FANTASTIC FOUR เป็นผลงานการสร้างสรรค์ครั้งใหม่จากเรื่องราวของทีมซูเปอร์ฮีโร่ดั้งเดิมที่มีมายาวนานที่สุดของ Marvel โดยว่าด้วยหนุ่มสาวผู้แปลกแยกสี่คนที่ใช้เครื่องเคลื่อนย้ายมวลสารไปยังอีกจักรวาลหนึ่งซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายและได้เปลี่ยนโครงสร้างทางกายภาพของพวกเขาอย่างน่าตกใจ ชีวิตของทั้งสี่ต้องพลิกผันอย่างไม่อาจหวนคืน ทั้งหมดต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมความสามารถใหม่อันน่าหวั่นเกรงและทำงานร่วมกันเพื่อปกป้องโลกจากเพื่อนเก่าที่กลายมาเป็นศัตรู
ด้วยฉากในนิวยอร์กยุคปัจจุบัน การเล่าเรื่องใหม่ครั้งนี้เน้นไปยังตัวละครทั้งสี่ก่อนที่เข้ามาร่วมทีม เมื่อพวกเขายังเป็นนักผจญภัยวัยหนุ่มสาวที่เปี่ยมด้วยอุดมคติและตั้งใจแน่วแน่ที่จะก้าวเข้าสู่ดินแดนอันไม่มีใครรู้จัก
FANTASTIC FOUR เน้นภาพชีวิตของตัวละครที่เข้าถึงได้ซึ่งในตอนแรกยังไม่ได้มองว่าความสามารถทางร่างกายที่ได้รับมาใหม่นี้เป็นข้อได้เปรียบแต่กลับเป็นความท้าทายอันน่าหวั่นเกรงและไม่อาจก้าวข้ามได้
FANTASTIC FOUR แสดงโดยไมล์ส เทลเลอร์ (“Whiplash”) ในบทรี้ด ริชาร์ดส์, ไมเคิล บี จอร์แดน (“Fruitvale Station,” “Chronicle”) ในบทจอห์นนี สตอร์ม, เคท มารา (“House of Cards” ทาง Netflix) ในบทซู
สตอร์ม และเจมี เบลล์ (“Billy Elliot,” “Turn” ทางช่อง AMC) ในบทเบน กริมม์
นอกจากนี้ยังร่วมแสดงโดยโทบีเคบเบลล์ (“Dawn of the Planet of the Apes”) ในบทวิคเตอร์วอนดูมโปรแกรมเมอร์และนักศึกษาของสถาบันแบ็กซ์เตอร์ผู้เก่งกาจแต่มีความเป็นขบถ, เร็กอีคาเธย์ (“House of Cards”, “The Wire”) ในบทดร. แฟรงคลินสตอร์มพ่อของจอห์นนีและซูและทิมเบลคเนลสัน (“O Brother, Where Art Thou?”) ในบทกรรมการผู้บริหารผู้ไร้ศีลธรรมของสถาบันแบ็กซ์เตอร์
เช่นเดียวกับนักประดิษฐ์และอัจฉริยะยุคใหม่หลายราย รี้ด ริชาร์ดส์ มีพื้นเพเป็นคนธรรมดาสามัญ เมื่ออายุ 12 ปี เขาใช้เวลานับไม่ถ้วนอยู่ในโรงรถของแม่และพ่อเลี้ยงที่บ้านชานเมืองในเมืองออยสเตอร์เบย์ ลองไอส์แลนด์ นิวยอร์ก
ที่นั่นนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ได้ออกแบบอุปกรณ์เคลื่อนย้ายสสารอันเป็นเอกลักษณ์โดยประกอบเข้าด้วยกันอย่างชาญฉลาดจากชิ้นส่วนเหลือใช้ที่ได้มาจากกิจการลานทิ้งซากรถเก่าของเพื่อนร่วมชั้นเบนกริมม์เครื่องมือขนาดเท่าพื้นที่โต๊ะชื่อ “กระสวยย้ายสสารไซแมติก” สามารถเคลื่อนย้ายวัตถุจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้
สี่ปีต่อมาในงานแสดงวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนไฮสคูลสิ่งประดิษฐ์ของรี้ดได้รับความสนใจจากดร. แฟรงคลินสตอร์มคณบดีของสถาบันแบ็กซ์เตอร์สถาบันการศึกษาและแหล่งรวมนักวิจัยซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อบ่มเพาะแนวคิดที่เยี่ยมยอดใหม่ๆจากนักเรียนระดับมัธยมปลายและมหาวิทยาลัย
ดร. สตอร์ม ชวนให้นักประดิษฐ์รุ่นเยาว์รายนี้เข้ารวมกลุ่มกับเหล่านักศึกษาระดับหัวกะทิในสถาบันของเขา รี้ดย้ายมายังนิวยอร์กซิตีและเข้าร่วมโครงการของแบ็กซ์เตอร์ โดยเขาได้ช่วยพัฒนากระสวยที่ทำงานด้วยเทคโนโลยีที่เขาคิดค้นขึ้นมาใหม่
คืนหนึ่งรี้ดตัดสินใจทดสอบเครื่องมือของเขาซึ่งไม่เคยใช้กับมนุษย์มาก่อน ดังนั้นเขาจึงเรียกเพื่อนวัยเด็ก เบน กริมม์ รวมถึงจอห์นนี สตอร์ม ลูกชายของ ดร. สตอร์ม และเพื่อนนักศึกษาในสถาบันแบ็กซ์เตอร์อย่าง วิกเตอร์ วอน ดูม ให้ร่วมเดินทางกับเขาไปยังอีกมิติหนึ่งซึ่งคล้ายกับโลกยุคถือกำเนิด มันเป็นดาวเคราะห์ซึ่งเต็มไปด้วยทรัพยากรพลังงานตามธรรมชาติซึ่งมีศักยภาพมหาศาลสำหรับผู้ที่ควบคุมมันได้
โชคร้ายที่ภารกิจของนักท่องอวกาศมือสมัครเล่นกลุ่มนี้เกิดผิดพลาดและนำไปสู่การระเบิด รี้ด จอห์นนี และเบน ได้รับบาดเจ็บอย่างหนัก รวมถึงเพื่อนนักศึกษาในสถาบันแบ็กซ์เตอร์ ซู สตอร์ม ซึ่งเป็นลูกเลี้ยงของ ดร. สตอร์ม และอยู่รั้งหลังในห้องทดลอง ขณะเดียวกันวิกเตอร์ได้หายตัวไป
หลังเกิดเหตุที่สถาบันแบ็กซ์เตอร์รัฐบาลได้รีบนำตัวหนุ่มสาวทั้งสี่คนไปยังอาคารลับสุดยอดที่รู้จักกันในชื่อแอเรีย 57 อันเป็นสถานที่ซึ่งพวกเขาได้ถูกกักตัวรักษาสภาพตรวจสอบและวิเคราะห์ในช่วงสามปีต่อมา
รี้ด จอห์นนี ซู และเบน เริ่มแสดงให้เห็นสภาพร่างกายที่มีลักษณะเฉพาะและทำให้พวกเขามีความสามารถอันน่าทึ่ง รี้ดสามารถยืดร่างกายออกเป็นรูปทรงต่างๆ ได้ จอห์นนีสามารถจุดร่างกายของตัวเองให้ลุกเป็นไฟ ซูสามารถล่องหนและสร้างสนามพลังอันแข็งแกร่งได้ และเบนได้แปรสภาพเป็นมนุษย์ที่มีร่างเป็นหินสูงหกฟุตแปดนิ้วและหนักพันปอนด์
ขณะที่ผู้มีอำนาจทางการเมืองการทหารของรัฐบาลกลางอเมริกันพยายามประเมินคุณค่าและควบคุมพลังอันน่าอัศจรรย์เหล่านี้ หนุ่มสาวทั้งสี่ก็ต้องมารวมตัวกันเพื่อจัดการกับความสามารถใหม่ของตน และสุดท้ายต้องมาช่วยกันปกป้องโลกไว้จากพลังอันลึกลับและทรงอำนาจ
จากสี่หนุ่มสาวสู่สี่กายสิทธิ์
The Fantastic Four ครองตำแหน่งอันน่าปรารถนาในประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของ Marvel Comics ในฐานะผลงานจากมือระดับตำนาน สแตน ลี และแจ็ค เคอร์บี “The Fantastic Four” ฉบับที่ 1 ออกวางแผงครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 1961 การสร้างสรรค์ซูเปอร์ฮีโร่กลุ่มแรกจาก Marvel ซึ่งนับเป็นการพลิกโฉมวงการครั้งนี้ ได้นำความมีชีวิตจิตใจและอารมณ์ขันมาสู่งานคอมิก และนับเป็นการเปิดศักราชยุคของ Marvel ก่อนที่ตัวละครอันโด่งดังอื่นๆ ของ Marvel จะตามมา ไม่ว่าจะเป็น Spider-Man, The Incredible Hulk หรือ The X-Men ในยุคแห่งการสร้างสรรค์ครั้งสำคัญช่วงต้นทศวรรษ 1960 นั้น ลีและเคอร์บีได้รับแรงบันดาลใจจากความหวาดกลัวที่มีต่อระเบิดนิวเคลียร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกระแสความเป็นไปยุคสงครามเย็น ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากรังสีของระเบิดนิวเคลียร์กลายเป็นที่มาของพลังพิเศษในตัวละครอันโด่งดังหลายตัวที่ทั้งสองสร้างขึ้น
เรื่องราวของ The Fantastic Four เกี่ยวข้องกับตัวละครซึ่งไม่ต้องสวมหน้ากากและบางครั้งก็ปะทะกันเอง คอมิกเรื่องนี้เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงดังนั้นผู้อ่านจึงแทนตัวเองลงไปในตัวละครทั้งสี่ได้ง่ายยิ่งขึ้น
คอมิกที่ปรับปรุงใหม่ในยุคหลัง “Ultimate Fantastic Four” เป็นซีรีส์ยาว 60 เล่มที่ออกมาในปี 2004 และได้สร้างสรรค์ต้นกำเนิดของตัวละครทั้งสี่ขึ้นมาใหม่ ซีรีส์ Ultimate รวมถึงเรื่องราวและแนวคิดต่างๆ จาก Fantastic Four ฉบับดั้งเดิม ได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้เรื่องราวในภาพยนตร์ FANTASTIC FOUR ฉบับทำใหม่นี้
การก่อร่าง – ทีมงานผู้สร้างภาพยนตร์
ก่อนยุคอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง นักทำหนังรุ่นใหม่มากมายเริ่มต้นด้วยการทำมิวสิกวิดีโอและหนังโฆษณา แต่ระยะหลังมานี้นักทำหนังได้รับการค้นพบจากคลิปสั้นทำเองในแบบ “Do It Yourself” (DIY) ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ที่พบเห็นได้ตามช่องทางอย่าง YouTube และ Vine
ในปี 2007 นักทำหนังหน้าใหม่จากลอสแองเจลีสจอชแทรงค์ได้สร้างหนังสั้นธีม “Star Wars” ความยาว 85 วินาทีซึ่งมีชื่อว่า “Stabbing at Leia’s” คลิปนี้แพร่หลายกลายเป็นคลิปไวรัลและสร้างกระแสในอินเตอร์เน็ตทำให้มีผู้เข้าชมนับล้านๆครั้งในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์
