละเอียดใหม่ๆ มาให้คริสดู ฉันเคยผลิตชุดพิเศษมาบ้างนะคะ แต่ครั้งนี้เป็นประสบการณ์ใหม่ในการออกแบบเลย”

INTERSTELLARโซเฟียร์สมุ่งมั่นตั้งใจศึกษาเรื่องพัฒนาการของอุปกรณ์มนุษย์อวกาศตั้งแต่ปี 1960 ถึงปัจจุบัน จากชุดสีเงินของ โครงการ Mercury มาสู่ชุดมนุษย์อวกาศพองๆ ที่มนุษย์อวกาศยานอพอลโล่ที่ไปเหยียบดวงจันทร์ แต่ลงเอยที่การผสมผสานส่วนประกอบทั้งหมดเข้าด้วยกัน “เทคโนโลยีก้าวล้ำมากขึ้น แต่ความงดงามไม่เปลี่ยนไปมากนัก” เธอกล่าว “ฉันอยากอัพเดทชุดนิดหน่อย ทำให้ชุดเย็นลงอีกนิดแต่ขณะเดียวกันก็คงความคลาสสิคของชุดไว้”

โซเฟียร์สยังใช้แรงบันดาลใจจากโลกใบนั้นกับองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้ความพยายาม ซึ่งต้องออกแบบให้เข้ากับโครงสร้างของชุด เช่น ระบบออกซิเจน ถุงมือพิเศษ แม้แต่ยานอวกาศที่มีเป็นท่อน ซึ่งออกแบบโดยการจำลองขึ้นมาแบบ 3 มิติและร่วมมืออย่างพิถีพิถันกับแผนกศิลป์และสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ ต่อมาโซเฟียร์สและทีมงานของเธอได้ผสมผสานองค์ประกอบเข้ากับชิ้นส่วนของชุดที่มีความอ่อนนุ่มในรูปลักษณ์ที่สามารถใช้สอยงานได้ “ไม่มีส่วนใดบนชุดมีไว้เพื่อประดับตกแต่ง ทุกอย่างมีไว้ตามจุดประสงค์” เธอกล่าว

ซึ่งนี่ทำให้มีความยุ่งยากขึ้นไปอีกขั้น เพราะทุกสิ่งทุกอย่างโดยเฉพาะชุดออกซิเจนต้องใช้งานได้ “นักแสดงต้องสวมชุดมนุษย์อวกาศในหนังมากกว่าครึ่งเรื่อง ฉะนั้นต้องมีการสวมหมวกเอาไว้ มันต้องใช้งานได้จริงไม่งั้นพวกเขาก็จะหายใจไม่ออก” เธออธิบาย เพราะชุดมนุษย์อวกาศไม่ได้ผลิตขึ้นแบบธรรมดา โซเฟียร์สก่อตั้งบริษัทชื่อ SPCS ที่สามารถใช้สอยอุปกรณ์ที่ถูกผ้าคลุมไว้ด้วยเครื่องจักรได้

โซเฟียร์สร่วมงานกับผู้กำกับฯ อย่างใกล้ชิดเพื่อออกแบบหมวกของทีมบนพื้นฐานของโครงการ Gemini ที่ออกแบบวงแหวนและลูกปืน ในช่วงเวลา 4 เดือนที่ออกแบบจนเสร็จและทำให้หมวกดูเก่า มีการพัฒนาระบบการทำงานของเสียงให้พวกเขาติดต่อสื่อสารกันสะดวกขึ้นระหว่างนักแสดงกับผู้กำกับฯ และระหว่างนักแสดงช่วงทำการแสดง ซึ่งสุดท้ายจะนำมารวมกันในช่วงมิกซ์เสียงขั้นสุดท้ายของหนัง

สำหรับเครื่องแต่งก็มีน้ำหนักมากอยู่แล้ว โซเฟียร์สยังต้องเพิ่มระบบทำความเย็นด้วยท่ออิสระของน้ำเย็นที่ป้องกันนักแสดงร้อนเกินไป ผู้ควบคุมเครื่องแต่งกาย ลินดา ฟุต ทำการศึกษาค้นคว้าระบบที่มนุษย์อวกาศใช้งานจริงในห้วงอวกาศ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้ระบบที่ใช้ในหนังด้วย ซึ่งต้องมีการบรรจุทั้งพัดลมระบายความร้อนไว้ด้านหลังและป้องกันกระจกเป็นฝ้า น้ำหนักรวมสุดท้ายราว 30-35 ปอนด์ ซึ่งยังไม่รวมชุดดำน้ำที่พวกเขาต้องใส่ไว้ข้างในสำหรับฉากใต้น้ำ

แฮทธะเวย์จำการทดสอบชุดในน้ำครั้งแรกของเธอได้ว่า “หลังจากที่ลองวิ่งในสระ 10 ฟุต ฉันโทรหาอดีตหน่วยรบพิเศษที่ฉันรู้จักและบพูดว่า ‘คุณต้องไปเข้าโรงยิมกับฉัน’ ตอนที่เราถ่ายฉากในน้ำกัน แมทธิวกับฉันพูดกันตลอดว่า ‘มันอาจจะยากลำบาก แต่เราก็ดูดี’” เธอหัวเราะ

การควบคุมรอกแห่งกลไกที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ TARS และ CASE หุ่นยนต์มนุษย์อวกาศ 2 ตัวในหนังเป็นรูปร่างขึ้นมายิ่งยากกว่านั้น จักรกลเหล่านี้ก่อกำเนิดเป็นอุปกรณ์ทางทหารที่ปลดประจำการและถูกแปลงสภาพเพื่องานบนอวกาศ “หนังเรื่องนี้เป็นช่วงที่อนาคตไม่เหลือทรัพยากร ฉะนั้นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีทางกองทัพที่มีเหลืออยู่” โนแลนอธิบายว่า “ความรู้สึกตอนออกแบบ เราคิดตามหลักเครื่องยนต์การสื่อสารที่ป้องกันการระเบิดและไม่สามารถเจาะเข้าถึงได้ สร้างขึ้นตามความทนและการทำงาน ไม่ใช่ตามสไตล์”

ระหว่างที่หุ่นยนต์คิดและพูดได้ โนแลนก็ต้องการเลี่ยงลักษณะคล้ายกับมนุษย์อย่างที่มีในหนังหุ่นยนต์ทั่วไป   “จากการเชื่อมต่อที่ต้องใช้พยายามสักเล็กน้อย” เขาเล่าว่า “เรามาถึงจุดที่ทำให้หุ่นยนต์เป็นแบบที่ผู้ออกแบบที่เรียบง่ายที่สุด Mies van der Rohe จะออกแบบแล้ว”

สำหรับการค้นหารูปแบบของหุ่นยนต์ โนแลนและโครว์ลีย์ทดลองครั้งแรกจากการนำไม้มาประกอบติดกัน จากนั้นนำแม่เหล็กต่างๆ มารวมกันก่อนที่จะลงเอยด้วยระบบแพลงค์ที่มีความสูง 5ฟุต และใช้จุดเชื่อมต่อด้านแม่เหล็กกับ 3 จุดตรงกลาง และแยกตัวออกมา 64 ส่วน

