อาร์เธอร์ เฟล็ค ใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางผู้คนมากมาย เขาต้องเดินท่ามกลางถนนแห่งเมืองกอตแธมที่เต็มไปด้วยมลภาวะ ในแต่ละวันเขาต้องเดินทางด้วยรถบัสท่ามกลางที่วุ่นวาย ทำให้อาร์เธอร์ต้องสวมหน้ากาก 2 หน้า หน้านึงคือสิ่งที่เขาวาดขึ้นมาในวันที่ทำงานเป็นตัวตลก ส่วนอีกหน้านึงเป็นสิ่งที่เขาไม่อาจลบล้างออกได้ มันคือสิ่งที่เขาพยายามแสดงออกมาราวกับว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่อยู่รอบตัวเขา ไม่แสดงออกว่าเป็นคนที่กำลังสิ้นหวังกับชีวิต อาร์เธอร์เป็นเด็กกำพร้าพ่อ เขาต้องอาศัยอยู่กับแม่ที่มีความอ่อนแอและเปรียบเสมือนเพื่อนที่เขาสนิทที่สุด แม่ตั้งชื่อเล่นให้เขาว่าแฮปปี้ ซึ่งเป็นชื่อที่แม่ตั้งให้อาร์เธอร์ตั้งแต่เด็ก เพื่อทำให้เขายิ้มและปิดบังสิ่งที่ทำให้เขาเจ็บปวดอยู่ภายในใจ ยิ่งเมื่อเขาถูกเด็กวัยรุ่นตามท้องถนนกลั่นแกล้ง ถูกล้อเลียนเรื่องเสื้อผ้าตามทางรถไฟ หรือถูกเพื่อนที่ทำงานด้วยกันล้อเลียน ผู้ชายที่ใช้ชีวิตอย่างไร้สังคมคนนี้กลับยิ่งเหมือนถูกตัดขาดจากผู้คนที่อยู่รอบตัวเขามากขึ้นกว่าเดิม
ภาพยนตร์กำกับฯ ร่วมเขียนบทฯ และอำนวยการสร้างฯ โดยทอดด์ ฟิลลิปส์ เรื่อง “Joker” เป็นผลงานที่สร้างจากจินตนาการของผู้สร้างภาพยนตร์ โดยอิงจากตัวร้ายชื่อดังจาก DC ซึ่งเรื่องนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของเขา แต่จะมีความต่างออกไปจากเรื่องราวของตัวละครที่มีความทันสมัยมากขึ้น ฟิลลิปส์ต้องเข้าไปสำรวจอาร์เธอร์ เฟล็ค รับบทโดยวาคีน ฟีนิกซ์ เขาเป็นผู้ชายที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนหาทางเอาตัวรอดในสังคมเมืองกอตแธม เขาเฝ้ารอวันที่แสงสว่างจะสาดส่องมาที่เขา เขาพยายามแสดงฝีมือด้วยการแสดงตลกเดี่ยว แต่กลับพบว่าตัวเขาเองต่างหากคือเรื่องตลกที่เกิดขึ้น เขาพบว่าตัวเองอยู่ท่ามกลางความหมางเมิน ความโหดร้าย และที่สำคัญคือการถูกหักหลัง จนอาร์เธอร์ตัดสินใจผิดพลาดหลังเกิดเหตุการณ์ในเรื่องที่ต้องใช้ความกล้าหาญ จนเหมือนเป็นบทเรียนของตัวละครนี้
ฟีนิกส์ นักแสดงผู้เข้าชิงรางวัล Oscar มาแล้วถึง 3 ครั้ง (“The Master,” “Walk the Line,” “Gladiator”) รับบทแสดงนำในเรื่องร่วมกับโรเบิร์ต เดอ นีโร เจ้าของรางวัล Oscar (“Raging Bull,” “The Godfather: Part II”) ในบทแฟรงคฺบิน นักแสดงในเรื่องยังรวมถึงซาซี บีตซ์ (ภาพยนตร์ทางทีวีเรื่อง “Atlanta,” “Deadpool 2”) ฟรานเซส คอนรอย (ภาพยนตร์ทางทีวี “American Horror Story,” ภาพยนตร์ทาง Hulu “Castle Rock”) เบร็ตต์ คัลเล็น (“42,” ภาพยนตร์ทาง Netflix “Narcos”), เกล็นน์ เฟลชเลอร์ (ภาพยนตร์ทางทีวี “Billions,” “Barry”) บิล แคมพ์ (“Red Sparrow,” “Molly’s Game”) เชีย วิกแฮม (“First Man,” “Kong: Skull Island”) มาร์ค มารอน (ภาพยนตร์ทางทีวี “Maron,” “GLOW”)ดักลาส ฮอดจ์ (“Red Sparrow,” ภาพยนตร์ทางทีวี “Penny Dreadful”) จอช เพส (ภาพยนตร์ที่กำลังจะฉาย “Motherless Brooklyn,” “Going in Style”) และเลห์ กิล (ภาพยนตร์ทาง HBO เรื่อง “Game of Thrones”)
ฟิลลิปส์ ผู้เข้าชิงรางวัล Oscar (“Borat,” ภาพยนตร์ไตรภาค “The Hangover”) กำกับฯ จากบทภาพยนตร์ที่เขาร่วมเขียนกับสก็อตต์ ซิลเวอร์ ผู้เขียนบทฯ ที่เคยเข้าชิงรางวัล Oscar (“The Fighter”) สร้างอิงจากตัวละครของ DC อำนวยการสร้างฯ โดยฟิลลิปส์และแบรดลีย์ คูเปอร์ ผู้เข้าชิงรางวัล Oscar (“A Star Is Born,” “American Sniper”) ภายใต้บริษัท Joint Effort ของพวกเขา และเอ็มม่า ทิลลินเกอร์ คอสคอฟฟ์ ผู้เข้าชิงรางวัล Oscar (“The Wolf of Wall Street”) อำนวยการสร้างบริหารฯ โดยไมเคิล อี. อุสแลน, วอลเตอร์ ฮามาดะ, อารอน แอล. กิลเบิร์ต, โจเซฟ การ์เนอร์, ริชาร์ด บาแรตตา และ บรูซ เบอร์แมน
ทีมงานเบื้องหลังที่ฟิลลิปส์ได้ร่วมงานด้วย ได้แก่ ผู้กำกับภาพลอว์เรนซ์ เชอร์ (“Godzilla: King of the Monsters,” ภาพยนตร์ไตรภาค “The Hangover”) ผู้ออกแบบฉาก มาร์ค เฟรดเบิร์ก (“If Beale Street Could Talk,” “Selma”) ผู้ลำดับภาพ เจฟฟ์ กรอธ (“War Dogs,” “The Hangover Part III”) และผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายเจ้าของรางวัล Oscar มาร์ค บริดเจส (“Phantom Thread,” “The Artist”) ดนตรีประกอบโดยฮิลเดอร์ กุดนาดอทเทอร์ (ภาพยนตร์ทาง HBO เรื่อง “Chernobyl,” “Sicario: Day of the Soldado”)
วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส นำเสนอภาพยนตร์จาก Village Roadshow Pictures ร่วมกับ BRON Creative, Joint Effort Production ผลงานภาพยนตร์จากทอดด์ ฟิลลิปส์ เรื่อง “Joker” จัดจำหน่ายทั่วโลกโดยวอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส
“แม่พูดเสมอว่าให้ยิ้มและทำหน้ามีความสุขเข้าไว้…”
—อาร์เธอร์ เฟล็ค
เรื่องราวเกิดขึ้นในช่วงต้นปี 1980 ที่เมืองกอตแธมเต็มไปด้วยความวุ่นวาย แต่ยังไร้เหตุอาชญากรรมหรือการก่อม็อบที่เกิดความเสี่ยงแก่ทรัพย์สิน ทุกคนที่อาศัยในพื้นที่ชายแดนต่างกังวลเรื่องการแบ่งแยกทางสังคม การได้รับและไม่ได้รับสิ่งต่างๆ ที่แบ่งแยกอย่างเห็นได้ชัด สถานการณ์ความตึงเครียดยิ่งแย่ลงเมื่อมีการก่อเหตุโจมตีกันอย่างยาวนานหลายสัปดาห์ จนกอตแธมมาถึงช่วงใกล้ล่มสลาย ทั้งเมืองนี้ ผู้ที่ปกครองเมือง รวมถึงเขตการปกครองที่ไม่มีงบเพียงพอต่อการบริการที่ขาดงบประมาณเพื่อเยียวยาความยากไร้ของผู้ด้อยโอกาส
แต่นี่ไม่ใช่เรื่องราวของกอตแธมหรือโจ๊คเกอร์ ผู้เป็นที่จดจำมาอย่างยาวนาน 80 ปีจากการถูกเล่าเรื่องตามหน้าหนังสือหรือจอภาพยนตร์ นี่เป็นเรื่องราวต้นกำเนิดของตัวละครที่ไร้ชื่อเสียง มีการเล่าถึงบรรยากาศการถูกเลี้ยงดูของชายคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตอยู่ริมชายแดน เขารักเมืองนี้แต่ต้องอยู่ท่ามกลางเหตุการณ์วิกฤติ เขาคืออาร์เธอร์ เฟล็ค