ความชาญฉลาดและสมจริงในคลิปนี้ดึงดูดความสนใจของผู้บริหาร Twentieth Century Fox ในไม่ช้าทางสตูดิโอก็จ้างให้แทรงค์ทำหนังยาวเรื่องแรก “Chronicle” เรื่องราวอันน่าติดตามว่าด้วยชายหนุ่มสามคนที่ค้นพบพลังลึกลับจากใต้ดินที่ทำให้พวกเขามีความสามารถอันเกินความเข้าใจ ทั้งยังผลักดันด้านมืดของพวกเขาให้รุนแรงขึ้นอีกด้วย หนังเรื่องนี้ซึ่งถ่ายทำในรูปแบบฟุตเทจถ่ายเอง (found footage) กลายเป็นหนังทำเงินทั่วโลกและได้รับเสียงชมจากนักวิจารณ์ “Chronicle” มีโทนและรูปแบบคล้ายเรียลลิตี้ซึ่งจะส่งผลต่อ FANTASTIC FOUR ในเวลาต่อมา
ในเวลานั้น Fox อยู่ระหว่างการพัฒนา The Fantastic Four ฉบับสร้างใหม่ด้วยความที่มีแนวคิดคล้ายกับใน “Chronicle” หนังของแทรงค์ที่ได้แรงบันดาลใจจากซูเปอร์ฮีโร่และตัวผู้กำกับรายนี้ก็ชื่นชอบคอมิกฉบับคลาสสิกของ Marvel อยู่แล้วผู้บริหารของทางสตูดิโอจึงตระหนักว่าได้คนที่เหมาะสมที่สุดในการนำมุมมองใหม่อันน่าตื่นเต้นมาให้ซูเปอร์ฮีโร่กลุ่มแรกของ Marvel แล้ว
แทรงค์เป็นคนรุ่นที่เติบโตมากับหนังสือคอมิกและหนังที่ดัดแปลงจากหนังสือคอมิกซึ่งมีโทนหม่นมืดชวนค้นหาสิ่งเหลานี้เองที่เป็นแรงบันดาลใจให้แนวทางของเขาใน FANTASTIC FOUR ฉบับใหม่นี้
เขาเข้าร่วมโครงการนี้โดยมีหลักสำคัญอยู่ประการหนึ่งคือ “มันเริ่มต้นจากหนังที่ผมอยากดูในฐานะแฟนคนหนึ่ง” เขากล่าว “สิ่งใหม่ๆ ที่ไม่ต้องกลัวว่าเป็นการล้มล้างแนวทางแบบเดิมๆ หรือท้าทายต่อสิ่งที่มันควรจะเป็น” ลำดับแรก เขาต้องการแสดงให้เห็นที่มาของทั้งสี่ในวัยเด็กก่อนเข้ามาร่วมทีม ที่สำคัญไม่แพ้กันคือเขาพยายามทำให้โทนหนังมีความสมจริง เน้นอารมณ์ และเข้าถึงได้ “พลังของพวกเขาสอดคล้องกับในหนังสือคอมิก แต่แทนที่จะมองว่าเป็นพลังวิเศษ มันกลับเป็นความท้าทายที่ทำให้แต่ละคนกลายเป็นตัวปัญหาหากต้องการกลับเข้าสู่สังคม” แทรงค์อธิบาย
แทรงค์นำเรื่องราวและตัวละครมาอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยความหลากหลายซึ่งสะท้อนโลกของเราในปัจจุบัน จุดมุ่งหมายนี้จะปรากฏอยู่ในการคัดเลือกนักแสดง เรื่องราว โทน และงานออกแบบของหนังด้วย
เรื่องราวเกิดขึ้นก่อนซูเปอร์ฮีโร่กลุ่มนี้จะได้รับการยกย่องไปทั่วโลกพวกเขาไม่ได้ใส่เครื่องแบบชุดรัดรูปและยังไม่ได้ใช้ฉายาที่คุ้นเคยกันอย่างมิสเตอร์แฟนแทสติกสาวล่องหนมนุษย์เพลิงและเดอะธิงค์
เมื่อแทรงค์มาร่วมทีมแล้ว 20th Century Fox ก็ได้เชิญไซมอน คินเบิร์กมาเขียนบทและอำนวยการสร้าง หลังจากอำนวยการสร้าง “X-Men: First Class” ในปี 2010 รวมทั้งเป็นผู้เขียนบทและอำนวยการสร้าง “X-Men: Days of Future Past” คินเบิร์กซึ่งเป็นแฟนหนังสือคอมิกมาตลอดชีวิตจึงเป็นคนที่เหมาะสมที่สุดในการทำงานร่วมกับแทรงค์ใน FANTASTIC FOUR
คินเบิร์กกล่าวว่าแทรงค์เป็นผู้กำหนดจุดเริ่มต้นของโครงการนี้ “จอชมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับโทนและน้ำเสียงของหนังที่จะทำให้มันแตกต่างจากหนังฉบับก่อนๆ และหนังเรื่องอื่นๆ ในแนวเดียวกันด้วย แนวทางของจอชก็คือการสร้างเรื่องราวการเติบโตของตัวละครที่มีความหนักแน่นและสมจริง”
แทรงค์เสริมว่าสิ่งหนึ่งที่เขาชอบมาตลอดใน The Fantastic Four คือตัวละครไม่ได้เป็นซูเปอร์ฮีโร่จริงๆ “พวกเขาเป็นนักสำรวจและนักผจญภัย” เขากล่าว “พวกเขาไปตามที่ต่างๆ เผชิญอันตรายในดาวดวงอื่นหรือมิติอื่น หลายครั้งการต่อสู้ของพวกเขาก็เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้ทั่วไปที่คนหนุ่มสาวต้องเผชิญ”
คินเบิร์กกล่าวว่าแม้แทรงค์จะอายุน้อยกว่าเขาสิบปี แต่ทั้งสองก็มีจุดอ้างอิงร่วมกันอยู่มากมายในโลกภาพยนตร์ ซึ่งรวมถึงหนังอย่าง “ET”, “Close Encounters”, “Star Wars” และ “The Terminator” จุดร่วมนี้ส่งผลต่อโทนของหนังและการตัดสินใจที่จะเน้นเอฟเฟ็กต์จริงมากขึ้นแทนที่จะพึ่งวิชวลเอฟเฟ็กต์โดยสิ้นเชิง
คินเบิร์กเข้าร่วมทีมสร้างหนังซึ่งรับผิดชอบการดัดแปลงผลงานหลักของ Marvel เรื่องอื่นๆ ในความดูแลของ 20th Century Fox ด้วย อันได้แก่ ผู้อำนวยการสร้าง ฮัตช์ พาร์กเกอร์ ซึ่งอำนวยการสร้างทั้ง “X-Men: Days of Future Past” และ “The Wolverine”, เกรกอรี กู๊ดแมน ผู้อำนวยการสร้าง “X-Men: First Class” และแมทธิว วอห์น ผู้เขียนบทและผู้กำกับของ “X-Men: First Class”
พาร์กเกอร์ อดีตประธานด้านงานผลิตของ 20th Century Fox ได้ช่วยดูแลแฟรนไชส์ “X-men” ระหว่างการดำรงตำแหน่งอันยาวนานในสตูดิโอแห่งนี้ “สิ่งที่ผมมองว่าน่าดึงดูดมากใน FANTASTIC FOUR คือวิสัยทัศน์ของจอช” พาร์กเกอร์กล่าว “จอชมีแนวคิดที่เฉพาะเจาะจงมากว่าอะไรที่ทำให้คอมิกนี้มีความพิเศษ และสิ่งนั้นก็ส่งอิทธิพลไปยังทุกๆ แง่มุมของหนัง เขาต้องการทำสิ่งซึ่งเขามองว่าไม่มีใครเคยทำมาก่อน เขาต้องการให้ FANTASTIC FOUR มีความท้าทายแต่ก็ยังเข้าถึงได้ เรามองว่ามันเป็นเรื่องราวการเดินทางของฮีโร่ หรือในกรณีนี้ก็คือการเดินทางของฮีโร่ทั้งสี่”
เพื่อรักษาอุดมคตินี้ไว้ คินเบิร์กจึงเริ่มเขียนบทซึ่งไม่ได้ทำให้การแปรสภาพของทั้งสี่เป็นพรสวรรค์อันยิ่งใหญ่ แต่เป็นการสูญเสียอำนาจที่จะควบคุมร่างกายของตนเอง “มันน่าจะเหมือนการที่คนจริงๆ ต้องมารับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายแบบฉับพลันทันด่วน” เขาอธิบาย “ร่างกายของคุณเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะส่งผลต่อชีวิตของคุณในทุกๆ แง่มุม”
“ครั้งแรกที่คุณได้เห็นคนเหล่านี้รับมือกับพลังพิเศษ มันไม่ได้เหมือนการเล่นกลหรือเป็นของเล่น” พาร์ก
เกอร์เสริม “อย่างเช่น จอห์นนีก็ต้องหวาดกลัวกับความคิดที่ว่าเขาอาจถูกไฟครอกทั้งตัว”
คินเบิร์กวางโครงเรื่องโดยรวมว่าตัวละครเหล่านี้ควรอยู่ที่จุดไหนในอีก 10, 20 และ 30 ปีข้างหน้า “งานนี้บังคับให้ผมต้องตั้งคำถามอย่างเช่นว่าพวกเขาจะมีพัฒนาการเป็นอย่างไรและจะกลายเป็นอะไร ตัวละครทั้งสี่ไม่ได้เป็นซูเปอร์ฮีโร่ในตอนจบของเรื่องนี้ พวกเขายังไม่เปิดเผยตัวต่อสาธารณชน พวกเขายังไม่วางใจกับพลังที่ตนเองมีเลยด้วยซ้ำ พวกเขาไม่มีชื่อเรียกเฉพาะหรือเครื่องแต่งกายพิเศษ เรื่องราวความเป็นมานี้นำเสนอรายละเอียดปลีกย่อย ตัวละคร และความเป็นมนุษย์มากกว่า”
แม้ว่า FANTASTIC FOUR ได้รับการปรับให้มีความร่วมสมัยในแง่โทน การคัดเลือกนักแสดง และการออกแบบ แต่ก็ยังมีลักษณะเด่นหลายอย่างเหมือนในหนังสือ โดยหนังแสดงให้เห็นสัญลักษณ์ต่างๆ ของ Fantastic Four เช่น อาคารแบ็กซ์เตอร์ สำนักงานใหญ่กลางเมืองนิวยอร์กซิตี้ของสถาบันแบ็กซ์เตอร์ ที่ซึ่ง ดร. แฟรงคลิน
สตอร์ม เป็นผู้นำกลุ่มคนผู้ฉลาดปราดเปรื่องที่สุดในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ “แต่องค์ประกอบหลักที่เราเก็บไว้จาก “The Fantastic Four” ฉบับดั้งเดิมของเคอร์บีและลีคือแนวคิดที่ว่าคนเหล่านี้เป็นเหมือนครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่ง” คินเบิร์กระบุ “เหตุผลที่คอมิกเรื่องนี้อยู่มาได้นานหลายปีก็เพราะความเป็นครอบครัวในเรื่อง นี่เป็นแก่นซึ่งเรานำมาจากหนังสือคอมิกต้นฉบับ รวมถึงความสนุกสนาน การผจญภัย และการมองโลกในแง่ดีด้วย”
“ถ้าจะมีสาระหลักที่เราต้องการสื่อใน FANTASTIC FOUR” แทรงค์อธิบาย “ก็คงเป็นเรื่องของการผ่านพ้นทุกสิ่งไปด้วยกัน ผ่านพ้นสิ่งต่างๆ ที่ต้องเผชิญในชีวิต และไปถึงอีกฝั่งโดยไม่ยอมทอดทิ้งกันและกัน”
พบสี่ฮีโร่
ทีมผู้สร้างต้องการนักแสดงที่จะถ่ายทอดตัวละครในโลกความเป็นจริงและระเบียบทางสังคมในปัจจุบัน
“เราต้องการนักแสดงที่เก่งในการถ่ายทอดอารมณ์” คินเบิร์กกล่าว “นักแสดงที่มีพื้นเพมาจากหนังที่เน้นตัวละคร ซึ่งก็เป็นแนวทางเดียวกันกับที่เราใช้ในหนังตระกูล ‘X-Men’”
