28 กุมภาพันธ์ 2013 พบกับ CIRQUE DU SOLEIL WORLDS AWAY ในโรงภาพยนตร์

 

ประสบการณ์ดื่มด่ำ ที่โดดเด่นในเรื่องของสโคป ได้ผสมผสานชุดการแสดงจากการแสดงไลฟ์ของเซิร์ค ดู โซเลย์เจ็ดครั้งในลาสเวกัส “O,” KÀ, Mystère, Viva ELVIS, CRISS ANGEL Believe, Zumanity และ The Beatles LOVE ให้กลายเป็นเรื่องราวความรักในละครสัตว์ ที่อำนวยการสร้าง เขียนบทและกำกับโดย แอนดรูว์ อดัมสัน ผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอคาเดมี อวอร์ด (Shrek, The Chronicles of Narnia: The Lion, the Witch and the Wardrobe) ภาพยนตร์เรื่องนี้นำแสดงโดย อิกอร์ ซาริพอฟ นักกายกรรมกลางหาวของเซิร์ค ดู โซเลย์และอดีตนักกายกรรม เอริก้า แคธลีน ลินซ์ (ไมอา) ในบทสองหนุ่มสาว

ภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่ภูมิใจนำเสนอโดยพาราเมาท์ พิคเจอร์สและเจ้าของรางวัลอคาเดมี อวอร์ด เจมส์ คาเมรอน (Avatar, Titanic) เป็นผลงานสร้างระหว่างเซิร์ค ดู โซเลย์, รีล เอฟเฟ็กต์ อิงค์., สเตรนจ์ เว็ธเธอร์ ฟิล์มส์และคาเมรอน/เพซ กรุ๊ป Cirque du Soleil Worlds Away ที่อำนวยการสร้างโดย มาร์ติน โบลดัค ผู้อำนวยการสร้าง Cirque du Soleil, อดัมสันและแอรอน วอร์เนอร์ หุ้นส่วนของเขาที่สเตรนจ์ เว็ธเธอร์ ฟิล์มส์ ถูกบันทึกภาพในระบบ 3D โดยผู้ควบคุมงานสร้างคาเมรอนและวินเซนต์ เพซ หุ้นส่วนที่คาเมรอน/เพซ กรุ๊ปของเขา ผู้รับหน้าที่ผู้ควบคุมงานสร้าง 3D ของเรื่อง ผู้ควบคุมงานสร้างของเรื่องคือคาเมรอน, ฌาคส์ เมเธ, แครี แกรแนทและเอ็ด โจนส์ ผู้กำกับภาพคือเบรท เทิร์นบุล คอมโพสเซอร์คือเบนัวต์ จูทราส (การแสดงเซิร์ค ดู โซเลย์Quidam, “O,” La Nouba และ Mystère ในฐานะมือเขียนบท) ได้แต่งดนตรีประกอบและเพลงเปิดเรื่อง สตีเฟน บาร์ตันเป็นผู้แต่งดนตรีเพิ่มเติมให้กับองก์สุดท้าย มือลำดับภาพคือซิม อีวานส์-โจนส์

 

เกี่ยวกับภาพยนตร์

สำหรับมือเขียนบท/ผู้กำกับ/ผู้อำนวยการสร้าง แอนดรูว์ อดัมสัน การผูกปมความรักล้อมรอบองค์ประกอบที่ยอดเยี่ยมที่สุดของการแสดงไลฟ์เจ็ดชุด ที่แสดงในลาสเวกัสเป็นการเดินทางสู่โลกเวทมนตร์โดยแท้ ผู้ควบคุมงานสร้างแครี แกรแนทและรีล เอฟเฟ็กต์ อิงค์. ได้คุยกันถึงความเป็นไปได้ของการร่วมมือกับเซิร์ค ดู โซเลย์ในโปรเจ็กต์นี้มาได้ซักพักแล้วในตอนที่เขาทาบทามอดัมสันเกี่ยวกับไอเดียของการสร้างและกำกับภาพยนตร์ที่นำเค้าโครงมาจากเซิร์ค แกรแนทเป็นอดีตซีอีโอของวอลเดน มีเดีย ซึ่งเคยร่วมงานกับอดัมสันมาก่อนในภาพยนตร์สองภาคแรกที่สร้างจากซีรีส์ The Chronicles of Narnia ของซี.เอส. ลูอิส ที่เป็นที่รัก นอกจากนั้น อดัมสันยังรับหน้าที่ผู้อำนวยการสร้างของภาคที่สาม The Chronicles of Narnia: The Voyage of the Dawn Treader อีกด้วย

“เราต้องหาวิธีการที่ถ่ายทอดลักษณะความเป็นหนังตามธรรมชาติเพื่อเข้าสู่โลกของเซิร์คครับ” อดัมสันกล่าว “ผมเริ่มนึกถึงวิธีการของการแสดงไลฟ์ของเซิร์ค มันมีคุณสมบัติที่เหมือนกับความฝันมากๆ มันมีเส้นใยของเรื่องราวเบาบางที่ร้อยเรียงการแสดงแต่ละชุด ซึ่งทำให้การแสดงเหล่านั้นคงอยู่ภายในโลกที่ถูกสร้างขึ้นมาได้ ผมคิดว่าหนังเรื่องนี้ก็สามารถทำในแบบเดียวกันได้ ผมสามารถหาเรื่องราวที่จะร้อยเรียงการแสดงที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงเหล่านี้เข้าด้วยกันได้ครับ”

“ผมได้ไอเดียของคนสองคนนี้ที่ได้พบกันในละครสัตว์จริงๆ เธอเป็นเด็กสาวที่อยากจะหนีจากชีวิตตัวเอง เธอเห็นนักกายกรรมกลางหาวคนนี้และตกหลุมรักเขาในทันที แต่เมื่อพวกเขาสบตากัน เขากลับพลาดและร่วงลงมา เขาร่วงผ่านลานละครสัตว์ไปสู่อีกโลกหนึ่ง และดึงเธอไปกับเขาด้วย พวกเขาใช้เวลาที่เหลือของเรื่องไปกับการตามหากันและกันในโลกต่างๆ ที่คงอยู่ในสภาพแน่นิ่ง เป็นเหมือนพื้นที่ระหว่างความเป็นและความตาย โลกที่อยู่ระหว่างภพ ท้ายที่สุด พวกเขาก็ได้มาเจอกันในบัลเลต์กลางหาวที่เป็นการเติมเต็มความฝัน มันเป็นการแสดงที่แสดงถึงสมดุลระหว่างความงามและอันตรายครับ”

เช่นเดียวกับการแสดงไลฟ์ ภาพยนตร์ก็ใช้ไดอะล็อค ดนตรีและสีหน้าอัศจรรย์ของนักแสดงในการขับเคลื่อนเรื่องราวไปข้างหน้าเช่นกัน อย่างไรก็ดี ทีมผู้สร้างไม่เคยตั้งใจที่จะทำเพียงแค่บันทึกภาพการแสดงไลฟ์เพียงอย่างเดียว“สิ่งที่ผมอยากจะทำ” อดัมสันกล่าว “คือการนำผู้ชมไปชมการแสดงเหล่านี้ในแบบที่พวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อน เพื่อดึงกล้องเข้าไประยะประชิดและทำให้เกิดมุมมองที่แตกต่างสำหรับสิ่งที่นักแสดงเหล่านั้น รวมถึงแสดงให้เห็นถึงมุมมองนั้นในระบบ 3D ไฮสปีดและสโลว์โมชันครับ”

ผู้ควบคุมงานสร้าง คาเมรอน ผู้ซึ่งบริษัทคาเมรอน/เพซ กรุ๊ปของเขา ได้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยระบบกล้อง FUSION 3D ของเขา กล่าวว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ให้ความรู้สึก “ราวกับว่าคุณหลุดเข้าไปอยู่ในละครสัตว์ในฝัน ตั้งแต่เริ่มต้น แอนดรูว์มีวิสัยทัศน์ที่ค่อนข้างจะชัดเจนของสิ่งที่เขาต้องการจะทำและมันก็พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะผู้อำนวยการสร้าง ผมทำหน้าที่เหมือนผู้รับฟัง เป้าหมายของเราคือการเฉลิมฉลองศิลปะทางกายภาพ ซึ่งเป็นทุกสิ่งของเซิร์ค ดู โซเลย์ รวมถึงแบบดีไซน์ ความงามและความสง่างามของการแสดงเหล่านั้นด้วยครับ”

“แอนดรูว์จะต้องรักษาสมดุลที่เปราะบางในการทำงานกับองค์ประกอบที่หลากหลายจากการแสดงพวกนี้ แน่นอนว่ามันไม่ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเอฟเฟ็กต์ แต่มันจะนำเสนอพรสวรรค์ของมนุษย์ที่เป็นเรื่องทางกายภาพล้วนๆ และความสามารถที่น่าอัศจรรย์ใจของพวกเขา แม้ว่ามันจะเริ่มต้นในละครสัตว์ที่ค่อนข้างจะซอมซ่อ แต่มันก็นำไปสู่การค้นพบโลกละครสัตว์อีกมิติหนึ่ง ที่พวกเขาพลัดตกลงไป อย่างไรก็ดี มันก็ยังคงเป็นละครสัตว์ครับ มันมีลวดสลิง มีบังเหียน และคุณก็จะได้เห็นมันทั้งหมด โดยไม่มีเอฟเฟ็กต์มาปิดบัง ในการเห็นสิ่งเหล่านั้น คุณจะสัมผัสได้ถึงความชาญฉลาดของการจัดฉาก การออกแบบเครื่องแต่งกาย ความแข็งแรงและความพลิ้วไหวในพรสวรรค์ของพวกเขา ที่ดูเหมือนจะเป็นไปตามธรรมชาติ และพลิ้วไหวเหลือเกิน แต่การเตรียมพร้อมและความอุตสาหะเบื้องหลังนั้นเป็นทุกอย่างนอกเหนือจากความสบายๆ สิ่งที่คุณได้เห็นเป็นเซิร์คล้วนๆ เลยครับ”

แอนดรูว์ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์คลาสสิกอย่าง Fantasia ของวอลท์ ดิสนีย์, Alice in Wonderland ของลูอิส แคร์รอล, บัลเลต์ Swan Lake ของปีเตอร์ ไชคอฟสกี้ และประสบการณ์ของเขาเองจากการดูละครสัตว์เร่ในเม็กซิโกในปี 2000

“มันเป็นละครสัตว์เร่ที่มีธีมเป็นเฟร็ด ฟลินท์สโตน ผมจำได้ว่าหัวหน้าคณะอายุเยอะแล้ว สิงโตก็ไม่มีเขี้ยว นักกายกรรมคนหนึ่งเป็นผู้หญิงร่างใหญ่ที่สวมชุดบิกินีรูปดาว มันแทบไม่มีผู้ชมเลย และดูเหมือนผ่านเลยช่วงเวลาที่ดีที่สุดมาแล้ว” เขาเล่า “แต่มันก็มีองค์ประกอบที่แสนเศร้าแต่ก็งดงาม…มันทั้งหอมหวานและขมขื่น…ซึ่งเป็นหนึ่งในอารมณ์ที่ผมชื่นชอบ มันติดอยู่ในความคิดของผมเสมอมา ผมก็เลยเปิดหนังเรื่องนี้ในละครสัตว์ที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับยุคสมัยหรือสถานที่ใดๆ ผมอยากจะให้มันให้ความรู้สึกเหมือนเป็นละครสัตว์เร่ที่อยู่ในละแวกบ้าน ซึ่งอาจจะอยู่ที่ไหนก็ได้”

ตอนแรก อดัมสันอยากจะใช้นักแสดงในบทสำคัญๆ “แต่ผมก็รู้ด้วยว่าผมอยากจะได้การแสดงกลางหาวที่งดงามและโรแมนติกซักอย่าง”

“การสอนคนธรรมดาให้แสดงกายกรรมกลางหาว ให้แสดงได้ระดับนี้ต้องใช้เวลาหลายปีครับ” ฌาคส์ เมเธ ผู้ควบคุมงานสร้างของเซิร์ค ดู โซเลย์ กล่าว “วิธีที่เราใช้คือการสอนนักแสดงของเซิร์ค ดู โซเลย์ให้สวมบทบาทนั้นๆ ในตอนจบของเรื่อง พวกเขาต้องลอยละล่องเข้าสู่อ้อมแขนของกันและกัน พวกเขาต้องอาศัยทักษะและการฝึกฝนของนักแสดงเซิร์ค ดู โซเลย์จริงๆ อิกอร์และเอริก้าต่างก็แสดงในการแสดงของเรามาหลายปีแล้ว พวกเขาไม่เพียงแต่เป็นนักกายกรรมที่วิเศษสุดเท่านั้น แต่ด้วยความที่พวกเขาได้รับการฝึกฝนจากเซิร์ค ดู โซเลย์ พวกเขาก็เลยเรียนรู้การสวมบทบาทตัวละคร ในการแสดงเซิร์ค ดู โซเลย์ ทุกคนสวมบทตัวละครและมีบทบาททั้งนั้น ดังนั้น เราก็เลยรู้ว่าพวกเขาสองคนมีทักษะการแสดงเพราะช่วงเวลาหลายปีที่พวกเขาอยู่กับเซิร์ค ดู โซเลย์ครับ”