ผู้สร้างภาพยนตร์ฯ ทอดด์ ฟิลลิปส์ยอมรับว่า “ผมรักความซับซ้อนที่อยู่ในตัวโจ๊คเกอร์ และรู้สึกว่าเรื่องราวที่มาที่ไปของเขาน่าจะคุ้มค่าสำหรับการไปค้นหาในภาพยนตร์ จากที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนและตามหลักแล้วเขาก็ไม่มีเรื่องราวที่มาที่ไปด้วย สก็อตต์ ซิลเวอร์กับผมเลยเขียนตัวละครที่มีความซับซ้อนและมีความสับสนขึ้นมา เขาจะพัฒนาไปในทิศทางไหน… และเปลี่ยนไปยังไงในท้ายที่สุด นั่นคือสิ่งที่ทำให้ผมเกิดความสนใจ ไม่ใช่เรื่องราวของโจ๊คเกอร์ แต่เป็นเรื่องราวของการกลายเป็นโจ๊คเกอร์”
ภาพยนตร์ได้ถ่ายทอดบรรยากาศของกอตแธมอย่างชัดเจน เมืองที่เต็มไปด้วยฝุ่นจะพาทั้งผู้ชมและนักแสดงวาคีน ฟีนิกซ์เข้าถึงการแสดงที่โดนสะกด เพื่อสร้างอารมณ์สำคัญในการผจญภัยไปกับอาร์เธอร์ผ่านเมืองนี้ จนสุดท้ายเข้าถึงด้านมืดในตัวเขาเอง “ประเด็นหนึ่งที่เราอยากเข้าไปสำรวจในเรื่องคือความเอาใจใส่ และที่สำคัญคือเรื่องการไร้ความเมตตาที่เห็นบ่อยครั้งในโลกของอาร์เธอร์” ฟิลลิปส์กล่าว
“ยกตัวอย่าง” เขาเล่าต่อว่า “ในหนังเราจะเห็นการปฎิบัติต่ออาร์เธอร์ที่ต่างกันระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ เพราะเด็กจะมองโลกอย่างไร้อคติ พวกเขาแยกไม่ออกระหว่างรวยกับจน ไม่เข้าใจการแบ่งแยกแต่ละบุคคลแบบที่ผู้ใหญ่ทำ พวกเขามองว่าอาร์เธอร์เป็นเพียงผู้ชายคนหนึ่งที่พยายามทำให้พวกเขายิ้มได้ มันไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เราต้องเรียนรู้ว่าการไม่เป็นที่ยอมรับของคนอื่นมันเป็นยังไง ซึ่งน่าเสียดายที่เรามักเจอแบบนั้นอยู่บ่อยๆ”
ซิลเวอร์เล่าว่า “เขาแค่เริ่มจากการที่อยากทำให้ทุกคนหัวเราะ พยายามทำให้ทุกคนมีรอยยิ้มบนใบหน้า นั่นคือเหตุผลที่เขาเป็นตัวตลก เป็นเหตุผลที่เขาใฝ่ฝันอยากแสดงตลก เขาอยากสร้างความสุขให้เกิดขึ้นบนโ,ก แต่แล้วสภาพบรรยากาศที่โหดร้ายของกอตแธมได้ทำร้ายเขา จนกลายเป็นคนไร้ความสงสาร ไร้ความเมตตา และไร้มารยาท… นั่นคือสิ่งที่ทำให้เกิดโจ๊คเกอร์ของเราขึ้นมา”
อาร์เธอร์ในแบบที่ฟิลลิปส์และซิลเวอร์สร้างขึ้นมาต้องใช้ชีวิตอยู่บนความผิดปกติ อาร์เธอร์เป็นคนที่ควบคุมการหัวเราะไม่ได้ด้วยซ้ำ ยิ่งเขาพยายามควบคุมก็ยิ่งหัวเราะดังขึ้น ทำให้คนที่เขาต้องพบเจอในแต่ละวันยิ่งไม่สงสารเขา ทำให้เขายิ่งถูกเยาะเย้ยและถูกเมินจากสังคมกอตแธม “ทุกวันนี้เราจำภาพเขาในแบบที่ไม่ปกติ ช่วงเวลาของเราในเรื่องนี้ไม่ใช่ช่วงการตรวจหาสาเหตุ แต่กลับเป็นลักษณะที่แท้จริงของเขา” ผู้สร้างฯ อธิบาย
ฟีนิกซ์ยอมรับเกี่ยวกับช่วงที่ถ่ายทำภาพยนตร์ว่า “มีหลายครั้งที่ผมรู้สึกว่าตัวเองเข้าใจเขา ถึงขั้นเข้าใจถึงแรงจูงใจของเขาเลยด้วยซ้ำ และหลังจากนั้นผมก็ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของเขา การรับบทนี้ถือเป็นความท้าทายของผมในฐานะนักแสดง และผมรู้ว่าเขาก็ท้าทายผู้ชมด้วยเรื่องอคติต่างๆ ที่มีต่อโจ๊คเกอร์ เพราะในโลกของเขาก็เหมือนกับโลกแห่งความเป็นจริงของเราที่มันไม่มีคำตอบง่ายๆ ให้เราเลย”
“มีหลายครั้งที่เราคุยกันแต่เรื่องที่เห็นได้อย่างเด่นชัด เราไม่ค่อยคุยลงลึกกว่านั้น อย่างเรื่องเราเดินทางมาถึงจุดนั้นได้ยังไง” ฟิลลิปส์ยืนยัน “อาร์เธอร์คือคนที่เราพบเห็นได้บนท้องถนน เป็นคนที่เราเคยเดินผ่านเขาไปหรืออะไรมากกว่านั้น ซึ่งในหนังเรื่องนี้เราหวังว่าจะทำให้เห็นถึงสิ่งที่อยู่ภายใต้โฉมหน้านั้น
ประเด็นเหล่านั้นผสมความหลงใหลของตัวผู้สร้างภาพยนตร์สำหรับสื่อของเขา ไม่ได้ทำให้นึกถึงแค่ไอเดียในหนังเรื่อง Joker ที่ผ่านมาเท่านั้น แต่รวมถึงหนังเรื่อง Joker นี้ด้วย “ผมได้แรงบันดาลใจจากการศึกษาตัวละครที่ผมดูสมัยเด็กๆ ทั้งรูปร่างหน้าตา อารมณ์ความรู้สึก โทนของหนังเหล่านั้นที่เหมาะสมเข้ากับเรื่องราวครั้งนี้”
สำหรับฟิลลิปส์แล้วนั่นหมายถึงหนังสนุกๆ ในยุค 1970 และ 80 อย่างเรื่อง “Serpico,” “Taxi Driver” และ “Network” เขาเล่าว่า “เรารวมองค์ประกอบบางอย่างจากสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไป และจัดให้มันมาอยู่ท่ามกลางบรรยากาศของเมืองกอตแธมที่สิ้นหวังช่วงปี 1981 เพราะมีความตั้งใจจะย้อนไปในยุคนั้น และลบภาพบางอย่างออกจากโลกของหนังสือการ์ตูนที่เราคุ้นเคยกันในหนังปัจจุบันนี้
ฟิลลิปส์ไม่ใช่แค่คัดเลือกตัวฟีนิกส์มา แต่ยังเขียนบทโดยที่มีภาพของเขาอยู่ในความคิดอีกด้วย “ผลงานที่ผ่านมาของวาคีนติดตาผมมาตลอดครับ แต่สิ่งที่ผมชอบในตัวเขาที่สุดคือสไตล์และการคาดเดายาก ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคิดว่าเหมาะกับตัวละครนี้มาก” ฟิลลิปส์กล่าว “ขณะที่คนอื่นๆ สนใจเรื่องการคำนวณ วาคีนมีความสนใจเรื่องเพลงแจ๊ส เขาเป็นคนหนึ่งที่มีความสามารถมาก เขาเป็นคนที่มีความกล้า ผลงานของเขาแสดงให้เห็นทั้งความกล้าหาญและความอ่อนแอมาแล้ว ผมคิดว่าถ้าเราได้ตัวเขามา เราจะสร้างความพิเศษบางอย่างขึ้นมาได้แน่ๆ”
ที่ผ่านมาเขาเคยปฏิเสธบางโปรเจ็กต์มาแล้ว แต่นักแสดงชายกลับรู้สึกให้ความสนใจเป็นพิเศษตอนที่ได้อ่านบท “ผมคิดว่ามันมีความโดดเด่นและมีความซับซ้อนต่างจากบทเรื่องอื่นที่ผมเคยอ่านมาก่อน ทอดด์มีวิธีการมองสิ่งต่างๆ ได้ไม่เหมือนใคร ซึ่งผมคิดว่ามันเหมาะสำหรับหนังเรื่องนี้มากครับ” ฟีนิกซ์ให้ความเห็นว่า “เวลาที่ผมร่วมงานกับผู้กำกับฯ สักคน ผมต้องการคนที่เล่นกับเรื่องราวได้ไม่เหมือนใคร และก็ไม่มีใครทำหนังเรื่องนี้ได้ยกเว้นทอดด์”
เรื่องราวของอาร์เธอร์มีรายละเอียดที่งดงามและเยอะมาก มีทั้งเรื่องราวที่เห็นได้ชัดเจนและดูผิดเพี้ยนไป โดยมีการร่วมงานกับซิลเวอร์ตลอดเวลา ฟิลลิปส์เล่าให้ฟังว่า “จากการร่วมงานในออฟฟิศเล็กๆ ที่นิวยอร์คเป็นเวลา 1 ปี” พวกเขาเริ่มจากกำหนดทิศทางว่าผู้ชายธรรมดาจะกลายเป็นคนที่ดูโหดเหี้ยมและขึ้นชื่อในทางแย่ๆ ได้ยังไง “เรื่องราวในเวอร์ชันที่เราถ่ายทอดออกมา คือผู้ชายที่ตกลงไปในถังกรด ซึ่งผมคิดว่ามันมีความน่าสนใจดี เราเลยพยายามมองทุกอย่างผ่านมุมมองของ ‘โลกที่แท้จริง’” เขากล่าว “เพื่อทำให้หนังของเราดูสมเหตุสมผล เราเลยคิดว่า ‘ทำไมเขาต้องแต่งหน้าตอนที่กลายเป็นโจ๊คเกอร์ด้วย? เขาไปเอาการแต่งหน้าแบบนี้มาจากไหนและทำไมต้องทำแบบนั้น? ถ้าเขาเป็นตัวตลกล่ะ?’