หลังประสบอุบัติเหตุที่ส่งผลให้สภาพร่างกายเปลี่ยนแปลงไป ทั้งสี่ก็ได้สร้างสายสัมพันธ์พิเศษและความเข้าใจร่วมกันว่าพวกเขาจะอยู่เคียงข้างกันและกันเสมอ ทั้งสี่เริ่มตระหนักว่าตนเองจะแข็งแกร่งที่สุดเมื่อทำงานร่วมกัน ดังนั้นสิ่งสำคัญจึงอยู่ที่การหานักแสดงซึ่งสามารถสานสัมพันธ์กันได้อย่างน่าเชื่อถือและส่งเสริมซึ่งกันและกันได้เหมือนเป็นสมาชิกในครอบครัว
หัวหน้าทีมนี้คือรี้ดริชาร์ดส์ผู้ฉลาดปราดเปรื่องความฝันของนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์รายนี้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กก็คือการสร้างเครื่องย้ายมวลสารหลายปีต่อมาความปรารถนาของเขาก็เป็นจริงเมื่อเขาได้สร้างเครื่องเดินทางผ่านมิติชื่อควอนตัมเกตขึ้นที่สถาบันแบ็กซ์เตอร์แต่ภารกิจการทดสอบเกิดผิดพลาดทำให้รี้ดและเพื่อนๆได้รับพลังใหม่อันไม่ธรรมดาตัวรี้ดเองสามารถยืดแขนขาได้ยาวมากและเปลี่ยนร่างให้เป็นรูปทรงต่างๆได้
“รี้ด ริชาร์ดส์เป็นคนฉลาดปราดเปรื่องมากที่สุดคนหนึ่งในโลกของหนังสือคอมิกครับ” คินเบิร์กชี้ “สิ่งที่ทำให้รี้ดน่าสนใจคือเขาเป็นคนมีจริยธรรม แต่เพราะเขาต้องการทดสอบขอบเขตของวิทยาศาสตร์อยู่ตลอดเวลา บางครั้งเขาจึงผลักดันจนเกินจุดที่ปลอดภัยไป ตัวละครรี้ดที่เราสร้างขึ้นมาเป็นคนสงสัยใคร่รู้อย่างไม่จบสิ้นและชอบก้าวข้ามขีดจำกัด เขาสบายใจที่จะคุยเรื่องวิทยาศาสตร์มากกว่าเรื่องส่วนตัว รี้ดจดจ่ออยู่กับงานของตัวเองจนไม่ค่อยสัมพันธ์กับโลกรอบตัวนัก แต่เมื่อเขาสร้างสายสัมพันธ์ก็จะมีความน่าขันและบางครั้งก็ลึกซึ้งอยู่ในตัว”
ไมล์สเทลเลอร์ดาวรุ่งพุ่งแรงที่สุดคนหนึ่งของฮอลลีวู้ดซึ่งเพิ่งได้ประสบความสำเร็จจาก “Whiplash” หนังอิสระที่ได้รับการยกย่องเรื่อง “The Spectacular Now” และบทปีเตอร์ในหนังวัยรุ่นสุดฮิต “Divergent” รับบทเป็นรี้ดริชาร์ดส์ตัวละครที่สำคัญมากที่สุดตัวหนึ่งในอาณาจักรซูเปอร์ฮีโร่ของ Marvel
“ไมล์สถ่ายทอดความฉลาดที่ต้องมีอยู่ในตัวรี้ดแต่ยังรวมถึงความขี้เล่นอันเป็นธรรมชาติของเขาด้วย” คินเบิร์กเสนอ “เขามีด้านมืดด้วยเช่นกัน” ฮัตช์พาร์กเกอร์เสริมว่า “ไมล์สเป็นคนตลกอย่างร้ายกาจครับใครก็ตามที่เคยใช้เวลาอยู่กับเขาจะรู้ดีแต่ก็ยังมีด้านที่ชอบเก็บตัวอยู่เงียบๆซึ่งเราไม่เคยเห็นจากเขามาก่อนเป็นด้านที่ลึกซึ้งอยู่ในตัวเองและฉายแววถึงสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้ยิ่งกว่าเดิมในตัวละครนี้”
เทลเลอร์กล่าวว่าเขารับรู้ได้ทันทีว่าตัวละครทั้งสี่เป็นที่ชื่นชอบและโด่งดังมากแค่ไหนในอาณาจักรซูเปอร์ฮีโร่ “ผมรู้ว่าคอมิกเรื่องนี้เป็นที่ชื่นชอบของหลายๆ คนเพราะเป็นซูเปอร์ฮีโร่กลุ่มแรกที่ต้องเผชิญปัญหาจริงๆ พวกเขามีความเป็นมนุษย์มากที่สุดในบรรดาซูเปอร์ฮีโร่ทั้งหลายครับ”
เทลเลอร์เน้นว่าหนังเสนอภาพรี้ดให้เป็นเด็กหนุ่มคนหนึ่ง ไม่ใช่ตัวละครในตำนานอย่างที่เขาจะเป็นในท้ายที่สุด “ผมได้เล่นเป็นตัวละครที่ทุกคนรู้จักในช่วงวัยหนึ่งของชีวิตเขาและนำเขากลับไปยังช่วงยี่สิบปีก่อนหน้านั้น” เทลเลอร์กล่าว “สิ่งที่ผมชอบจริงๆ ในตัวรี้ดคือความมุ่งมั่นและความฉลาดของเขา ผมคิดว่าการเป็นคนที่ฉลาดที่สุดในหมู่คนที่ทำงานด้วยกันนั้นเป็นสิ่งมีค่ามาก เป็นอำนาจที่ยิ่งใหญ่ แต่เมื่อคุณฉลาดขนาดนั้น ก็จะมีน้อยคนที่เข้าใจคุณ ดังนั้นผมจึงชอบเล่นเป็นคนที่ค่อนข้างเก็บอะไรไว้กับตัวเอง เขาไม่พยายามทำตัวเป็นเด็กเท่ รี้ดแค่ต้องการสร้างควอนตัมเกต นั่นคือสิ่งที่ผลักดันเขา และเขาก็เป็นผู้บุกเบิกอย่างแท้จริง”
เนื่องจากความสามารถในการยืดร่างกายของริชาร์ดสร้างขึ้นด้วยซีจีเทลเลอร์ระบุว่าคำอธิบายของแทรงค์ในกองถ่ายช่วยให้เขาเห็นภาพและแสดงท่าทางการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติเหล่านั้นได้แทรงค์พูดผ่านไมโครโฟนไปยังเทลเลอร์และนักแสดงคนอื่นๆระหว่างฉากวิชวลเอฟเฟ็กต์เพื่อช่วยบรรยายการกระทำหรือสภาพแวดล้อมซึ่งจะสร้างขึ้นด้วยซีจีในภายหลัง “ในฐานะนักแสดงสิ่งสำคัญที่สุดคือความเฉพาะเจาะจงและการมีสมาธิแน่วแน่” เทลเลอร์กล่าว “เวลาที่ต้องแสดงการกระทำที่จินตนาการขึ้นมาและเป็นไปไม่ได้ในชีวิตจริงคุณจะไม่สามารถฝึกซ้อมได้ดังนั้นสำหรับผมแล้วสิ่งสำคัญที่สุดคือการเห็นภาพของสิ่งนั้น”
สมาชิกอีกคนหนึ่งของทีมนี้ จอห์นนี สตอร์ม เป็นเด็กหนุ่มผู้มาดมั่นและรักการผจญภัยที่ไม่อยากมาเกี่ยวข้องกับโครงการวิทยาศาสตร์ของ ดร. สตอร์มผู้เป็นพ่อ แต่เมื่อเขาหาเรื่องใส่ตัวระหว่างอุบัติเหตุในการแข่งรถบนท้องถนน พ่อของเขาก็ยืนยันให้เขาเข้าร่วมสถาบันแบ็กซ์เตอร์ ดังนั้นจอห์นนีจึงเป็นผู้เข้าร่วมโครงการล่าสุดของทางสถาบันอย่างไม่เต็มใจ หลังจากภารกิจล้มเหลว จอห์นนีถูกแปรสภาพกลายเป็นมนุษย์ที่เหมือนลูกไฟบินได้ ทว่าจอห์นนีกลับปรับตัวและสนุกกับพลังใหม่ที่เขาได้รับอย่างรวดเร็วแตกต่างจากคนอื่นๆ
แทรงค์กล่าวว่าจอห์นนีมีอาการของ “โรคลูกเจ้านาย” อยู่เล็กน้อย “ดร. สตอร์ม หัวหน้าสถาบันแบ็กซ์เตอร์เป็นคนฉลาดมาก แต่จอห์นนีมีปัญหากับพ่อเพราะพ่อเขาสนใจนักศึกษาคนอื่นๆ มากกว่าจอห์นนี ดังนั้นเขาจึงไม่พอใจ และจอห์นนีก็ไม่ต้องการเดินตามรอยพ่อ ถึงแม้ว่าเขาจะมีไอคิวสูงและเป็นคนมีแรงผลักดัน แต่เขาก็อยากเล่นสนุกและทำตามใจตัวเองมากกว่า”
คินเบิร์กเสริมว่า “ภาพที่เกิดขึ้นก่อนหน้าและหลังจากจอห์นนีแปลงร่างกลายเป็นมนุษย์เพลิงได้ซ่อนสิ่งที่อยู่ลึกลงไป ซึ่งก็คือเด็กหนุ่มที่ต้องการได้รับความสนใจจากพ่อ เขาเป็นเด็กที่เติบโตมากับพ่อที่ทำตัวเป็นผู้ปกครองของนักศึกษาจำนวนมากมาย และในแง่หนึ่งไม่ได้ตั้งใจเป็นผู้ปกครองให้ลูกของตัวเองนัก ดังนั้นเขาจึงถอยห่างออกจากพ่อ
คินเบิร์กกล่าวต่อไปว่า “ในบางแง่จอห์นนีก็เป็นคนที่ตลกที่สุด มีชีวิตชีวาที่สุด และห้าวที่สุดในทีม Fantastic Four เขาเป็นคนที่คนส่วนใหญ่อยากจะเป็น แค่เรื่องที่ว่าคนคนหนึ่งสามารถจุดตัวเองให้ลุกเป็นไฟและบินได้ก็น่าดึงดูดอยู่ในตัวเองแล้ว แถมเขายังเป็นผู้ชายแบบที่สาวๆ ชอบและออกจะทะนงตนด้วย ทั้งหมดล้วนเป็นใจให้เขาถูกมองว่าเป็น ‘ดาราหนัง’ ในแก็งค์นี้ ที่เยี่ยมคือเราพบไมเคิล บี จอร์แดน ซึ่งถ่ายทอดบทบาทนี้ออกมาได้จริงๆ”
ทีมผู้สร้างกล่าวด้วยว่าจอร์แดนช่วยให้ตัวละครนี้มีความลึกซึ้ง “ไมเคิลมีความทะนงตนและการชอบแสดงออก เขาถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นออกมาได้ ขณะเดียวกันไมเคิลก็ยังแสดงถึงความเป็นมนุษย์ ความรู้สึกที่บอบช้ำหรือความอ่อนแออยู่บ้างซึ่งช่วยเพิ่มมิติให้กับตัวละครจอห์นนี สตอร์ม” คินเบิร์กขยายความ
จอร์แดนเล่าว่าแนวคิดที่ให้เขารับบทเป็นจอห์นนี สตอร์ม เกิดขึ้นไม่นานหลังจากเขาเสร็จสิ้นการทำงานใน “Chronicle” “จอชบอกว่า ‘ผมจะทำ FANTASTIC FOUR’” จอร์แดนเล่า “ผมพูดอะไรสักอย่างประมาณว่า ‘ดีเลย งั้นคุณน่าจะให้ผมเป็นจอห์นนีนะ’ แล้วเราก็หัวเราะกันและไม่ได้คุยเรื่องนี้อีก จากนั้นสองสามเดือนต่อมาเขาก็โทรมาหาผมและบอกว่า ‘รู้ไหม มันอาจเป็นจริงก็ได้นะ’”
จอร์แดนกล่าวว่าการได้โอกาสเล่นเป็นตัวละครที่มีพลังพิเศษใน “Chronicle” เป็นเหมือน “อาหารเรียกน้ำย่อย” ก่อนมาทำงานใน FANTASTIC FOUR “ผมอยากทุ่มเทเต็มที่ในการสวมบทบาทเป็นตัวละครที่มีอยู่แล้ว และผมคิดว่าความสมจริงของ FANTASTIC FOUR ก็ดึงดูดผมด้วยเพราะว่ามันเข้าถึงได้ง่ายมาก และทำให้คุณอยากเอาใจช่วยตัวละคร สำหรับผมแล้ว จอห์นนี สตอร์ม คือตัวละครที่ใช่เลย เขามีเสน่ห์ดึงดูดและสนุกสนานกับชีวิต เขามองโลกในแง่ดีและอยากได้รับความสำคัญ แต่โดยธรรมชาติเขาเป็นคนร่าเริง ดังนั้นจึงมีความสมดุลอยู่”
หนังเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องราวของการก้าวพ้นวัยและการเดินทางเพื่อค้นพบตัวเองของทั้งสี่ เมื่อพวกเขาต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่และจัดการกับความสามารถใหม่ๆ ของตัวเอง “จอห์นนีมองว่านี่คือโอกาสสำคัญที่จะได้พบเป้าหมายของตัวเองเสียที” จอร์แดนเสริม “สำหรับจอห์นนีซึ่งเป็นคนชอบความตื่นเต้นท้าทาย นี่อาจเป็นเป้าหมายในชีวิตของเขาก็ได้”
เมื่อยังเด็กซูสตอร์มน้องเลี้ยงของจอห์นนีเป็นเด็กกำพร้าจากโคโซโวที่ได้รับการอุปการะจากครอบครัวของดร. แฟรงคลินสตอร์มในฐานะคนรุ่นใหม่ที่สถาบันแบ็กซ์เตอร์เธอกลายมาเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตแบบแผนซึ่งสามารถมองเห็นแบบแผนในทุกๆสิ่งและทุกๆคนได้เนื่องจากอยู่ในบริเวณใกล้จุดเกิดเหตุซูจึงได้รับความสามารถใหม่เธอสามารถล่องหนได้และใช้พลังใหม่เพื่อสร้างสนามพลังอันทรงอานุภาพขึ้นมา
เพื่อยกย่องประวัติศาสตร์ของฮีโร่หญิงอันมีสีสันในหนังสือคอมิกรายนี้ทีมผู้สร้างจึงเสาะหานักแสดงหญิงที่มีความฉลาดความแข็งแกร่งและความลึกลับ “เราทุกคนเป็นแฟนของ ‘House of Cards’ และเคตมาราก็เป็นชื่อแรกที่ผุดขึ้นมา” คินเบิร์กเล่า “เธอสร้างความหนักแน่นให้ตัวละครซูซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับตัวละครนี้เธอเป็นตัวละครที่อึดอัดกับการเป็นคนสวยอยู่บ้างสำหรับซูแล้วมันอาจเป็นข้อด้อยด้วยซ้ำดังนั้นเราจึงต้องการคนที่น่าเกรงขามฉลาดและมีพลังยิ่งกว่าพวกผู้ชายซูมีอำนาจควบคุมภายในทีม Fantastic Four ในบางแง่เธอมีความเป็นผู้ใหญ่มากที่สุดในทีม”
มาราเล่าว่า “หลังจากได้ทราบแนวทางของจอชฉันยิ่งตื่นเต้นขึ้นอีกที่จะมีโอกาสได้เล่นเป็นซูค่ะเพราะฉันสนใจหนังที่เน้นความหนักแน่นสมจริงซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ทำให้ฉันชอบ ‘Chronicle’ จอชทำให้ฉันเชื่อในเรื่องราวนี้ทันทีเลย” มารามองว่าซูเป็นคนที่ชอบอยู่กับตัวเองตั้งแต่แรกแล้วดังนั้นการล่องหนได้จึงเป็นความสามารถที่สอดคล้องกับบุคลิกของเธอ
หลังได้รับการอุปการะโดยดร. สตอร์มในไม่ช้าก็ปรากฏว่าซูเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์ “เธอมีพรสวรรค์ด้านการสังเกตเห็นแบบแผน” มาราอธิบาย “เธอฉลาดมากๆและทำงานกับพ่อซึ่งเธอผูกพันด้วย”
มารากล่าวต่อไปว่า ความสัมพันธ์ระหว่างซูกับจอห์นนีผู้เป็นพี่ชายนั้นเป็นเป็นความสัมพันธ์เหมือนพี่น้องทั่วไป เธอเล่าว่าสัมผัสได้ทันทีถึงความผูกพันแบบครอบครัวกับเร็ก อี คาเธย์ ซึ่งรับบทเป็น ดร.สตอร์ม และไมเคิล บี จอร์แดน เพราะทั้งสามต่างมีส่วนเกี่ยวข้องกับซีรีส์ทางโทรทัศน์เรื่องเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น “House of Cards” หรือ “The Wire”
เช่นเดียวกับเพื่อนคนอื่นๆซูไม่ได้เปิดรับพลังใหม่ในทันที “การได้รับพลังนี้ทำให้เธอรู้สึกเหมือนเสียแขนขาไป” มารากล่าว “จอชต้องการให้เห็นได้ชัดเจนว่าการใช้พลังของซูไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆเป็นความเหนื่อยล้าทั้งในแง่จิตใจและร่างกายคล้ายกับว่าการล่องหนหรือใช้สนามพลังนั้นให้ความรู้สึกเหมือนการวิ่งมาราธอนหรือกลั้นหายใจนานเกินกว่าที่มนุษย์จะทำได้เป็นอีกสิ่งหนึ่งซึ่งแสดงให้เห็นว่าถึงแม้ซูจะมีพรสวรรค์พิเศษนี้แต่เธอก็ยังเป็นมนุษย์อยู่ซูรู้สึกผิดปกติและอยากให้ทุกอย่างกลับไปเป็นเหมือนอย่างเคยการได้รับพลังที่เธอควบคุมไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัวในตอนแรกและทำให้เธอรู้สึกโดดเดี่ยว
สมาชิกคนที่สี่ของทีมที่เพิ่งเกิดใหม่นี้คือ เบน กริมม์ ซึ่งอาศัยอยู่กับแม่และพี่ชายในบ้านหลังเล็กที่ธุรกิจของครอบครัว ลานทิ้งซากรถเก่า Grimm Salvage Yard ในพื้นที่เสื่อมโทรมย่านออยสเตอร์เบย์ เบนสร้างมิตรภาพที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้กับ รี้ด ริชาร์ดส์ นักประดิษฐ์หัวใสที่อาศัยอยู่ในย่านเดียวกัน เมื่อเขาพบว่ารี้ดขโมยชิ้นส่วนจากลานทิ้งซากรถเก่าของครอบครัวเบนมาใช้ในสิ่งประดิษฐ์ชิ้นล่าสุดของเขา หลายปีต่อมาหลังจากรี้ดเรียกเบนให้มาร่วมงานในภารกิจการเคลื่อนย้ายมวลสารที่นำมาซึ่งเหตุร้ายในสถาบันแบ็กซ์เตอร์ เบนก็ได้ถูกแปรสภาพให้กลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่แข็งแกร่ง สูงหกฟุตแปดนิ้วและหนักพันปอนด์ ร่างกายปกคลุมด้วยหิน ทำให้เขาไม่สะทกสะท้านต่อการโจมตีใดๆ
เจมี เบลล์ ซึ่งเริ่มต้นอาชีพนักแสดงด้วยการรับบทนำในหนังดรามาของอังกฤษเรื่อง “Billy Elliott” ได้รับเลือกให้มาเล่นเป็นตัวละครผู้มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวรายนี้
กระบวนการที่นำไปสู่การเลือกเบลล์ให้มารับบทนั้นเริ่มต้นด้วยแนวคิดที่ว่านักแสดงรายนี้ต้องตัวไม่ใหญ่และไม่ได้ดูโหดเหี้ยมแต่สามารถเล่นเป็นตัวละครคนนอกที่มีพลังความหงุดหงิดและความโกรธมากมายเก็บไว้ภายในซึ่งเผยออกมาเมื่อเขากลายร่างเป็นสัตว์ประหลาด “สิ่งที่จอช [แทรงค์] ตามหาคือคุณสมบัติภายในที่สร้างบุคลิกของตัวละครนี้ขึ้นมาความแข็งแกร่งที่เก็บงำไว้ความกล้าหาญในเชิงศีลธรรมความจงรักภักดีซึ่งคุณสมบัติต่างๆเหล่านี้เจมีเบลล์สามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างงดงาม” พาร์กเกอร์ระบุ
คินเบิร์กเสริมว่า “เจมีแสดงให้เห็นถึงความเมตตาและความมีชีวิตจิตใจอย่างแท้จริง และเมื่อเขาแปลงร่างกลายเป็นเดอะธิงค์ ก็ต้องอาศัยการแสดงผ่านสายตาและเสียงเท่านั้นเพราะตัวละครนี้สร้างขึ้นจากซีจี เจมีแสดงความมีชีวิตจิตใจและความเมตตานั้นผ่านทางสายตาซึ่งคุณจะเห็นได้ทุกครั้งที่มองใบหน้าของเขา ทั้งที่มันออกมาจากสิ่งมีชีวิตขนาดมหึมา””
เบลล์กล่าวว่า เขาตกลงใจรับบทในหนังเรื่องนี้หลังการพูดคุยทางโทรศัพท์นานสองชั่วโมง ซึ่งแทรงค์นำเสนอหนังทั้งเรื่องให้เขาตั้งแต่ฉากเปิดจนถึงฉากเครดิตตอนจบ “จอชเป็นคนทำหนังแบบนี้ล่ะครับ เขากำหนดทุกอย่างไว้เฉพาะเจาะจงมาก เขามีรสนิยมที่ดีจริงๆ และเขาพยายามทำสิ่งที่แตกต่างอย่างแท้จริงในหนังเรื่องนี้ ซึ่งนับว่าน่าชื่นชม งานนี้เป็นความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ และเมื่อผมคุยโทรศัพท์กับจอชเสร็จ ผมก็รู้สึกราวกับว่าได้ดู FANTASTIC FOUR แล้ว และผมก็ชอบหนังเรื่องนี้ด้วย สิ่งที่เยี่ยมก็คือมันไม่ได้ฟังดูเหมือนหนังซูเปอร์ฮีโร่ แต่ก็ยังเป็นหนังซูเปอร์ฮีโร่อยู่ดี มันมีจังหวะแบบเดียวกับหนังซูเปอร์ฮีโร่ แต่ให้ความรู้สึกเหมือนประสบการณ์ของคนสี่คนที่ผ่านพ้นเรื่องราวอันเหลือเชื่อมาด้วยกัน มารวมทีมกันและค้นพบกันและกัน นั่นคือหัวใจหลักของหนังเรื่องนี้และผมก็เชื่อมโยงกับมันได้”
เบลล์บรรยายว่า เบน กริมม์ เป็น “คนซึ่งไปถึงจุดหนึ่งของชีวิตที่เขาไม่รู้ว่าตัวเองจะทำอะไรต่อไป เบนไม่ได้มีโอกาสมากมายอะไรนัก เขาเป็นคนธรรมดาทั่วไป สิ่งเดียวที่ทำให้เขาโดดเด่นคือเขามักปกป้องตัวเองและเพื่อนๆ เสมอ เบนมีปัญหากับพี่น้องด้วยและถูกรังแกบ่อยๆ ดังนั้นเขาจึงพยายามพิสูจน์ตัวเองอยู่ตลอดเวลา เมื่อเขาถูกข่มขู่ เขาก็ชอบที่จะขู่กลับ แต่ผมคิดว่าลึกๆ แล้วเขาเป็นคนที่อ่อนโยนนะ”
ด้วยความสนิทสนมกับรี้ด ริชาร์ดส์ ในที่สุดเบนก็ถูกเรียกตัวให้เข้าร่วมภารกิจควอนตัมเกตของรี้ดที่สถาบันแบ็กซ์เตอร์ การแปรสภาพทางร่างกายครั้งนั้นกระทบกระเทือนเบนหนักที่สุด ด้วยการที่ร่างมนุษย์ของเขาถูกเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิงกลายเป็นมนุษย์หินร่างมหึมา “ผมคิดว่าเบนเจอหนักที่สุด” เบลล์เสนอ “เขาเดือดร้อนหนักที่สุด เพราะเขากลายเป็นก้อนหินที่มีตา เบนแปรสภาพเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากร่างมนุษย์มากที่สุด เขากลายเป็นสิ่งอื่นไปโดยสิ้นเชิง และสิ่งที่เด็กๆ เหล่านี้รู้สึกในเวลานั้นก็คือพวกเขาอยู่โดดเดี่ยว ไม่เหลืออะไรเลย ชีวิตของพวกเขาต้องพังทลาย แล้วพวกเขาก็ต้องมาอยู่กับสภาพร่างกายที่น่ากลัว”