เอริก้า แคธลีน ลินซ์อายุได้ 19 ปีตอนที่เธอได้เข้าร่วมคณะเซิร์ค ดู โซเลย์ไม่นานหลังจากจบไฮสคูล “ฉันโตขึ้นมาเป็นนักยิมนาสติกและนักร้อง ซึ่งนำไปสู่โรงละคร ฉันก็เลยสับหว่างระหว่างบทบาทการแสดงและกายกรรม และเมื่อเร็วๆ นี้ ฉันก็ได้แสดงกายกรรมกลางหาวคู่ ซึ่งเหมาะกับธีมของเรื่องนี้เลยล่ะค่ะ” ลินซ์กล่าว การได้รับบทในภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เธอมีโอกาสภายในเซิร์คอย่างที่เธอไม่เคยรู้จักมาก่อน “ไม่เคยมีใครมีโอกาสได้เหินหาวระหว่างการแสดง หรือมีส่วนร่วมในสิ่งที่พวกเขาทำในทุกคืน เพื่อให้ได้ความรู้สึกในเรื่องขนบของการแสดงแต่ละครั้งเลยค่ะ ทุกการแสดงเป็นเหมือนครอบครัวมันเอง มันมีพลังงานของตัวเอง มีสัญชาติและอารมณ์ขันของตัวเอง โดยส่วนตัวแล้ว นี่เป็นเรื่องที่เหลือเชื่อสำหรับฉันค่ะ”

แม้ว่าเธอและอิกอร์ ซาริพอฟ เพื่อนร่วมแสดงของเธอจะเคยแสดงในการแสดง  KÀ มาก่อน แต่ทั้งคู่ก็ไม่เคยแสดงด้วยกันมาก่อนหน้า Cirque du Soleil Worlds Away เลย ซาริพอฟ ผู้เข้าทำงานกับคณะเซิร์ค ดู โซเลย์ในปี 2002 เติบโตในครอบครัวละครสัตว์ชาวรัสเซีย ซึ่งดำเนินธุรกิจนี้มากว่าหนึ่งศตวรรษ เขาเป็นนักกายกรรมกลางหาวตั้งแต่การปรากฏตัวบนเวทีแสดงครั้งแรกสำหรับมอสโคว์ เซอร์คัสเมื่ออายุได้ 11 ปี เขาได้ร่วมแสดงกับคณะละครสัตว์อื่นๆ ทั่วโลก เพื่อขัดเกลาทักษะของเขา เมื่อเขาได้เข้าร่วมคณะเซิร์ค ดู โซเลย์ เขาก็ได้แสดงใน KÀ ห้าปีในบทหนุ่มหิ่งห้อยและใน Zumanity ของเซิร์คที่มีธีมผู้ใหญ่ นานหลายปี “ผมไม่เคยทำงานใกล้ชิดกับเอริก้ามาก่อน แต่เราก็จะต้องทำให้ได้อย่างรวดเร็ว (ครั้งแรกสำหรับฉากเลิฟซีนในการแสดงครั้งสุดท้าย) และมันก็เป็นเรื่องดีครับ” เขากล่าว

สิ่งที่พวกเขาทำ แม้จะเป็นส่วนที่ต่อยอดจาก KÀ ได้ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นพิเศษ มันเป็นบัลเลต์กลางหาวที่โรแมนติก ซึ่งถ่ายทอดอำนาจของความรัก “สิ่งที่คุณได้เห็นคือการที่ทั้งคู่เรียนรู้ที่จะไว้ใจกันอย่างสมบูรณ์ ชีวิตของเธออยู่ในมือเขา…มันเป็นการยอมจำนนอย่างที่สุดครับ” คาเมรอนตั้งข้อสังเกต “การแสดงนั้นถูกสื่อออกมาโดยการเคลื่อนไหวร่างกายในชั่วขณะนั้น และความงามสง่าของการเคลื่อนไหวนั้นก็งดงามจริงๆ”

 

ภายใต้เต็นท์ละครสัตว์

ในตอนที่อดัมสันเลือกชุดการแสดงจากการแสดงไลฟ์เจ็ดแบบของเซิร์คเพื่อนำมาใช้ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เขาก็ได้เลือกชุดการแสดงที่จะมีผลต่อเรื่องราวที่ไมอาตามหานักกายกรรมกลางหาวจากเต็นท์หนึ่งไปสู่อีกเต็นท์หนึ่ง แต่ละครั้งที่เธอแง้มม่านและเดินเข้าไปข้างใน อีกโลกหนึ่งของเซิร์ค ดู โซเลย์ก็จะเปิดรับเธอ โลกเหล่านี้คือ:

•              “O” — “น้ำเป็นตัวแทนของทั้งชีวิตและการไร้สติ เป็นความฝันและภาพมายาเพราะเงาสะท้อนของมันครับ” ปิแอร์ ปาริเซียง ผู้อำนวยการศิลป์อาวุโสของเซิร์ค ดู โซเลย์กล่าว “มันเป็นเหมือนโลกที่มองไม่เห็นของวิญญาณ ผีและเรือล่องลอย ที่เหมือนกับฟลายอิ้ง ดัทช์แมนน่ะครับ พวกเขาพยายามล่อลวงไมอาให้ขึ้นเรือแต่เธอไม่ยอมขึ้น” มันเป็นเต็นท์แรกที่ไมอาได้เยี่ยมชมหลังจากที่เธอร่วงลงไปยังดินแดนทะเลทรายรกร้าง ที่มีเต็นท์ขนาดใหญ่หกหลัง “เป็นดินแดนหกแบบที่ตั้งอยู่ตรงกลางน่ะค่ะ” ลินซ์กล่าว

•              KÀ – สำหรับอดัมสัน KÀ เป็นการแสดงเกี่ยวกับความน่าตื่นตาตื่นใจ ด้วยเวทีที่มีขนาดหนึ่งส่วนสี่ของสนามฟุตบอล ที่สามารถยกขึ้นสู่ในแนวตั้ง หมุนไปรอบๆ และเปลี่ยนแปลงได้ “สิ่งที่ผมต้องการถ่ายทอดไม่ใช่แค่การแสดงและนักแสดงเท่านั้น แต่รวมถึงความชาญฉลาดด้วย สิ่งหนึ่งที่เซิร์คทำได้ดีคือการผสมผสานศิลปะและเทคโนโลยีเข้าด้วยกันและนำเสนอภาพที่แตกต่างจากสิ่งที่คุณเคยเห็นมาก่อนให้กับคุณครับ”

•              MYSTÈRE — “Mystère เป็นการแสดงที่มีการแสดงกายกรรมสูงสุดเท่าที่เรามีครับ” เจมส์ แฮดลีย์ ผู้อำนวยการศิลป์อาวุโสของเซิร์ค ดู โซเลย์ สำหรับการแสดงในอเมริกาเหนือ มันเป็นการแสดงที่มีอายุยืนยาวที่สุดที่แสดงในลาสเวกัส นักกายกรรมกลางหาว ที่ห้อยตัวจากกล่องกลางอากาศ จะแสดงท่าบัลเลต์ด้วยท่าที่แลดูเหมือนง่ายดาย เป็นการบอกใบ้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นสำหรับคู่รักต้องห้ามคู่นี้

•              VIVA ELVIS – ในภาพยนตร์เรื่องนี้ จักรยานสามล้อลึกลับที่แล่นได้ด้วยตัวเอง ได้นำไมอาไปสู่เต็นท์วีวา เอลวิส ที่ซึ่งนักแสดงที่แต่งชุดซูเปอร์ฮีโร ได้กระโดดบนแทรมโปลีน ตามท่วงทำนองจากดนตรีของเอลวิส

•              CRISS ANGEL BELIEVE – ไมอาได้เดินทางผ่านเต็นท์ทั้งหกหลังของเซิร์ค ดู โซเลย์ ที่ตั้งอยู่ในดินแดนตรงกลางระหว่างชีวิตและความตาย เพื่อค้นหาผู้เป็นที่รักที่หายตัวไปของเธอ องค์ประกอบที่เจ็ดไม่ใช่เต็นท์ แต่เป็นกระต่ายสีขาวที่พิลึกพิลั่นของเซิร์ค ดู โซเลย์ หัวกระต่ายเริงระบำจาก CRISS ANGEL Believe ผู้ปรากฏตัวในเวลาที่เหมาะเจาะ และเรียกให้เธอติดตามเขาไป

•              ZUMANITY — “การแสดงที่เราใช้จาก Zumanity เป็นการแสดงจำกัดที่มีขนาดเล็กมากๆ แต่มันก็อยู่ในตำแหน่งแห่งที่ที่เหมาะกับธีมอย่างเหลือเกิน” อดัมสันกล่าว สิ่งที่ในตอนแรกดูเหมือนเป็นน้ำบนดวงจันทร์เปลี่ยนกลายเป็นโหลแก้วที่เต็มไปด้วยน้ำ ที่ซึ่งนักบิดตัวผู้เย้ายวน ล่อลวงให้นักกายกรรมกลางหาว เข้าไปหาเธอ

•              THE BEATLES LOVE – การแสดงที่เกิดจากเพลง Being for the Benefit of Mr. Kite “มีธีมจากละครสัตว์” อดัมสันบอก “มันก็เลยเชื่อมโยงเรากลับไปสู่ละครสัตว์ในตอนเริ่มต้นของเราอีกครั้ง” แฮดลีย์กล่าวเสริมอีกว่า “จริงๆ แล้ว ในบรรดาการแสดงทั้งหมดที่เราถ่ายทำ Mr. Kite อาจจะเป็นการแสดงที่มีนักแสดงมากที่สุดก็ได้ครับ”

 

ดนตรี

คอมโพสเซอร์ เบนัวต์ จูทราส ได้แต่งดนตรีประกอบและดนตรีคั่นจังหวะระหว่างการแสดงเซิร์ค ที่ถูกใช้ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ก่อนหน้านี้ บาร์ตันเคยร่วมงานกับอดัมสันมาแล้วในแฟรนไชส์ Shrek และ Narnia แต่ผู้กำกับก็รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องสำคัญที่จูทราส ผู้แต่งดนตรีให้กับการแสดงบางชุดของเซิร์ค จะต้องดัดแปลงและขัดเกลาดนตรีบางอย่างเพื่อ Cirque du Soleil Worlds Away เป็นพิเศษ

“ดนตรีเป็นไดอะล็อคของภาพยนตร์เรื่องนี้จริงๆ ครับ” จูทราสกล่าว “คุณจะได้เห็นว่า เซิร์ค ดู โซเลย์ได้พัฒนามันขึ้นมาเป็นภาษาสำหรับการแสดงของพวกเขา เพื่อบอกเล่าเรื่องราวด้วยดนตรีโดยไม่ต้องใช้คำพูด มันกลายเป็นภาษาสากลครับ” มันเป็นองค์ประกอบที่คาเมรอนและอดัมสันอยากจะรักษาเอาไว้ในภาพยนตร์เรื่องนี้

“สำหรับแรงบันดาลใจของดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้” จูทราสกล่าวต่อ “มันเป็นเรื่องของช่วงเวลาในชีวิตและหญิงสาวผู้ตกหลุมรัก รวมถึงการที่ความรักทำให้คุณรู้สึกถึงความรู้สึกต่างๆ เหล่านี้ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ สีสันต่างๆ ของความรักน่ะครับ สิ่งที่ผมอยากจะทำกับการแสดงเปิดคือการทำให้มันเป็นประสบการณ์ที่แปลกแยก เพื่อทำให้มันเหมือนกับเซิร์คให้น้อยที่สุด เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างละครสัตว์เก่าแก่และโลกของเซิร์ค ดู โซเลย์ ในการแสดงชุดสุดท้าย ด้วยความที่มันเป็นส่วนหนึ่งของ KÀ สตีเฟน บาร์ตันเลยใช้การแสดงชุดนั้นเป็นแรงบันดาลใจสำหรับดนนตรี (ของการแสดงชุดสุดท้าย) ครับ”

 

พลังของ 3D

สำหรับคาเมรอน Cirque du Soleil Worlds Away “เป็นฝันที่เป็นจริง ผมคุยกับพวกเขามาได้ซักพักเกี่ยวกับการสร้างอะไรซักอย่างเป็น 3D เพราะไม่เคยมีการทำอะไรแบบนี้มาก่อน ผมโชคดีมากที่ได้ทำงานกับครอบครัวเซิร์ค ที่ได้นักแสดงพรสวรรค์มาสร้างการแสดงที่น่าประทับใจสำหรับหนังเรื่องนี้ เพราะการแสดงท้ามฤตยูของพวกเขาต้องอาศัยทักษะและความกล้าอย่างเหลือเชื่อ เรารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องสำคัญที่จะเผยให้เห็นถึงเส้นลวด ทุกสิ่งที่สนับสนุนความสามารถของมนุษย์น่ะครับ”