“จากนั้นเราก็มาถามตัวเองว่าทำไมเขาต้องทำงานเป็นตัวตลกด้วย” เขาเล่าต่อว่า “จนเราได้คำตอบว่าเพราะแม่บอกเขาเสมอ เขาต้องสร้างเสียงหัวเราะและความสุขให้โลกใบนี้ ทุกอย่างมันเกิดขึ้นจากตรงนั้น”
นอกจากเรื่องภาพของตัวละครที่คาดหวังเอาไว้ ยังมีความแตกต่างทั้งลักษณะของตัวละครจากหนังสือการ์ตูนที่มีอายุเกือบ 80 ปีและทุกภาพที่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นสิ่งที่ฟิลลิปส์และซิลเวอร์อยากนำมาใช้ในการเล่าเรื่องราว มีเสียงคนบรรยายที่ไม่น่าเชื่อถือด้วย “เราจะเกิดอิสระอย่างเต็มที่จากผู้บรรยายที่คอยสร้างความไม่น่าไว้ใจ ยิ่งเป็นโจ๊คเกอร์ยิ่งไว้ใจไม่ได้เลย” ผู้กำกับฯ เล่าถึงผู้ชายที่เลื่องชื่อด้านการหลอกลวง เขาชอบผสมทั้งความจริงกับเรื่องโกหกเข้ากันในทุกฉากของภาพยนตร์ “เขาพูดไว้ในหนังสือการ์ตูน Batman: The Killing Joke ว่า ‘If I’m going to have a past, I prefer it to be multiple choice ด้วยซ้ำ’ ฉะนั้นจริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้น และเราคิดว่าเขาเป็นแบบไหนในท้ายที่สุด มันขึ้นอยู่กับว่าเราดูหนังด้วยมุมมองไหน เราจะไม่เดินออกไปพร้อมกับคำตอบในทุกเรื่อง นั่นคือสิ่งที่ผมคิดว่ามันมีความน่าสนใจในตัวละครแบบนี้”
เพื่อทำให้ความตั้งใจที่เขามีต่อ “Joker” สำเร็จขึ้นมา ฟิลลิปส์และแบรดลีย์ คูเปอร์ ผู้ร่วมอำนวยการสร้างฯ ของเขาเลือกที่จะใช้สถานที่ถ่ายทำหลักทั้งในและรอบเมืองที่มีความเป็นกอตแธมในตัวเอง ซึ่งที่นั่นคือเมืองนิวยอร์คบ้านเกิดของฟิลลิปส์และสถานที่ใกล้เคียงอย่างนิวเจอร์ซีย์ และสุดท้ายพวกเขาได้ขอความช่วยเหลือจากผู้อำนวยการสร้างฯ เออ็มม่า ทิลลินเกอร์ คอสคอฟฟ์ ผู้ชำนาญด้านการถ่ายทำในแถบพื้นที่นั้นที่มีคอนเนคชั่นกับผู้ที่มีฝีมืออย่างโดดเด่นในเมือง “เอ็มม่าเป็นผู้อำนวยการสร้างฯ ชาวนิวยอร์คคนหนึ่งที่เก่งมากกครับ เราโชคดีที่ได้เธอมาร่วมงานด้วย” ฟิลลิปส์กล่าว
นอกจากการร่วมมือกันของทีมผู้ชำนาญและการรวบรวมทุกแง่มุมที่จะใช้ถ่ายทำจริงทั้งหมด ทิลลินเกอร์ คอสคอฟฟ์เล่าว่า “ทอดด์มีมุมมองที่ไม่เหมือนใครและยอดเยี่ยมมาก เขาอยากให้หนังมีภาพลักษณ์และอารมณ์แบบไหน หน้าที่ของผมคือช่วยสร้างจินตนาการนั้นขึ้นมาและช่วยสร้างบรรยากาศที่อำนวยความสะดวกให้เขา เพื่อให้เขาโฟกัสที่นักแสดงกับสิ่งที่เขาต้องการในแต่ละฉากได้ ทอดด์กับผมโชคดีมากที่ได้ร่วมงานกับทีมงานเก่งๆ ที่นิวยอร์คเป็นอะไรที่ยอดเยี่ยมมาก เราไว้ใจและเคารพกันในฉากมาก จนทำให้เขาทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีความสร้างสรรค์ ถือว่าเป็นความโชคดีที่ได้เห็นทอดด์และวาคีนร่วมงานกันในหนังที่น่าทึ่งเรื่องนี้”
ทีมงานฝ่ายสร้างสรรค์ของฟิลลิปส์ยังรวมถึงผู้กำกับภาพฯ ลอว์เรนซ์ เชอร์ ที่ร่วมงานกันในเรื่องนี้เป็นครั้งที่ 6 ผู้ออกแบบฉากฯ มาร์ค เฟรดเบิร์ก ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย มาร์ค บริดเจส ที่เคยร่วมงานกับฟีนิกซ์มาแล้วหลายครั้ง ผู้ลำดับภาพ เจฟฟ์ กรอธ ที่ร่วมงานกันอย่างเป็นประจำ ผู้ประพันธ์ดนตรี ฮิลเดอร์ กัวนาดอตเตอร์ ที่เริ่มส่งเพลงมาทีละส่วนให้ฟิลลิปส์ โดยอิงจากบทภาพยนตร์ล้วนๆ ก่อนที่จะมีการถ่ายทำฉากไหนในเรื่อง
“มันคือเรื่องเหลือเชื่อทุกครั้งที่ได้สร้างหนังสักเรื่องเวลาที่เรามีผู้ร่วมงานเก่งๆ” ฟิลลิปส์กล่าว “และเราก็ได้ผลงานที่ดีที่สุดในหนังเรื่องนี้”
คำพูดเหล่านั้นใช้บรรยายถึงฝีมือของเขาที่ปรากฎบนหน้าจอได้เช่นกัน โดยเริ่มจากการคัดเลือกนักแสดงที่ได้มาราวกับความฝันของผู้สร้างภาพยนตร์ทุกคนอย่างโรเบิร์ต เดอ นีโร นักแสดงชื่อดังมารับบทเมอร์เรย์ แฟรงค์ลิน พิธีกรรายการทีวีช่วงดึก เขามีความคล้ายกับการเป็นฮีโร่สำหรับอาร์เธอร์มากที่สุด แม้จะเป็นเพียงคนแปลกหน้า แต่ก็เป็นคนที่เขามองว่ามีความเหมือนกันในแง่ของเรื่องตลก อย่างที่ในวงการตลกรู้กันดีว่าการถูกเชิญไปนั่งบนโซฟาหลังจากเปิดรายการของเมอร์เรย์นี้ มันยิ่งกว่าเป็นจุดพลิกผันของเกม มันคือจุดเปลี่ยนของชีวิตและเป็นสิ่งที่อาร์เธอร์ปรารถนาสูงสุด
“…แม่บอกว่าผมมีหน้าที่อย่างนึง : สร้างเสียงหัวเราะและความสุขให้กับโลก”
—อาร์เธอร์ เฟล็ค
นักแสดงและตัวละคร
ในช่วงฉากแรกของเรื่อง “Joker” อาร์เธอร์ได้พบกับนักสังคมสงเคราะห์ที่เข้ามาพูดคุยกับเขา เผื่อว่าการคุยกับใครสักคนจะเป็นเรื่องที่ดี โดยที่เธอไม่ได้คิดว่าจะได้รับคำตอบแบบไหน ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจากการแสดงออกทางสีหน้าของอาร์เธอร์ว่าเธอไม่ใช่คนที่เขาจะพูดคุยด้วยได้ แต่สิ่งที่มองไม่เห็นคือใครกันที่เขาจะพูดคุยด้วยได้ “อาร์เธอร์ต่อสู้กับสิ่งที่เขาอยากพูดมาตลอด รวมถึงเขาอยากจะพูดออกไปยังไงด้วย” ฟีนิกซ์กล่าว “สิ่งที่อยู่ในใจของเขาขัดแย้งกับมาตรฐานที่ยอมรับกันในวงสนทนาหรือเรื่องการแสดงออก.. หรือทุกเรื่องเลยก็ว่าได้”
ทำไมสิ่งที่เขาเป็นถึงไม่ถูกเก็บเป็นความลับของอาร์เธอร์ตลอดไป ฟิลลิปส์ยอมรับว่า แต่ตอนที่เราพบเขาครั้งแรกเขาบอกว่า “อาร์เธอร์เป็นคนที่แสดงออกราวกับ ‘ฉันจะเป็นในแบบที่เธออยากให้เป็น ฉันจะทำตัวให้เหมาะสม ฉันจะไปขึ้นรถและนั่งเงียบๆ ไม่แสดงท่าทีอะไร’ และอีกมากมาย” แต่เหมือนกับเวลาสุนัขถูกเจ้าของเตะซ้ำๆ ยังไงก็ต้องมีสักวันที่ “ครั้งนี้” จะเป็นครั้งสุดท้าย “ในตัวเขามีบางสิ่งที่เขาพยายามเป็นตัวของตัวเองตลอด ตลอดทั้งเรื่องเราจะได้เห็นมันปรากฏออกมาทีละเล็กละน้อย”
ตัวตนที่แท้จริงของอาร์เธอร์มีความซับซ้อน เขาพยายามที่จะเป็นนักแสดงเดี่ยว มันคืออาชีพในฝันของเขา และเขาเตรียมตัวด้วยการดูมุกตลกจากคนอื่น คอยจับจังหวะจากคนอื่นและมาปรับให้มีความเป็นตัวของตัวเอง เขาหวังว่าตัวเองจะมีเสน่ห์เหมือนคนอื่นๆ ผู้ชมจะคอยจับตาดูและได้รับการยอมรับอย่างยิ่งใหญ่ผ่านเสียงปรบมือจากพวกเขา “แต่โชคร้ายที่การมองโลกของเขา และพูดตามตรงคือสิ่งที่เขาคิดว่าตลกมันไม่ตลกเอาซะเลย” ฟีนิกซ์อธบาย “เขาไม่เข้าใจมุกเหล่านั้นและเขาไม่สามารถเอามาเล่นมุกล้อเลียนอะไรได้เลย”
เขาใช้ชีวิต “อย่างมีความสุข” ตามที่แม่เคยทำนายเอาไว้มาเป็นเวลานาน จนกระทั่งเขารวบรวมความกล้าด้วยการลองแสดงคอมเมดี้บนเวทีในคลับ เราจะเห็นเขาเป็นตัวตลกรับจ้างในช่วงกลางวันให้กับฮา-ฮา ซึ่งเป็นงานที่ทำให้เขาได้เดินทางไปยังหลายมุมในเมือง แต่ไม่ว่าเขาจะเดินทางไปที่ไหน เขาต้องเดินทางกลับบ้านอย่างยากลำบากทุกครั้ง