จากนั้นสก็อตต์ ฟิสเชอร์ได้คัดตัวทีม TARS และพาไปพบกับประสบการณ์ R&D เพื่อสร้างต้นแบบที่มีหน้าตาและความรู้สึกสมจริง ตั้งแต่จุดสำคัญอย่างหน้าจอดิจิตอลแสดงข้อมูลบนหน้าอก และทำให้มันเคลื่อนไหวได้ในเวลาไม่ถึง 8 อาทิตย์

นอกจากการเคลื่อนไหวแล้ว ผู้กำกับฯ ยังต้องการให้มนุษย์อวกาศหุ่นยนต์มีลักษณะท่าทางในเรื่อง “Interstellar” เหมือนพวกมนุษย์ด้วย จอห์น เพพซิดีรา ผู้กำกับการคัดเลือกนักแสดงในหนังรู้ทันทีว่าใครเหมาะกับบทบาทนี้ นั่นคือนักแสดง นักแสดงตลก ตัวตลก และนักแสดงละครเวทีอย่างบิล เออร์วิน โนแลนเล่าว่า “บิลเป็นนักแสดงที่สามารถทำให้วัตถุที่มีความเชื่องช้าและแสดงความรู้สึกได้น้อยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวได้จากการเคลื่อนไหวธรรมดา ซึ่งนั่นเป็นความท้าทายของเราสำหรับหุ่นยนต์พวกนี้”

เออร์วินรู้สึกสนใจไอเดียของการจับบางสิ่งมาเชื่อมกับอุปกรณ์โลหะที่จับต้องได้ “ความคิดของโนแลนรวดเร็วดีมากและมีความแตกต่างในหลายระดับ” นักแสดงชายกล่าว “เท่าที่ผมได้ฟังเรื่องราวความซับซ้อนทั้งหมด ผมค่อยๆ เห็นภาพหุ่นยนต์พวกนี้จากกลไกประดิษฐ์และวงจรที่เชื่อมต่อโดยบังเอิญที่สามารถแสดงอารมณ์ในการเล่าเรื่องออกมาได้เหมือนคนอื่น”

การเยี่ยมสถานที่หลายครั้งของโรงสร้างเอ็ฟเฟ็กต์ เออร์วินพุ่งไปหากลุ่มผู้มีความพยายามเพื่อทำให้ TARS และ CASE มีชีวิตขึ้นมาได้บนหน้าจอจนคล่องแคล่ว โดยผู้ควบคุมจะใช้อวัยวะต่างๆ ที่มีกลไกผ่านความกดอากาศและระบบไอดรอลิกส์ “มันรู้สึกเหมือนวีดีโอเกมเลยครับ มีปุ่มต่างๆ ไว้ควบคุม ยกตัวและขยับได้” เออร์วินเล่าว่า   “ตอนนั้นผมเหมือนเกมเมอร์ที่ต้องพยายามเคลื่อนตัวเจ้ายักษ์พวกนี้ไปรอบๆ เป็นขั้นตอนที่มีความตื่นเต้นที่ได้มีส่วนร่วมด้วยเลยครับ”

ในฉากถ่ายทำเออร์วินต้องเป็นทั้งนักเชิดหุ่นและแสดงกับนักแสดงคนอื่นๆ ไม่ในบท CASE ก็เป็น TARS ขึ้นอยู่กับว่าฉากนั้นต้องใช้ตัวไหน  โธมันเล่าว่านักแสดงต้องพบกับสิ่งที่ท้าทายสุดในหนัง “เจ้าหินยักษ์นี่หนักมาก แต่เขาจัดการทำให้มันมีท่าทางที่ดูดีได้ระหว่างลากมันไปทั่ว” สำหรับบางฉากมาร์ค ฟิชีรา สตั๊นท์แมนก็ต้องรับมือกับการเคลื่อนไหวร่างกายมากขึ้นเวลาที่ลวดเพิ่มขึ้นเป็น 200 ปอนด์

จึงไม่มีความจำเป็นในการใช้ภาพเสมือนจริงของคอมพิวเตอร์กราฟฟิค และหลังจากนั้นไม่นานพอล แฟรงค์ลินได้เข้ามาร่วมทีม TARS เพื่อเพิ่มรสชาติให้ฉากแอ็คชั่น รวมถึงโยกย้ายนักแสดงบางส่วนออกไป ผลลัพธ์ที่ได้คือความลงตัวของการเคลื่อนไหวหลายอย่างขอัวละคร และคอนเซ็ปต์ของโนแลนเรื่องหุ่นยนตที่ทำงานได้จริงถูกปรับเปลี่ยนเป็นชิ้นส่วนการควบคุมหุ่นไฮดรอลิกคต่างจากที่ผู้สร้างภาพยนตร์เคยพยายามทำกันมา

TARS เดินทางออกจากโลกพร้อมลูกเรือมนุษย์ในช่วงที่จรวดพากระสวย Ranger ได้ระเบิดขึ้นไปบนอวกาศ ฉากวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ออกแบบมาให้เหมือนกับช่วงที่นาซ่าปล่อยจรวด “เราอยากให้ทุกคนจดจำลักษณะภาพของการสร้างหนังฉากนี้เอาไว้” พอล แฟรงค์ลิน ยอมรับ “คริสเลยให้เราดูฟุตเทจการปล่อยยานอพอลโล จรวดสู่ดวงจันทร์ที่ผ่านห้วงอวกาศ ซึ่เป็นภาพที่มีความพิเศษมาก มันต่างจากจรวดแรงผลักดันสมัยใหม่ เพราะภารกิจของยุค 60 เสร็จสิ้นโดยยานอวกาศขนาดยักษ์พวกนี้ที่มีความสูง 360 ฟุต นั่นคือขนาดที่เรานำมารวมกับเปลวเพลิงสีส้มที่เป็นลูกบอลพุ่งทะยานออกมาจากเครื่องยนต์ในภายหลัง”

the Ranger และยานลำอื่นไม่ต่างจาก TARS ที่เกิดขึ้นจากการทดลองในโรงรถของโนแลน จนกลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ขนาดยักษ์ที่ใช้งานได้จริงในการถ่ายทำหนัง

 

การเดินทางระหว่างดวงดาว

โนแลนและโครว์ลีย์เริ่มการออกแบบเครื่องบินทั้ง 3 ลำในหนัง ได้แก่ the Ranger, the Lander และ the Endurance จากการเริ่มศึกษาการเดินทางผ่านอดีต ปัจจุบัน และอนาคตแห่งการเดินทางในอวกาศ ซึ่งพวกเขาต้องดูภาพยนตร์สารคดี IMAX หลายชั่วโมงที่ International Space Station (ISS) การเดินทางผ่านที่ตั้ง SpaceX ของนายทุนอีลอน มัสก์ และยานอวกาศ Dragon และการผจญภัยผ่านเงาแห่งการเดินทางของยานอวกาศ Endeavor ซึ่งตอนนี้ปลดเกษียณไปอยู่ California Science Center “พวกเราโตขึ้นมาพร้อมกับนาซ่าและรู้ว่าการปล่อยจรวดเป็นเรื่องตื่นเต้นแค่ไหน เราเลยหาความรู้สึกที่แปลกใหม่ มีความทันสมัย แต่ยังคงความคุ้นเคยที่สัมผัสได้” โครว์ลีย์กล่าว