“เราทำงานร่วมกับทีมงานเวทีหลายชุดทุกๆ สี่วัน เราได้ใช้การแสดงไลฟ์และได้ถ่ายทำทั้งในช่วงการแสดงไลฟ์และในวันซ้อม การถ่ายทำระหว่างการแสดงไลฟ์ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายก็จริง แต่เราได้ช็อตที่ดีที่สุดจากช่วงซ้อมเพราะเราสามารถจะถ่ายทำได้จากหลายมุม เราเข้าไปพร้อมกับกล้อง 3D สิบตัวของเราและก็เริ่มถ่ายทำ แต่มันแตกต่างจากการยืนอยู่ด้านหลังกล้องเพื่อถ่ายทำการแสดงไลฟ์ เราต้องเข้าไปในนั้นพร้อมด้วยกล้องสเตดิแคม เพื่อถ่ายทำโคลสอัพ ให้เข้าใกล้ใบหน้าของพวกเขามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อบันทึกแอ็กชัน เพราะมันจะดีสำหรับ 3D มากกว่าเยอะ ผมขอใช้ตำแหน่งกล้องในมุมสูง ซึ่งเมื่อคุณถ่ายทำลงมา คุณจะเกิดความรู้สึกของความสูง หลายครั้ง เราก็ถ่ายทำจากที่สูงจากพื้น 50-100 ฟุต และคุณก็จะรู้สึกถึงระดับความสูง ที่นักแสดงที่มหัศจรรย์เหล่านี้กำลังแสดงด้วยความสูงเหนือพื้น 90 ฟุตน่ะครับ นอกจากนี้ คุณยังตระหนักถึงอันตรายที่พวกเขาพบเจอตลอดเวลาด้วย”

“ประสบการณ์ไลฟ์ของการแสดงพวกนี้เป็นเรื่องเหลือเชื่อ แต่ในโรงหนัง สิ่งที่เราสามารถมอบให้กับคุณได้คือประสบการณ์ของการอยู่ใจกลางของการแสดง ที่คุณจะได้เห็นงานที่ละเอียดลออ ที่อยู่เบื้องหลังตัวละคร ชุดคอสตูมและการออกแบบท่าเต้น มันมีการยกย่องประสบการณ์ของการแสดงไลฟ์ก็จริง แต่มันก็มีความใกล้ชิดแบบประสบการณ์ 3D ด้วยครับ”

หนึ่งในความท้าทายที่ทีมผู้สร้าง Cirque du Soleil Worlds Away ต้องเผชิญคือการที่ 3D ต้องเกี่ยวข้องกับกล้องและเทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ต้องใช้เวลาในการเตรียมอุปกรณ์มากขึ้น การเตรียมตัวยังหมายถึงการคำนึงถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยสำหรับกล้องใต้น้ำ (หลีกเลี่ยงการผสมไฟฟ้ากับน้ำเข้าด้วยกัน) และเครนกล้อง (ให้พ้นจากรัศมีของนักกายกรรมกลางหาวและวัตถุที่ลอยอยู่)

“มันมีทั้งการรีบเร่งและการรอคอย” ผู้อำนวยการสร้างมาร์ติน โบลดัคตั้งข้อสังเกต “ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับนักแสดงเซิร์คเพราะร่างกายของพวกเขาเริ่มเย็นลงและพวกเขาก็ต้องใช้เวลาซักพักเพื่ออบอุ่นร่างกาย หลังจากไม่ได้ทำอะไรมาพักหนึ่งน่ะครับ” อย่างไรก็ดี ตารางการถ่ายทำค่อนข้างสั้น เพียงแค่ 37 วันในสามช่วงเวลา ได้แก่เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ปี 2010 ในลาสเวกัส, ธันวาคม ปี 2011 ในนิวซีแลนด์ และกุมภาพันธ์ปี 2011 ในเวกัสอีกครั้งหนึ่ง CGI หนึ่งเดียวที่ถูกใช้ในเรื่องคือฉากในทะเลทราย ที่ไมอาและนักกายกรรมกลางหาวได้เดินทางระหว่างเต็นท์แต่ละหลัง

“นักแสดงทำงานของพวกเขาวันละสองครั้ง สัปดาห์ละห้าวันครับ” คาเมรอนกล่าว “ตอนที่เราบอกพวกเขาว่าเราจะสร้างหนัง 3D ซึ่งจะบันทึกภาพความมุ่งมั่นที่พวกเขามีต่อศิลปะของพวกเขา ผมคิดว่านักแสดงเหล่านี้ไม่รู้หรอกว่าจะเจอกับอะไร พวกเขาเฉยชาเล็กๆ เพราะพวกเขาแสดงแบบนี้วันแล้ววันเล่า ปีแล้วปีเล่า แต่พอทุกอย่างจบลงและพวกเขาได้เห็นสิ่งที่พวกเขาทำผ่านมุมมองของเรา พวกเขาก็อึ้งไปเลย มันช่วยกระตุ้นพวกเขาให้มีชีวิตชีวาอีกครั้งครับ”

 

ผ่านกระจกสะท้อน

แรงขับดันที่จะต่อยอดและเปลี่ยนแปลงจากขนบละครสัตว์คือสิ่งที่สร้างความแตกต่างให้กับเซิร์ค ดู โซเลย์ การที่มันวางตำแหน่งของตัวเองในฐานะ “ละครสัตว์สมัยใหม่” ทำให้มันเป็นความบันเทิงที่อาศัยความเป็นละคร และตัวละครเป็นหลัก โดยไม่มีสัตว์ ตั้งแต่รากเหง้าที่ต่ำต้อยบนท้องถนนของมันในช่วงต้นยุค 80s มาจนถึงเวอร์ชันศิลป์ของละครสัตว์ มาสู่การเป็นยักษ์ใหญ่แห่งโลกบันเทิงในปัจจุบันด้วยการแสดง 20 ชุดทั่วโลก องค์ประกอบบางอย่างของประสบการณ์ของเซิร์ค ดู โซเลย์จะคงอยู่ตราบนานเท่านาน

“คุณจะต้องการช่วงเวลา ‘ว้าว’ ช่วงเวลาที่อ่อนโยนและอารมณ์ขันของคุณเสมอ” กาย ลาบิเบอร์เต้ เจ้าของและผู้ร่วมก่อตั้งเซิร์ค ดู โซเลย์ กล่าวเปรียบเทียบมันกับการดำเนินเรื่องของบทภาพยนตร์เยี่ยมๆ ทุกเรื่อง แต่เขาก็เตือนให้เรารำลึกด้วยว่า ขนบของเซิร์คคือการบอกใบ้ถึงพล็อตและยั่วเย้าถึงเรื่องธีม เขากล่าวว่า ตรงนั้นเอง บนสุดขอบของการตีความด้วยจินตนาการ ที่เซิร์ค ดู โซเลย์ ได้เชื้อเชิญผู้ชมให้เชื่อในสิ่งที่เหลือเชื่อและก้าวผ่านกระจกเข้ามา

 

ประวัติทีมผู้สร้าง

แอนดรูว์ อดัมสัน (Andrew Adamson) –ผู้กำกับ/มือเขียนบท/ผู้อำนวยการสร้าง

แอนดรูว์ อดัมสัน ได้เปิดตัวผลงานการกำกับเรื่องแรกด้วยภาพยนตร์เรื่องแรกที่ได้รับรางวัลอคาเดมี อวอร์ดสาขาภาพยนตร์อนิเมชันยอดเยี่ยม ซึ่งก็คือภาพยนตร์บล็อกบัสเตอร์ปี 2001 โดยดรีมเวิร์คส์เรื่อง Shrek ชาวนิวซีแลนด์ผู้นี้ได้เขียนบทและกำกับ Shrek 2 ปี 2004 ซีเควลของภาพยนตร์ที่ดัดแปลงเทพนิยาย ซึ่งทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์อนิเมชันยอดเยี่ยม ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลในสาขาเพลงดั้งเดิมยอดเยี่ยม ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์อนิเมชันที่ทำรายได้ในประเทศได้สูงสุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์และเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในอเมริกาเป็นอันดับแปด ทั้งพรีเควลซีเควลของเรื่องราวความรักของยักษ์ที่น่ารักนี้ยังได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลปาล์มทองคำจากงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์อันทรงเกียรติด้วยเช่นกัน

The Chronicles of Narnia: The Lion, the Witch and the Wardrobe ผลงานเรื่องที่สามของเขา ที่ดัดแปลงจากวรณกรรมคลาสสิกโดยซี.เอส. ลูอิสและเขาควบหน้าที่อำนวยการสร้าง เป็นผลงานกำกับไลฟ์แอ็กชันเรื่องแรกของเขา ภาพยนตร์ที่โด่งดังไปทั่วโลกเรื่องนี้คว้ารางวัลออสการ์สาขาเมคอัพยอดเยี่ยมมาได้และได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอีกสองสาขา ได้แก่วิชวล เอฟเฟ็กต์และเสียง เขาได้ร่วมรับรางวัลอคาเดมีอวอร์ดจาก The Lion, the Witch and the Wardrobe และได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลแกรมมี สาขารวมซาวน์แทร็คยอดเยี่ยมสำหรับ Shrek 2

ภาพยนตร์อนิเมชันและไลฟ์แอ็กชันสามเรื่องแรกของเขาติดอันดับ 50 ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล ด้วยรายได้รวมทั่วโลกเกินระดับสามพันล้านเหรียญ ทุกเรื่องต่างก็ได้รับเสียงวิจารณ์ชื่นชมและได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลและได้รับรางวัลต่างๆ มากมายรวมถึงรางวัลแอนนี อวอร์ด ซึ่งยกย่องความสำเร็จในสายอนิเมชันและรางวัลบาฟตา ชิลเดรนส์ อวอร์ด จาก Shrek ทั้งสองรางวัล

อดัมสันได้ต่อยอดจากแฟรนไชส์นี้ ที่ถูกมองว่าเป็นภาพยนตร์น่ารักสดใสสำหรับเด็กๆ และเป็นคอเมดีที่เฉียบคมสำหรับผู้ใหญ่ ด้วยการสร้างเรื่องราวสำหรับ Shrek the Third (2007) และ Shrek Forever After (2010) ที่เขาควบหน้าที่ผู้ควบคุมงานสร้างทั้งสองเรื่อง

เขาได้กำกับ อำนวยการสร้างและร่วมเขียนบท The Chronicles of Narnia: Prince Caspian ภาคที่สองในแฟรนไชส์ Narnia ซึ่งเปิดตัวที่อันดับหนึ่งในบ็อกซ์ออฟฟิศอเมริกาในเดือนพฤษภาคม ปี 2008 เขาได้อำนวยการสร้าง The Chronicles of Narnia: Voyage of the Dawn Treader ซึ่งเป็นภาคที่สามที่ประสบความสำเร็จของแฟรนไชส์นี้

นอกเหนือจาก Cirque du Soleil Worlds Away แล้ว อดัมสันยังได้กำกับ Mister Pip ซึ่งเขาดัดแปลงจากนิยายรางวัลโดยลอยด์ โจนส์ ที่เกี่ยวกับเด็กสาวในปาปัว นิวกินี ที่ยึดติดกับนิยายเรื่อง Great Expectations ของชาร์ลส์ ดิคเคนส์ ที่ชายผิวขาวเพียงคนเดียวในหมู่บ้าน อ่านให้ฟังที่โรงเรียน

นอกจากนี้ เขายังได้พัฒนาโปรเจ็กต์จอแก้วและจอเงินไลฟ์แอ็กชันและอนิเมชันร่วมกับแอรอน วอร์เนอร์ หุ้นส่วนในการอำนวยการสร้างของเขา สำหรับบริษัทสเตรนจ์ เวธเธอร์ของพวกเขา ที่พวกเขาได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2010 ภารกิจส่วนหนึ่งของบริษัทคือการทำหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับผู้กำกับหน้าใหม่ ภายใต้การแนะนำของอดัมสันและวอร์เนอร์ โปรเจ็กต์ส่วนหนึ่งที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาได้แก่ภาพยนตร์แฟนตาซีโดยโจบี้ ฮาโรลด์เรื่อง Fountain City, ทริลเลอร์เกี่ยวกับแฟลชม็อบโดยดาร์เรน บูสแมนเรื่อง The Bystander Effect ซึ่งเขาเขียนบทและจะกำกับและอนิเมชันที่จะดัดแปลงจากนิยายภาพดาร์ค ฮอร์สที่ได้รับรางวัลวิล ไอส์เนอร์ คอมิก อินดัสทรีเรื่อง  Beasts of Burden นอกจากนั้น เขายังได้พัฒนาภาพยนตร์เรื่อง The Futurist เรื่องราวร่วมสมัยเกี่ยวกับคนในโลกอนาคตผู้โด่งดัง ผู้ซึ่งวิกฤตชีวิตวัยกลางคนของเขาสะท้อนถึงวิกฤตที่โลกกำลังมีรอบตัวเขา

เขากำลังอยู่ระหว่างการอำนวยการสร้าง Truckers และควบคุมงานสร้าง Ballast และ Puss in Boots ที่เพิ่งเข้าฉาย