ทั้งอุปสรรคทางร่างกายและเรื่องของการเปรียบเทียบกัน ล้วนเป็นปัจจัยในโลกของอาร์เธอร์ที่พบได้อย่างเป็นประจำ ตั้งแต่ผู้คนที่เขาต้องพบเจอไปจนถึงการแต่งหน้าให้ดูมีความสุขของเขา ทั้งสองอย่างล้วนเป็นตัวชี้นำไปสู่ตัวตนที่แท้จริงของเขาในเรื่อง
ตัวละครส่วนใหญ่มาจากการเตรียมตัวของฟีนิกซ์ เขาต้องเตรียมเรื่องมุมมองความคิดและเปลี่ยนให้กลายเป็นการแสดงออกา ในหนังตามคำแนะนำของนักสังคมสงเคราะห์ อาร์เธอร์ได้เก็บหนังสือเล่มนึงเอาไว้ ในนั้นมีภาพวาดของเขา มีข้อความและภาพต่างๆ ช่วงเตรียมตัวก่อนการถ่ายทำฟีนิกซ์ได้จดข้อมูลหลายอย่างเอาไว้ นักแสดงชายได้เล่าให้ฟังว่า “ผมเขียนในหนังสือของอาร์เธอร์เอาไว้ ตอนที่ทอดด์เอาโน้ตเกี่ยวกับฉากในเรื่องราวมาให้ มันเป็นแรงบันดาลใจให้ผมเขียน ‘ขั้นตอนแต่ละก้าว’ และประโยคแต่ละประโยคออกมาในหน้า จนมันกลายเป็นข้อความที่เราส่งหากัน”
ในช่วงแรกของเรื่องเราจะเห็นการเดินขั้นบันไดอย่างเหี่ยวเฉาของอาร์เธอร์ ซึ่งมาจากไอเดียที่ฟิลลิปส์ปลูกฝังใส่ฟีนิกซ์เอาไว้ว่าอาร์เธอร์จะเดินเหมือน “สวมรองเท้าหนัก” ต้องแบกน้ำหนักของโลกเอาไว้กับตัวเอง พอเขาเริ่มต่อต้านทุกอย่าง เราจะไม่เห็นแค่อาร์เธอร์ที่เปลี่ยนไป แต่ท่าทางทุกอย่างจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงเลย
ไม่ว่าจะมีการเตรียมตัวยังไง ฟิลลิปส์ได้ออกความเห็นว่า “การเตรียมตัวทั้งหมดได้หายไปกับการแสดง วาคีนเป็นคนมีระเบียบแบบแผนมาก ไม่มีช่วงไหนที่เราเห็นเขาเปลี่ยนจากอาร์เธอร์เป็นโจ๊คเกอร์เลย ทุกอย่างเกิดขึ้นในจังหวะที่ลงตัวมาก ”
อีกสิ่งหนึ่งที่นักแสดงชายทุ่มเทเพื่อการถ่ายทอดบทอาร์เธอร์คือการลดน้ำหนักไป 52 ปอนด์ด้วยการกินแอปเปิ้ลมากกว่า 1 ลูกต่อวัน ฟิลลิปส์ยอมรับว่านี่คือไอเดียของเขาเอง “ผมอยากให้ตัวละครดูอิดโรยและสุขภาพแย่ เหมือนหมาป่าที่อดอยาก”
ฟีนิกซ์และฟิลลิปส์ได้ใกล้ชิดสนิทกันมากขึ้นในช่วงถ่ายทำภาพยนตร์ พวกเขาต้องช่วยกันค้นหาจุดที่ลงตัวเพื่อสร้างบุคลิก 2 แบบของอาร์เธอร์ขึ้นมา ต้องช่วยกันพิจารณาอย่างระมัดระวังตลอดทั้งเรื่อง และมีการบรรยายชวนสร้างความระแวงเหมือนโจ๊คเกอร์เป็นคนสร้างเหตุการณ์ต่างๆ ตั้งแต่ช่วงแรกในสังคมที่แปลกประหลาด จนกระทั่งกลายเป็นผู้ชายสิ้นหวัง พวกเขาปล่อยให้อาร์เธอร์ เฟล็คเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวความจริงออกมา เหมือนกับเป็นประสบการณ์ตรงของอาร์เธอร์เอง
“มีหลายครั้งที่ผมคิดว่าอาร์เธอร์สนุกกับจุดพลิกผันในเรื่องราวของเขา เพราะผลลัพธ์ที่ตามมาเวลาที่มีใครรู้สึกบางอย่างเกี่ยวกับเขา และยังมีหลายช่วงที่ผมคิดว่าเขาจงใจเปลี่ยนมัน เพราะนั่นคือสิ่งที่เขาเชื่อมั่น” นักแสดงชายกล่าว “ปกติพวกตัวละครที่มีความท้อแท้จะไม่รู้เป้าหมายของตัวเอง แต่ตัวละครนี้กลับรู้สึกเป็นอิสระ ค้นพบว่าจะทำอะไรยังไงก็ได้ การร่วมงานกับทอดด์ในฉาก ถ้าไม่เจอกับความเซอร์ไพรส์ในการค้นหาช่วงเวลานั้นจะรู้สึกเหมือนเราทำอะไรผิดพลาดไป”
การตัดสินใจต่างๆ เกิดขึ้นตลอดช่วงการถ่ายทำ ยาวไปจนถึงช่วงที่ปิดกล้องการถ่ายทำ “หลังจากที่เราถ่ายทำกันเสร็จแล้ว เราจะโทรหาหรือส่งข้อความคุยกันหลายชั่วโมงถึงเรื่องฉากในวันต่อไป ช่วงสุดสัปดาห์เราก็จะมาเจอกันและคุยกันเรื่องฉากต่างๆ ที่จะถ่ายทำในสัปดาห์นั้น” ฟีนิกซ์จำได้ว่า “ผมรู้สึกว่าเราเป็นหนึ่งเดียวกันมากตลอดช่วงที่ทำงาน ถ้ามีใครสักคนเข้าใจถึงประเด็นที่เรากำลังรู้สึกว่ามันไม่น่าสนใจ เราจะไว้ใจคนๆ นั้นที่มาสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่น และนั่นเป็นเรื่องที่รู้สึกดีมากครับ”
อาร์เธอร์ต้องอยู่กับเพนนี เฟล็ค แม่ของเขาที่ไม่แข็งแรงจนเขายอมทุ่มเทเสียสละเวลาดูแลแม่ เพนนีอาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนท์แคบๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วเธอกำลังอยู่ในโลกของตัวเอง เธอสนใจแค่ทีวีที่ภาพทุกอย่างต่างจากกอตแธมที่เห็น และการเขียนจดหมายถึงโธมัส เวย์น เธอทำงานให้เขาตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว นักธุรกิจผู้ร่ำรวยพร้อมจะให้การช่วยเหลือเธอ หากเขาได้รู้ว่าสภาพเธอตอนนี้เป็นยังไง
ฟรานเชส คอนรอย นักแสดงหญิงผู้มากประสบการณ์มารับบทผู้หญิงที่มีความละเอียดซับซ้อน เธอชื่นชมในความเสียสละของฟีนิกซ์และกล่าวว่า “เขาเป็นคนเงียบๆ ชอบเก็บตัวอยู่กับตัวละครของตัวเองและนักแสดงคนอื่นที่อยู่ในฉาก” เธอเล่าต่ออีกว่า “เหมือนฉันได้รู้จักกับอาร์เธอร์ ไม่ใช่วาคีนเลยค่ะ เขาจะสวมบทบาทของตัวละครเท่านั้น ทิ้งความเป็นตัวเองไว้ข้างหลังและอยู่กับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในฉาก”
อาร์เธอร์ได้รับการเลี้ยงดูจากแม่ที่ค่อนข้างมีความหลงตัวเอง อาร์เธอร์ต้องต่อสู้กับการอยากมีตัวตนและต้องเจ็บปวดที่ได้รู้ว่าเขาแทบไร้ตัวตน แม้แต่ในสายตาของแม่เขาเองที่ยังบอกว่าเขามีความสุข แม้ว่าเขาแทบจะไม่เคยได้สัมผัสความสุขเลยสักนิด อาร์เธอร์ได้พูดคุยกับใครหลายคนเพื่อตามหาเหตุผลนั้น จนกระทั่งคืนหนึ่งเขากับเพนนีได้ดูรายการ “Live with Murray Franklin” ด้วยกัน เขาใฝ่ฝันว่าจะได้ไปออกรายการนั้น เป็นที่ยอมรับของผู้ชายที่สร้างเสียงหัวเราะให้เกิดขึ้นในกอตแธม ผู้ชำนาญอย่างเมอร์เรย์จะสร้างเสียงหัวเราะได้ตลอดทุกครั้ง.. ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับใครก็ตาม
โรเบิร์ต เดอ นีโรรับบทแฟรงค์ลิน อดีตพิธีกรที่อิงมาจากบุคคลจริงจากการผสมกันระหว่างโจ แฟรงค์ลินกับจอห์นนี คาร์สัน ฟีนิกซ์เล่าถึงวันแรกที่พวกเขาอยู่ในฉากด้วยกัน ช่วงที่เขากับเดอ นีโรมีฉากที่ต้องถ่ายทำว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นที่ได้ถามเขาทุกเรื่องราว เพราะเขาคือโรเบิร์ต เดอ นีโร เราจะตื่นเต้นมากเวลาโอกาสนั้นมาถึงแอง แต่รู้สึกตัวอีกทีคือเรามีฉากที่มีความยาวบท 9 หน้าที่ต้องจัดการ มันไม่มีเวลาและโอกาสให้เราได้ถามเขาทุกเรื่องอย่างที่เราต้องการได้”