เพื่อถ่ายทอดภาพเบน กริมม์ ที่ถูกแปรสภาพไปแล้ว เบลล์พยายามเน้นไปยังเด็กหนุ่มที่อยู่ภายในเปลือกหุ้ม ไม่ใช่สิ่งที่เขาเป็นในภายหลัง “วิธีที่ผมมองบทนี้ก็คือที่จริงแล้วเขาเป็นเด็กหนุ่มอายุสิบแปดสิบเก้าที่ถูกขังเอาไว้ เขามีความคิดจิตใจเหมือนที่เคยมีก่อนการแปรสภาพ ดังนั้นเขาจึงยังมีความเป็นมนุษย์อยู่ภายใน ความคิดหรือความรู้สึกที่ถ่ายทอดออกมาจึงไม่ต้องกลายเป็นว่า ‘ฉันคือสัตว์ประหลาดร่างมหึมา’ คุณแค่ต้องคิดเหมือนเด็กหนุ่มที่ถูกขังเอาไว้”
นอกเหนือจากถ่ายทอดความคิดจิตใจของเบนหลังจากการแปรสภาพแล้ว เบลล์ยังต้องคำนึงถึงร่างสูงหกฟุตแปดนิ้วและหนักพันปอนด์ในการถ่ายทอดสภาพร่างกายของตัวละครนี้ด้วย เขากล่าวว่า “ลักษณะทางกายภาพกายของบทนี้มาจากการเคลื่อนไหวทั้งหมดครับ เหมือนตอนผมเป็นนักเต้นเมื่อยังเป็นเด็ก”
เพื่อให้ได้ความสูงที่ถูกต้องมาเป็นจุดอ้างอิงระดับสายตาสำหรับกล้องและนักแสดงคนอื่นๆ เบลล์มักต้องแสดงในฉากโดยไม่เพียงสวมชุดจับการเคลื่อนไหว แต่ขาและเท้าของเขายังต้องรัดติดกับเสาค้ำพิเศษเพื่อเพิ่มความสูงให้เขาอีกหนึ่งฟุต “การใช้เสาค้ำไม่ใช่เรื่องง่ายครับ” เบลล์เผย “แต่ก็เป็นประโยชน์มาก การมีความสูงเพิ่มขึ้นในฉากช่วยเปลี่ยนมุมมองได้บ้างเหมือนกัน คือคุณจะรู้สึกว่าตัวเองน่าเกรงขามจริงๆ”
เบลล์ยังได้ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับผู้ออกแบบท่าทางอันมีชื่อเสียง เทอร์รี โนทารี ผู้เชี่ยวชาญด้านการจับการเคลื่อนไหวในการแสดงอย่างโนทารีเคยรับหน้าที่เป็นนักแสดงและฝึกสอนนักแสดงคนอื่นๆ ในการแสดงซึ่งต้องใช้การจับการเคลื่อนไหวในหนังอย่าง “Dawn of the Planet of the Apes”, “The Hobbit” และ “Avatar”
แม้ไม่มีใครดูออกว่าร่างของเบน กริมม์/ เดอะธิงค์ ที่ถูกแปรสภาพทางดิจิตัลนั้นเป็นเบลล์ สิ่งสำคัญสำหรับแทรงค์ก็คือรายละเอียดความเป็นตัวเบนจะต้องคงอยู่ “เจมีกับผมใช้เวลาสองสามวันแรกในการเตรียมงานค้นหากลไกการทำงานภายในของตัวละครและค้นหาว่าเบนเป็นคนประเภทไหน” โนทารีเล่า “จอชมองว่าสิ่งสำคัญคือเราต้องมองเห็นว่าเดอะธิงค์นั้นเป็นคน เป็นใครสักคนที่ติดอยู่ภายในเปลือกหุ้มนั้น”
“ขนาดร่างกายมีผลมากต่อแนวทางที่เราใช้เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวของเขา” โนทารีอธิบาย “คุณต้องรับเอาความรู้สึกของการทิ้งจุดศูนย์ถ่วงลงมาและถ่ายน้ำหนักผ่านขาลงไปยังพื้น ซึ่งช่วยให้ตัวละครดูมีมวลและมีน้ำหนักจริงๆ”
เมื่อได้นักแสดงที่จะมารับบทเป็น Fantastic Four แล้วทีมผู้สร้างก็หันไปหานักแสดงสำหรับบทวิกเตอร์วอนดูมตัวร้ายหลักตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนาน 50 ปีของคอมิกเรื่องนี้วิกเตอร์เป็นตัวละครที่โดดเด่นมากจนกระทั่งมีหลายคนคาดเดากันว่าเขาเป็นแรงบันดาลใจด้านภาพส่วนหนึ่งให้แก่ตัวละครดาร์ธเวเดอร์ใน “Star Wars” ของจอร์จลูคัส
วิกเตอร์กลายเป็นหนึ่งในตัวร้ายที่โด่งดังที่สุดตลอดกาลในอาณาจักรของ Marvel Comics ในเรื่องราวความเป็นมาฉบับปรับปรุงใหม่ของแทรงค์ตัวละครนี้เป็นนักคอมพิวเตอร์ที่ฉลาดปราดเปรื่องแต่อารมณ์แปรปรวนเขาได้รับการชักจูงจากดร. สตอร์มให้กลับมายังสถาบันแบ็กซ์เตอร์เพื่อร่วมงานกับรี้ดริชาร์ดส์และทีมนักวิทยาศาสตร์ของเขาขณะที่รี้ดกำลังสร้างควอนตัมเกตในขั้นตอนสุดท้ายซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่วิกเตอร์ทำงานมานับทศวรรษที่สถาบันแห่งนี้แต่ไม่ประสบความสำเร็จก่อนเขาจะถอนตัวไปอย่างปุปปับ
คินเบิร์กเพิ่มรายละเอียดลงไปในเรื่องราวปูมหลังที่เขาสร้างให้ตัวละครนี้ “วิกเตอร์เป็นนักศึกษารุ่นแรกๆของดร. สตอร์มที่สถาบันแบ็กซ์เตอร์” เขาเสนอ “เขาเป็นคล้ายกรณีศึกษาที่ผิดพลาดเป็นนักศึกษาซึ่งเคยเป็นเด็กมีปัญหาจากครอบครัวที่แตกแยกเขาสูญเสียพ่อแม่ไปแต่เป็นคนที่มีไอคิวสูงมากดร.สตอร์มพบวิกเตอร์ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าและนำเขากลับมายังนิวยอร์กเพื่อช่วยนำความอัจฉริยะของเขาไปใช้ในโครงการที่เป็นประโยชน์แต่วิกเตอร์มีความบอบช้ำที่รักษาไม่หายและไม่หยุดการทำตัวต่อต้านเขาทำโครงการควอนตัมเกตในแบบของเขาเองซึ่งไม่เคยเสร็จสมบูรณ์และปัญหาเรื่องวินัยก็ครอบงำเขาสมองของวิกเตอร์แทบจะใหญ่เกินไปสำหรับโลกใบนี้”
แทรงค์กล่าวว่าวิกเตอร์ถูกหลอกหลอนโดยวัยเด็กอันดำมืด “มันเป็นสิ่งที่เขาไม่อาจเอาชนะได้เมื่อเราพบเขาในวัยยี่สิบกลางๆเขาถูกกระหน่ำซ้ำเติมจากสิ่งต่างๆในชีวิตเพราะเขาไม่สามารถหาตัวเองได้ในโลกใหม่นี้หลังจากทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขาเมื่อเขาเป็นเด็กดังนั้นเมื่อดร. สตอร์มติดต่อไปหาวิกเตอร์และขอให้เขากลับมายังสถาบันแบ็กซ์เตอร์เพื่อทำงานในโครงการนี้นั่นก็เป็นเพราะด็อกเตอร์ห่วงใยเขาอย่างแท้จริง” ทว่าวิกเตอร์กลับไม่อาจทิ้งความรู้สึกแปลกแยกและแนวโน้มเชิงทำลายล้างของเขาได้
คินเบิร์กเล่าว่าการหานักแสดงมารับบทนี้เป็นเรื่องที่ท้าทายที่สุด “ผมคิดว่าตัวร้ายเป็นตัวละครที่เลือกนักแสดงได้ยากที่สุดเพราะถ้าเลือกผิดตัวละครอาจดูขี้โกงจนเหมือนแกล้งทำตัวละครวิกเตอร์ที่เราคุยกันมาตั้งแต่แรกเป็นคนที่ละเอียดอ่อนและบอบช้ำขณะเดียวกันก็เป็นตัวละครที่ทรงพลังและน่ากลัวด้วย”
คนที่มีชื่ออยู่ในอันดับต้นๆของทีมสร้างหนังก็คือนักแสดงชาวอังกฤษโทนีเคบเบลล์ซึ่งเพิ่งเล่นเป็นลิงเจ้าเล่ห์โคบาในหนังฮิตประจำฤดูร้อนปี 2014 เรื่อง “Dawn of the Planet of the Apes” “โทบีเป็นนักแสดงชั้นเยี่ยมและนำเอาความลึกลับมาใส่ลงในตัววิกเตอร์” คินเบิร์กกล่าว “ผมคิดว่าเป็นสิ่งสำคัญที่วิกเตอร์จะต้องมีบุคลิกน่าหลงใหล”
เคบเบลล์กล่าวถึงตัวละครผู้ประสงค์ร้ายที่เขาเล่นว่า “วิกเตอร์มีสติปัญญาสูงมาก แต่ก็มีความอดทนต่ำมากต่อความโลภของมนุษย์”
เมื่อวิกเตอร์มาร่วมงานกับรี้ด จอห์นนี และเบน ในฐานะมนุษย์ผู้รับการทดลองในภารกิจครั้งแรกของอุปกรณ์ควอนตัมเกต เขาก็ต้องมาเผชิญอุบัติเหตุเดียวกันกับที่ทำให้คนอื่นๆ ได้รับพลังใหม่อันน่าทึ่ง เมื่อถูกทิ้งไว้เบื้องหลังในอีกมิติหนึ่งระหว่างเกิดเหตุการณ์ วิกเตอร์ก็รอดมาได้ด้วยความสามารถที่จะควบคุมพลังในมิตินั้น ซึ่งทำให้เขามีสุดยอดพลังอันแข็งแกร่ง
แต่ช่วงเวลาสามปีที่วิกเตอร์อยู่ในโลกใบนั้นก็ทำให้เขาเริ่มไม่อยู่กับร่องกับรอย เมื่อรวมเข้ากับความโกรธและความเป็นขบถในตัวเขาแล้ว เขาจึงกลายเป็นพลังที่อันตราย “วิกเตอร์มองว่าการได้รับพลังใหม่นี้เป็นโอกาสอันดียิ่ง” เคบเบลล์ให้ความเห็น “ต่างจากทั้งสี่คน วิกเตอร์พอใจกับที่ได้รับพลัง พลังไม่ใช่เรื่องเดือดร้อนสำหรับเขา ที่จริงแล้วมันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เคยเกิดขึ้นกับวิกเตอร์ แต่ไม่มีใครมองแบบนั้น ทุกคนมองว่าวิกเตอร์ได้รับความบอบช้ำ ขณะที่เขาคิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำอยู่นั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ ซึ่งนั่นก็คือธรรมชาติของสิ่งเลวร้าย”