อดัมสันเริ่มต้นจากการทำหน้าที่อนิเมเตอร์ คอมพิวเตอร์สำหรับเดอะ เมาส์ แด็ด รอร์ บริษัทอนิเมชันของนิวซีแลนด์ ที่นั่นเขาได้ทำงานในโฆษณาโทรทัศน์และโลโก้ที่แพร่ภาพอย่างหลากหลาย ซึ่งรวมถึงการแพร่ภาพครั้งแรกของทีวีธรี ในปี 1991 เขาได้เข้าทำงานที่พีดีไอ แคลิฟอร์เนีย (แปซิฟิค ดาต้า อิเมจิส ซึ่งตอนนี้เป็นพีดีไอ/ดรีมเวิร์คส์) ด้วยแบ็คกราวน์พื้นฐานที่กว้างขวางด้านวิชวล เอฟเฟ็กต์ ผลงานของเขาในฐานะซูเปอร์ไวเซอร์ฝ่ายวิชวล เอฟเฟ็กต์ได้แก่ Angels in the Outfield, Double Dragon, Batman & Robin, A Time to Kill และ Batman Forever ที่ทำให้เขาได้ร่วมรับการเสนอชื่อชิงรางวัลแซทเทิร์น อวอร์ดจากสถาบันไซไฟ แฟนตาซีและสยองขวัญ นอกจากนี้ เขายังได้ทำงานด้านวิชวล เอฟเฟ็กต์ให้กับ  Heart and Souls, Barry Levinson’s Toys และ True Lies ที่กำกับโดยเจมส์ คาเมรอน เพื่อนร่วมงานของเขาใน Cirque du Soleil Worlds Away

นอกจากนี้ อดัมสันยังได้ทำงานในสปอตรางวัลหลายชิ้นสำหรับแผนกโฆษณาของพีดีไอ/ดรีมเวิร์คส์ ซึ่งรวมถึงโฆษณา Planet Kevin ของคอนเวิร์ส, โฆษณา Scrubbing Bubbles Greatest Show ของดาว บาธรูม คลีนเนอร์และ Juke Box ของมิลเลอร์ เจนูอิน ดราฟท์อีกด้วย

มาร์ติน โบลดัค (Martin Bolduc) –ผู้อำนวยการสร้าง Cirque du Soleil

มาร์ติน โบลดัค ผู้เป็นที่รู้จักจากการอำนวยการสร้าง Cirque du Soleil: Fire Within ซีรีส์สารคดีโทรทัศน์ 13 เอพิโซด ที่ได้รับรางวัลไพรม์ไทม์ เอ็มมี อวอร์ดปี 2003 รวมถึงสองรางวัลเจมินี อวอร์ด ได้สร้างบทบาทหน้าที่ที่หลากหลายและโดดเด่นในฐานะผู้อำนวยการสร้าง ผู้ควบคุมงานสร้างและผู้กำกับและประสานงานงานสร้าง ที่ทำงานอยู่ใมอนทรีอัล

ในปี 2005 เขาได้รับรางวัลเจมินีสาขารายการศิลปะการแสดงยอดเยี่ยมหรือซีรีส์สำหรับสารคดีขนาดยาวเรื่อง Lovesick ในปี 2010 เขาได้คว้ารางวัลแกรมมี อวอร์ดสาขามิวสิค วิดีโอขนาดยาวยอดเยี่ยมสำหรับการอำนวยการสร้างเพลง All Together Now

โบลดัคเข้าทำงานกับเซิร์ค ดู โซเลย์ในปี 1995 ด้วยการทำงานใน“O” รายการโชว์สดของบริษัท ในปี 1999 เขากลายเป็นส่วนหนึ่งของทีมเซิร์ค ดู โซเลย์ อิเมจิส และได้อำนวยการสร้างสารคดีหลายเรื่อง นอกจากนี้ เขายังมีส่วนร่วมในการทำงานใน Touch the Sky สารคดีที่ติดตามเรื่องราวเจ้าของและผู้ก่อตั้งเซิร์ค ดู โซเลย์ กาย ลาบิเบอร์เต้ ระหว่างที่เขาเดินทางไปสถานีอวกาศนานาชาติ

การร่วมงานกับแอนดรูว์ อดัมสัน ผู้กำกับ Cirque du Soleil Worlds Away เป็นผลงาน 3D เรื่องแรกของเขา

ผลงานอื่นๆ ของโบลดัคได้แก่สารคดี A Thrilling Ride Through Kooza, ซีรีส์วาไรตี้ Cirque du Soleil: Solstrom, รายการแสดงพิเศษ Cirque du Soleil: Corteo, Cirque du Soleil: Kooza, Cirque du Soleil: Midnight Sun และ Cirque du Soleil: Varekai ที่เขาร่วมอำนวยการสร้าง

แอรอน วอร์เนอร์ (Aron Warner) –ผู้อำนวยการสร้าง

แอรอน วอร์เนอร์ ได้รับรางวัลออสการ์สำหรับการอำนวยการสร้าง Shrek โดยแอนดรูว์ อดัมสัน ภาพยนตร์บล็อกบัสเตอร์ปี 2001 ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ได้รับรางวัลออสการ์สาขาภาพยนตร์อนิเมชันยอดเยี่ยม นอกจากนี้ ภาพยนตร์ดรีมเวิร์ส์เรื่องนี้ยังทำให้เขาได้รับรางวัลบาฟตา ชิลเดรนส์ อวอร์ดสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมและได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลบาฟตา เบสต์ ฟิล์มและรางวัลเอเอฟไอ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปีอีกด้วย นี่เองเป็นจุดเร่มต้นของแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง วอร์เนอร์ได้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง Shrek 2 ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาลเป็นอันดับแปดและ Shrek the Third ที่ทำรายได้ 800 ล้านเหรียญ เขาเป็นผู้ควบคุมงานสร้างภาพยนตร์เรื่อง  Shrek Forever After

นอกจากนั้น วอร์เนอร์ยังได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลโกลเดน แซทเทิลไลท์ อวอร์ดสาขาภาพยนตร์อนิเมชันหรือสื่อผสมยอดเยี่ยมจาก Antz (1998) ซึ่งเป็นภาพยนตร์อนิเมชันเรื่องแรกของดรีมเวิร์คส์ เขาได้พบกับอดัมสันที่พีดีไอ/ดรีมเวิร์คส์ ในปี 2010 ทั้งคู่ได้ร่วมก่อตั้งสเตรนจ์ เว็ธเธอร์ หนึ่งในบริษัทที่อำนวยการสร้าง Cirque du Soleil Worlds Away นอกจากนี้ สเตรนจ์ เว็ธเธอร์ยังได้อำนวยการสร้าง Truckers แฟรนไชส์อนิเมชัน CG สำหรับดรีมเวิร์คส์ ที่สร้างจากนิยายเบสต์เซลเลอร์โดยเทอร์รี แพรทเช็ทท์ และได้พัฒนาภาพยนตร์ไลฟ์แอ็กชันและรายการโทรทัศน์อีกหลายเรื่อง

เขาได้เข้าทำงานที่พีดีไอ/ดรีมเวิร์คส์ในปี 1997 ระหว่างงานสร้าง Shrek วอร์เนอร์ยังได้หัวหน้าฝ่ายพีดีไอ/ดรีมเวิร์คส์นานสองปี ด้วยการดูแลงานสร้างและงานบริหารโปรเจ็กต์ภาพยนตร์ โฆษณา และวิชวล เอฟเฟ็กต์ทั้งหมดของแผนกคอมพิวเตอร์ อนิเมชัน เขาได้เข้าทำงานในพีดีไอครั้งแรกในฐานะผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์คอมพิวเตอร์อนิเมชันคอเมดีเรื่อง Antz

ก่อนหน้าดรีมเวิร์คส์ วอร์เนอร์เคยดำรงตำแหน่งรองประธานฝ่ายโปรดักชันที่ทเวนตี้ เซ็นจูรี ฟ็อกซ์ ที่ซึ่งเขาได้ทำการดูแลงานสร้างของภาพยนตร์หลายเรื่องเช่น True Lies และ Titanic โดยเจมส์ คาเมรอน,  Independence Day, The Ice Storm, The Crucible, Alien Resurrection และ Volcano

เขาเริ่มต้นทำงานเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์สยองขวัญเรื่อง Freddy’s Dead: The Final Nightmare หลังจากนั้น เขาก็ได้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสร้างควบคุมในภาพยนตร์โดยจอห์น ดัห์ลเรื่อง Red Rock West ก่อนที่จะเริ่มต้นทำงานกับทเวนตี้ เซ็นจูรี ฟ็อกซ์ในตำแหน่งผู้จัดการกองถ่ายใน Ghost in the Machine นอกจากนี้ เขายังได้อำนวยการสร้างภาพยนตร์คัลท์คลาสสิกเรื่อง Tank Girl อีกด้วย

หลังจากสำเร็จการศึกษาจากยูซีแอลเอ ฟิล์ม สคูล วอร์เนอร์ก็ได้ทำงานกับเอ็มไพร์ พิคเจอร์สในตำแหน่งผู้ประสานงานงานสร้างในภาพยนตร์สยองขวัญและไซไฟทุนต่ำ เขาได้ทำงานให้กับฟิล์ม ไฟแนนซิส บริษัทหุ้นกู้เต็มตัว ที่เขาได้ดูแลงานสร้างภาพยนตร์กว่า 50 เรื่อง

ปัจจุบัน แอรอน วอร์เนอร์ดำรงตำแหน่งประธานฝ่ายอนิเมชันที่รีลไอเอฟเอ็กซ์ อิงค์.

วินซ์ เพซ (Vince Pace)–ผู้ควบคุมงานสร้าง 3D

วินซ์ เพซ ผู้กำกับภาพชื่อดัง ผู้ร่วมประดิษฐ์ระบบสเตอริโอสโคปิคที่ล้ำสมัยที่สุดของโลก ที่เป็นที่รู้จักในชื่อของ FUSION 3D เป็นผู้อำนวยการร่วมของคาเมรอน/เพซ กรุ๊ป (ซีพีจี) ซึ่งเป็นการร่วมหุ้นกับ เจมส์ คาเมรอน ผู้กำกับเจ้าของรางวัลอคาเดมี อวอร์ดและผู้ควบคุมงานสร้าง Cirque du Soleil Worlds Away

ผลงานของเพซ ผู้ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางในฐานะผู้บุกเบิกในการปรับปรุงประสบการณ์ความบันเทิง เต็มไปด้วยความสำเร็จที่สำคัญต่อวงการ ตั้งแต่การสนับสนุนความท้าทายด้านการถ่ายทำของ Blue Planet ซีรีส์รางวัลทางบีบีซี ไปจนถึงการออกแบบเทคโนโลยีแสงนวัตกรรม สำหรับภาพยนตร์โดยคาเมรอนเรื่อง The Abyss และได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลเอ็มมี อวอร์ดสาขากำกับภาพ จากการบันทึกภาพจากดาดฟ้าเรือบิสมาร์ค ซึ่งอยู่ใต้ทะเลลึกสามไมล์สำหรับสารคดีทางโทรทัศน์ของคาเมรอนเรื่อง Expedition: Bismarck

เพซได้รับรางวัลจอร์จ เวนเซล เทคนิคัล อชีฟเมนต์ อวอร์ด ซึ่งเป็นสปอร์ตส์ เอ็มมี อวอร์ดที่มอบสำหรับความสำเร็จเชิงเทคนิค โดยสาขานี้จะยกย่องนวัตกรรมด้านเทคนิค ซึ่งพิเศษสุดและจะเพิ่มประสบการณ์การแพร่ภาพสำหรับผู้ชม จากการสนับสนุนการบันทึกภาพการแข่งขันยูเอส โอเพน เทนนิส แชมเปียนชิพ ปี 2010 ของทีมงานกีฬาซีบีเอส สปอร์ตส์ งานนี้นับเป็นการแพร่ภาพการแข่งขันเทนนิสครั้งสำคัญในระบบ 3D ไปทั่วโลกเป็นครั้งแรก เขาได้ร่วมงานกับทีมเพื่อนำเสนอกล้องเจ็ดตัวที่มีเทคโนโลยีชาโดว์ ในตำแหน่งสำคัญทั่วสนาม

เกือบสิบปีที่แล้ว เพซและคาเมรอนได้ร่วมมือกันเพื่อปฏิวัติประสบการณ์ความบันเทิง ด้วยการพัฒนาระบบสเตอริโอสโคปิคที่ล้ำสมัยที่สุด ในนามของ FUSION 3D จากปี 2000-2011  เพซ บริษัทของเขา ได้รวบรวมทีมงานเทคนิคและทีมงานสร้างสรรค์ ซึ่งใช้ระบบ FUSION 3D เพื่อผสมผสาน “จินตนาการผ่านทางนวัตกรรม” เข้าไปในภาพยนตร์ การถ่ายทอดสดกีฬาและประสบการณ์ความบันเทิง คอนเสิร์ต มิวสิค วิดีโอและ ฯลฯ