ฟิลลิปส์มีท่าทีที่ต่างออกไปมากเวลาที่ได้พบกันครั้งแรก “ผมเคยไปออฟฟิศของเขามาก่อนที่เราจะมีการหนังด้วยกัน ผมบอกกับเขาอย่างชัดเจนเลยว่า ‘ฟังนะครับ ผมจะใช้เวลาเพียง 10 นาทีคุยเกี่ยวกับทุกคำถามที่ผมสงสัย หลังจากนั้นสาบานเลยว่าผมจะทำงานอย่างมืออาชีพ’ จนเราจบบทสนทนาในเวลา 20 นาที มันเป็นช่วงที่มากเลยครับ”
สำหรับหน้าที่ของเขาที่ต้องเชื่อมโยงอารมณ์ความรู้สึก อาร์เธอร์เองก็ใฝ่ฝันถึงโซฟี ดูมอนด์เพื่อนบ้านของเขาด้วย เขารู้สึกตกหลุมรักเธอ แต่ก็เป็นแค่การแอบรักที่เขาทำได้แค่แอบชำเลืองตามองเธอ
ซาซี บีตซ์ผู้รับบทซิงเกิลมัมของลูกสาววัย 5 ขวบเล่าว่า “โซฟีและลูกสาวของเธออาศัยอยู่ที่ห้องด้านล่างครอบครัวเฟล็ค เธอต้องเจอกับอาร์เธอร์ในลิฟต์ สถานที่อะไรแบบนั้นที่จะเจอกันได้ เธอเลี้ยงลูกเพียงลำพังอย่างยากลำบาก เธอสังเกตได้ว่าเขามีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับผู้คน และดูค่อนข้างหวาดระแวงเขาจึงค่อนข้างอ่อนโยนกับเขา เธอยิ้มให้อาร์เธอร์ในแบบที่เราจะยิ้มให้กับเพื่อนบ้าน”
บีตซ์สนุกกับการร่วมงานกับฟีนิกซ์และเล่าว่า “ฉันเป็นแฟนผลงานของฟีนิกซ์มานานแล้วค่ะ และคิดว่าเขาเป็นนักแสดงที่มีฝีมือมากคนหนึ่งในยุคนี้” และเธอยังกล่าวชื่นชมฟิลลิปส์ด้วยว่า “ฉันไม่เคยมีความรู้สึกแบบนี้มาก่อนเลย เป็นการร่วมงานกันที่น่าเหลือเชื่อมากค่ะ”
เบร็ตต์ คัลเล็นรับบทโธมัส เวย์น ผู้เข้าชิงตำแหน่งนายกเทศมนตรีที่เขาคิดว่าเป็นพ่อ โดยอาร์เธอร์พยายามจะเข้าหาแต่กลับถูกปฏิเสธในทุกช่องทาง และดักลาส ฮอดจ์ผู้รับบทอัลเฟรด เพนนีเวิร์ธ ลูกจ้างของเวย์นที่คอยดูแลทรัพย์สินสำคัญและเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างเรื่องอาร์เธอร์
นักแสดงที่น่าประทับใจคนอื่นๆ ยังมีเช วิแกมและบิล แคมป์ ผู้รับบทเจ้าหน้าที่นักสืบในเมืองกอตแธมบูร์คและการ์ริตี้ เกล็นน์ เฟลชเลอร์ผู้รับบทแรนดัล และเลห์ กิลผู้รับบทแกรี่ เพื่อนร่วมงานคนอื่นที่ร่วมงานกับอาร์เธอร์ที่ฮา-ฮา ได้แก่ จอช เพสผู้รับบทฮอยท์ วอห์น เจ้านายของเขา ไบรอัน ไทรี เฮนรีผู้รับบทอาร์คแฮม เคลิร์ก และมาร์ค มารอนผู้รับบทจีน อูแฟลนด์ ผู้ผลิตรายการ The Murray Franklin Show ส่วนแกรี่ กัลป์แมนและแซม มอร์ริลนักแสดงตลกตัวจริงมารับบทแสดงเดี่ยวในฉากที่ต้องแสดงคอมเมดี้ที่คลับ
“มีแต่ผมหรือยังมีใครที่บ้าได้กว่านี้อีกมั้ย?”
—อาร์เธอร์ เฟล็ค
การออกแบบฉาก / สถานที่ต่างๆ / กล้อง
เพื่อเป็นการเพิ่มความรู้สึกของอาร์เธอร์ที่ต้องต่อสู้กับความรู้สึกของตัวเอง ฟิลลิปส์เลือกที่จะเริ่มจากพื้นฐานของตัวภาพยนตร์ให้มีความสมจริงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ “ในฐานะของผู้สร้างภาพยนตร์ มีเครื่องมีหลายอย่างให้เลือกใช้แต่งแต้งสีสัน สถานที่ต่างๆ และการออกแบบฉากมีส่วนสำคัญมากในหนังเรื่องนี้ บรรยากาศของเขาเป็นตัวแทนของอะไรหลายอย่างในชีวิตอาร์เธอร์ เราเลยอยากใช้มันอย่างเต็มที่ที่สุด”
เขาร่วมงานกับผู้ออกแบบฉากฯ มาร์ค เฟรดเบิร์กอย่างใกล้ชิด ซึ่งเขาโตที่นิวยอร์คเหมือนกับฟิลลิปส์ และมีมุมมองใกล้เคียงกับผู้กำกับฯ มาก “มาร์คค้นหารูปภาพนิวยอร์คเก่าๆ เพื่อหาแนวภาพกราฟฟิตี้ที่เหมาะสม ปริมาณขยะและรูปภาพของรถอย่างที่เราต้องการ ความใส่ใจในรายละเอียดของเขามีความน่าทึ่งมาก” เขากล่าว
“ความน่าสลดเกี่ยวกับกอตแธมที่ทอดด์และสก็อตต์สร้างขึ้นมา คือนั่นเป็นโลกที่ผมรู้จักดี เป็นโลกที่มีความโหดร้ายสำหรับคนที่ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก” เฟรดเบิร์กกล่าว “ทั้งเรื่องความผิดปกติ การไร้อำนาจ.. นั่นคือนิวยอร์คในรุ่นของผม มันมีความสกปรกและทุกเมืองจะมีตัวแทนออกมาประท้วง ซึ่งล้วนเป็นผู้ที่ไม่ได้ก่อการทุจริตใดๆ นั่นคือสิ่งที่สะดุดตาผมมากตอนที่อ่านบทครั้งแรก และเป็นจุดเริ่มต้นการพูดคุยกันถึงโลกของ “โจ๊คเกอร์” กอตแธมไม่เหมือนนิวยอร์ค แต่เป็นเมืองนึงที่มีความหดหู่และกล้าหาญซึ่งมาจากอดีตที่เราสะสมมา”
ฟิลลิปส์และทีมงานฝ่ายสร้างสรรค์ของเขามีการคุยกันว่าเมืองกอตแธมของพวกเขาเป็นแบบไหนอย่างกว้างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่รับรู้มาจากหนังสือหรือภาพที่เห็นจากการถ่ายทอดออกมาจากที่อื่นก็ตาม จากเรื่องที่พูดคุยกันและสถานที่ต่างๆ ที่อาร์เธอร์ต้องเดินทางในแต่ละวัน รวมถึงวิธีการเดินทางของเขา ทำให้เฟรดเบิร์กได้วาดแผนที่การเดินทางในเมืองกอตแธมขึ้นมา เหมือนอย่างที่เห็นในสถานีรถไฟใต้ดินนิวยอร์คซิตี้ ซึ่งแผนที่ของดีไซน์เนอร์นั้นมีบทบาทสำคัญตลอดการถ่ายทำภาพยนตร์มาก
แม้ว่าพวกเขาจะมีการรวมองค์ประกอบหลายอย่างขึ้นมาอย่างเห็นภาพชัดเจน แต่ก็มีการถูกปรับเปลี่ยนบางอย่างเพื่อสะท้อนให้เห็นเมืองในแบบที่มีการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ “ทุกอย่างจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างไปบ้าง” เฟรดเบิร์กยิ้ม
ฟิลลิปส์อธิบายว่า “Arkham Asylum ในหนังของเราถูกเรียกว่า Arkham State Hospital เพราะสำหรับเราดูแล้วน่าจะเรียกแบบนั้นมากกว่า”
โรงพยาบาลในเมืองของฮาร์เลมใช้แทนบรรยากาศภายในของอาร์แคม และใช้ถ่ายทำฉากวอร์ดของโรงพยาบาลเด็ก ส่วนด้านนอกมีการถ่ายทำที่ซันเซ็ท พาร์ค, บรูคลิน และ Brooklyn Army Terminal ซึ่งเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมสไตล์อินดัสเทรียลที่มีอายุ 100 ปี
การใช้สถานที่ถ่ายทำจริงในเรื่องที่มีบรรยากาศเหมือนเมืองกอตแธมยุค 1970/80 ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เฟรดเบิร์กเล่าว่า “เพราะในโลกแห่งความเป็นจริง สิ่งที่เราพยายามถ่ายทอดออกมามันก็ไม่มี เพราะเมืองของเราค่อยๆ เปลี่ยนเป็นตึกกระจกและห้างไปหมดแล้ว การหาเมืองในแบบที่เราต้องการทำให้เราต้องเดินทางไปที่นิวอาร์กที่เราสร้างจัตุรัสกอตแธม และเจอร์ซีย์ซิตี้ รัฐนิวเจอร์ซีย์ รวมถึงเมืองเล็กๆ ในเขตเทศบาล”
สำหรับการสร้างสรรค์จัตุรัสกอตแธมขึ้นมาที่นิวอาร์ก มัลคอล์ม เอ. โรลลิ่ง ศิลปินหนุ่มท้องถิ่นได้รับการว่าจ้างให้มาสร้างงานจิตรกรรมฝาหนังรอบตึกทั่วท้องถนนที่ใช้ถ่ายทำบริเวณด้านนอก ภาพต่างๆ มีการสะท้อนถึงประเด็นต่างๆ ที่สื่อในหนัง และบางภาพก็มีความยาวเกือบ 1 ซอย