The Ranger ยานความเร็วสูงของ Endurance เป็นลำแรกที่เป็นรูปร่างขึ้นมา มีการขัดเกลาโมเดลที่สร้างขึ้นมาจากการพิมพ์แบบ 3 มิติโครลีย์ได้นำทีมช่างแกะสลักมาสร้างรายละเอียดที่มีในโครงส่วนล่างของยาน เครื่องมือการนำเครื่องลงจอด แอร์ล็อค และอุปกรณ์อื่นที่จำเป็น โดยไม่ต้องทิ้งรายละเอียดส่วนโค้งที่ดูเรียบ

ต่อมาคือ the Lander ยานขนาดใหญ่ยักษ์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อความแข็งแกร่งไม่ใช่ความรวดเร็ว “ถ้า Ranger เป็นรถแข่งเยอรมันที่สามารถลงบนพื้นผิวและเดินทางกลับมาได้ งั้น Lander ก็เหมือนเฮลิคอปเตอร์ขนส่งอุปกรณ์รัสเซีย” โครว์ลีย์อธิบายว่า “มันเหมือนม้างานที่ออกแบบมาเพื่อแบกสินค้าจาก Endurance และนำไปวางบนพื้นผิวของดวงดาวที่กลับลำได้ ฉะนั้นเบาะนั่งสำหรับมนุษย์อวกาศต้องหมุนได้ 360 องศา ที่นั่งคนขับจะมีขนาดแคบ และเป็นอุปกรณ์ขนาดหนักเพื่อให้มีที่ว่างสำหรับสินค้า”

Ranger และ Lander ต่างออกแบบมาให้สบายพอเหมาะกับวงแหวนของยานแม่ Endurance เป็นการออกแบบให้ดูมีชั้นเชิง ได้ท้าทายโครว์ลีย์และโนแลนให้ใช้เทคโนโลยีขั้นต่ำ “ผมได้นำอิฐบล็อกอะครีลิคบางส่วนมาใช้ เรานำมารวมกันหลากหลายแบบจนกระทั่งได้รูปทรงเราขาคณิตที่มีจุดเชื่อมต่อ 12 ส่วน” โครว์ลีย์กล่าว

ยานวงแหวน Endurance สร้างขึ้นให้เหมือนวงล้อขนาดใหญ่ โดยมีจุดศูนย์กลางที่จะหมุนด้วยความเร็ว 5 ครั้งต่อนาทีเพื่อสร้างแรงโน้มถ่วง 1G ผ่านแรงสู่ศูนย์กลาง  โดยมีการเชื่อมต่อผ่านระบบแอร์ล็อคและเข้าติดกับพื้น แต่ละส่วนของยานอวกาศมีวัตถุประสงค์สำหรับภารกิจโดยมวลรวม มันเป็นแคปซูลบรรจุเครื่องยนต์ 4 เครื่อง และแคปซูลถาวร 4 ชิ้นที่ประกอบด้วยห้องพัก ห้องบังคับการ แลปค้นคว้าทางภาวะเย็นและทางการแพทย์ และแคปซูลที่ใช้ตั้งบนพื้นผิวดวงดาวอีก 4 แคปซูล

เมื่อสิ่งต่างๆ ที่ออกแบบไว้ถูกทดสอบในการจำลองภาพเสมือนจริงแบบ 3 มิติ และผสมผสานรายละเอียดต่างๆ ของพวกเขาอย่างพิถีพิถันแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการผลิตขึ้นมา โครว์ลีย์รวบรวมทีมผู้ชำนาญที่มีความสามารถสูงมาประดิษฐ์  Ranger ที่มีความสูง 46 ฟุตด้วยมือจากเหล็กและโพลีสไตรีน ต่อมาสก็อตต์ ฟิสเชอร์และทีมสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ของเขาได้วางระบบไฮดรอลิก อุปกรณ์ควบคุมการแลนดิ้ง และประตูแอร์ล็อคในตัวยานทั้งสองลำ มีการทำให้กันน้ำโดยเคลือบไฟเบอร์กลาสแบบหนาพิเศษ ซึ่งจำเป็นต่อสิ่งที่โนแลนจินตนาการเอาไว้ ฟิสเชอร์ยังสร้างเตียงนอนแบบที่มนุษย์อวกาศจะพบการหยุดนิ่งในการเดินทางระยะไกล รวมถึงเบาะนั่งระบบไฮดรอลิกที่หมุนได้ 360 องศา

จนในที่สุดยานได้เคลื่อนตัวมาที่โรงถ่ายใน Sony Studios ฟิสเชอร์ได้ตั้งยานแต่ละลำไว้ที่ Waldo ซึ่งเป็นวงแหวนขนาด 6 แกนที่มีระบบควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้ควบคุมการเคลื่อนไหวของมันได้ในมุมที่มั่นคงและแม่นยำ “เมื่อไหรก็ตามที่เราใช้วงแหวน คริสจะเป็นคนเดียวที่บินซะส่วนใหญ่” ฟิสเชอร์จดจำได้ “ผมว่าเขาสนุกที่ได้ทำแบบนั้นนะครับ”

การที่ได้แรงบันดาลใจจากฟุตเทจ IMAX เกี่ยวกับการท่องโลกอวกาศของจริง โนแลนและแวน ฮอยทีมาจึงอยากตั้งกล้อง IMAX ไว้บนยาน ตั้งไว้บน Waldo ที่เป็นอิสระอย่างแน่นหนา และบนยานที่มีขนาดเท่าของจริง ตากล้องเล่าว่า “เราสร้างการขึงอย่างแน่นหนาขึ้นมาเพื่อให้กล้องเก็บภาพบางสิ่งได้ในแบบที่ให้ความรู้สึกเสมือนจริง มากกว่าจะโฉบกล้องให้เห็นสถานการณ์ทั้งหมด เราจะใช้ภาษาในการอธิบายเพิ่มเติมโดยการติดกล้องไว้บนหมวกและบนร่างกาย”

เทือกเขาขรุขระและ Waldo คือสิ่งสำคัญในภารกิจของโนแลน เพื่อเลี่ยงจากการใช้กรีนสกรีนในเรื่อง “Interstellar” ยิ่งไปกว่านั้นโนแลนยังต้องการเคลื่อนยานขนาดใหญ่ข้ามผ่านห้วงอวกาศที่อยู่ด้านหลัง เพื่อถ่ายทอดรูปแบบที่แท้จริง ประกาย และสิ่งเป็นไปได้ที่จะมาล้อมสภาวะแสง โนแลนเล่าให้ฟังว่า “มันต้องใช้ความพยายามมากครับ แต่พอเราสร้างยานขึ้นมาเพื่ออีกหลายเหตุผล มันกลายเป็นว่าสิ่งที่ดีที่สุดคือการใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้การถ่ายทำเป็นเรื่องง่าย หนึ่งในสิ่งสำคัญที่ทำให้ภาษาภาพของหนังมีความชัดเจนขึ้นมา”