ตอนนี้ ซีพีจี ที่มีสำนักงานใหญ่ที่เบอร์แบงค์ ผู้นำของอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี 3D และผู้ให้บริการด้านงานโปรดักชันทั้งจอแก้วและจอเงิน กำลังมุ่งหน้าสู่อนาคตของ 3D ผ่านทางผลิตภัณฑ์ แนวทางและเครื่องมือสร้างสรรค์ในสื่อทุกประเภท ประสบการณ์ที่ไม่มีใครเทียบได้ของบริษัทในเรื่อง 3D ที่คอยสนับสนุนเครือข่าย สตูดิโอ ผู้แพร่ภาพ ผู้สร้าง และทีมงานสร้างสรรค์ทั่วโลก ได้ช่วยผู้ผลิตคอนเทนท์ให้ตระหนักถึงศักยภาพเต็มที่ของมันในฐานะสื่อในการเล่าเรื่องที่ทรงพลังและดึงดูดผู้ชมแบบใหม่ ด้วยการใช้แนวทาง 3D ที่เรียบง่าย มีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่าย ซีพีจีได้สนับสนุนให้เกิดรายได้กว่วา 7.5 พันล้านเหรียญในบ็อกซ์ออฟฟิศ และมีบทบาทสำคัญในภาพยนตร์คอนเสิร์ต มิวสิค วิดีโอและโฆษณาเก้าชิ้น ภาพยนตร์ 29 เรื่องและการแพร่ภาพการถ่ายทอดสดกีฬากว่า 150 รายการทั่วโลก

เทคโนโลยี FUSION 3D ของซีพีจี ที่ทีมผู้สร้างและผู้อำนวยการสร้างคอนเทนท์ใช้ ส่งผลให้เกิดรายได้กว่า 7.5 พันล้านเหรียญในบ็อกซ์ออฟฟิศและเป็นผู้รับผิดชอบนวัตกรรม 3D ด้านดนตรี ความบันเทิง ภาพยนตร์และกีฬาเช่น The Three Musketeers, Final Destination 5, Glee: The 3D Concert Movie, Transformers: Dark Side of the Moon, Pirates of the Caribbean: On Stranger Tides, TRON, Legacy, Avatar, Resident Evil: Afterlife, U2:3D, การถ่ายทอดรายการยูเอส เทนนิส แชมเปียนชิพของซีบีเอส สปอร์ตส์, มาสเตอร์ กอล์ฟ ทัวร์นาเมนต์ทาง ซีบีเอส สปอร์ตส์, เอ็นบีเอ ไฟนอลส์ และออลสตาร์ เกมส์, Journey to the Center of the Earth, Hannah Montana/Miley Cyrus: Best of Both Worlds Concert Film และ Final Destination

เจมส์ คาเมรอน (James Cameron) –ผู้ควบคุมงานสร้าง

เจมส์ คาเมรอน ผู้กำกับ/มือเขียนบท/ผู้อำนวยการสร้างเจ้าของรางวัลอคาเดมี อวอร์ด ผู้ซึ่งผลงานเรื่อง Avatar และ Titanic ยังคงเป็นสองภาพยนตร์บล็อกบัสเตอร์ระดับท็อปของโลกตลอดกาล เป็นผู้พลิกโฉมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ผู้ซึ่งความล้ำหน้าที่ไม่มีใครเทียบได้ด้านเทคโนโลยีการสร้างภาพยนตร์ 3D กำลังผลักดันประสบการณ์บันเทิงไปข้างหน้า สำหรับคนทำหนังและผู้ชม

ภาพยนตร์ของเขาได้แผ้วถางแนวทางใหม่ทั้งในด้านวิชวล เอฟเฟ็กต์และสถิติการแสดงทั่วโลก Avatar การผจญภัยอีพิคไซไฟ 3D ของคาเมรอน ซึ่งมีเรื่องราวเกิดขึ้นในบรรยากาศที่บริสุทธิ์บนดาวเคราะห์ที่ห่างไกล ปัจจุบัน ถือครองสถิติบ็อกซ์ออฟฟิศในประเทศและทั่วโลก ด้วยการทำรายได้ 2.7 พันล้านเหรียญทั่วโลก ซึ่งเป็นการเอาชนะ Titanic ซึ่งครองสถิตินั้นมานาน 12 ปี

อุตสาหกรรมได้ตอบสนองต่อผลงานของเขาด้วยการที่ Titanic ได้รับการเสนอชื่อชิง 14 รางวัลอคาเดมี อวอร์ด (ทำลายสถิติ) และได้ 11 รางวัลออสการ์ (ซึ่งมากกว่าที่ภาพยนตร์เรื่องอื่นเคยได้รับ) ซึ่งรวมถึงสามรางวัลออสการ์สำหรับคาเมรอนในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม กำกับยอดเยี่ยมและลำดับภาพยอดเยี่ยม Avatar ได้รับการเสนอชื่อชิงเก้ารางวัลอคาเดมี อวอร์ดและทำให้คาเมรอนได้รับรางวัลลูกโลกทองคำสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยมและภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

Avatar ใช้เวลากว่าสองปีในการพัฒนาเทคโนโลยีถ่ายทำใหม่ ซึ่งรวมถึงเพอร์ฟอร์แมนซ์ แคปเจอร์ใบหน้าที่อาศัยภาพเป็นพื้นฐาน, กล้องเสมือนจริงเรียลไทม์สำหรับการถ่ายทำ CG และระบบซิมูลแคม สำหรับการติดตามภาพแบบเรียลไทม์และการคอมโพสิทตัวละคร CG เข้าไปในฉากไลฟ์แอ็กชัน เทคนิคเหล่านี้ถูกผสมผสานเข้ากับการถ่ายทำสเตอริโอสโคปิคเพื่อสร้างภาพยนตร์ไฮบริดระหว่าง CG และไลฟ์แอ็กชัน

คาเมรอน ออเทอร์ภาพยนตร์และนักอนุรักษ์นิยมผู้มุ่งมั่น ยังเป็นนักประดิษฐ์และนักสำรวจ ผู้เชื่อมโยงโลกของศิลปะและวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกันได้อย่างสบาย นอกเหนือจากสถิติที่ไม่มีใครเทียบได้ของผลงานบล็อกบัสเตอร์ของเขา (ซึ่งผลงานการกำกับของเขาทำรายได้ประมาณ 6 พันล้านเหรียญทั่วโลก) แล้ว สารคดีของคาเมรอนยังดำดิ่งลงไปใต้มหาสมุทรลึกและทะเลทรายเพื่อไขว่คว้าตามหาปริศนาลึกลับที่ยังไม่มีความกระจ่าง รวมถึงความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อโลกใบนี้ คาเมรอน ผู้สนับสนุนการสำรวจอวกาศอย่างเต็มตัว มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับสภาที่ปรึกษานาซาและในฐานะสมาชิกสมาคมดาวอังคารและสมาคมดาวเคราะห์

ความสามารถของเขาในการนำสิ่งที่เขาเชี่ยวชาญไปสู่การสร้างภาพยนตร์ อย่าง Avatar และผลักดันเทคโนโลยีที่ถูกใช้ (การสร้างระบบกล้อง FUSION 3D) ให้กลายเป็นอุตสาหกรรมนิชใหม่ที่เป็นที่ต้องการอย่างสูง และสามารถเปลี่ยนแปลงกระแสของการถ่ายทำภาพยนตร์ได้ เป็นหนึ่งในจุดแข็งของเขา ในปี 2011 วินเซนต์ เพซ ผู้ร่วมงานกับเขาใน Cirque du Soleil Worlds Away และได้ร่วมงานกับเขาในภาพยนตร์หลายเรื่อง ได้ร่วมก่อตั้ง คาเมรอน/เพซ กรุ๊ป (ซีพีจี) เพื่อพัฒนา ขายและให้เช่าเทคโนโลยีการถ่ายทำ 3D สำหรับทีมผู้สร้าง ผู้แพร่ภาพและผู้ผลิตเกม ระบบกล้อง FUSION ของซีพีจี เป็นระบบกล้องสเตอริโอสโคปิคระดับแนวหน้าของโลก ที่ถูกใช้ใน Avatar, Journey to the Center of the Earth, Hannah Montana: Best of Both Worlds, U2:3D, TRON: Legacy และรายการพิเศษต่างๆ มากมายเช่นเอ็นบีเอ ออล สตาร์ เกม

การเดินทางสู่ความสำเร็จของผู้กำกับชาวแคนาดาผู้นี้เป็นความฝันแบบอเมริกันดรีมโดยแท้ คาเมรอนเกิดในเมืองคาปุสคาซิง, ออนตาริโอ ประเทศแคนาดา เขาเติบโตในหมู่บ้านชิพพาวาที่เก่าแก่ ใกล้กับน้ำตกไนแองการา และภายหลังเขาก็ได้ย้ายไปบรีอา, แคลิฟอร์เนีย ที่ซึ่งเขาได้ศึกษาฟิสิกส์ที่ฟูลเลอร์ตัน จูเนียรร์ คอลเลจ ระหว่างทำงานเป็นช่างเครื่องและคนขับรถบรรทุกในเวลาต่อมา ในปี 1978 เขาได้เลิกทำงานเป็นคนขับรถ ระดมเงินจากทันตแพทย์ในท้องถิ่น และผลิตภาพยนตร์ขนาดสั้น 35 มม. ขึ้นมา วิชวล เอฟเฟ็กต์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้เขามีโอกาสได้ทำงานในภาพยนตร์โดยโรเจอร์ คอร์แมนเรื่อง Battle Beyond the Stars (1980) ในฐานะผู้ออกแบบงานสร้าง, ศิลปินลงสีและผู้กำกับภาพวิชวล เอฟเฟ็กต์

พอถึงปี 1983 เขาก็ได้เขียนบทภาพยนตร์สามเรื่อง Rambo: First Blood Part 2, Aliens และ The Terminator ที่นำแสดงโดยอาร์โนลด์ ชวอร์ซเน็กเกอร์ ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ฮิตม้ามืดและติดอันดับหนึ่งสิบภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปีของนิตยสารไทม์ หลังจากภาพยนตร์แจ้งเกิดของเขาแล้ว คาเมรอนก็ได้กำกับ Aliens (1986), ได้เขียนบทและกำกับ The Abyss (1989) และเขียนบท อำนวยการสร้างและกำกับ Terminator 2:Judgment Day (1991), True Lies (1994), Titanic (1997) และ Avatar (2009) นอกจากนี้ เขายังได้ร่วมเขียนบทและอำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง Point Break (1991) และ Strange Days (1994) รวมถึงการอำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง Solaris (2003)

เขาได้ร่วมสร้างซีรีส์หนึ่งชั่วโมง Dark Angel ในปี 1999 ซึ่งแพร่ภาพสองซีซันทางฟ็อกซ์ เน็ตเวิร์ค แจ้งเกิดให้กับเจสสิก้า อัลบ้าและสร้างให้เกิดฐานแฟนผู้ภักดี มันได้รางวัลมากมาย ซึ่งรวมถึงรางวัลพีเพิลส์ ชอยส์ อวอร์ดสาขาซีรีส์โทรทัศน์ใหม่ยอดเยี่ยม ความชื่นชอบในโบราณคดีของคาเมรอนได้นำเขาไปสู่การควบคุมงานสร้าง Exodus Decoded และอำนวยการสร้าง The Lost Tomb of Jesus ซึ่งเป็นสารคดีรางวัล ที่กำกับโดยซิมชา จาโคโบวิชีทั้งสองเรื่อง