กองถ่ายยังมีการถ่ายทำฉากต่างๆ ในบรูคลินที่ Kings Theater ชื่อดังอีกด้วย ที่นั่นเป็นทำเนียบภาพยนตร์ที่เปิดตัวเมื่อปี 1929 แต่เพิ่งมีการปรับปรุงใหม่และภาพยนตร์ใช้ที่นั่นเป็น Wayne Hall ส่วนย่านไฮบริดจ์และคิงส์บริดจ์เป็นย่านของคนทำงานแถมบรองซ์ โดยมีการใช้เป็นพื้นที่บริเวณใกล้เคียงที่อาร์เธอร์อาศัยอยู่กับเพนนี แม่ของเขาและเพื่อนบ้านที่เขามีใจให้อย่างโซฟี
พื้นที่ใกล้ๆ ในบรองซ์ที่ใช้ถ่ายทำในหนังหลายครั้ง คือฉากทางยาวที่เราจะเห็นอาร์เธอร์ใช้เดินทางกลับบ้านครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นสัญลักษณ์สื่อถึงเรื่องน่าเบื่อเวลาที่เขาเดินทางกลับบ้าน “ไอเดียของทอดด์คือให้อาร์เธอร์อยู่ทางตอนใต้ของบรองซ์ที่มีเนิน เขาต้องเดินก้าวตรงบันไดและตรอกซอกซอยต่างๆ อย่างเหนื่อยล้า ตรงนั้นไม่มีตะแกรงรั้วที่เหมือนถนนเลย เป็นการสร้างความสับสนให้โลกของเขาในแบบที่เหมาะกับเรื่องนี้” เฟรดเบิร์กกล่าว “ไม่มีใครคิดถึงพวกเนินเขาเวลาคิดถึงนิวยอร์ค ทุกคนต่างคิดถึงความราบเรียบ เลยทำให้เราสร้างสภาพภูมิประเทศที่เหนือความคาดหมายขึ้นมาและมีสไตล์ภาพที่มีความพิเศษด้วย” สไตล์ภาพนั้นเกิดขึ้นในช่วงที่ระดมความคิดกับผู้กำกับภาพฯ ลอว์เรนซ์ เชอร์ “แลร์รีน่าจะเป็นผู้ร่วมงานด้านครีเอทีฟที่ผมไว้ใจที่สุด เราเดินทางไปทั่วโลกด้วยกันเพื่อถ่ายทำหนั”” ผู้กำกับฯ กล่าว
เชอร์เล่าว่า “ทอดด์มีความสามารถที่โดดเด่นในหลายด้าน เขามีความพิถีพิถันเรื่องงานเขียน การแสดง วิชวลและการตัดต่อภาพ แถมยังสามารถผสมผสานองค์ประกอบเหล่านั้นเข้ากันได้อย่างแนบเนียน โดยที่ไม่มีการเน้นไปที่ด้านใดด้านหนึ่งจนเกินไป มีหลายครั้งที่เราต้องถ่ายภาพฉากกว้างๆ และในหนังทุกเรื่องที่เราได้ร่วมงานกัน เขาจะให้การแสดงมีความโดดเด่นเป็นหลักก่อน แต่ก็มีการเฉลี่ยภาพให้ดูมีลักษณะของภาพยนตร์ ดูออกมาเป็นภาพในหนังที่สมจริง ทอดด์กับผมเจอความท้าทายทุกวัน ถือเป็นประสบการณ์การร่วมงานกับเขาที่น่าดีมากครับ มันมีจังหวะการแบ่งรับแบ่งสู้กันอย่างพอดี มีความกดดันที่สร้างความแข็งแกร่งขึ้นมา เราไม่เคยอยากรู้สึกว่ายังมีอะไรค้างคาเวลาถ่ายทำเสร็จแต่ละวันเลย”
โดยธรรมชาติของการร่วมงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างพวกเขา ทำให้เกิดการช่วยเหลือกันและสร้างมิตรภาพที่แท้จริงขึ้นมา “เพราะนี่เป็นหนังที่เราร่วมงานกันเป็นครั้งที่ 6 แล้ว เรามีการพูดคุยกันเรื่องไอเดียในแต่ละฉากที่ต้องนำมาสร้างและทำให้เกิดภาพที่ยิ่งใหญ่มากขึ้น” เชอร์กล่าว “ในเรื่องนี้มีอย่างนึงที่จำได้คือทอดด์เล่าถึงไอเดียเรื่องเงา เงาคือสิ่งที่สะท้อนถึงอีกด้านหนึ่งของตัวเราเอง และการเปลี่ยนแปงจากอาร์เธอร์สู่โจ๊คเกอร์ ทั้งเรื่องการเปลี่ยนแปลงและแสงเงาทำให้ฉันเข้าใจ และได้ไอเดียคร่าวๆ ว่าเขาจะไปสำรวจเรื่องราวในหนังด้วยทิศทางไหน ทำให้ฉันถ่ายทอดภาพในจินตนาการนั้นออกมาได้อย่างเป็นรูปร่างด้วยความมั่นใจ
“การทำงานของเราส่วนใหญ่” เขาเล่าต่อว่า “คือการจินตนาการภาพว่าจะนำสิ่งที่ตัวละครได้เรียนรู้มาถ่ายทอดในรูปแบบของภาพโดยไม่ต้องพึ่งการบรรยายของบทได้ยังไง ในแบบที่เราสามารถดูหนังได้อย่างเงียบๆ และยังซึมซับความรู้สึกได้ในแบบเดียวกัน เพราะการแสดงของวาคีนมีความชัดเจนมาก และเขาบอกอะไรหลายอย่างได้โดยไม่ต้องพูดอะไรออกมาสักคำ”
เชอร์เล่าว่าการที่เลือกใช้ 65 Alexa มีความสำคัญมากต่อการถ่ายทำ “มันเป็นฟอร์แมตขนาดใหญ่ของกล้องที่ทำให้เราเห็นระดับความลึกได้อย่างชัดเจน ทำให้เราสร้างความโดดเด่นให้โลกของอาร์เธอร์ได้ ทำให้เขาดูเป็นตัวละครที่มีความโดดเดี่ยวและตอกย้ำไอเดียของการที่เขาดูเป็นคนนอก และบางครั้งทำให้เขาดูไร้ตัวตนไปเลยด้วยซ้ำ กล้องทำให้เราสามารถ่ายทอดเรื่องราวมุมนั้นของเขาออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นสภาพอพาร์ทเมนท์ของเขาที่ดูคุ้นตาหรือในฉากที่ใหญ่กว่านั้นก็ตาม เพราะเราต้องแยกเขาอกมาจากภาพที่อยู่ด้านหลังให้ได้”
หลายฉากที่มีความกว้างต้องอาศัยพื้นที่ถ่ายทำด้านนอก เชอร์เล่าว่า “ทอดด์ มาร์ค และฉันโตในย่านแมนฮัตตัน และอยู่ที่นั่นในช่วงเวลาเดียวกับหนังเรื่องนี้ เราเลยจดจำความสดใสและสามารถถ่ายทอดภาพนั้นออกมาได้ทุกวัน แต่ในเมืองนี้เราจะไปที่ไหนในแบบที่พวกเขาไม่เคยไปและมีอะไรแปลกใหม่ได้บ้าง? ตั้งแต่เฟรมแรกเราอยากให้ทุกคนได้เข้าสู่กอตแธมปี 1981 ในจินตนาการของเราโดยไม่มีความคิดว่า ‘เขาอยู่ในนิวอาร์คนี่’ มาร์คพบกับสถานที่หลายแห่งที่แทบจะไม่ค่อยคุ้นตาและสื่อถึงยุคนั้นในช่วงแรกๆ ได้ แน่นอนว่าเขาต้องเพิ่มปริมาณขยะเข้าไปในฉาก และเปลี่ยนแปลงอะไรหลายอย่าง เพื่อเพิ่มความรู้สึกของสถานที่และช่วงเวลานั้น ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของช่วงเวลาแต่ยังรวมถึงเรื่องเสียงรอบข้างด้วย ที่นั่นต้องเต็มไปด้วยฝุ่น เป็นกอตแธมในช่วงวิกฤติที่เต็มไปด้วยขยะ”
“ตั้งแต่ฉากมุมกว้างของจัตุรัสกอตแธมไปจนถึงฉากที่มีคนนั่งอยู่บนเก้าอี้ในรถบัส หรือการเดินไปตาม Jerome Avenue ที่ระดับพื้นยกูงขึ้นไปจนถึงอพาร์ทเมนท์ของเขา แลร์รีรู้สึกสนใจในความแตกต่างของผู้ชายตัวเล็กๆ คนนี้ในโลกที่กว้างใหญ่ และโลกใบเล็กของผู้ชายคนนี้ที่เขาใช้ชีวิตอยู่กับมัน” เฟรดเบิร์กได้เล่าว่า “สำหรับผมแล้วนั่นหมายถึงการเปลี่ยนแปลงภาพธรรมดาสู่รายละเอียดที่มีความพิเศษเฉพาะตัว จากรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงถนนสายใหญ่ของเมือง และรวมถึงรายละเอียดของช่วงเวลาที่จุดบุหรี่ ยกตัวอย่างเช่นเวลาเราเดินไปตามตึกที่พักอาศัยในย่านบรองซ์ เราจะเห็นรายละเอียดโดดเด่น จะได้กลิ่นสิ่งต่างๆ อย่างชัดเจน และภาพที่ได้มันมีความงดงามสำหรับผมมากครับ ทอดด์ใจกว้างเรื่องการสนับสนุนให้ผมถ่ายทอดความแตกต่างออกมาอย่างชัดเจนในแบบที่สัมผัสได้ถึงความสมจริง”