ผู้สร้างฯ ยังใช้เทคนิคการถ่ายแบบเรียบง่าย เพื่อการเชื่อมต่อยานในอวกาศที่มีความซับซ้อนในแต่ละครั้งที่มนุษย์อวกาศต้องบิน Ranger หรือ Lander กลับไปยัง Endurance โดยขณะเดียวกันมีการเชื่อมต่อกับ Waldo อย่างราบรื่น “มันมีหนังแนวไซไฟที่เชื่อมโยงกับบางสิ่งที่ทำให้เราก้าวต่อไปอย่างเร่งรีบ เพื่อทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้” โนแลนอธิบาย “และก็มีหนังแบบที่ ‘Interstellar’ อยากเป็นแบบนั้น เพื่อสร้างชื่อให้การเดินทางอวกาศเป็นการไต่ความพยายามของมนุษย์  การนำยานลงจอดเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับลูกเรือทีมนี้ ทุกสิ่งอาจผิดพลาดได้ เราเลยต้องใช้เวลาถ่ายทำการนำ Ranger ลงจอดที่ Endurance ของพวกเขาครั้งแรก ถึงแม้จะมีการพูดถึงในบทเพียงเล็กน้อย แต่ในช่วงตัดต่อมันกลายเป็นเรื่องที่ต้องตัดสินใจอย่างระมัดระวัง”

ถึงแม้ในอดีตมนุษย์จะใช้สิ่งจำลองขนาดจิ๋วจนถึงวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์แอนิเมชั่น  โนแลนรู้สึกว่ามันเป็นโอกาสดีที่ยานจะปรากฏบนห้วงอวกาศอย่างชัดเจน สำหรับครั้งนี้พวกของย่อส่วนที่สร้างขึ้นมาเพื่อเรื่อง “Interstellar” ที่ New Deal Studios ในลอสแองเจลิสได้สร้างขึ้นมาด้วยขนาดใหญ่จนได้รับฉายา “maxatures” หนึ่งในนั้นคือการสร้างยานวงแหวน Endurance ขนาด 1/15 ที่ขยายขนาด 25 ฟุต รวมถึงโมเดล pyrotechnic ของส่วนที่สร้างขึ้นมาด้วยขนาด 1/5 และ Ranger กับ Lander แบบย่อส่วนที่ขนาดต่างๆ ทั้งหมดสร้างขึ้นมาพร้อมรายละเอียดที่ครบถ้วน เมื่อมีการถ่ายทำจากด้านกลางของพื้นที่สู่แผ่นหลังของพื้นผิวอวกาศโดยพอล แฟรงค์ลิน

ผู้สร้างฯ ได้พัฒนาเอ็ฟเฟ็กต์นี้ให้ดีขึ้นโดยการใช้ลวดเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวขนาดเล็กลง และมีการเปิดเผยอัตราส่วนกล้อง VistaVision เพื่อถ่ายทำ ทำให้เลนส์จับภาพวัตถุได้อย่างเป็นธรรมชาติเหมือนยานเคลื่อนสวนทางกับแหล่งกำเนิดแสง “นี่คื่อสิ่งที่เราลองคาดการณ์ได้ในคอมพิวเตอร์กราฟฟิคหากจำเป็นต้องทำ แต่ความมหัศจรรย์ของการถ่ายของจิ๋ว คือมันทำให้เราเห็นสิ่งที่เราไม่รู้มาก่อนหรือไม่ได้คาดการณ์เอาไว้” โนแลนอธิบายว่า “ผมมีการอ้างอิงถึงโดยบังเอิญ ลักษณะการสุ่มแบบนี้ทำให้ภาพที่ได้ดูมีชีวิตชีวาขึ้นมา”

ยาน Endurance มีความลึก 200 ฟุตซึ่งเป็นส่วนประกอบของวงแหวน ถูกสร้างขึ้นมาในโรงถ่ายหมายเลข 30 ที่เป็นโพรงกว้างของ Sony Studios  ส่วนโค้งขนาดใหญ่ถูกยกและวางลงมาโดยรถเครน บนวงแหวน 150 ฟุตที่ยึดกับจุดต่อ 3 จุดซึ่งควบคุมโดยไฮดรอลิกขนาดใหญ่ที่จะเอียงฉาก 180 องศาสำหรับฉากเดินทางด้วยยานอวกาศ

ความงดงามที่ถูกต้องโดยเน้นที่ประโยชน์เป็นหลักได้ทำให้รูปลักษณ์ภายนอกของยานเป็นรูปร่างขึ้นมาถูกวางไว้ในการออกแบบภายใน “เราอยากรวมหลายส่วนของยานอวกาศที่มีอยู่ และรักษาความสมจริงของทุกอย่างเอาไว้” โนแลนเปิดเผยว่า “เวลาที่เราต้องเล่นกับพวกยานอวกาศและนอกอวกาศ ความอันตรายอยู่ที่องค์ประกอบที่เกี่ยวกับมนุษย์จะหายไป นาธานและทีมงานของเขาต้องพยายามแสดงให้เห็นถึงการรวมสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่มีความสมจริงและใช้งานได้เป็นหลัก”

สำหรับแฮทธะเวย์แล้ว การเดินขึ้นไปบนยานทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นมาได้เลย “เรื่องราวเริ่มเกิดขึ้นบนโลกที่มีทรัพยากรอย่างจำกัด และเรานึกได้ว่าสิ่งล้ำค่าสุดที่พวกเขามีคือยานอวกาศ” เธอกล่าว “นั่นคือความหวังที่วิเศษแล้วค่ะ”

อิทธิพลของนาซ่าแรงบันดาลใจจะเห็นได้จากระบบการจัดเก็บ โดยมีการเน้นย้ำที่ขนาดที่กะทัดรัด มีการแปลงสภาพ  และมีประสิทธิภาพ “Endurance ได้สะท้อนถึงสิ่ที่เราเรียนรู้มาจาก ISS และ Endeavor ในห้วงอวกาศ มันไม่มีการขึ้นหรือลง ไม่มีพื้นหรือเพดาน  ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงและมีการใช้งานพื้นผิวทุกส่วน” โครว์ลีย์อธิบาย “คริสต้องการให้ทุกสิ่งที่นักแสดงต้องสัมผัสใช้งานได้ ฉะนั้นหน้าจอและปุ่มต่างๆ จึงออกแบบมาตามจุดประสงค์ด้านในของยาน”

เช่นเดียวกับการออกแบบบ้านไร่ที่โครว์ลีย์ต้องรวมเทคนิคสำคัญของทีมงานมาใช้  เขากับแวน ฮอยทีมาร่วมงานกันอย่างใกล้ชิดเพื่อรวมพื้นฐานการจัดแสงเข้ากับโครงสร้างของฉาก ในแบบที่ตากล้องสามารถปรับระดับของเลนส์ระหว่างถ่ายทำได้ เพื่อให้ได้สภาพแสงอย่างที่เขาต้องการในฉาก ตากล้องเล่าว่า “การออกแบบของเนทมีความพิถีพิถันมาก ไม่ว่าเราจะก้าวไปที่ไหนก็จะเชื่อเลยว่าอยู่ในโลกแห่งความจริง ฉะนั้นเป็นเรื่องสำคัญมากที่แสงสว่างต้องให้ความรู้สึกเหมือนตรงนั้นมีแสงจริงๆ”