ผู้ฝึกสอนสำเนียงการพูดที่ทำงานมายาวนานไมเคิลบัสเตอร์ซึ่งล่าสุดใช้ทักษะทางภาษาศาสตร์ฝึกสอนนักแสดงชาวยุโรปชิเวเทลเอจิโอฟอร์และไมเคิลฟาสเบนเดอร์เพื่อรับบทในหนังรางวัลออสการ์ “12 Years a Slave” มาเป็นผู้ให้คำปรึกษานักแสดงชาวอังกฤษเจมีเบลล์และโทนีเคบเบลล์เพื่อให้แน่ใจว่าสำเนียงของทั้งสองเหมาะสมกับตัวละครบัสเตอร์ช่วยเบลล์เปลี่ยนสำเนียงการพูดให้เป็นแบบเด็กหนุ่มที่เติบโตมาในย่านออยสเตอร์เบย์ของลองไอส์แลนด์นิวยอร์กเขากล่าวว่าได้ศึกษาน้ำเสียงและการเน้นเสียงสูงต่ำของเหล่าคนดังที่เติบโตในลองไอส์แลนด์เช่นบิลลีโจเอลและเจอร์รีไซน์เฟลด์เพื่อช่วยในการฝึกสอนเคบเบลล์จะต้องเล่นเป็นชายหนุ่มที่เติบโตในประเทศแถบยุโรปตะวันออกแล้วมาอยู่ในสังคมอเมริกันดังนั้นบัสเตอร์จึงเน้นให้เขาสร้างสำเนียงผสมระหว่างสำเนียงอเมริกันกับสำเนียงสลาวิกแบบยุโรปตะวันออก “ที่จริงเราพบชายฮังการีคนหนึ่งซึ่งมีน้ำเสียงเหมาะมากในการบ่งบอกบุคลิกของวิกเตอร์” เขากล่าว
อาจารย์ของวิกเตอร์และยอดมนุษย์ทั้งสี่คือ ดร. แฟรงคลิน สตอร์ม รับบทโดยนักแสดงสมทบผู้โดดเด่นอย่าง เร็ก อี. คาเธย์ นอกเหนือจากดูแลสถาบันแบ็กซ์เตอร์แล้ว ดร. สตอร์ม ยังเป็นพ่อทางสายเลือดของจอห์นนี
สตอร์ม และเป็นพ่ออุปการะของซู สตอร์มอีกด้วย
หลังจากทำงานละครเวทีมานานคาเธย์กล่าวว่าเขาหันมาสนใจงานภาพยนตร์เมื่อได้รู้ว่ามันขับเคลื่อนด้วยตัวละครที่ถ่ายทอดออกมาอย่างประณีตบรรจงเช่นเดียวกับในละครเวที “ผมถูกดึงดูดด้วยความเป็นมนุษย์ในเรื่องราวนี้” เขากล่าว “โดยพื้นฐานแล้วนี่เป็นเรื่องราวของครอบครัวตัวละครยอดมนุษย์ทั้งสี่แต่ละตัวพยายามหาที่ทางของตัวเองในโลกใบนี้เป็นเรื่องราวที่มีความเป็นตำนานและเกี่ยวข้องกับสัญชาตญาณเบื้องลึกของคนเราพวกเขาเป็นกลุ่มคนที่พัฒนาความสัมพันธ์พิเศษขึ้นมาแล้วมองดูมันถูกทำลายลงไม่ว่ารี้ดจะยืดตัวได้มากแค่ไหนไม่ว่าสนามพลังของซูจะทรงอานุภาพมากแค่ไหนไม่ว่าเบนจะไร้เทียมทานแค่ไหนไม่ว่าจอห์นนีจะลุกไหม้รุนแรงเพียงใดหรือไม่ว่าวิกเตอร์จะผ่านเรื่องเศร้ามาอย่างไรจิตวิญญาณของแต่ละคนก็แข็งแกร่งกว่าพลังพิเศษของพวกเขา”
นักแสดงสมทบและนักเขียนบทละครผู้มีชื่อเสียงทิมเบลคเนลสันซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีจากบทเดลมาร์โอดอนเนลล์ใน “O Brother, Where Art Thou?” ของโจเอลและอีธานโคเอนรับบทเป็นประธานกรรมการผู้มีแรงขับเคลื่อนทางการเมืองของสถาบันแบ็กซ์เตอร์และเป็นตัวเชื่อมหลักไปยังแหล่งเงินทุนทั้งจากรัฐบาลและผู้สนับสนุนเอกชนขณะที่เป้าหมายของดร.สตอร์มคือความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์วาระสำคัญของประธานรายนี้กลับเน้นไปที่ผลประโยชน์ขององค์กรนักเล่นการเมืองผู้เจ้าเล่ห์รายนี้ต้องการหาประโยชน์เชิงพาณิชย์จากการค้นพบโดยเหล่านักศึกษาของแบ็กซ์เตอร์เพื่อสนองความต้องการของผู้ที่ลงทุนให้ทางสถาบันซึ่งบ่อยครั้งก็นำมาสู่การเข้ามามีส่วนร่วมของผู้มีตำแหน่งสูงในองค์กรทางการทหารและอุตสาหกรรมของรัฐบาล
เนลสันอธิบายว่า “ตัวละครของผมคอยควบคุมแนวทางการใช้จ่าย และตรวจสอบว่ามีการใช้เงินไปในทางที่ถูกต้อง เมื่อหนุ่มสาวทั้งสี่ถูกแปรสภาพ เขาจึงกลายเป็นคนประสานงานระหว่างสถาบันแบ็กซ์เตอร์กับรัฐบาล และคอยควบคุมว่าซูเปอร์ฮีโร่หนุ่มสาวเหล่านี้จะนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการทหารได้อย่างไรบ้าง”
คินเบิร์กระบุว่า “ถ้า ดร.สตอร์มเป็นตัวแทนของความหวัง ความฝัน และความปรารถนา ประธานรายนี้ก็เป็นตัวแทนความโลภของเหล่าองค์กรที่มองโลกแคบ ทำลายหรือหาประโยชน์จากความฝันของคนอื่น และเปลี่ยนมันให้กลายเป็นสินค้า ตัวละครนี้ทันสมัยมากครับ”
เมื่อแรงกดดันจากรัฐบาลและผู้สนับสนุนอื่นๆ ทวีความรุนแรงขึ้น ด้านมืดที่เลวร้ายในตัวเขาก็ยิ่งปรากฏชัด “ผมคิดว่าลึกลงไปแล้ว เขาหลงใหลในสิ่งที่คนเหล่านี้สามารถทำได้” เนลสันกล่าว
เบื้องหลังการถ่ายทำ
FANTASTIC FOUR เป็นการกลับมาร่วมงานกันระหว่างแทรงค์กับผู้กำกับภาพ แมทธิว เจนเซน ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้กำกับภาพใน “Chronicle” จากเดิมที่งานภาพในหนังเรื่องนั้นอยู่ในรูปแบบฟุตเทจถ่ายเองด้วยกล้องแฮนด์เฮลด์ FANTASTIC FOUR เน้นเทคนิคการถ่ายทำแบบคลาสสิกมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ใช้กล้องบนดอลลีและเครนที่ช่วยให้ภาพนิ่งรวมถึงสเตดิแคม
เจนเซนใช้กล้อง Arri Alexa ซึ่งเป็นกล้องถ่ายหนังดิจิตัลในสไตล์ฟิล์ม โดยเลือกใช้ฟอร์แมตเป็น Super 35 “กล้อง Alexa พิสูจน์ให้เห็นว่าเหมาะกับเรามากเพราะแทบทุกฉากต้องใช้วิชวลเอฟเฟ็กต์อย่างใดอย่างหนึ่ง” เขากล่าว “ดังนั้นจึงเป็นการง่ายที่จะทำงานในรูปแบบดิจิตัล ผมคงไม่สามารถถ่ายทำ FANTASTIC FOUR ในแบบเดียวกันนี้บนฟิล์มได้ เพราะผมทำงานในระดับแสงที่ต่ำมากและการจัดแสงส่วนมากก็รวมอยู่ในฉาก Alexa จึงช่วยให้ความยืดหยุ่นมากกว่าเยอะ
“เราต้องการให้ทุกอย่างดูสมจริงน่าเชื่อถือ” เจนเซนกล่าวต่อ “เป็นการจัดวางสมดุลอย่างระมัดระวัง ผมใช้การให้แสงจากแหล่งกำเนิดเป็นหลัก ดังนั้นดวงไฟที่คุณเห็นในเฟรมก็คือดวงไฟที่ให้แสงแก่ช็อตนั้นๆ ผมทำงานกับ [ผู้ออกแบบงานสร้าง] คริส ซีเกอร์ส และ [ผู้ตกแต่งฉาก] วิกเตอร์ ซอลโฟ รวมถึงทีมงานฝ่ายศิลป์ทั้งหมดในการใส่อุปกรณ์ให้แสงแบบต่างๆ ลงไปในการออกแบบฉาก ดังนั้นเราจึงสามารถให้แสงแก่ฉากโดยใช้โคมไฟจริงเป็นส่วนใหญ่”
FANTASTIC FOUR ได้รับการถ่ายทำในบาตันรูจรัฐหลุยส์เซียนาเกือบทั้งหมดนับเป็นเวลาเกือบ 10 ปีที่เมืองหลวงของหลุยส์เซียนาแห่งนี้ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของรัฐรองจากนิวออร์ลีนส์เป็นที่ตั้งของโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเติบโตขึ้นเรื่อยๆสำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์และรายการทางโทรทัศน์ “เราค้นหาทุกซอกทุกมุมในพื้นที่บาตันรูจเพื่อดูว่าเมืองนี้มีอะไรให้เราบ้าง” เอลสตันโฮเวิร์ดผู้จัดการด้านสถานที่ถ่ายทำซึ่งเป็นชาวหลุยส์เซียนากล่าว
โรงถ่ายหลักและสำนักงานของกองถ่ายหนังเรื่องนี้ตั้งอยู่ที่ Celtic Media Centre สตูดิโอถ่ายทำภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ที่ใหญ่ที่สุดในหลุยส์เซียนา
ผู้ออกแบบงานสร้าง ซีเกอร์ส สร้างทุกอย่างตั้งแต่ฉากที่อยู่อาศัยย่านชานเมืองไปจนถึงกลุ่มอาคารลับทางการทหารและอุตสาหกรรมที่ดูหม่นมืด ขึ้นมาจากโรงถ่ายโล่งๆ โรงพยาบาลที่ปิดตัวลง หรือแม้กระทั่งอาคารทางศาสนาอันเก่าแก่
ในช่วงหลายสัปดาห์แรก FANTASTIC FOUR ถ่ายทำในโรงถ่ายโดยใช้พื้นที่ทั้งหมดของโรงถ่ายใหญ่ที่สุดสามโรงใน Celtic Media Center เพื่อครอบคลุมฉากที่แตกต่างกันไป
ภายในโรงถ่าย 4 ซึ่งมีขนาด 31,000 ตารางฟุตของ Celtic Studio ทีมนักออกแบบได้สร้างห้องทดลองใต้ดินในอาคารแบ็กซ์เตอร์ ที่ซึ่งรี้ด รวมถึงนักวิทยาศาสตร์และช่างเทคนิคเพื่อนร่วมทีม ได้สร้างกระสวยควอนตัมเกตเพื่อส่งพวกเขาออกไปทำภารกิจข้ามมิติอันนำไปสู่เคราะห์ร้าย กระสวยขนาดใหญ่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งเดิมสร้างขึ้นในโรงรถของรี้ดที่ออยสเตอร์เบย์ การออกแบบฉากแนวอุตสาหกรรมไฮเทคนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากห้องทดลองเครื่องเร่งอนุภาคของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในอเมริกาซึ่งทีมผู้สร้างได้นำมาใช้ในอีกฉากหนึ่งด้วย
สำหรับฉากซึ่งใช้เวลาสร้างนานเกือบสามเดือนนี้ ซีเกอร์สใช้พื้นที่ทั้งหมดของโรงถ่ายอันกว้างใหญ่ รวมถึงผนังจริงของโรงถ่ายเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของห้องทดลอง แม้ว่าห้องทดลองนี้มีเทคโนโลยีในแบบนิยายวิทยาศาสตร์ แต่เขาก็ต้องการให้มันมีพื้นฐานมาจากเทคโนโลยีที่จับต้องได้ “ทั้งหมดเป็นเรื่องของไฟฟ้าและพลังงาน ดังนั้นเราจึงใช้ขดลวด ทองแดง และองค์ประกอบต่างๆ เพื่อสร้างความสมจริง” ซีเกอร์สระบุ