ตัวอย่างหนึ่งเช่นห้องน้ำสาธารณะที่อาร์เธอร์หนีเข้าไปในช่วงเวลาสำคัญของเรื่อง ซึ่งกลายเป็นช่วงเวลาสำคัญของเชอร์และกล้อง “A” ของเขา / ผู้ควบคุมกล้อง Steadicam จอฟฟ์ ฮาลีย์ด้วย เชอร์อธิบายว่า “ตามหลักการของตากล้องและหลักการสำคัญของทอดด์ที่เราจะใช้ถ่ายทำภาพยนตร์ต่างๆ คือเราจะทำให้บรรยากาศปลอดโปร่ง และนำนักแสดงเข้ามาอยู่ในบรรยากาศนั้น ซึ่งจทำให้พวกเขามีอิสระในการเคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ ส่วนหนังเรื่องนี้มีอะไรมากกว่านั้น ทีมงานของผจะต้องเดินเข้าไปในฉากโดยที่ไม่รู้ว่าวาคีนจะทำอะไร ทอดด์กับวาคีนมีการพูดคุยกันแล้ว แต่ผู้ควบคุมของผมกับผมต้องเข้าไปทำงานในแบบที่ไมรู้ว่าเขาจะทำอะไรตามที่ต้องการบ้าง ทำได้แค่ปล่อยให้มันเดินหน้าไป โดยมันเริ่มจากฉากห้องน้ำ ทอดด์กับผมชอบห้องน้ำที่ดูสกปรกเลอะเทอะ คุณจะเห็นฉากห้องน้ำและลิฟต์ในหนังที่เราร่วมงานกันทั้ง 6 เรื่อง เรามีการกำหนดแสงในแบต่างๆ มีแสงส่องสว่างแบบแปลกๆ ไม่มีการเตรียมพร้อมมุมกล้องกัน พอเราเริ่มถ่ายทำก็ทำได้แค่จดจ่ออยู่กับวาคีน
“วาคีนจดจ่อกับปัจจุบันมากและเข้าถึงช่วงเวลานั้นอย่างเต็มที่” เขาเล่าต่อว่า “ฉะนั้นในฐานะผู้กำกับภาพหรือผู้ควบคุม เราก็อยากพาตัวเองเข้าถึงช่วงเวลานั้นอย่างเต็มที่และเฝ้าดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น ผู้ควบคุมของผมและผมอยู่กับกล้องของตัวเองและปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไป เคลื่อนที่ไปรอบตัวเขาในจังหวะที่เขากำลังค้นหาอะไรบางอย่างในฉากนั้น ซึ่งการถ่ายทำแบบนั้นกลายเป็นสิ่งที่เราใช้บ่อยมากในฉากต่างๆ เหมือนฉากหนึ่งในอพาร์ทเมนท์ของเขา ตอนที่อาร์เธอร์ปีนเข้าไปในตู้เย็น นั่นเป็นฉากที่ไม่ได้วางแผนเอาไว้และเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นเลย ถือเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นของการถ่ายหนังแบบนั้นเลยครับ ทุกฉากต้องมีความแม่นยำ เรารู้ว่าเราอยากได้แบบไหน และเก็บภาพการแสดงแบบสดๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ”
ในการยึดหลักการเรื่องความสมจริงของพวกเขา เฟรดเบิร์กและเชอร์ได้ร่วมมือกันสร้างและจัดแสงในฉากที่มีความสำคัญของหนังอย่างรายการ “Live with Murray Franklin” โดยเชอร์เล่าว่า “สิ่งที่มาร์คออกแบบไว้รวมถึงทุกๆ อย่าง เรามีการใช้แสงจัดฉากสร้างความสมจริงของช่วงนั้นขึ้นมา ไม่มีการใช้ไฟที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัยเลย”
“ผมเป็นคนยึดติดกับภาพยนตร์ และตลอดชีวิตคอยเลี่ยงการทำงานด้านทีวี แต่สุดท้ายก็มีหลายครั้งที่ผมต้องออกแบบให้รายการทีวีในภาพยนตร์ที่ผมกำลังทำงานอยู่” เฟรดเบิร์กหัวเราะ “ฉากหนึ่งที่สำคัญมากในเรื่องนี้คือรายการของเมอร์เรย์ แฟรงค์ลิน เราไม่ได้เลียนแบบคาร์สัน แต่เราทำตามแบบฉบับนั้น เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เก้าอี้ตัวอื่นและโซฟายาว มีผู้ประกาศและนั่งลง มีที่นั่งสำหรับผู้ชมถ่ายทอดสด มีวงดนตรี… ทุกอย่างรวมถึงห้องคอนโทรลและห้องแต่งตัวด้วย สิ่งที่ทำให้เราตื่นเต้นคือการสร้างฉากสไตล์เก่าขึ้นมาบนเวทีใหม่ที่ Steiner Studios ”
ทีมงานของเฟรดเบิร์กหาข้อมูลเรื่องกล้องที่ถ่ายทำรายการในทีวีสมัยก่อนเพื่อฉากเหล่านั้นจาก Museum of Broadcast Technology ใน Rhode Island จอมอนิเตอร์รุ่นเก่าที่ติดอยู่บนกล้อง ซึ่งจะเห็นภาพต่างๆ ในช่วงที่พวกเขากำลังบันทึกภาพกัน
ขบวนรถไฟสมัย 1970-80 ก็มีการใช้ในช่วงถ่ายทำด้วย โดยได้รับมาจาก New York City Transit Museum และมีการควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับอนุญาตจาก Metropolitan Transit Authority (MTA) การถ่ายทำใช้เส้นทางในบรูคลินและบรองซ์ช่วงอุโมงค์ด้านในสุด รางรถไฟ ชานชาลา และอะไรอีกหลายอย่างมีการเปิดใช้งานปกติ ฉะนั้นนักแสดงจึงต้องเป็นผู้โดยสารที่นั่งในขบวนรถไฟจริงๆ
ฉากต่างๆ ที่ผู้ชมเห็นอาร์เธอร์ช่วงแรกและช่วงที่เขาแสดงเดี่ยวเป็นครั้งแรก มีการถ่ายทำในคลับแสดงคอมเมดี้ชื่อดังอย่าง Dangerfield ย่าน Manhattan’s Upper East Side ของแมนฮัตตัน ซึ่งตั้งชื่อตามนักแสดงตลกชื่อดัง รอดนีย์ แดนเกอร์ฟีลด์ โดยที่นั่นเปิดให้บริการเมื่อปี 1969 และเป็นสถานที่ที่มีความเก่าแก่สุดในเมือง
การออกแบบเครื่องแต่งกาย
สำหรับการสร้างภาพลักษณ์ของอาร์เธอร์และโจ๊คเกอร์บนเวทีขึ้นมา ฟิลลิปส์ได้รับความช่วยเหลือจากผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย มาร์ค บริดเจส ที่เคยออกแบบเสื้อผ้าให้ฟีนิกซ์ทั้งในเรื่อง “The Master” และ “Inherent Vice” มาแล้ว บริดเจสเล่าว่า “ทั้งสองเรื่องนั้นเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงยุคสมัย เรื่องหนึ่งคือช่วง 1950 ส่วนอีกเรื่องคือช่วง 1970”
ก่อนหน้านี้รูปร่างของฟีนิกซ์ผอมลงมากในช่วงเริ่มการถ่ายทำ “ผมไม่รู้จริงๆ ว่าเขาทำได้ยังไง” บริดเจสเป็นคนกำหนดการฝึกของฟีนิกซ์ “แต่เราเริ่มปรับรูปร่างกัน 6 เดือนก่อนการถ่ายทำ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมงานกับเขาด้วย ไม่ใช่แค่เรื่องเสื้อผ้าที่ต้องพอดีตัว แต่เราต้องซ่อนรูปร่างของเขาในฉากนี้ด้วย เราจะรวมทุกอย่างไว้ทีเดียวเลยได้มั้ย?”
ฟิลลิปส์ไม่เคยร่วมงานกับบริดเจสมาก่อน แต่รู้สึกชื่นชมในการออกแบบของเขามาก “มาร์คมีฝีมืออย่างเหลือเชื่อครับ” ผู้กำกับฯ กล่าวว่า “แค่เรื่องชุดของโรเบิร์ต เดอ นีโรที่ต้องเหมาะสมกับเขาก็เป็นเรื่องที่น่าทึ่งแล้ว และเขาเคยร่วมงานกับวาคีนมาบ้างแล้วก่อนหน้านี้ พวกเขาเลยทำงานร่วมกันอย่างเข้าขามาก”
บริดเจสBridges was flattered when Phillips reached out. “ทอดด์ส่งโน้ตมาบอกว่าเขากำลังจะมีโปรเจ็กต์เรื่องนี้ ผมสนใจจะมาร่วมงานด้วยมั้ย แน่นอนว่าการได้รับข้อความจากคนที่มีความสามารถอย่างทอดด์.. และการได้ร่วมงานกับเพื่อนเก่าอย่างวาคีนเป็นเรื่องที่ทำให้ผมมีความสุขมาก เรามีความสุขกับทุกช่วงเวลาและผมก็ไว้ใจเขา เรามีการพูดคุยกันและเขารับฟังคำแนะนำของผมว่าจะถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในตัวเขาออกมาอย่างเต็มที่ได้ยังไง ทุกอย่างเป็นไปตามความต้องการของทอดด์เลยครับ”
ในยุคของ “โจ๊คเกอร์” บริดเจสอธิบายว่า “ถ้าคุณเป็นคนยุค 1981 ตัวจริง จะเห็นสีสันต่างๆ และสีที่มารวมกันในร้านค้า เรามีการใช้สีฟ้า น้ำตาล สีแดงม่วง สีม่วงอ่อน สีเทา สีน้ำเงินเข้ม และสีกากี… เราเลี่ยงสีส้มอิฐและสีเขียวแบบยุค 70 แต่ก็ยังมีการใช้บ้างเพื่อความงดงามของเรื่องราว แต่การยึดโทนสีเหล่านั้นเป็นหลักทำให้รู้สึกได้ถึงอีกช่วงเวลาหนึ่งขึ้นมาทันที เพราะมันไม่ใช่สีที่หาได้ตามร้านค้าแล้ว”