เอ็ฟเฟ็กต์การจัดแสงเองก็ไม่เป็นอย่างที่คิดไว้เมื่อมีการถ่ายทำ วิชวลเอ็ฟเฟ็กต์และเทคโนโลยีการฉายภาพได้ยกระดับภาพยนตร์เกือบทั้งหมด แต่พัฒนาการที่ขนานไปกับเทคโนโลยีเหล่านี้ได้บอกถึงหนทางใหม่ในการใช้สอยให้ได้ประโยชน์ มีการรวมฟุตเทจระหว่างดวงดาวที่ชวนให้สงสัยที่สร้างขึ้นโดยพอล แฟรงค์ลิน และ Double Negative สู่ประสบการณ์การถ่ายทำ โนแลนเล่าว่า “ถ้าเราสังเกตจากเทคนิคต่างๆ ในอดีต และพยายามใช้มันเพื่อเข้าให้ถึงกลยุทธ์ใหม่ๆ เราสามารถยืนบนไหล่ของยักษ์และพบสิ่งที่ไม่มีใครเคยพบเจอมาก่อน”

สำหรับจอตั้งแต่พื้นถึงเพดานถูกแขวนไว้ที่ด้านนอกหน้าต่างของฉาก แฟรงค์ลินได้ประดิษฐ์ระบบหนึ่งขึ้นมาใหม่โดยการจัดวางเครื่องฉาย 2 เครื่องอย่างแม่นยำ เพื่อสร้างภาพที่มีระดับความสว่างและความชัดเจนมากพอสำหรับการฉายบนจอ IMAX  จนในที่สุดระบบมีการรวมหลายจอเข้ากับรถยกที่มีการยกอุปกรณ์น้ำหนัก 1,200 ปอนด์ให้เรียงตัวกันที่จะฉายภาพได้สว่างมากพอจนทะลุหน้าต่างยานอวกาศและทำให้ใบหน้าของนักแสดงสว่างได้ “หากมองในวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งภาพที่นักบินอวกาศอยู่ในสถานการณ์นั้น และมีการถ่ายทอดความมืดในสภาพแวดล้อมนั้นได้” ผู้กำกับฯ กล่าวเสริม “เราสามารถเปลี่ยนฉากได้ด้วยกล้องแฮนด์เฮลด์ที่ถ่ายแบบลองเทค และถ่ายทอดฉากในมุมต่างๆ ได้ มันไม่ธรรมดาเลยครับ”

แฟรงค์ลินและทีมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ของเขายังมีอีกโปรแกรมหนึ่งที่ทำให้รวบรวมและปรับเปลี่ยนภาพบนจอคอมพิวเตอร์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ฉะนั้นโนแลนจึงสามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวอวกาศได้ตามเวลาจริงในฉากได้ แฟรงค์ลินอธิบายถึงสิ่งที่ได้จากการเห็นหลุมดำโผล่ขึ้นเป็นครั้งแรกว่า “มันน่าทึ่งและชวนตกใจอยู่บ้างครับ มันได้มุมมองแบบ 3 มิติอย่างที่จะปรากฏบนหน้าจอเลยครับ”

การวางแผนไม่ได้ทำให้นักแสดงเห็นภาพจริงของหลุมดำเท่านั้น แต่ยังจำลองแสงจากดวงอาทิตย์ ซึ่งช่วยให้แวน ฮอยทีมาออกแบบภาพฟุตเทจที่น่าตื่นเต้นของแสงแดดในห้วงอวกาศจริงได้ ตากล้องเล่าให้ฟังว่า “สิ่งที่วางแผนเอาไว้ได้ชี้นำเราว่าแสงแดดจะเป็นแบบไหนเวลาที่พวกเขาบินผ่านหรือการหมุนแบบไร้แรงโน้มถ่วง ส่วนใหญ่เราพยายามจำลองดวงอาทิตย์หรือแสงสว่างที่โผล่มาจากหลุมดำตามสภาพจริงและถูกต้องที่สุด ผมไม่เคยถ่ายทำหนังที่มีแสงจ้ามากเท่าเรื่องนี้เลย มันก็สนุกดีครับที่ได้เล่นกับแสงที่มีรูปแบบพิเศษแบบนั้น”

เทคนิคต่างๆ ที่มีการพัฒนาขึ้นเหล่านี้ทำให้นักแสดงและทีมงานได้สัมผัสกับการเดินทางเสมือนจริง “มันเป็นความรู้สึกที่ดีมากในฉากที่ได้อยู่ในยานพาหนะที่เคลื่อนที่ได้จริง” โนแลนอธิบายว่า “มันเหมือนฉากที่เกิดขึ้นจริง ภาพด้านนอกหน้าต่างเปลี่ยนไปตามลักษณะที่ควรจะเป็นเมื่อนักแสดงบินเข้าใกล้”

การไร้แรงโน้มถ่วงโลกโดยการยึดติดตัวละครในเรื่อง “Interstellar” ยังได้พบกับสภาพไร้น้ำหนักในการเดินทางอีกด้วย ก่อนหน้านี้โนแลนเคยสร้างปรากฏการณ์ของสิ่งที่ไร้แรงโน้มถ่วงจากเรื่อง “Inception” และร่วมมือกับผู้ควบคุมสตั๊นท์ จอร์จ คอทเทิล เพื่อพัฒนาเทคนิคต่างๆ ทที่พวกเขาเรียนรู้มาให้ดีขึ้น สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “Interstellar” คอทเทิลได้พัฒนาการรวมลวดขึงที่จะทำให้ผู้กำกับฯ และนักแสดงมีความยืดหยุ่นและสบายตัวมากที่สุดในสภาพไร้น้ำหนักหลายฉากในหนัง

เพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นของภาพยนตร์ในเรื่องสภาพไร้แรงโน้มถ่วง คอทเทิลได้ดูฟุตเทจอย่างครอบคลุมของมนุษย์อวกาศในสภาพไร้แรงโน้มถ่วง เพื่อวางแผนเรื่องลวดขึงที่สร้างแรงผลักดันและแรงสมดุล จากนั้นเขาและทีมสตั๊นท์จึงใช้เวลานานหลายเดือนกับ R&D เพื่อสร้างความเป็นไปได้ในฉากต่างๆ “เราทดสอบการขึงลวดแบบต่างๆ กับสตั๊นท์และใช้การขึงลวดแบบต่างๆ เริ่มตั้งแต่ลวดแนวตั้งที่จะหย่อนนักแสดงให้ต่ำลงได้เวลาที่ฉากเคลื่อนที่ขึ้นลง และมีการใช้ลวดขนาดเล็กลงเพี่อให้เราเคลื่อนย้ายพวกเขาเวลาอยู่บนลวดได้ แต่คริสอยากจับภาพโคลสอัพของพื้นที่แคบและมีบริเวณจำกัด” เขากล่าว