ในการออกแบบอุปกรณ์หลักของห้องทดลองซึ่งก็คือกระสวยควอนตัมเกตของรี้ด ซีเกอร์ส์ยังคงรูปแบบเดิมของสิ่งประดิษฐ์นี้เช่นที่เคยปรากฏในครั้งแรกๆ เอาไว้ “เราพยายามรักษารูปทรงพื้นฐานตามสูตรดั้งเดิมของรี้ด” เขากล่าว “เขาค้นพบว่ารูปทรงนี้ทำงานกับเทคโนโลยีเฉพาะของเขาได้อย่างไร ดังนั้นเราจึงพยายามเก็บแนวทางนี้ไว้ตลอดทั้งเรื่องเพื่อจะได้เกิดความต่อเนื่อง”
การออกแบบฉากห้องทดลองของแบ็กซ์เตอร์ยังสอดคล้องกับแผนการจัดไฟจากแหล่งกำเนิดของเจนเซนด้วย “ห้องทดลองแบ็กซ์เตอร์และแอเรีย 57 เป็นฉากใหญ่ที่สุดสองฉากที่เราใช้การจัดแสงจริง” เจนเซนกล่าว “อุปกรณ์ต่างๆ มากมาย หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ และโคมไฟบนผนังเป็นสิ่งที่เราพูดคุยกันมาก่อนแล้ว เราใส่ไฟ LED ลงไปในอุปกรณ์ทั้งหมดเพื่อจะได้ควบคุมความสว่างและสีสันของมันได้ และสามารถเปลี่ยนให้เป็นแสงช่วงกลางวันหรือกลางคืนได้”
โรงถ่าย 6 ของ Celtic เป็นสถานที่หลักสำหรับฉากถ่ายทำนักแสดงในอีกมิติหนึ่งซึ่งรี้ดค้นพบผ่านการทดลองเคลื่อนย้ายมวลสารแบบควอนตัม “แนวคิดคือทำให้มันดูเหมือนโลก แต่เป็นโลกในยุคถือกำเนิด” แทรงค์กล่าว “แทบเหมือนกับว่าเราย้อนเวลากลับไป แต่ไม่ได้ส่งผลอะไรต่อโลกของเรา ดังนั้นแทนที่จะเป็นทิวทัศน์ชวนขนลุกของดาวดวงอื่นอย่างที่เราเห็นมาเป็นล้านๆ ครั้ง เราจะไปยังสถานที่ซึ่งอันตรายจริงๆ และมีภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นทุกหนทุกแห่ง”
ภูมิประเทศที่มืดมิดและมีลมพัดกระหน่ำในอีกมิติหนึ่งนั้นสร้างขึ้นด้วยวิชวลเอฟเฟ็กต์ทั้งหมดจากงานศิลป์ที่ออกแบบโดยซีเกอร์สและทีมงานฝ่ายศิลป์ “แสงและพื้นผิวสำคัญเป็นพิเศษสำหรับจอช” ซีเกอร์สกล่าว เพื่อสร้างคอนเซ็พต์อาร์ตให้โลกใบนี้ ศิลปินในทีมของเขาได้ศึกษาพื้นผิวดาวที่แตกต่างกันหลายแห่ง สำหรับส่วนที่ใช้คนแสดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางด้วยกระสวยของรี้ดเป็นครั้งแรก แท่นเมมโมรีโฟมสีฟ้าขนาด 80 ฟุต x 50 ฟุต ได้นำมาวางตั้งไว้ล้อมด้วยฉากเขียวขนาดใหญ่ 108 ฟุต x 148 ฟุต ซึ่งศิลปินวิชวลเอฟเฟ็กต์จะแทนด้วยภาพมิติลึกลับที่เต็มไปด้วยพื้นผิวที่แปลกประหลาด ภูมิประเทศที่เต็มไปด้วยหิน ที่ราบซึ่งอันตราย เสาหินตั้งสูง หินที่ส่องแสงวาว หน้าผาชัน ลาวา และเถ้าสีส้มที่พ่นออกมา
ในสัปดาห์ที่ถ่ายทำการเดินทางไปยังอีกมิติหนึ่งเป็นครั้งแรกที่โรงถ่าย 6 ไมล์ส เทลเลอร์, ไมเคิล บี จอร์แดน, เจมี เบลล์ และโทบี เคบเบลล์ ใส่ชุดอวกาศพิเศษสำหรับการปฏิบัติภารกิจนอกตัวยาน (extra-vehicular activity: EVA) ซึ่งบังคับให้พวกเขาต้องเชื่อมต่อกับหน่วยระบายความร้อนที่ฐานระบายความร้อนพิเศษในระหว่างฉาก
หลังถ่ายทำในโรงถ่ายที่ Celtic Studios ไปหลายสัปดาห์ ทีมงานก็ย้ายสถานที่ถ่ายทำไปยังโรงพยาบาลซึ่งปิดทำการในปี 2013 เพื่อถ่ายทำฉากที่เกิดขึ้นในฐานลับสุดยอดของรัฐบาลอันเป็นอาคารกว้างใหญ่สีทึมสร้างจากคอนกรีต กระจก และเหล็ก โดยเป็นที่รู้จักกันในชื่อแอเรีย 57 ที่นั่นสมาชิกผู้กล้าหาญทั้งสี่ได้รับการฝึกเพื่อเก็บกักและควบคุมพลังใหม่อันน่าทึ่งที่ได้รับมาและสร้างพวกเขาให้เป็นอาวุธเพื่อการต่อสู้ตามแผนการสูงสุดของรัฐบาล
“คริสซีเกอร์สเสนอแนวคิดให้แอเรีย 57 เป็นโถงทางเดินยาวและแคบเพื่อให้ภาพของพื้นที่คุมขังที่รัดกุม” ผู้จัดการสถานที่ถ่ายทำโฮเวิร์ดกล่าว “เราถามไปยังสมาคมภาพยนตร์ของรัฐบาตันรูจว่าจะหาโรงพยาบาลจากยุคต้นถึงกลางยุคศตวรรษ 1900 ได้ที่ไหนเพราะเรารู้ว่าจะได้สถาปัตยกรรมแบบที่ต้องการโดยเฉพาะอย่างยิ่งโถงทางเดินยาวโรงพยาบาลสมัยใหม่ส่วนใหญ่ไม่ได้มีโถงทางเดินแบบนั้นแล้วเราพาคริสไปยังโรงพยาบาลแห่งนี้และเขาก็คิดว่ามันน่าทึ่งมาก”
เนื่องจากโรงพยาบาลแห่งนี้กำลังจะถูกรื้อถอนทันทีที่การถ่ายทำเสร็จสิ้น เจ้าของสถานที่จึงอนุญาตให้ทางกองถ่ายพังส่วนใดก็ได้ตามความจำเป็นเพื่อสร้างฉากในหนังขึ้นมา ฝ่ายศิลป์ใช้เวลาเกือบสองเดือนรื้อพื้นที่ส่วนใหญ่ในชั้นล่างของโรงพยาบาลแห่งนี้เพื่อสร้างฉากโทนสีเทาแนวไฮเทคของแอเรีย 57 ซึ่งสร้างขึ้นด้วยคอนกรีต กระจก และเหล็ก อันประกอบด้วยห้องกักตัว ส่วนสังเกตการณ์ ห้องสอดแนม ห้องทดลอง และส่วนพักอาศัย ฉากห้องทดลองตกแต่งด้วยอุปกรณ์และจอภาพสำหรับการทดสอบทางการแพทย์ขั้นสูง ขณะที่ส่วนพักอาศัยของทั้งสี่ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะกับความจำเป็นทางกายภาพและพลังพิเศษของแต่ละคน ซึ่งก็รวมถึงส่วนพักอาศัย/ห้องสมุดของซู และห้องเผาไหม้ของจอห์นนี โดยห้องหลังนี้ตกแต่งด้วยคอนกรีตเผาและเฟอร์นิเจอร์เหล็กซึ่งทนเปลวไฟอันร้อนแรงของเขาได้
ในบรรดาส่วนพักอาศัยในแอเรีย 57 ห้องของซู สตอร์มน่าจะมีบุคลิกชัดเจนมากที่สุด ซอลโฟ ผู้ตกแต่งฉาก กล่าวว่า “ห้องของซูเรียบร้อยหมดจดมาก เหมือนรังดักแด้ที่เอาไว้เธอซ่อนตัว ซูเผชิญประสบการณ์ซึ่งทำให้เธอกลายเป็นคนเก็บตัวและไม่ยอมออกจากความเงียบที่เธอสร้างขึ้นจนกระทั่งรี้ดกลับเข้ามา เราพยายามทำให้ห้องนี้ดูเหมือนอยู่สบาย แต่ก็ยังคงเย็นชามากอยู่ดี”
แอเรีย 57 มีโทนสีหม่นและเน้นสีเทาเป็นหลักซอลโฟเสริมว่า “มันมืดหม่นและอบอวลไปด้วยบรรยากาศนี่ไม่ใช่หนังซูเปอร์ฮีโร่ที่ดูสดใสเจิดจ้าเลย”
จอห์นนีฮอฟฟ์แมนที่ปรึกษาเชิงเทคนิคทางการทหารของหนังเรื่องนี้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับนักแสดงฉากหลังและสตันท์แมนผู้ถ่ายทอดบทบาทกองกำลังรักษาความปลอดภัยของกองทัพที่พร้อมปฏิบัติการในอาคารของรัฐบาลแห่งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าการเคลื่อนไหวและยุทธวิธีที่นักแสดงเหล่านี้ใช้จะมีความสมจริงฮอฟฟ์แมนซึ่งเป็นอดีตหน่วยนาวิกโยธิน SEAL เคยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานการต่อสู้ตาลีบันในหนังดรามาของปีเตอร์เบิร์กเรื่อง “Lone Survivor” เขาได้ปรึกษากับฝ่ายเครื่องแต่งกายและของประกอบฉากในหนังเรื่องนี้เพื่อนำเสนอภาพทหารสหรัฐให้สมจริงยิ่งขึ้นอีก
ปีกข้างหนึ่งของห้องทดลองใต้ดินของรี้ดในอาคารแบ็กซ์เตอร์ได้รับการสร้างขึ้นที่ศูนย์วิจัยรังสีภายในพื้นที่ โดยส่วนสำคัญคือวงแหวนกักเก็บอิเล็กตรอน 1.5 กิกะอิเล็กตรอนโวลต์ อาคารมูลค่า 150 ล้านเหรียญซึ่งไม่เคยใช้ถ่ายทำหนังมาก่อน เป็นแรงบันดาลใจในด้านภาพให้แก่การออกแบบห้องทดลองของสถาบันแบ็กซ์เตอร์ซึ่งสร้างขึ้นในโรงถ่ายที่ Celtic Studios อีกด้วย
ที่ใจกลางเมืองบาตัน รูจ บริเวณหัวมุมถนนเธิร์ดสตรีทตัดกับคอนเวนชันสตรีท อาคารที่ว่าการรัฐหลุยส์เซียนาแห่งเก่าได้กลายมาเป็นฉากภายนอกของสถาบันแบ็กซ์เตอร์ในเรื่อง เพื่อแปรสภาพถนนหนทางโดยรอบในบาตันรูจให้กลายเป็นนิวยอร์กซิตี้ ฝ่ายศิลป์ต้องราดผิวถนนใหม่ รวมถึงเพิ่มทางม้าลายแบบคอนติเนนตัลและทางรถเมล์ ขณะที่ผู้ประสานงานด้านรถต้องจัดหารถเมล์นิวยอร์ก รถแท็กซี่ และยานพาหนะของตำรวจนิวยอร์กมาด้วย แม้ว่าอุณหภูมิในหน้าร้อนของบาตัน รูจจะพุ่งสูงกว่า 90 องศาฟาเรนไฮต์ (มากกว่า 32 องศาเซลเซียส) แต่ตัวประกอบ 200 คนก็ต้องแต่งกายด้วยชุดหน้าหนาวสำหรับฤดูหนาวในนิวยอร์ก
เครื่องแต่งกาย
จอร์จ ลิตเติล (“Zero Dark Thirty”, “The Hurt Locker”) เป็นผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายและดูแลทีมเครื่องแต่งกายอีก 30 คน ลิตเติลกล่าวว่าเครื่องแต่งกายส่วนใหญ่ใน FANTASTIC FOUR เน้นโทนสีดำ น้ำตาล และเทาให้สอดคล้องกับการออกแบบงานสร้างของหนัง