สำหรับแฟชั่นของอาร์เธอร์ที่สื่อความรู้สึกออกมา บริดเจสเล่าว่า “เขามีความเป็นจอห์น คิว. พับลิคสูงมาก พูดให้เห็นภาพคือเป็นสไตล์ที่ไม่ยุ่งยากมากนัก เขาแต่งตัวสบายๆ และเป็นเสื้อผ้าที่ใส่มานานแล้ว เขามีมุมที่ดูเหมือนเด็กอยู่ในตัวดว้ย สำหรับวาคีนผมไม่อยากให้มีตัวเลือกเรื่องเสื้อผ้ามากมาย เพราะการแสดงของเขามีความโดดเด่นมากพอแล้ว”
ในฉากเปิดตัวภาพยนตร์ เราจะเห็นอาร์เธอร์อยู่ที่ทำงาน ซึ่งรวมถึงเสื้อผ้าจริงที่อาร์เธอร์ออกแบบขึ้นมาเองอย่างชุดปาร์ตี้ของตัวตลก “รู้มาว่าท่าทางบางอย่างของตัวละครในเรื่องได้แรงบันดาลใจมาจากท่าทางของชาร์ลี แชพลิน ผมเคยมีการเล่นกับเรื่องแสงเงาแบบนั้นมาบ้าง แถมรู้มาด้วยว่านั่นเป็นสิ่งที่อาร์เธอร์แอบเลียนแบบหลายอย่าง” บริดเจสเล่าว่า “แต่ยังไงก็ตามมีส่งหนึ่งที่ผมนึกถึงคือหมวกที่เขาสวม เพราะเป็นสิ่งที่ผมชอบมากในตัวตลก”
และแน่นอนว่าอาร์เธอร์ต้องสวมรองเท้าคู่ใหญ่แบบตัวตลกใส่กันด้วย ซึ่งเป็นรองเท้าที่ฟีนิกซ์ต้องใส่วิ่งหลายครั้งด้วย ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
เมื่อมาถึงเสื้อผ้าที่โจ๊คเกอร์ต้องใช้จริงในเรื่อง บริดเจสเล่าอย่างมีความสุขว่าการออกแบบนั้นมาจากสิ่งที่เขียนไว้ในบทฯ “เป็นชุดมอมแมมที่อาร์เธอร์ใช้มาแล้วหลายปี” เขายังสารภาพอีกว่า “เราเกิดความคิดนับล้านและมีความกดดันพอตัวที่ต้องผลิตชุดออกมาให้ถูกใจแฟนๆ แต่สุดท้ายผลงานของผมต้องเป็นส่วนหนึ่งของการเล่าเรื่องราว เสื้อผ้าต้องเป็นองค์ประกอบหนึ่งของตัวละคร ต้องเป็นเสื้อผ้าที่เราเคยเห็นอาร์เธอร์ใส่แล้ว ส่วนตอนนี้จะจับมาใส่เข้าด้วยกันในแบบของโจ๊คเกอร์”
การทำงานในช่วงนั้นบริดเจสกำหนดได้ทั้งช่วงเวลาและจำนวนของตึกที่จะปรากฎเป็นบทสรุปในหนัง “ผมเริ่มมาร่วมงานด้วยตั้งแต่ช่วงแรกและเดินทางไปกับเรื่องราว ทั้งองค์ประกอบในคลับคอมเมดี้ การผสมผสานของสิ่งต่างๆ ที่มีท่วงทำนองต่างกัน จนได้ผลงานสุดท้ายออกมา ตอนที่วาคีนกับผมมีการลองชุดเต็มตัวกันเป็นครั้งสุดท้าย มีการใส่ทั้งเสื้อเชิ้ตและเสื้อกั๊กที่ลงตัวเข้ากัน… เขามีความมั่นใจแบบเก้ๆ กังๆ อย่างที่ไม่เหมือนกับอาร์เธอร์ แต่นั่นคือส่งที่เหมาะกับโจ๊คเกอร์ สำหรับผมนั่นคือสิ่งที่ทำให้มีความสุขมากครับ”
ฟีนิกซ์เล่าเสริมว่า “ในร่างของโจ๊คเกอร์ เขาเดินอย่างสง่าผ่าเผย มีความมั่นใจ และที่เหนือกว่านั้นคือเขาแข็งแกร่งพอที่จะปกป้องตัวเองได้”
ตลอดทั้งเรื่องอาร์เธอร์ต้องแต่งหน้าตัวตลกในหลากรูปแบบตามการแสดงของเขาหลายระดับ บทสรุปเรื่องภาพลักษณ์ของโจ๊คเกอร์ออกแบบโดยฟิลลิปส์และฟีนิกซ์ ซึ่งได้อาร์เธอร์ที่ดูเรียบง่ายและได้ความช่วยเหลืออย่างมืออาชีพจากหัวหน้าแผนกเมคอัพ นิคกี้ ลีเดอร์แมนและทีมงานของเธอ มีการใช้สีแดงและสีเขียวกับตัวตลกในแบบอาร์เธอร์ ลีเดอร์แมนเองได้ตกแต่งน้ำตาของอาร์เธอร์ออกมาหลายเฉดจากสีสันต่างๆ ที่มีอยู่ในมือของเธอและถูเข้ากับสีฟ้าเก่า
“ผมเคยคิดว่าชีวิตตัวเองเหมือนกับเรื่องเศร้า แต่ตอนนี้ผมเข้าใจแล้วว่ามันเป็นเรื่องตลก”
—โจ๊คเกอร์
สำหรับการถ่ายทอดหลายเรื่องราวที่ได้สำรวจออกมาในหนัง ฟิลลิปส์ได้ขอความช่วยเหลือจากผู้ประพันธ์ดนตรี ฮิลเดอร์ กัวนาดอตเตอร์ ตั้งแต่ช่วงแรก “ฮิลเดอร์ช่วยแต่งเพลงตั้งแต่ช่วงก่อนการถ่ายทำเลยครับ” ฟิลลิปส์เล่าถึงช่วงนั้น “ผมส่งบทไปให้เธอ และเธอก็แต่งเพลงก่อนที่เราจะเริ่มถ่ายทำกันด้วยซ้ำ ผลงานที่เธอสร้างขึ้นมามีความโดดเด่นมาก”
กัวนาดอตเตอร์เล่าว่า “ทอดด์ให้ฉันแต่งเพลงที่อิงจากความรู้สึกตอนที่อ่านบทฯ ซึ่งทำให้ฉันเกิดแรงบันดาลใจมากเพราะมันเป็นเรื่องที่บอกอะไรหลายอย่างกับฉัน” เธอส่งตัวอย่างไปให้เขาและเล่าว่า “เขาคิดว่าฉันถ่ายทอดบรรยากาศของหนังออกมาได้ตรงตัวมากค่ะ”
สำหรับสิ่งที่ติดอยู่ในใจนักแต่งเพลงที่สุด เธอเล่าว่า “เป็นอาร์เธอร์ค่ะ ตัวละครนี้มีความชัดเจนแต่มีหลายมิติ มีความใจดีและมีความเป็นเด็ก เขาพยายามอย่างหนักเพื่อจะวางตัวให้เหมาะสม แต่ด้วยสภาพแวดล้อมและสิ่งที่ทุกคนทำกับเขามันยากที่จะเป็นไปได้ ดนตรีคือสิ่งที่สื่อถึงเรื่องพวกนั้นผ่านท่วงทำนอง มันมีความเรียบง่ายและเป็นทำนองเดียวกัน เพราะเขามองทุกอย่างในแบบนั้น ฉันพยายามขยายความเรียบง่ายนั้นด้วยการใช้ดนตรีแบบออเคสตร้า ไม่มีคอร์ดหรือทำนองเพลงที่ซับซ้อนเลยค่ะ แต่มีรายละเอียดในท่วงทำนองที่ฉันรู้สึกว่ามันสะท้อนถึงความท้อแท้ที่อยู่ในตัวเขาได้”
การแต่งเพลงที่เธอใช้เชลโลเป็นองค์ประกอบหลัก ทำให้ได้ท่วงทำนองที่มีดนตรีเส้นสายเป็นหลัก กัวนาดอตเตอร์เล่าว่า “นักดนตรีออเคสตร้ายุค 90 จะเล่นเพลงแบบเดียวกันนี้บ่อยๆ แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่ในทำนองนั้นคือเชลโ,ค่ะ ฉันคิดว่ามันเข้ากับตัวละครได้ดี มีการสะท้อนถึงเขาในบางอย่างและลึกๆ แล้วเขาก็มีความซับซ้อนหลายระดับ เพียงแต่เขามองไม่เห็น ฉันเลยนึกถึงดนตรีออเคสตร้าค่ะ มันเป็นการเล่นดนตรีที่ไม่เน้นเสียงดังตลอดเวลา คุณจะคิดว่ากำลังฟังเพลงจากเชลโลตัวเดียว แต่สำหรบัอาร์เธอร์แล้วมันมีความซับซ้อนที่ซ่อนอยู่ในนั้น”
กัวนาดอตเตอร์เริ่มร่วมงานด้วยตั้งแต่ช่วงแรก ทำให้ฟิลลิปส์สามารถให้คำแนะนำได้ตลอดการทำงาน และส่งเพลงให้ฟีนิกซ์ในช่วงไม่กี่อาทิตย์ของการถ่ายทำ ซึ่งช่วยกระตุ้นการแสดงในฉากสำคัญของเขาได้มาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ชมจะเห็นเป็นลางอย่างแรกเลย “วาคีนกับผมอยู่ในฉากด้วยกันและนั่งนิ่ง” ผู้กำกับฯ เล่าว่า “เรานึกภาพฉากนั้นไม่ออกเลย แต่จำได้ว่ามีดนตรีจากฮิลเดอร์ที่ผมฟังเมื่อคืนก่อน ผมเลยเปิดให้เขาฟังและเขาก็ชอบมันมาก เขาเริ่มเต้นไปกับเพลงอย่างช้าๆ และอยู่ๆ เขาก็กลายเป็นอาร์เธอร์ขึ้นมา มันโผล่มาได้จากเงาของเขาเลย เราเริ่มเก็บภาพของเขาจนนั่นเป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงของตัวเขา”
ฟีนิกซ์ยืนยันว่า “ทอดด์เริ่มเปิดเพลงที่ใช้เชลโล มันช่วยได้มากเลยครับ ผมบอกกับเขาว่า ‘มันน่าจะมีการเคลื่อนไหว’ เขาตอบว่า ‘ผมคงเริ่มจากที่เท้าของคุณก่อน นั่นเป็นการเคลื่อนไหวของคุณ’ เขาบอกแค่นั้นและมันมีแค่นั้นเลย การซักซ้อมมีอยู่ในช่วงการเรียนท่าทางการแสดงและการเต้น แต่สิ่งที่ออกมาพร้อมกับดนตรีกลายเป็นจุดเปลี่ยนของตัวละคร ของผม ของทอดด์ที่เราได้ร่วมงานกัน… และเข้าใจในตัวอาร์เธอร์”