สำหรับเรื่องนั้นคอทเทิลและผู้ควบคุมสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ สก็อตต์ ฟิสเชอร์ ได้ใช้ลวดที่มีส่วนประกอบซับซ้อนซึ่งเรียกว่าสี่เหลี่ยมด้านขนานเป็นตัวควบคุมที่ติดกับสะโพก ซึ่งสามารถวางในตำแหน่งที่นักแสดงจะเคลื่อนไหวมันได้ผ่านพื้นที่เล็กๆ ในฉากโดยใช้เครนควบคุมได้ จุดควบคุมที่เป็นปกติของวงแหวนสี่เหลี่ยมด้านขนานคือตัวโนแลนเอง “ผมคิดว่าหลักการของคริสคือถ้าเขาต้องการอะไรสักอย่างและเขาทำเองได้ เขาจะทำมันออกมาให้ดีที่สุด” โธมัสยิ้ม “ฉะนั้นนักแสดงต้องอยู่บนลวดประหลาดที่ทำให้พวกเขาลอยอยู่กลางอวกาศ และคริสคือคนที่พาพวกเขาไปเอง”

ความพยายามในเชิงยุทธศาสตร์เพื่อทำให้ฉากที่ยิ่งใหญ่อลังการที่มาพร้อมรายละเอียดต่างๆ มีชีวิตชีวา ใช้งานได้จริง และการรวมตัวทุกอย่างประสบความสำเร็จเพื่อผู้กำกับฯ เมื่อโนแลนมีแผนใหญ่สำหรับพวกเขาอย่างน้อย 2 คน “สิ่งที่เรามองหาคือโลเคชั่นที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนอยู่อีกโลกหนึ่ง” เขากล่าว “และถ้าเราต้องเดินทางไปครึ่งโลกเพื่อเก็บภาพทิวทัศน์ คุณต้องสร้างมันขึ้นมาเพื่อวางไว้ตรงนี้”

ครั้งล่าสุดที่โนแลนไปเยือนไอซ์แลนด์คือเมื่อ 10 ปีที่แล้วเพื่อถ่ายฉากต่างๆ ในเรื่อง “Batman Begins” และมีความรู้สึกตั้งแต่ก่อนจะไปสำรวจพื้นที่แล้วว่า เขาต้องพบกับพื้นดินที่งดงามเหมาะกับตัวละครจะสำรวจในเรื่อง  “Interstellar”  “เราอยากได้ทิวทัศน์ที่แปลกตา มีความรู้สึกสมจริงและสัมผัสได้เหมือนที่นี่” เขากล่าว “ฉะนั้นการพาผู้ชมเดินทางไปกับมนุษย์อวกาศเมื่อพวกเขาก้าวสู่โลกอื่นเป็นครั้งแรก เรารู้เลยว่าต้องใช้สถานที่บนไอซ์แลนด์ ซึ่งเป็นเรื่องที่สุดยอดมาก”

โนแลนและโครว์ลีย์ขึ้นเครื่องบินไปยังไอซ์แลนด์เพื่อดูว่าธารน้ำแข็งที่พวกเขาจดจำได้จะเหมาะกับดวงดาวที่มีน้ำแข็งเพื่อให้ตัวละครสำรวจหรือไม่ พวกเขาพบว่าธารน้ำแข็ง Vatnajökull ร่วงลงมาจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อไม่นานนี้ ซึ่งสร้างเอ็ฟเฟ็กต์ที่เป็นสีเทาวาวบนน้ำแข็ง “มันทำให้เราพบความรู้สึกของภาพยนตร์อย่างที่เรานึกเห็นสภาพแวดล้อมที่มีแต่กรวดทราย แห้งแล้ง ไม่สบาย_” โครว์ลีย์อธิบาย “มันไม่ควรดูน่าหลงใหล มันควรดูน่ากลัว ตัวละครต่างๆ คิดจะทิ้งโลกเพื่อหาบ้านใหม่ แต่ความรู้สึกบนธารน้ำแข็งนั้นมันแย่มาก จากนั้นจึงย้อนกลับมาหาไอเดียของการเดินทางครั้งใหญ่สู่นรกและกลับมาทำภารกิจที่ไม่น่าเป็นไปได้ให้สำเร็จ”

ผลลัพธ์ที่ได้คือพื้นผิวของไอซ์แลนด์ที่มีหลายสัดส่วนเอื้ออำนวยต่อการถ่ายทำ 2 ในจุดหมายดวงดาวในเนื้อเรื่อง ซึ่งมีแอ่ง Brunasandur อันไร้ขอบเขตที่อยู่ไม่ไกลนัก ซึ่งใช้เป็นที่จอดยานบนดาวที่มีน้ำในหนัง ขณะที่สถานที่ถ่ายทำมีความลำตัวมาก ไม่มีชายฝั่งเด่นชัดในหลายทิศทาง กองถ่ายจึงสร้างถนนยาว 15 กิโลเมตรขึ้นมาเพื่อสร้างแคมป์ที่พัก และมีการสร้างรถบรทุกผู้โดยสารที่ใช้สอยได้อย่างเรียบง่าย เพื่อรับส่งนักแสดง ทีมงาน และอุปกรณ์ออกจากทะเลสาบ

ระหว่างที่กองถ่ายหลักถ่ายทำกันที่แคนาดา มีการเตรียมโลเคชั่นที่ไอซ์แลนด์สำหรับใช้เป็นสถานที่แดนไกลสองแห่ง ซึ่งไม่ใช่สำหรับทีมงานและนักแสดงเท่านั้น แต่รวมถึงยานอวกาศทั้งสองลำด้วย “ทั้ง Ranger และ Lander ผลิตขึ้นมาเท่าขนาดจริง ฉะนั้นการเก็บภาพพวกมันอยู่ในน้ำหรือบนน้ำแข็งได้ถือเป็นโชคก้อนใหญ่ของหนัง” โนแลนกล่าว

จากสายงานผลิตยานอวกาศที่มีน้ำหนักแต่ละลำมากกว่า 10,000 ปอนด์ถูกถอดเป็นชิ้นส่วน ถูกแพ็คเข้าตู้ขนส่งสินค้าและจัดส่งในโรงเครื่องบิน 747 สู่สนามบินที่ Reykjavik จากนั้นโหลดขึ้นบนรถบรรทุก ถูกส่งเข้ามาในโลเคชั่นและมาประกอบกันในเตนท์ยักษ์

ระหว่างการถ่ายทำที่ธารน้ำแข็ง กองถ่ายต้องติดอยู่ในโรงแรมตอนที่มีพายุลูกใหญ่พัดในเขตบริเวณนั้น กำลังลมมีความแรงจนพัดยางมะตอยจากพื้นถนนได้ ด้วยความเป็นห่วงอยากเช็คฉากต่างๆ ของพวกเขา โนแลนและโครว์ลีย์จึงกล้าเดินทางออกไปยังธารน้ำแข็ง “แต่พอเราออกจากรถเรากลับเดินไม่ได้เลย เพราะลมแรงมาก” โครว์ลีย์จดจำได้