คาเมรอน ผู้เป็นนักดำน้ำสคูบาตั้งแต่ปี 1969 หลังจากที่ได้ล็อกเวลาใต้น้ำกว่า 3,000 ชั่วโมง ได้ผสมผสานความชื่นชอบการดำน้ำเข้ากับการถ่ายทำ ในการกำกับ The Abyss ภาพยนตร์ที่สร้างความแปลกใหม่ด้านการถ่ายทำและการให้แสงใต้น้ำ เขาหลงใหลในเรื่องของไททานิค โศกนาฏกรรมแห่งท้องทะเล และในปี 1995 เขาก็ได้ดำลงไปยังซากเรือ 12 ครั้ง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับภาพยนตร์ของเขา ในการเดินทางครั้งนั้น คาเมรอนได้พัฒนาการอุปกรณ์การถ่ายทำ การให้แสงและอุปกรณ์จักรกล อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อใช้ภายใต้แรงกดของใต้ทะเลลึก ความสำเร็จเชิงเทคนิคของการเดินทางนั้นยิ่งช่วยทำให้เปลวเพลิงแห่งความปรารถนาของเขาในการนำประสบการณ์การสำรวจใต้มหาสมุทรลึกมาสู่ผู้ชมทั่วโลกโหมกระพือขึ้น เขาได้ก่อตั้งเอิร์ธชิพ โปรดักชันส์ เพื่อพัฒนาภาพยนตร์เกี่ยวกับการสำรวจและอนุรักษ์มหาสมุทร ตอนนั้นเองที่คาเมรอนเริ่มต้นทำงานระบบกล้องดิจิตอล 3D ที่เขาพัฒนาร่วมกับเพซ เป้าหมายคือการนำประสบการณ์การสำรวจมหาสมุทรลึกลับกลับมาอีกครั้งด้วยความกระจ่างชัด ในการเตรียมพร้อมสำหรับการสำรวจไททานิคในปี 2001 เขาได้พัฒนาระบบใยแก้วนำแสงกับยานพาหนะที่ควบคุมทางไกล ที่แปลกใหม่ รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ในการถ่ายทำและการให้แสงใต้มหาสมุทรลึก ทีมงานของเขาได้เดินทางไปยังรอยแยกของเปลือกโลกในมหาสมุทรแอตแลนติค, แปซิฟิคและทะเลคอร์เตซสามครั้งในช่วงเวลาสองปี ซึ่งมันก็กลายเป็นเนื้อหาสำหรับ  Aliens of the Deep ที่ฉายในระบบ 3D IMAX ด้วยเช่นกัน ในการสำรวจสภาพแวดล้อมที่สุดโต่งเหล่านั้น เขาได้ร่วมเดินทางไปกับทีมนักวิทยาศาสร์และนักชีววิทยาทางทะเลหนุ่มสาว เพื่อศึกษาการที่สิ่งมีชีวิตที่ถูกค้นพบที่นั่นเป็นตัวแทนของชีวิตที่ซักวันหนึ่ง เราอาจจะได้พบบนดาวดวงอื่นและดวงจันทร์ต่างๆ ในระบบสุริยะของเรา เขาได้หวนคืนสู่เรือไททานิค เพื่อสำรวจภายในของเรือให้ครบถ้วนสมบูรณ์ โดยการสำรวจของเขาได้ถูกเผยแพร่ผ่านทางรายการ Last Mysteries of the Titanic ทางดิสคัฟเวอรี แชนแนลในภายหลัง คาเมรอนได้นำทีมสำรวจมหาสมุทรลึกเจ็ดครั้ง ด้วยการดำน้ำด้วยเรือดำน้ำลึกกว่า 70 ครั้ง ซึ่งรวมถึงการดำน้ำถึงระดับความลึก 16,000 ฟุตด้วย Mir 49 ครั้ง ปัจจุบัน เขากำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาโปรเจ็กต์เกี่ยวกับมหาสมุทรและสารคดีด้านสิ่งแวดล้อมหลายเรื่อง

ความหลงใหลในการสำรวจอวกาศผลักดันให้คาเมรอนร่วมงานกับนักวิทยาศาสตร์อวกาศและวิศวกรในการพัฒนาสถาปัตยกรรมที่ใช้การได้สำหรับการสำรวจดาวอังคารของมนุษย์ เขามีส่วนร่วมกับโปรเจ็กต์การสำรวจอวกาศด้วยจักรกล และปัจจุบัน เขาเป็นผู้ร่วมสำรวจในมาร์ส ไซเอนซ์ แล็บบอราทอรี มาสท์แคม เป็น “ดวงตา” ของยานคิวริออสซิตี้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการสำรวจพื้นผิวของดาวอังคาร

ฌาคส์ เมเธ (Jacques Methe) –ผู้ควบคุมงานสร้าง Cirque du Soleil

ฌาคส์ เมเธ ผู้อำนวยการสร้างจอแก้วและจอเงินผู้คร่ำหวอดในวงการ ได้เข้าทำงานในเซิร์ค ดู โซเลย์ ในปี 2005 ในฐานะหัวหน้าของเซิร์ค ดู โซเลย์ อิเมจิสและผู้จัดการทั่วไป ที่ดูแลงานสร้างจอแก้ว จอเงินและดีวีดีทั้งหมดของบริษัทบันเทิงแห่งนี้

ตลอดระยะเวลา 42 ปี เมเธได้มีส่วนร่วมอย่างมากในฐานะผู้อำนวยการสร้างและผู้ควบคุมงานสร้างในงานสร้างภาพยนตร์จอแก้วและซีรีส์ สารคดี วิดีโอ รายการพิเศษวาไรตี้และภาพยนตร์หลายเรื่องทั้งในแคนาดาและต่างประเทศ เขาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการกองถ่ายใน Capote ผู้ชิงรางวัลอคาเดมี อวอร์ด ซึ่งทำให้ฟิลิป เซย์มัวร์ ฮอฟแมน ดารานำของเรื่องได้รับรางวัลออสการ์

ก่อนหน้าที่จะเข้าทำงานในเซิร์ค ดู โซเลย์ เมเธดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปของแอตแลนติค โปรดักชันส์ในปารีส, ประธานของอัลเลโกร ฟิล์มส์ในมอนทรีอัลและประธานแผนกซีรีส์ต่างประเทศของคอสเชียนท์ กรุ๊ป บริษัทโปรดักชันสัญชาติแคนาดา ด้วยความชำนาญด้านต่างประเทศ ทักษะการจัดการที่แข็งแรงและประสบการณ์การถ่ายทำที่จำเป็นของเขา เซิร์ค ดู โซเลย์ก็เลยเลือกเขาเข้าร่วมงาน นับตั้งเข้าทำงานกับบริษัทในฤดูร้อนปี 2005 เมเธก็ได้ควบคุมงานสร้างรายการแสดงพิเศษและสารคดีเกี่ยวกับเซิร์ค ดู โซเลย์ทั้งหมด ซึ่งรวมถึง Cirque du Soleil: Corteo (2006), A Thrilling Ride Through Kooza (2007), Cirque du Soleil: Kooza (2007) รวมถึงสารคดีเรื่อง Touch the Sky (2011) และ All Together Now (2008)

แครี แกรแนท (Cary Granat) –ผู้ควบคุมงานสร้าง

แครี แกรแนท เป็นที่รู้จักดีที่สุดจากการเปลี่ยนวรรณกรรมให้กลายเป็นแฟรนไชส์ภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จและเปลี่ยนแบรนด์บันเทิงที่เพิ่งเกิดใหม่ ให้กลายเป็นยักษ์ใหญ่ของอุตสาหกรรม

Cirque du Soleil Worlds Away เป็นผลงานเรื่องที่สามที่เขาร่วมงานกับผู้กำกับแอนดรูว์ อดัมสัน ในฐานะอดีตซีอีโอของวอลเดน มีเดีย เขาได้ซื้อสิทธิวรรณกรรมที่รักของซี.เอส. ลูอิสเรื่อง The Chronicles of Narnia มา อดัมสันได้กำกับสองภาคแรกของแฟรนไชส์นี้ได้แก่ The Chronicles of Narnia: The Lion, the Witch and the Wardrobe และ The Chronicles of Narnia: Prince Caspian หลังจากที่ออกจากวอลเดนในปี 2009 ผู้อำนวยการสร้างมากประสบการณ์ผู้นี้ก็ได้เข้าทำงานในรีล เอฟเฟ็กต์ อิงค์. ร่วมกับเอ็ด โจนส์ ผลงานหลังจากนั้นของรีล เอฟเฟ็กต์ อิงค์.ได้แก่คอเมดีอนิเมชันเรื่อง Turkeys และภาพยนตร์โดยกุยเลอร์โม เดล โทโรเรื่อง Day of the Dead โปรเจ็กต์อื่นๆ ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนพัฒนาได้แก่หนังสือยอดนิยมสำหรับเด็กเช่น Rats of NIMH โดยโรเบิร์ต ซี. โอ ไบรอัน และ Dinosaur Bob โดยวิลเลียม จอยซ์

ระหว่างที่แกรแนทเป็นซีอีโอของวอลเดน สตูดิโอแห่งนี้ได้กลายเป็นผู้นำด้านภาพยนตร์, การพิมพ์ ด้วยวอลเดน บุ๊คส์และวอลเดน พอนด์ เพรส, รายการความบันเทิงและดนตรีสำหรับเด็ก และขยายแบรนด์ด้วยธุรกิจที่โดดเด่นสองอย่าง ที่ให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดการศึกษาและศรัทธาในสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่นและตลาดต่างประเทศอื่นๆ

แกรแนทประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูและซื้อสิทธิในการพัฒนาเรื่องราวผจญภัยที่เป็นที่รักที่สุดตลอดกาลหลายเรื่อง เช่นไตรภาค Lord of the Rings โดยเจ.อาร์. โทลคีนระหว่างอยู่ที่มิราแมกซ์, Charlotte’s Web โดยอี.บี. ไวท์, The Water Horse โดยคิง-สมิธ, Bridge to Terabithia โดยแคทเธอรีน พาเทอร์สัน, Journey to the Center of the Earth โดยจูลส์ เวิร์นและแฟรนไชส์ Narnia ของลูอิสที่วอลเดน มีเดีย

ก่อนหน้าวอลเดน มีเดีย แกรแนทดำรงตำแหน่งประธานแผนกไดเมนชันของมิราแมกซ์ ที่ซึ่งเขาได้มีส่วนร่วมในการสร้างหนึ่งในแบรนด์ที่เป็นที่จดจำมากที่สุดในธุรกิจบันเทิง และเป็นผู้ริเริ่มภาพยนตร์เรื่องต่างๆ ที่โดดเด่นทั้งด้วยคอนเทนท์ที่นำเทรนด์และความสำเร็จในบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลก เขาได้ดูแลแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จเรื่อง Scream, Scary Movie และ Spy Kids นอกจากนี้ แกรแนทยังได้นำมิราแมกซ์/ไดเมนชันในการสร้างรายได้จากการรวมงานดนตรีและภาพยนตร์เข้าด้วยกัน ด้วยการสร้างพันธมิตรกับค่ายเพลงใหญ่อย่างโซนีและแคปิตอล/อีเอ็มไอ ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งมิราแมกซ์/ไดเมนชัน เรคคอร์ดส์

ก่อนหน้าไดเมนชัน แกรแนทดำรงตำแหน่งผู้บริหารที่เอ็มซีเอ/ยูนิเวอร์แซล เขาเริ่มต้นทำงานภาพยนตร์ที่วอร์เนอร์ บรอส.

            เอ็ด โจนส์ (Ed Jones)—ผู้ควบคุมงานสร้าง

เอ็ด โจนส์ ผู้บุกเบิกด้านสื่อดิจิตอลและผู้เชี่ยวชาญด้านอนิเมชันและวิชวล เอฟเฟ็กต์ของอุตสาหกรรม ได้รับรางวัลอคาเดมี อวอร์ดและบาฟตา อวอร์ดปี 1998 สาขาสเปเชียล เอฟเฟ็กต์สำหรับ Who Framed Roger Rabbit? เขาได้คว้ารางวัลบาฟตาสาขาสเปเชียล เอฟเฟ็กต์เป็นครั้งแรกเมื่อปีก่อนหน้านี้จาก The Witches of Eastwick และได้รับรางวัล “แอนนี” สาขาความสำเร็จเชิงเทคนิคปี 1996 จาก Space Jam

เขาดำรงตำแหน่งผู้ควบคุมงานสร้างภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลออสการ์และได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลลูกโลกทองคำสาขาภาพยนตร์อนิเมชันยอดเยี่ยมโดยผู้กำกับจอร์จ มิลเลอร์ในปี 2007 เรื่อง Happy Feet โจนส์ได้ก่อตั้งสำนักงานของซีเนไซต์ในฮอลลีวูดและลอนดอน ก่อนที่ท้ายที่สุด เขาจะโบกมือลาบริษัทเพื่อทำงานในฐานะซูเปอร์ไวเซอร์ฝ่ายวิชวล เอฟเฟ็กต์ ที่เป็นที่ต้องการตัวอย่างสูง

ตลอดการทำงานสามทศวรรษด้วยโปรเจ็กต์กว่า 200 เรื่อง ซีอีโอของรีล เอฟเฟ็กต์ สตูดิโอส์ ผู้นี้ได้ร่วมทำงานในรีลเอฟเฟ็กต์ อิงค์. กับแครี แกรแนท ผู้อำนวยการสร้าง Cirque du Soleil Worlds Away เพื่อผลิตแฟรนไชส์ภาพยนตร์สำหรับครอบครัวภายในงบประมาณ 50 ล้านเหรียญ นอกเหนือจากภาพยนตร์ที่กำลังจะเข้าฉายเรื่อง Turkeys และ Day of the Dead โดยกุยเลอร์โม เดล โทโร โปรเจ็กต์อื่นๆ ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาได้แก่หนังสือยอดนิยมสำหรับเด็กเช่น Rats of NIMH โดยโรเบิร์ต ซี. โอ ไบรอัน และ Dinosaur Bob โดยวิลเลียม จอยซ์

ก่อนหน้าการทำงานในรีลเอฟเฟ็กต์ในปี 2009 เขาได้ทำงานให้กับเรนเมคเกอร์ เอนเตอร์เทนเมนต์ในแวนคูเวอร์และได้อำนวยการสร้างเรื่อง Escape From Planet Earth ให้กับวีนสไตน์ คัมปะนี