“เราศึกษาภาพวาดเครื่องแต่งกายของตัวละครแต่ละตัวราวห้าสิบถึงหกสิบรูปจากศิลปินคอนเซ็พต์อาร์ต คีธ คริสเทนเซน โดยคอยแก้ไขเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด” ลิตเติลระบุ
เพื่อเป็นมาตรการป้องกันสภาพแวดล้อมอันโหดร้ายใดๆที่อาจต้องพบเมื่อเดินทางข้ามมิติรี้ดจอห์นนีเบนและวิกเตอร์จึงสวมชุดสำหรับภารกิจนอกตัวยาน (EVA) ที่พวกเขาได้พัฒนาขึ้น “ชุด EVA มาจากการศึกษาของเราว่านักวิทยาศาสตร์ทำอะไรอยู่บ้างเพื่อภารกิจบนดาวอังคารในอนาคตมีความพยายามที่จะคิดค้นชุดซึ่งไม่เทอะทะอย่างที่เราเคยเห็นกัน” ลิตเติลกล่าว “อีกอย่างเราไม่รู้ว่าทั้งสี่กำลังจะไปไหนอาจไม่ใช่อวกาศก็ได้แต่แน่นอนว่าไม่ใช่โลกใบนี้ดังนั้นชุดนี้จึงต้องปกป้องคุณได้เหมือนอย่างในชุดอวกาศต้นแบบ”
ในการออกแบบชุดอวกาศ EVA และชุดควบคุมหลังการแปรสภาพของทั้งสี่ลิตเติลใช้สิ่งทอพิเศษที่ควบคุมอุณหภูมิได้จากบริษัทสิ่งทอของอิตาลี Eurojersey ชุดผ้าถักแนวดิ่งไมโครไฟเบอร์โพลีอาไมด์และอีลาสโตเมอร์ LYCRA® สามารถระบายอากาศได้ตลอดการถ่ายทำอันยาวนานและสามารถยืดได้ซึ่งเป็นประโยชน์ในฉากแอ็คชั่นและคิวบู๊ต่างๆชุดเหล่านี้ผลิตขึ้นตามการออกแบบโดยฝ่ายเครื่องแต่งกายและตามความจำเป็นในแง่ชนิดของเนื้อผ้าโดยบริษัทเครื่องแต่งกายเฉพาะทาง Film Illusions (“Thor”, “Star Trek”)
ชุดควบคุมซึ่งช่วยให้ผู้สวมใส่สามารถเชื่อมโยงกับการสื่อสารทางประสาทเพื่อควบคุมสภาพของตนเอง ได้แรงบันดาลใจส่วนหนึ่งมาจากชุดที่ทำให้คนที่มีปัญหาด้านระบบกล้ามเนื้อประสาท เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (MS) และอัมพาตสมองใหญ่ (เจมี เบลล์สวมชุดผ้ายืดสแปนเด็กซ์เพื่อจับการเคลื่อนไหว เนื่องจากเขาจะถูกเปลี่ยนให้เป็นเดอะธิงค์โดยใช้ซีจี)
ในเรื่องนี้ชุดควบคุมของจอห์นนีสตอร์มและซูสตอร์มได้รับการออกแบบโดยรัฐบาลระหว่างที่ทั้งสองอยู่ในแอเรีย 57 เมื่อหนีออกมาจากอาคารนั้นได้รี้ดก็ได้สร้างเครื่องแต่งกายของตัวเองซึ่งช่วยให้เขาควบคุมพลังการยืดหยุ่นของตัวเองได้เขาสร้างชุดขึ้นมาจากสิ่งทอและเศษชิ้นส่วนที่เขาเก็บมาขณะหลบอยู่ในอาร์เจนตินา “รี้ดหนีไปยังอเมริกาใต้และสร้างชุดของเขาขึ้นมาจากเศษวัสดุไม่ว่าจะเป็นเหรียญหนังยางชิ้นส่วนท่อน้ำอะไรก็ตามที่เขาหามาได้” ลิตเติลกล่าว “เราต้องการให้รู้สึกว่าเป็นการนำหลายๆอย่างมาประกอบกันมากกว่าจะเป็นสิ่งที่เนี้ยบและดูเป็นซูเปอร์ฮีโร่”
สำหรับฉากที่จอห์นนีติดไฟ ไมเคิล บี จอร์แดน ใส่ชุดพิเศษแบบอินเตอร์แอคทีฟที่ให้แสงคล้ายเปลวไฟซึ่งจะถูกนำไปทำภาพด้วยซีจีในขั้นตอนหลังการถ่ายทำ ชุดพิเศษนี้ตกแต่งด้วยไฟ LED สีเหลืองและส้มวิบวับสว่างไสวนับร้อยๆ ดวง ซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงจริงที่จะส่องลงบนของประกอบฉากเพื่อจำลองแสงจากเปลวไฟ
การจัดแสงให้จอห์นนีกลายเป็นโครงการส่วนตัวของผู้กำกับภาพ แมทธิว เจนเซน “ไม่เพียงแต่ตัวเขาจะติดไฟ แต่เขายังเป็นแหล่งให้แสงที่เดินได้ด้วย ดังนั้นผมจึงมองว่าเป็นสิ่งสำคัญมากที่เราจะไม่โกงเรื่องการให้แสง โดยปกติในสถานการณ์ประเภทนี้คุณจะต้องจัดไฟสำหรับการถ่ายทำเอาไว้นอกเฟรมภาพเพื่อแทนแสงจากเปลวไฟบนตัวละครเมื่อเขาเปล่งแสงลงบนฝาผนังหรือผู้คน แต่ผมยืนยันให้ไมเคิลที่รับบทเป็นจอห์นนีใส่ชุดเปล่งแสง นั่นเป็นจุดที่เอฟเฟ็กต์ดิจิตัลเข้ามามีบทบาทเพราะเรารู้ว่าทีมงานจะต้องให้ร่างของเขาลุกด้วยเปลวไฟ ดังนั้นเราจึงสร้างชุดเปล่งแสงนี้ และเพราะเทคโนโลยีของหลอด LED มีความก้าวหน้ามากเราจึงสามารถสร้างชุดนี้จากหัวจรดเท้า ทั้งหมดควบคุมจากระยะไกลด้วยแผงหรี่ไฟของเรา ดังนั้นจอห์นนีจึงสามารถเดินไปรอบๆ และให้แสงแก่ฉากโดยใช้แค่ชุดนั้น”
ชุดควบคุมของซู สตอร์ม เก็บแสงสเปกตรัมจากสนามพลังของเธอและควบคุมการล่องหน “โดยพื้นฐานแล้วมีชิ้นส่วนบางชิ้นในชุดที่ไม่หายไปเมื่อเธอล่องหน” ลิตเติลอธิบาย “ไม่ใช่ว่าเธอไม่ต้องการหายตัว แต่คนที่ขังเธอไว้ไม่ต้องการให้เธอหายตัวไป คนพวกนั้นต้องการรู้ว่าเธออยู่ที่ไหน”
เหตุการณ์ที่แปรสภาพคนทั้งสี่ในห้องทดลองที่อาคารแบ็กซ์เตอร์ส่งผลอย่างลึกซึ้งต่อเพื่อนร่วมการเดินทาง วิกเตอร์ วอน ดูม ซึ่งบังเอิญถูกทิ้งไว้เบื้องหลังในอีกมิติหนึ่ง ชุดอวกาศ EVA ที่เขาใส่ระหว่างเกิดเหตุการณ์นั้นแนบติดไปกับผิวหนังของเขาเป็นการถาวร ขณะที่หมวกก็ผสานกลายเป็นหน้ากากบนหน้าของเขา ส่วนที่เหลือนั้นคลุมด้วยผ้าคลุมขาดสีมืดซึ่งทำจากธงที่ทั้งสี่ทิ้งเอาไว้
ตลอดสามปีที่อยู่ตามลำพังในอีกมิติหนึ่ง วิกเตอร์รับเอาความแวววาวจากพื้นผิวของที่นั่นมา ลิตเติลกล่าวว่า “วิกเตอร์เกิดการระเบิดจากภายในและอะตอมได้ผสานชุดที่เขาใส่เข้ากับร่างของเขารวมถึงสสารอื่นๆ บนดาวดวงนั้น
“สีของชุดเป็นไปตามวัสดุธรรมชาติในมิตินั้นและทั้งหมดถูกเผาไหม้” ชุด/ผิวหนังของวิกเตอร์ (คอ ลำตัว มือ และถุงมือ) ผลิตโดยบริษัทเครื่องแต่งกายเฉพาะทาง Film Illusions จากซิลิคอนและผ้ายืดสแปนเด็กซ์ ขณะที่หน้ากากและหมวกผลิตจากยูรีเธนใสซึ่งลงสีในเนื้อวัสดุจากภายใน “การลงสีภายในเนื้อวัสดุช่วยให้เขาได้ความรู้สึกที่ลึกลงไปของคนที่อยู่ข้างใต้มากกว่าจะเป็นแค่หน้ากาก” ลิตเติลเสริม “นี่คือศีรษะของเขาจริงๆ นี่คือใบหน้าของเขา นี่คือสิ่งที่เขาเป็น”
วิชวลเอฟเฟ็กต์
งานวิชวลเอฟเฟ็กต์อันมากมายมหาศาลใน FANTASTIC FOUR อยู่ภายใต้การดูแลของผู้ควบคุมวิชวลเอฟเฟ็กต์รางวัลออสการ์เควินแม็ค
เพื่อสร้างมิติพิเศษ แม็คต้องสร้างสภาพแวดล้อมแบบดิจิตัลขึ้นมาจากงานออกแบบของซีเกอร์ส “แนวคิดคือมันเป็นมิติคู่ขนาน อาจเป็นโลกอีกเวอร์ชั่นหนึ่งหรือเป็นดาวดวงอื่นโดยสิ้นเชิงเลยก็ได้” แม็คอธิบาย “มันค่อนข้างเหมือนโลกยุคถือกำเนิด แต่ก็แตกต่างออกไปเพราะมันอยู่ในอีกมิติหนึ่งและผ่านการพัฒนามาต่างกัน สุดท้ายแล้วคุณสมบัติของโลกใบนั้นจะสะท้อนอยู่ในสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวละครของเราและพลังที่พวกเขาได้รับมา”
แม็คระบุว่าองค์ประกอบตามธรรมชาติในมิตินี้ปรากฏโดดเด่นมากที่สุดในการแปรสภาพของ เบน กริมม์ “เบนสร้างผิวหุ้มคล้ายหินที่แข็งแกร่งและหนาแน่นมาก” แม็คกล่าว พร้อมระบุว่ามันจะไม่เหมือนกับเดอะธิงค์ในภาคอื่นใดที่แฟนๆ คุ้นเคย “แทนที่จะเป็นพื้นผิวด้านที่เรียบเสมอกัน เบนมีพื้นผิวที่ซับซ้อนกว่าเดิมมากและมีคุณสมบัติในการสะท้อน สีสัน และผิวสัมผัสที่แตกต่างกัน ขณะที่เขาเคลื่อนไหว ผิวที่เป็นหินก็จะกระทบกันและแตกแล้วถูกสร้างขึ้นมาใหม่”
ศิลปินงานคอนเซ็พต์อาร์ตผู้มีชื่อเสียงคีธคริสเทนเซน (“X-Men: Days of Future Past”, “Man of Steel”) สร้างหุ่นจำลองขนาดหนึ่งต่อสามของเบนโดยหล่อจากดินน้ำมันพลาสทิลินาหนัก 40 ปอนด์หุ่นนี้เป็นพื้นฐานในการสร้างภาพซีจีของตัวละคร
การแปลงร่างเบนให้เป็นมนุษย์หินร่างมหึมาสูงหกฟุตแปดนิ้วเป็นความพยายามร่วมกันระหว่างทีมวิชวลเอฟเฟ็กต์ในกองถ่ายกับทีมจาก MPC (Moving Picture Company) บริษัทวิชวลเอฟเฟ็กต์ระดับโลกซึ่งเพิ่งมีผลงานอย่าง “X-Men: Days of Future Past”, “Godzilla” และ “Guardians of the Galaxy”
แม็คอธิบายถึงความท้าทายในการสร้างตัวละครเบนกริมม์จากเทคโนโลยีการจับการเคลื่อนไหวว่า “ด้วยการใช้กล้องสังเกตการณ์หลายตัวจากมุมต่างๆกันเราจึงเห็นทุกอย่างที่เจมีเบลล์ทำและเก็บรายละเอียดทุกๆอย่างในการแสดงของเขามาได้เพื่อนำมารวมกับตัวละครในรูปแบบซีจี “ข้อมูลนี้ต้องนำมาเกลี่ยโดยอาศัยการตีความการแสดงอย่างระมัดระวังและมีศิลปะเจมีถ่ายทอดบทบาทนี้ผ่านใบหน้าและร่างกายของเขาได้อย่างน่าทึ่งช่วยให้นักทำแอนิเมชันได้วัตถุดิบที่ดีเยี่ยมเพื่อนำไปทำงานต่อ”