แต่อย่างไรก็ตามผู้สร้างฯ ที่ขึ้นชื่อเรื่องการตรงต่อเวลาหรือก่อนกำหนดเวลาไม่อยากเสียเวลาไปวันๆ โธมัสเล่าว่า “คริสภูมิใจที่ตัวเองถ่ายหนังได้ทุกสภาพอากาศ และนี่เป็นครั้งแรกที่เราต้องหยุดชะงักจริงๆ เพราะลมแรงอันตรายมาก แต่คริสก็คือคริส เขาไม่อยากให้เรานั่งเล่นอยู่ที่โรงแรม เขาเลยพาเราไปที่ลานจอดรถเพื่อถ่ายทำบางฉากที่จะแทรกเข้าไป”

 

การผสมผสานขั้นสุดท้าย

ความรักคือสิ่งหนึ่งที่เหนือกาลเวลาและระยะทาง

—แบรนด์

 

ในประวัติศาสตร์ของหนังไซไฟ เสียงเครื่องยนต์ยานอวกาศมีการสะท้อนถึงความว่างเปล่าแห่งยานอวกาศ แต่ในเรื่อง “Interstellar” โนแลนพบว่าตัวเองกลับเลือกใช้ความเงียบ “เสียงเดินทางไม่ได้ในห้วงอวกาศ ฉะนั้นการใช้ซาวด์เอ็ฟเฟ็กต์เพื่อถ่ายทอดบรรยากาศนั้นถือว่าเป็นการบิดเบือนความจริง” เขากล่าว

การทำความเข้าใจเรื่องพื้นผิวแห่งเสียง ในหนังร่วมกับผู้ออกแบบซาวด์และควบคุมการตัดต่อเสียง ริชาร์ด คิง ทำให้โนแลนพบว่าเขาใช้ความเงียบเพื่อเพิ่มประสบการณ์แห่งการเดินทางได้ “อย่างที่เห็นว่าเขาสามารถเน้นเรื่องความน่ากลัวของยานได้โดยการสร้างความแตกต่างให้บรรยากาศด้วยความกว้างใหญ่ของห้วงอวกาศนอกหน้าต่าง และซาวด์ก็ช่วยในเรื่องนั้นได้มาก” โนแลนเปิดเผย “ทุกครั้งที่เราตัดความเงียบออกไปจะสัมผัสได้ถึงอากาศที่ออกมาจากห้อง มันทำให้นึกได้ว่านอกกำแพงโลหะนี้คือบรรยากาศแห่งความเลวร้ายที่แปลกตา และหากมีอะไรผิดพลาดก็จะตายทันที มันจะเป็นความรู้สึกที่รุนแรงมากหากเราตัดเสียงเงียบในหนังให้มีชีวิตชีวาขึ้นมาได้”

ยังมีการพบความแตกต่างได้จากเสียงดนตรีที่ประพันธ์โดย ฮานส์ ซิมเมอร์ ที่มาร่วมงานกับโนแลนเป็นครั้งที่ 5 แล้ว  “มีหลายครั้งที่ฮานส์จะใช้ดนตรีเพียงเล็กน้อยและคุ้นหูเวลาที่เราคาดว่าจะต้องอลังการและรื่นหู” โนแลนยืนยัน “ซึ่งเป็นเรื่องธรรรมชาติมากในการเรียกความสนใจจากผู้ชมตามความยิ่งใหญ่ของสิ่งที่พวกเขากำลังมองดูอยู่ และบางครั้งก็มีความแตกต่างธรรมดาระหว่างระดับมนุษย์กับระดับดวงดาว”

จากดนตรีประกอบที่อลังการของหนังเรื่องนี้มีเพลงสั้นที่ชื่อว่า “Day One” ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากข้อเสนอพิเศษของโนแลนที่มีต่อผู้ประพันธ์ดนตรีชื่อดัง “ฮานส์เป็นคนหนึ่งในทีมสร้างสรรค์ของผมที่มีความสำคัญมากครับ และในกรณีของหนังเรื่อนี้ผมขอให้เขาแต่งเพลงก่อนที่ผมจะเริ่มเขียนบทด้วยซ้ำ” โนแลนอธิบายว่า “ผมให้เขาจมอยู่กับความคลุมเครือ เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นหนังแนวไหน”

ผู้กำกับฯ ได้ยึดติดกับข้อเสนอของเขา โดยมีซองที่บรรจุฉากที่จะถ่ายทำเอาไว้ ซิมเมอร์จำได้ว่า  “นี่เป็นเรื่องราวที่งดงามเกี่ยวกับพ่อและความสัมพันธ์ระหว่างเขากับลูกชาย ซึ่งมันสะท้อนถึงผมเพราะลูกชายของผมไม่อยากเป็นนักดนตรี เขามีความฝันที่ยิ่งใหญ่ว่าจะเป็นนักวิทยศาสตร์ ฉะนั้นเหมือนคริสจี้ใจดำผมเลย”

ผู้ประพันธ์นั่งตรงเปียโนและพยายามสร้างอารมณ์ต่างๆ ที่เขาเคยสัมผัสในฐานะผู้เป็นพ่อขึ้นมา หลังจากนั้นไม่ได้โนแลนก็เข้ามาได้ยินว่าเขาสร้างอะไรขึ้นมา ซิมเมอร์เล่าว่า “ผมถามเขาว่าเขาคิดอะไรอยู่ เขาตอบว่า ‘ผมคิดว่าตอนนี้ผมน่าจะสร้างหนังดีกว่า’ จากนั้นก็มีการเริ่มอธิบายถึงหนังฟอร์มยักษ์เรื่องนี้ และผมพบว่ามันไม่ใช่ลูกชายแต่กลับเป็นลูกสาว แต่สำหรับเขาผลงานเล็กๆ เกี่ยวกับประสบการณ์จริงที่ผมมีกับลูกชายของผมได้ถ่ายทอดหัวใจของเรื่องราวออกมา และในช่วงการร่างเพลง เราพบว่าแต่ละช่วงของเรื่องเมื่ออยู่ห่างไกลโลกมากขึ้น ที่สำคัญกว่านั้นคือการย้อนกลับไปหาเพลงนั้นและเชื่อมโยงถึงอารมณ์เหล่านั้นได้อยู่”

จากการใช้เวลาเกือบ 10 ปีในการสร้างความลึกซึ้งให้หนังของโนแลน ผู้ประพันธ์ต้องการถ่ายทอดอารมณ์ออกมาอย่างชัดเจนแบบที่เขาเคยสำรวจในอดีตร่วมกับผู้กำกับฯ และพัฒนาแนวทางใหม่ขึ้นมทั้งหมดสำหรับเรื่อง “Interstellar” “คริสกับผมแต่งเพลงทั้งหมดเหมือนการออกผจญภัย” เขากล่าว “เราแค่อินไปกับเนื้อเพลงด้วยการเปิดใจและดูว่าเกิดอะไรขึ้น ผมคงจะบิดเบือนจากความเป็นจริงหากไม่เปิดใจกว้าง”