ก่อนหน้านั้น โจนส์ได้บริหารงานอีเอสซี เอนเตอร์เทนเมนต์ บริษัทที่วอร์เนอร์ บรอส. เลือกโจนส์ให้บริหารและสร้างขึ้นในปี 2001 บริษัทลูกของเอโอแอล/ไทม์ วอร์เนอร์เป็นสตูดิโอหลักที่เป็นผู้รับผิดชอบภาพยนตร์เรื่อง Matrix Reloaded และ Revolutions, Catwoman และ Constantine ในฐานะซีอีโอของอีเอสซี เขาได้สร้างและนำทีมที่พัฒนาโปรเจ็กต์สร้างสรรค์ ซึ่งลงเอยด้วยการยื่นขอสิทธิบัตรหกรายการโดยเอโอแอล/ไทม์ วอร์เนอร์ หลังจากนั้น วอร์เนอร์ บรอส. ก็ขอให้โจนส์เข้าร่วมงานกับทีมที่ออสเตรเลียของพวกเขาในปี 2005 ในฐานะผู้ควบคุมงานสร้างภาพยนตร์ CG เรื่อง Happy Feet

ก่อนหน้าอีเอสซี โจนส์ได้ทำงานในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายวิชวล เอฟเฟ็กต์กับวอร์เนอร์ บรอส., ดรีมเวิร์คส์และพาราเมาท์ พิคเจอร์ส ในภาพยนตร์หลายเรื่อง ซึ่งรวมถึง Hard Rain, Soldier, Almost Famous และ Cats and Dogsด้วย

ระหว่างปี 1992-1996 เขาได้ทำงานกับซีเนไซต์ ในฐานะซีอีโอ/ประธานและซูเปอร์ไวเซอร์อาวุโสฝ่ายวิชวล เอฟเฟ็กต์หลังจากทำงานให้กับอินดัสเทรียล ไลท์ แอนด์ เมจิค (ไอแอลเอ็ม) มา 13 ปี ระหว่างการทำงานที่ซีเนไซต์ เขาได้สสร้างมาตรฐานให้กับอุตสาหกรรมด้วยการทำให้ภาพเป็นดิจิตอลและสร้างโมเดลงานสร้างที่ให้ความสำคัญกับข้อมูล สำหรับการรับมือกับจำนวนภาพคอมพิวเตอร์ กราฟฟิคมหาศาล ภาพยนตร์ส่วนหนึ่งที่เขาได้ทำงานด้วยได้แก่ Waterworld, Broken Arrow, Mission: Impossible, Jerry Maguire, Free Willy II, Outbreak และ In the Line of Fire

โจนส์เริ่มต้นทำงานที่ไอแอลเอ็มในปี 1979 ในตอนที่มีพนักงานเพียง 40 คน เขาได้ทำงานในตำแหน่งด้านสร้างสรรค์และการจัดการ และสร้างความแปลกใหม่ด้วยความสำเร็จอย่างลุค 2 1/2 D สำหรับ Who Framed Roger Rabbit? ที่นั่น เขาเป็นผู้รับผิดชอบด้านการถ่ายภาพออพติคัล ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้เขาได้รับรางวัลอคาเดมี อวอร์ดปี 1988 โจนส์ได้ทำการดูแลการขยายงานด้านดิจิตอล เทคโนโลยีของบริษัทไอแอลเอ็ม ที่ไอแอลเอ็ม เขาได้มีส่วนร่วมในการทำงานภาพยนตร์กว่า 90 เรื่อง ซึ่งรวมถึงภาพยนตร์บล็อกบัสเตอร์เรื่อง  Star Wars: The Empire Strikes Back, E.T.: The Extra-Terrestrial, Star Wars: Return of the Jedi, Ghostbusters I &II, Ghost, Terminator 2: Judgment Day และไตรภาค Indiana Jones

เดวิด มัลเล็ต (David Mallet)—การถ่ายทำเพิ่มเติม

เดวิด มัลเล็ต ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นผู้กำกับดนตรีไฟล์ที่มากความสามารถและมีประสบการณ์มากที่สุดในโลก ได้รวบรวมบันทึกภาพอีเวนต์และรายการขนาดยาว 105 รายการและมิวสิค วิดีโอกว่า 80 เพลง ซึ่งรวมถึงผลงานของศิลปินที่หลากหลายตั้งแต่ยูทู, ทีนา เทิร์นเนอร์, บียอนเซ, เจเน็ต แจ็คสันและเอลตัน จอห์น ไปจนถึงธรี เทเนอร์สและแอนดรูว์ ลอยด์ เว็บเบอร์ เขาเป็นผู้กำกับการแสดงไลฟ์คนสำคัญสำหรับเซิร์ค ดู โซเลย์ ด้วยการบันทึกภาพการแสดงของพวกเขาทั้งในลาสเวกัสและทั่วโลก

นอกเหนือจากการทำงานใน Cirque du Soleil Worlds Away แล้ว มัลเล็ตยังได้ถ่ายทำ Cirque du Soleil’s Delirium — Sony Digital Pictures Film (2008), KÀ — ZDF Special ’08, Quidam, La Nouba และ Dralion ซึ่งทำให้เขาได้รับหนึ่งในสองรางวัลไพรม์ไทม์ เอ็มมี อวอร์ด นอกจากนี้ เขายังได้รับรางวัลไพรม์ไทม์ เอ็มมีและรางวัลสมาพันธ์ผู้กำกับสาขากำกับยอดเยี่ยมจาก Cher, The Farewell Tour (รายการพิเศษทางเอ็นบีซี)อีกด้วย

มัลเล็ตได้รับสองรางวัลแกรมมี อวอร์ดจาก U2 Live From Sydney — World Live Broadcast & DVD และ Madonna: Blonde Ambition Tour (เอชบีโอ) รวมถึงได้รับการเสนอชื่อชิงสามรางวัลแกรมมี เขาได้รับห้ารางวัลเอซ อวอร์ด, รางวัลบาฟตา อวอร์ดจาก Kenny Everett Video Show, หนึ่งรางวัลรอยัล เทเลวิชัน โซไซตี้ อวอร์ดและสองรางวัลซิลเวอร์ โรส ออฟ มอนโทรซ์ อวอร์ดจาก Ballet for Life โดยเบยาร์ต บัลเลต์ และ Joseph and His Amazing Technicolor Dreamcoat ที่เขาร่วมงานกับโจน คอลลินส์และดอนนี ออสมอนด์

มัลเล็ตเริ่มต้นทำงานตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของการเผยแพร่ดนตรีทางโทรทัศน์ เขาเป็นผู้ยืนอยู่แถวหน้าของการถ่ายทำอีเวนต์ต่างๆ เสมอ ความเข้าใจในดนตรีและภาพยนตร์ของเขาได้รับการยกย่องจากศิลปินที่หลากหลายอย่างยูทู, พิงค์ ฟลอยด์, เอลตัน จอห์น, เชอร์, เอซี/ดีซีและพิงค์ มัลเล็ต ซึ่งเป็นผู้กำกับชั้นนำในสายงานของเขา เป็นที่ต้องการตัวจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงเอ็นบีซี, เอบีซี, เอชบีโอ, พีบีเอส, ซีบีเอส, ไอทีวี, บีบีซีและซีโฟร์

ผลงานภาพยนตร์อีเวนต์และรายการขนาดยาวของเขารวมถึง Michael Jackson Tribute Concert 2011-11-07; VH1 Welcomes the Troops – 2010, Tina Live – Tina Turner 50TH Anniversary Tour, Nelson Mandela — 90th Birthday Celebration, Pink: Live at Wembley, Celine Dion: Live in Las Vegas “A New Day,” The Three Tenors Christmas Concert: Live From Vienna, Pink Floyd: Pulse — Earls Court, Gloria Estefan: Live in Miami, เอชบีโอ, Hans Christian Andersen Celebration 2005: Featuring Tina Turner, Jean Michel Jarre, Olivia Newton John & More, Inxs: Live Baby Live – Wembley, Michael Bolton: My Secret Passion — Opera Bellini, Sicily, Michael Flatley — Lord of the Dance: Live at the Point, Dublin และ Sarah Brightman: Live at the Royal Albert Hall

ผลงานดนตรีของเขารวมถึง AC/DC & Arnold Schwarzenegger: Big Gun, Boomtown Rats: Don’t Like Mondays, Culture Club: Mistake Number Three, Diana Ross: Chain Reaction, Def Leppard: Rock of Ages, Elvis Costello: Radio, Radio, Heart: What About the Love, Joan Jett: French Song, Ozzy Osborne: So Tired และ Rush: Distant Early Warning

เบรท เทิร์นบุล (Brett Turnbull)—ผู้กำกับภาพ

เบรท เทิร์นบุล ผู้กำกับภาพมากความสามารถ ที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดจากผลงานของเขาในภาพยนตร์ไลฟ์คอนเสิร์ตและ 3D ที่ใช้กล้องหลายตัว ได้ร่วมงานกับเดวิด มัลเล็ต ผู้กำกับการแสดงไลฟ์ของเซิร์ค ดู โซเลย์เป็นครั้งที่สี่ใน Cirque du Soleil Worlds Away

เทิร์นบุลเริ่มต้นทำงานสายบันเทิงในแวดวงดนตรีโพสต์พังค์ที่มีชีวิตชีวาของลอนดอน โดยเขาได้เล่นดนตรีร่วมกับวงดนตรีหลายวงหลังจากศึกษาที่โรงเรียนศิลปะ ไม่นานนัก เขาก็ได้ร่วมงานกับเทสต์ เดพท์ วงกึ่งอุตสาหกรรม ซึ่งผสมผสานเทคนิคการสร้างภาพยนตร์ทดลองเข้ากับเพอร์คัสชันสแครปเมทัลที่แข็งกร้าวของวง เพื่อสร้างแบ็คดร็อปที่น่าตื่นตาตื่นใจสำหรับการแสดงไลฟ์ของพวกเขา บทบาทนี้ขยายไปสู่การออกแบบปกอัลบัมและการแสดงบนเวที การกำกับมิวสิค วิดีโอและการคิดคอนเซ็ปต์การแสดงสำหรับ MINISTRY OF POWER “Unacceptable Face of Freedom” ในงานเอ็กซ์โปปี 86 และ “Demonomania” ที่วัลโลโดลลิด

หลังจากนั้น เขาก็ได้ฝึกฝนเพิ่มเติมที่เนชันแนล ฟิล์ม สคูล ที่โด่งดัง จากนั้น เขาก็ได้เขียนบทและกำกับภาพยนตร์ขนาดสั้นหลายเรื่อง ซึ่งรวมถึง The Golem of Princelet Street, The Snowball Effect and The Linesman (บีบีซี) นอกจากนี้ เขายังได้กำกับมิวสิค วิดีโอ, ภาพยนตร์ไลฟ์คอนเสิร์ตและสารคดีหลายชิ้นให้กับศิลปินมากมาย เช่นเรดิโอเฮ้ด, ไนน์ อินช์ เนลส์, สแมชชิง พัมพ์คินส์, เดวิด โบวี, นีล ยังและเวสต์ไลฟ์ เทิร์นบุล ผู้เป็นผู้กำกับที่ลงมือเองเสมอ ได้ถ่ายทำและลำดับภาพมิวสิค วิดีโอต่างๆ เหล่านี้ด้วยตัวเอง และเริ่มเป็นที่ต้องการตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะผู้กำกับภาพ จนถึงขั้นที่เขาตัดสินใจมาทำหน้าที่นี้อย่างเต็มตัว

นับตั้งแต่นั้น เขาก็ทำงานเป็นผู้กำกับภาพในโปรเจ็กต์หลากแนวหลายร้อยเรื่อง ซึ่งหลายเรื่องได้รับรางวัลหรือได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลแกรมมีและรางวัลอื่นๆ ตัวอย่างที่โดดเด่นที่สุดคือโฆษณาสำหรับที-โมบายล์, ออเรนจ์, ฮิวเล็ทท์ แพ็คการ์ดและสกาย, มิวสิค วิดีโอสำหรับโคลด์เพลย์, ยูทู, ทราวิสและโจ สตรัมเมอร์, สารคดี India Diaries และ Kumbh Mela และภาพยนตร์คอนเสิร์ตสำหรับกรีน เดย์, บียอนเซ, ริฮันนา, โคลด์เพลย์, เดเพช โหมด, ไวท์ สไตรป์และมาดอนนา

ผลงานภาพยนตร์รวมถึง Roger Waters: THE WALL (ในขั้นตอนโพสต์โปรดักชัน) และ Katy Perry – Part of Me (ฟุตเตจไลฟ์คอนเสิร์ต 3D)

เทิร์นบุลอยู่แถวหน้าของกระแสการกลับมานิยม 3D ในสหราชอาณาจักร ด้วยการถ่ายทำโฆษณาให้กับออดี้, พานาโซนิคและสกาย, มิวสิค วิดีโอให้กับเคลิสและนัจวา คาแรม, ภาพยนตร์สารคดี Running With Bulls (ไอแมกซ์), Experience Montreux, Wimbledon 3D, Sky Movie Specials Avatar และ Prometheus, ภาพยนตร์ไลฟ์คอนเสิร์ตสำหรับปีเตอร์ กาเบรียล, ไคลีย์ มิน็อก, เจแอลเอสและคิงส์ ออฟ ลีออน รวมถึงรายการพิเศษทางโทรทัศน์สำหรับเคที ทันสตอล, สนู้ป ด็อกก์และคีน

