เรื่องราวของ “Frozen” พูดถึงคำทำนายที่ทำให้อาณาจักรหนึ่งต้องตกอยู่ภายใต้ฤดูหนาวอันเยือกเย็นและโหดร้ายตลอดกาล“แอนนา” สาวน้อยช่างฝัน (พากย์โดย คริสเทน เบลล์) จึงร่วมมือกับ “คริสตอฟ” มนุษย์ภูเขาผู้กล้าหาญ ในการเดินทางครั้งยิ่งใหญ่เพื่อที่จะตามหา “ราชินีหิมะ” (พากย์โดย อีดิน่า เมนเซล) และยุติคำสาปน้ำแข็งอันหนาวเหน็บที่ปกคลุมอาณาจักรแห่งนี้มาอย่างยาวนาน การผจญภัยสุดหฤโหดภายใต้สภาวะอากาศอันโหดร้ายดั่งเทือกเขาเอเวอร์เรส การเผชิญหน้ากับสัตว์ในตำนานและมนตราในทุกย่างก้าว แอนนาและ คริสตอฟต้องฝ่าฝันและเอาชนะทุกอย่างที่มาขัดขวางการปกป้องอาณาจักรจากการล่มสลาย
วอลท์ ดิสนีย์ แอนิเมชั่น สตูดิโอส์ เสนอ เรื่องราวมหากาพย์การผจญภัยและอารมณ์ขัน ใน “Frozen” ภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่จะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์วันที่ 26 ธันวาคม 2556 กำกับการแสดงโดย คริส บัค (“ทาร์ซาน”, “เซิร์ฟส์ อัพ”) อำนวยการสร้างโดย ปีเตอร์ เดล เวคโค (“วินนี่ เดอะ พูห์”, “เดอะ พรินเซส แอนด์ เดอะ ฟรอก”) “Frozen” ให้เสียงพากย์โดยนักแสดงสาวที่มีทั้งงานหนัง/ทีวี/และละครเวที คริสเทน เบลล์ ในบท แอนนา สาวช่างฝันที่ต้องพบกับการผจญภัยครั้งสำคัญในชีวิต และนักแสดงเจ้าของรางวัลโทนี่ อวอร์ด อีดิน่า เมนเซล ในบท เอลซ่า ราชินีหิมะ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เพลงประกอบจากฝีมือของสุดยอดนักแต่งเพลงผู้ยิ่งใหญ่แห่งบรอดเวย์ โรเบิร์ต โลเปซ และ คริสเทน แอนเดอร์สัน-โลเปซ
ออกผจญภัยในดินแดนหิมะพร้อมกัน
5 ธันวาคม 2556
ในโรงภาพยนตร์
********************************************************
เกร็ดน่ารู้
เล่านิทานให้ฟังหน่อยสิ
เดี๋ยว อะไรนะ – “เดี๋ยว อะไรนะ” หนึ่งในประโยคติดปากของอันนา ถูกเพิ่มเข้าไปในบทโดยคริสเตน เบลล์
สนุกสุดๆ – ในตอนที่ทีมงานเรื่องราวกำลังพัฒนา โอลาฟ มันเต็มไปด้วยความเป็นไปได้ที่ไร้ที่สิ้นสุด พวกเขามาพบโอลาฟเอาตอนที่พวกเขาตั้งคำถามว่า “ตุ๊กตาหิมะจะคิดยังไง” ซึ่งก็ทำให้โอลาฟออกมาเป็นตัวละครที่บริสุทธิ์ เรียบง่าย ไร้เดียงสา อารมณ์ขันของเขามาจากวิธีการคิดที่เรียบง่ายของเขา
แบบซามีจ๋า – คริสตอฟฟ์ เป็นตัวละครที่ได้รับอิทธิพลมาจากชาวซามี ซึ่งตั้งรกรากอยู่ทางตอนเหนือของนอร์เวย์
- ชาวซามีเป็นที่รู้จักจากการนำฝูงเรนเดียร์ ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าทำไมคู่หูของคริสตอฟฟ์ถึงเป็นเรนเดียร์ที่ชื่อสเวน ทีมผู้สร้างได้ไปเยี่ยมชมธุรกิจเลี้ยงเรนเดียร์ของชาวซามีในเมืองโรรอส ประเทศนอร์เวย์ด้วย
- มีตอนหนึ่ง ทีมผู้สร้างได้ตั้งชื่อเรนเดียร์ว่า ธอร์ แต่หลังจากนั้น พวกเขาก็เปลี่ยนใจเนื่องด้วยความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นอย่างฉับพลันของชื่อนี้
นั่นมะนาวนี่ – ม้าของฮานส์ที่ช่วยไม่ให้อันนาร่วงลงไปในน้ำก่อนหน้าพิธีสวมมงกุฏ มีชื่อว่า ซิทรอน ที่หมายถึง “มะนาว” ในภาษานอร์เวย์
ทำการบ้าน
