“พฤติกรรมเนือยนิ่ง” ไลฟ์สไตล์ที่ต้อง “เซย์โน”

1 (1)ปัจจุบัน วิกฤติด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือไลฟ์สไตล์ของคนเมือง เช่น นอนดูทีวีครึ่งค่อนวันในวันพักผ่อน เสาร์-อาทิตย์ หรือนั่งเล่นแก็ดเจ็ต แชทกับเพื่อนผ่านหน้าจอโทรศัพท์นานๆ บนโซฟาตัวโปรด นั่งอยู่ในรถที่ติดเป็นเวลาหลายชั่วโมงแทบทุกวัน นั่งเรียนหนังสือหลายชั่วโมง หรือนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวันโดยแทบไม่ได้ลุกไปไหน หากใครกำลังมีไลฟ์สไตล์เหล่านี้อยู่ล่ะก็…นั่นหมายความว่าคุณกำลังเผชิญกับ “พฤติกรรมเนือยนิ่ง” (Sedentary Lifestyle) ซึ่งเป็นสาเหตุให้คุณขยับร่างกายน้อยลง และอาจส่งผลเสียต่างๆ ต่อสุขภาพได้ในอนาคต

โครงการ Exercise is Medicine in Thailand โดยวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนจากกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “พฤติกรรมเนือยนิ่ง” รวมทั้งคำแนะนำต่างๆ สำหรับผู้ที่กำลังมีพฤติกรรมนี้

1 (2)ประเทศไทยมีจำนวนประชากรที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกินเป็นอันดับที่ 2 ในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รองจากมาเลเซีย เหตุเพราะทุกวันนี้คนไทยมีพฤติกรรมติดจอ ใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์นานกว่า 6 ชม.ต่อวัน หรืออาจจะนั่งเรียนนาน เล่นเกมคอมพิวเตอร์ และเล่นโทรศัพท์มือถือรวม 3.5 ชั่วโมงต่อวัน หรือมีกิจกรรมขยับร่างกายในระดับเบาโดยรวมไม่ถึง 6 ชั่วโมงต่อวัน หรือแม้แต่การนั่งในรถที่ติดนานๆ ถือเป็นความสุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพที่ชัดเจน การที่เราอยู่นิ่งๆ นั่งนานๆ ไม่มีการขยับตัวเป็นเวลานานๆ ทำให้มีการใช้พลังงาน (ขาออก) ลดลง เกิดความไม่สมดุลกับพลังงาน (ขาเข้า) ที่ได้รับจากอาหารที่บริโภคไปในแต่ละวัน ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพในระยะสั้น ได้แก่ เหนื่อย หอบง่าย และส่งผลในระยะยาว ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 โรคอ้วน และมะเร็งบางชนิด ดังนั้น การมีกิจกรรมขยับร่างกายที่เพียงพอและบริโภคให้สมดุลในแต่ละวันจึงเป็นการแก้ไขปัญหาวิกฤติด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิตได้อย่างถูกต้องการสร้างอุปนิสัยในการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา การปรับเพิ่มกิจกรรมทางกาย ได้ถูกนำมาใช้ในการชะลอปัญหากลุ่มอาการเสื่อมทางกายอย่างได้ผล ภายใต้หลักการ “การออกกำลังกายเป็นยาวิเศษ” (Exercise is medicine)

โดยกระตุ้นให้คนสนใจเรื่องการออกกำลังกายมากขึ้น หรือเพิ่มไลฟ์สไตล์แอ็คทีฟเข้าไปในกิจวัตรประจำวัน เช่น เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟท์หรือบันไดเลื่อน การลุกขึ้นยืดเหยียด 5 นาทีในทุกชั่วโมง การเดินหรือปั่นจักรยานไปหน้าปากซอยแทนการนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เพิ่มการทำกายบริหาร หรือทำงานบ้าน ทำครัว ทำสวน กิจกรรมเหล่านี้หากทำอย่างต่อเนื่องก็เป็นการใช้ชีวิตแอ็คทีฟไลฟ์สไตล์หรือการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง กายบริหารอย่างง่ายๆ เพื่อลดผลเสียต่างๆ ที่จะเกิดกับร่างกายจากกิจกรรมเนือยนิ่ง ดังต่อไปนี้

นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์

ข้อเสีย: ถ้านั่งหน้าจอนานๆ จะเกิดการเกร็งค้างของกล้ามเนื้อคอ สะบักและไหล่ และอาจเกิดการกดทับเฉพาะที่บริเวณข้อมือ ศอกและแก้มก้น และอาจเกิดการแอ่นหรือบิดของกระดูกหลัง

 

  • วิธียืดเส้นยืดสายหรือบริหารร่างกาย

1 (3)

นั่งอยู่ในรถท่ามกลางการจราจรติดขัด

ข้อเสีย: การนั่งในรถที่ติดเป็นเวลานานๆ ทำให้คอและไหล่ก้มมาข้างหน้า ส่งผลให้เกิดอาการปวดคอและสะบัก และก้นจมลึกเข้าไปในเบาะ มีการกดที่ต้นขาด้านหลัง

 

  • วิธียืดเส้นยืดสายหรือบริหารร่างกาย

1 (4)

นั่งดูทีวีหลายๆ ชั่วโมง หรือแชทโทรศัพท์นานๆ

ข้อเสีย: การนั่งเล่นโทรศัพท์หรือแชทนานๆ จะทำให้นิ้วและข้อมือเกร็ง ไหล่ยกเกร็ง คอยื่นและก้มไปข้างหน้า

 

  • วิธียืดเส้นยืดสายหรือบริหารร่างกาย

1 (5)

จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมเนือยนิ่งที่เราเคยชินกันอยู่ทุกวันนี้ไม่ได้ส่งผลดีต่อร่างกายแม้แต่น้อย แถมยังเสี่ยงให้ร่างกายไม่แข็งแรงและเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ ดังนั้น ลองหันมาใช้ชีวิตแอ็คทีฟพร้อมกับบริโภคอาหารอย่างสมดุลกันให้เป็นนิสัย ทีนี้ร่างกายของเราก็จะห่างไกลจากโรคร้ายที่มาคอยรบกวน เกิดความสุขทั้งกายและใจอย่างแน่นอน