ผลงานก่อนหน้านี้ที่เขาร่วมงานกับเดวิด มัลเล็ตได้แก่ David Gilmour: In Concert, สารคดีดนตรี On an Island และ  Michael Forever – The Tribute Concert in 3D

ซิม อีวาน-โจนส์ (Sim Evan-Jones)—มือลำดับภาพ

ซิม อีวาน-โจนส์ ได้ร่วมงานกับผู้กำกับแอนดรูว์ อดัมสัน จาก Cirque du Soleil Worlds Away หลายครั้ง หลังจากที่ได้ร่วมงานกันครั้งแรกในภาพยนตร์อนิเมชันบล็อกบัสเตอร์ปี 2001 เรื่อง Shrek เจ้าของรางวัลออสการ์ ที่ทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอเมริกัน ซีเนมา อีดิตเตอร์ส อวอร์ดสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ประเภทคอเมดีหรือมิวสิคัล

อีวาน-โจนส์และอดัมสันยังได้ร่วมงานกันอีกในซีเควลปี 2004 เรื่อง Shrek 2 ซึ่งเป็นหนึ่งภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดในประวัติศาสตร์บ็อกซ์ออฟฟิศ พวกเขาได้ร่วมงานกันอีกครั้งในภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมทั่วโลกในปี 2005 เรื่อง The Chronicles of Narnia: The Lion, the Witch and the Wardrobe ที่สร้างจากเบสต์เซลเลอร์คลาสสิกโดยซี.เอส. ลูอิส รวมถึงซีเควล The Chronicles of Narnia: Prince Caspian ในปี 2008

นอกจากนี้ อีวาน-โจนส์ยังได้ร่วมงานกับผู้กำกับไซมอน เวลส์ในภาพยนตร์หลายเรื่อง เขารับหน้าที่ผู้ช่วยลำดับภาพในภาพยนตร์อนิเมชันปี 1997 ของดรีมเวิร์คส์เรื่อง Prince of Egypt ซึ่งเวลส์ร่วมกำกับ เขาได้ร่วมลำดับภาพให้กับภาพยนตร์ปี 1995 ของเวลส์เรื่อง Balto และ We’re Back: A Dinosaurs Story ปี 1993 ที่เวลส์ร่วมกำกับ และเขาก็เป็นผู้ช่วยลำดับภาพลำดับที่หนึ่งใน American Tail II ซึ่งเวลส์ร่วมกำกับด้วยเช่นกัน

อีวาน-โจนส์เป็นผู้ลำดับภาพเพิ่มเติมให้กับภาพยนตร์ยอดนิยมปี 2002 โดยดรีมเวิร์คส์เรื่อง Madagascar

เขาได้ร่วมงานกับผู้อำนวยการสร้างทิม บีแวนและอีริค เฟลเนอร์และเวิร์คกิ้ง ไทเทิลของพวกเขาสองครั้งในตำแหน่งมือลำดับภาพเพิ่มเติมในดรามาสัญชาติอังกฤษเรื่อง Hippie Hippie Shake และในฐานะมือลำดับภาพของภาพยนตร์ปี 2010 เรื่อง Nanny McPhee and The Big Bang ซึ่งเป็นซีเควลของภาพยนตร์ฮิตทั่วโลกเรื่อง Nanny McPhee นอกจากนี้ เขายังได้ลำดับภาพให้กับ Mr. Pip และได้ทำงานใน First สารคดีขนาดยาวเกี่ยวกับ 2012 ลอนดอน โอลิมปิคให้กับไอโอซีและเอ็นบีซี/ยูนิเวอร์แซล

 

เบนัวต์ จูทราส (Benoit Jutras)-คอมโพสเซอร์, ออริจินอล

เบนัวต์ จูทราส เป็นหนึ่งในคอมโพสเซอร์และผู้อำนวยการสร้างฝ่ายดนตรี ผู้ได้รับรางวัลของเซิร์ค ดู โซเลย์ ผู้เป็นที่รู้จักจากการปลุกเร้าความรู้สึกของผู้ชมและผู้รักในเสียงดนตรีด้วยซาวน์แทร็คที่เขาได้แต่งขึ้นสำหรับการแสดงไลฟ์หลายครั้ง ซึ่งรวมถึง  Quidam, “O” และ La Nouba เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นคอมโพสเซอร์คณะละครสัตว์ที่ดีที่สุดจากงานเทศกาลอินเตอร์เนชันแนล เซอร์คัส เฟสติวัล ออฟ มอนติ-คาร์โลในปี 1996 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับผลงานของเขาในฐานะคอมโพสเซอร์และผู้อำนวยการด้านดนตรีสำหรับการแสดง ที่นำเสนอในสวิตเซอร์แลนด์ และร่วมสร้างสรรค์โดยเซิร์ค ดู โซเลย์และเซอร์คัส นี

ด้านจอเงิน จูทราสได้แต่งซาวน์แทร็คประกอบ Cirque du Soleil’s Journey of Man ภาพยนตร์ไอแม็กซ์ ซึ่งร่วมสร้างกับโซนี พิคเจอร์ส คลาสสิกส์และ Alegria, The Film ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเซิร์ค ดู โซเลย์ ที่อำนวยการสร้างโดยฟรังโก้ ดราโกน ดนตรีประกอบภาพยนตร์เรื่องนั้นทำให้จูทราสได้รับรางวัลลา โซรี เดอ จูทรา (จูทรา อวอร์ด) ของควิเบ็ค สาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับภาพยนตร์แคนาดาสำหรับพรสวรรค์และความสำเร็จ นอกจากนี้ เขายังได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลจินนี อวอร์ดสาขาเพลงออริจินอลยอดเยี่ยมร่วมกับเรเน ดูเปเร คอมโพสเซอร์ประจำเซิร์ค ดู โซเลย์ นอกจากนี้ เขายังได้แต่งเพลงซาวน์แทร็คสำหรับภาพยนตร์โดยโรเบิร์ต เลเพจเรื่อง The Far Side of the Moon (2003) และภาพยนตร์โดยลิน ชาร์เลบัวส์เรื่อง Borderline (2007) และเขาก็ได้รับเครดิตในการแต่งดนตรีให้กับ The Wind in the Willows (2006) โดยราเชล ทาลาเลย์ ภาพยนตร์ที่แพร่ภาพทางโทรทัศน์ ซึ่งร่วมอำนวยการสร้างโดยบีบีซีและซีบีซีอีกด้วย

เมื่อเร็วๆ นี้ จูทราสได้แต่งและอำนวยการสร้างดนตรีสำหรับรายการ A Muse by Les 7 doigts ซึ่งเปิดตัวในเม็กซิโก ซิตี้ นอกจากนี้ เขายังได้แต่งดนตรีประกอบ The House of Dancing Water ซึ่งเปิดตัวในมาเก๊าในปี 2010 ที่ซิตี้ ออฟ ดรีมส์

ในปี 2008 เขาได้แต่งเพลงสามเพลงที่รวมอยู่ในการเฉลิมฉลองสำหรับการเยี่ยมแยงกี้ สเตเดียมของโป๊ปเบเนดิคท์ที่สิบหกในนิวยอร์ก ในปีนั้น เขายังได้ถูกขอให้แต่งดนตรีสำหรับซิกส์ แฟล็กส์ โกลว์ อิน เดอะ ปาร์ค พาราเดส ที่เปิดการแสดงในอเมริกา, นิวอิงค์แลนด์และเม็กซิโกอีกด้วย

ในปี 2005 จูทราสได้แต่งดนตรีสำหรับ Le Rêve การแสดงที่โรงละครของโรงแรมวินน์ในลาสเวกัส ห้าปีก่อนหน้านี้ เขาได้แต่งดนตรีสำหรับ Francesco il Musical ละครอิตาเลียน ที่สร้างขึ้นจากชีวิตและช่วงเวลาของเซนต์ ฟรานซิสแห่งแอสซิซี งานชิ้นนี้ถูกแสดงในแอสซิซีเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการเริ่มต้นของสหัสวรรษใหม่

ในปี 1998 เบนัวต์ได้แต่งดนตรีสำหรับซีรีส์ The Hunger TV ซึ่งนำแสดงโดยเดวิด บี และได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลไพรม์ไทม์ เอ็มมี

ในปี 1995 เขาได้แต่งดนตรีอีกหลายชิ้นและทำหน้าที่ผู้อำนวยการด้านดนตรีสำหรับการแสดงเซิร์ค ดู โซเลย์พิเศษสำหรับการประชุมซัมมิทจี 7 ในฮาลิแฟ็กซ์ นอกจากนี้ เขายังได้ร่วมงานกับเรเน ดูเปเรในการแต่งดนตรีสำหรับการแสดงเซิร์ค ดู โซเลย์Mystère และ Fascination

จูทราสกลายเป็นผู้ร่วมแต่งและผู้อำนวยการฝ่ายดนตรีสำหรับทัวร์ยุโรปของ We Reinvent the Circus ในปี 1990 เขาได้ร่วมงานกับทีมงาน We Reinvent the Circus ในปี 1987 ที่ซึ่งเขาได้ทำงานเป็นผู้อำนวยการฝ่ายดนตรีนานสามปี

เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาประพันธ์เพลงจากคอนเซอร์วาทอรี เดอ มิวสิค เดอ มอนทรีอัลและได้รับสองรางวัลสำคัญจากสถาบันนี้

 

สตีเฟน บาร์ตัน (Stephen Barton)—คอมโพสเซอร์ดนตรีเพิ่มเติมและผู้เรียบเรียงเสียง

สตีเฟน บาร์ตัน คอมโพสเซอร์มากความสามารถ ผู้แต่งดนตรีให้กับภาพยนตร์ วิดีโอเกมและโปรเจ็กต์จอแก้วกว่าสามสิบเรื่อง ได้ร่วมงานกับผู้กำกับ/มือเขียนบท/ผู้อำนวยการสร้าง แอนดรูว์ อดัมสันแห่ง Cirque du Soleil Worlds Away เป็นครั้งที่สี่ ก่อนหน้านี้ พวกเขาเคยร่วมงานกันในภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์และได้รับรางวัลเรื่อง Shrek 2, The Chronicles of Narnia: The Lion, the Witch and the Wardrobe และ The Chronicles of Narnia: Prince Caspian ใน Shrek 2 เขาได้ร่วมแต่งเพลงกับแอรอน วอร์เนอร์ ผู้อำนวยการสร้าง Cirque du Soleil Worlds Away สำหรับซาวน์แทร็คที่ทำยอดขายได้ระดับแพลตินัม

บาร์ตันได้จากลอนดอน บ้านเกิดของเขาและย้ายไปลอสแองเจลิสในปี 2002 นับตั้งแต่นั้นมา เขาก็ได้แต่งและเรียบเรียงดนตรีให้กับโปรเจ็กต์จอแก้วและจอเงิน 20 เรื่อง ผลงานของเขารวมถึงทริลเลอร์อังกฤษที่ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลบาฟตาเรื่อง Exam, ภาพยนตร์โดยเซอร์ริดลีย์ สก็อตเรื่อง Kingdom of Heaven, ภาพยนตร์โดยโทนี สก็อตเรื่อง Deja Vu และ Man on Fire, The Six Wives of Henry Lefay, ภาพยนตร์โดยเบน แอฟเฟล็คเรื่อง Gone Baby Gone, Bridget Jones: The Edge of Reason, The Number 23, Flushed Away และ Sinbad: Legend of the Seven Seas เขารับตำแหน่งซูเปอร์ไวเซอร์ฝ่ายดนตรีในซีรีส์สารคดีเรื่อง I’m Alive และได้แต่งดนตรีประกอบเกมดรีมเวิร์คส์ How to Train Your Dragon

บาร์ตันได้ร่วมงานกับเซอร์แอนโธนี ฮ็อปกินส์บ่อยครั้งหลังจากที่ได้อำนวยการผลิตซาวน์แทร็คสำหรับภาพยนตร์ปี 2006 โดยฮ็อปกินส์เรื่อง Slipstream ซึ่งฮ็อปกินส์ได้เขียนบทและกำกับ ทั้งคู่ได้ร่วมงานกับดัลลัส ซิมโฟนี ออร์เคสตรา, ซิตี้ ออฟ เบอร์มิงแฮม ซิมโฟนี ออร์เคสตราและโยฮันน์ สเตราส์ ออร์เคสตรา รวมถึงได้ทัวร์ในอิตาลีกับโจชัว เบล, ฌอน-อีฟส์ ธิโบเด็ตและแม็กกิโอเร มิวสิก้า ดิ ฟิเรนเซ โปรเจ็กต์หลังจากนี้ของเขาได้แก่การแต่งดนตรีประกอบ Mission Park โดยไบรอัน รามิเรซและซีรีส์โทรทัศน์ดิสนีย์เรื่อง Motorcity