ซิมเมอร์พบส่วนสำคัญของบทเพลงในโน้ตดนตรีที่มีการยกระดับด้วยออร์แกน เครื่องดนตรีที่เขาคิดว่าเป็นความสำเร็จของสิ่งประดิษฐ์มนุษย์ “มีบางอย่างที่เกี่ยวกับมนุษย์มากในออร์แกน เพราะมันต้องอาศัยการหายใจ_” เขากล่าว “ในแต่ละโน้ตเพลงคุณจะได้ยินเสียงหายใจออก และเป็นการถอนหายใจแรง มันเป็นบรรยากาศที่ทำให้รู้สึกเหมือนเราอยู่ในพื้นผิวจักรวาลและพรมแดนที่กำลังสั่นสะท้าน ฉะนั้นมันคือเทคโนโลยีอย่างหนึ่งที่มีความซับซ้อน มันสร้างเสียงขึ้นมาได้ตั้งแต่ยุคแรกๆ และมีความน่ากลัว”

การเข้าถึงดนตรีที่มีความเข้มข้น ซิมเมอร์คิดถึงการประสานเสียงของเครื่องดนตรีที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น เครื่องเป่า เครื่องสาย เปียโน เครื่องเป่าทองเหลืองอย่างเช่นออร์แกน เหมือนเป็นการย้อนอดีตช่วงที่ทุกสิ่งถูกสร้างขึ้นในระบบอนาล็อก ใช้เครื่องจักรมากกว่าการใช้ดิจิตอลผลิตขึ้น ไอเดียนี้ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากนักดนตรีผู้มีพรสวรรค์ที่สามารถทดลองกับเครื่องดนตรีของพวกเขาเพื่อเลียนแบบเสียงบนโลก เพื่อเป็นการเตือนถึงทุกสิ่งที่คูเปอร์พยายามรักษาไว้แต่กลับต้องสูญเสียไป

การรวมตัวของเสียงเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงจุดสุดยอดที่มนุษย์พยายามเดินทางจากโลกสู่สรวงสวรรค์: Temple Church เป็นโบสถ์ศตวรรษที่ 12 ที่ยังใช้งานได้ในใจกลางลอนดอน “หัวใจของสถาปัตยกรรมคือการพาคุณสู่โลกอื่น และเราต้องใช้พื้นผิวเดินทางครั้งนี้”  จากจุดนั้นซิมเมอร์ได้รวมศิลปินออเคสตราระดับโลก และปลุกใจพวกเขาเพื่อสร้างดนตรีผ่านเครื่องดนตรีนับร้อยปี

การประพันธ์ 45 ครั้งร่วมกับโนแลน จากนั้นมีการย้ายบทเพลงสู่เวทีการมิกซ์ที่ผู้กำกับฯ ทำงานร่วมกับซิมเมอร์ คิง และผู้ควบคุมการตัดต่อเสียง อเล็กซ์ กิบสัน เผื่อประสานเสียเข้ากับภาพ โนแลนให้ความเห็นว่า “ฮานส์เริ่มจากอารมณ์หลักของเรื่องและค่อยๆ ขยายออกจากตรงนั้น ผมคิดว่าผลลัพธ์ที่ได้คือผลงานที่พิถีพิถันมากสุดของฮานส์ มันเป็นบทเพลงที่มีความพิเศษมาก และแตกต่างจากทุกสิ่งที่เราเคยทำร่วมกันมาเลย”

สำหรับผู้ประพันธ์ดนตรีแล้ว การแต่งเพลงในทางตรงกันข้ามและปล่อยให้ภาพยนตร์เป็นตัวคุมถือว่าเป็นการถ่ายทอดอย่างหนึ่งเช่นกัน  “ดนตรีก้าวล้ำไปไกลกว่าไร่ข้าวโพดเสมอ” เขากล่าว “มันไกลกว่าสภาพกลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่ตัวละครพบเจอ มันห้อมล้อมด้วยความรักไว้เสมอ ประเด็นหลักของเรื่องคูเปอร์คือไอเดียของพ่อที่พยายามพิทักษ์โลก ความสัมพันธ์ทางกายกับลูกของเขาต้องพังลง แต่หัวใจของเขาที่ผูกพันจิตวิญญาณกลับแน่นแฟ้นขึ้น”

หลังจากการเดินทางมาอย่างยาวนานเพื่อจินตนาการถึงความเป็นไปได้ของหนังที่มีไอเดียด้านวิทยาศาสตร์จากคิป ธอร์น ผู้อำนวยการสร้างฯ ลินดา ออบส์ยอมรับว่าถึงกับน้ำตาไหลตอนที่โนแลนเอาหนังมาฉายเป็นครั้งแรก “คริสจัดการผสมผสานเรื่องจริงทางวิทยาศาสตร์เข้ากับการเล่าเรื่องราว ซึ่งเรายังเข้าใจทุกอย่างได้อยู่เพราะมันถ่ายทอดผ่านอารมณ์ของตัวละคร” เธอเล่าด้วยความประหลาดใจ “ทั้งหมดจะทำให้คุณนั่งติดขอบเบาะในการนั่งรถไฟเหาะสู่ห้วงอวกาศครั้งนี้”

“ทุกสิ่งที่คริสทำและสนับสนุนให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมในหนังของเราทำ ล้วนเพื่อทำให้การสร้างหนังแต่ละเรื่องมอบประสบการณ์แปลกใหม่กับผู้ชม และฉันเชื่อว่าไม่มีอะไรจะเหนือไปกว่า ‘Interstellar’ แล้วค่ะ” เอ็มม่า โธมัสกล่าวเสริมว่า “หรับเขาแล้วมันเป็นเรื่องราวที่มีความเป็นส่วนตัวมาก แต่หลายมุมก็สะท้อนถึงเรื่องที่พบทั่วโลก ตั้งแต่ความรักของครอบครัวไปจนถึงการสำรวจสุดตื่นเต้นที่ได้พบความหมายของการเป็นมนุษย์”

“ไม่มีใครทำอะไรได้อย่างที่คริสโตเฟอร์ทำแล้วครับ” แมทธิว แม็คคอนอเฮย์กล่าว   “เขารับหน้าที่ทุกอย่างและทำงานจากสัญชาตญาณของเขาล้วนๆ และผมเชื่อว่าทุกสิ่งที่เขาทำจะเกินความคาดหมายเสมอ และเมื่อคุณได้ดูหนังเรื่อนี้ คุณจะรู้เลยว่านั่นคือเรื่องจริง เพราะผมคิดว่ามันเป็นหนังที่ต้องใช้ความพยายามสูงที่สุดเท่าที่เขาเคยกำกับฯ มา”

สำหรับโนแลนแล้วแรงผลักดันอยู่ที่ความมุ่งมั่นสู่จุดหมายปลายทาง “ผมอยากให้ผู้ชมได้เห็นการเล่าเรื่องราวนี้บนจอยักษ์และตื่นเต้นไปกับมัน” เขากล่าว “ในภาพยนตร์เรื่อง ‘Interstellar’ ผมโชคดีที่ได้ร่วมงานกับนักแสดงที่เก่งอย่างเหลือเชื่อและผู้สร้างหนังที่มีความสร้างสรรค์ พวกเราทุกคนพยายามทำให้ทุกช่วงเวลาดูสมจริง เพราะความต่นเต้นของการสร้างหนังฟอร์มยักษ์เกี่ยวกับการเดินทางผ่านดวงดาวอยู่ที่การพาผู้ชมเดินทางไปกับเรา”