ไม่มีทาง! – ผู้กำกับศิลป์ ไมค์ เกียโม และทีมงานได้เดินทางไปนอร์เวย์เพื่อดื่มด่ำกับบรรยากาศ เยี่ยมชมสถาปัตยกรรม ค้นคว้าวัฒนธรรมและเทพปกรณัมในท้องถิ่นและรวบรวมแรงบันดาลใจจากสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้สร้างอาณาจักรสมมติอาเรนเดลล์ของพวกเขา พวกเขาได้เยี่ยมชมป้อมปราการ ปราสาท ร้านค้าในพิพิธภัณฑ์ วิหาร ฟยอร์ดและทุ่งน้ำแข็งด้วยรถ รถไฟและเรือ
- เพื่อทำความเข้าใจกับปราสาทอาเรนเดลล์ ทีมงานได้เยี่ยมชมปราสาทอาเคอร์ชูส์ในยุคกลางของออสโล และพระราชวังสติฟส์การ์เดนในเมืองทรอนด์เฮม ซึ่งเป็นหนึ่งในอาคารไม้ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคสแกนดิเนเวียน ซึ่งใช้ทุนสร้างเกือบเก้าล้านปอนด์ในปี 1778
- นักวาดภาพได้เดินทางทางเรือในเกอแรงเกอร์ฟยอร์ดและซอนเนฟยอร์ด ซึ่งด้วยความยาว 205 กิโลเมตร เป็นฟยอร์ดที่ยาวที่สุดในนอร์เวย์ (และยาวเป็นอันดับสามของโลก) ฟยอร์ดเป็นภาพภูมิประเทศนอร์เวย์ที่เป็นที่รู้จักกันดี โดยเกอแรงเกอร์ฟยอร์ดและแนเรยฟยอร์ดได้รับการบรรจุให้อยู่ในลิสต์มรดกโลกของยูเนสโก้ด้วยซ้ำไป
ลึกลงไปอีก – อนิเมเตอร์และนักวาดภาพเอฟเฟ็กต์ได้เดินทางไปยังแจ็คสัน โฮล, ไวโอมิง เพื่อสัมผัสกับหิมะหนาทึบ พวกเขาได้สวมชุดต่างๆ กัน ซึ่งรวมถึงกระโปรงยาว เพื่อบันทึกผลกระทบที่เกิดจากการก้าวเดินของพวกเขาและปฏิกิริยาทีหิมะมีต่อเสื้อผ้า
วันเรนเดียร์ – ทีมผู้สร้างได้เชิญเรนเดียร์ตัวเป็นๆ มาเยือนวอลท์ ดิสนีย์ อนิเมชัน สตูดิโอส์ เพื่อสังเกตรูปร่างหน้าตาและอากัปกิริยาของมัน ซึ่งภายหลัง มันก็ได้ถูกสร้างภาพล้อเลียนกลายเป็นสเวน คู่หูเรนเดียร์ของคริสตอฟฟ์ใน “Frozen”
- กวางเรนเดียร์ตัวนั้นได้แสดงเทคนิคที่คาดไม่ถึงในการเกาหูที่คัน นั่นคือการใช้ขาหลังอย่างที่สุนัขทำ และสเวนก็ได้ใช้เทคนิคเดียวกันนี้ด้วย
- เรนเดียร์ ที่ปรับตัวเข้ากับหิมะและอากาศหนาวเย็นได้ สามารถลดอุณหภูมิในขาของพวกมันถึงระดับใกล้จะแข็ง เพื่อรักษาระดับความร้อนในร่างกายให้คงที่ท่ามกลางอากาศหนาวเย็น นอกจากนี้ พวกมันยังมีความเร็วอย่างเหลือเชื่อด้วย ลูกเรนเดียร์เพิ่งเกิดสามารถวิ่งเร็วกว่าคน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้คริสตอฟฟ์พึ่งสเวนในตอนที่เขาต้องการไปหาอันนาอย่างเร่งด่วน
ปราสาทน้ำแข็ง – ทีมงานหลายคนได้เดินทางไปควิเบคเพื่อเยี่ยมชมไอซ์ โฮเตล เพื่อใช้เป็นแรงบันดาลใจสำหรับปราสาทน้ำแข็งของเอลซ่าใน “Frozen” แม้ว่าพวกเขาจะได้รับแรงบันดาลใจและทึ่งกับโรงแรมน้ำแข็งแห่งนั้น แต่ก็ไม่มีใครเลือกจะพักค้างคืนในที่นั้น
ให้หิมะโปรย – ในความพยายามที่จะทำให้เวทมนตร์เยือกแข็งของเอลซ่าสมบูรณ์แบบ ทีมผู้สร้างได้ขอความช่วยเหลือจากดร.โธมัส เพนเตอร์ นักวิทยาศาสตร์จากเจ็ต โพรพัลชัน แล็บบอราทอรีในพาซาเดนา หรือ “ดร.สโนว์” มาให้ความรู้เกี่ยวกับเกล็ดหิมะจากระดับโมเลกุลเลยทีเดียว
- 80%ของน้ำจืดในโลกมีสถานะเป็นของแข็งในรูปแบบของน้ำแข็งหรือหิมะ หิมะจะไร้สีและมีความใส แต่แสงที่สะท้อนอย่างสม่ำเสมอบนคริสตัลของเกล็ดหิมะจะทำให้มันแลดูมีสีขาว
- แม้ว่าฤดูหนาวนิจนิรันดร์ ที่จู่ๆ ก็เข้าจู่โจมอาเรนเดลล์ใน “Frozen” อาจจะพอฟัดพอเหวี่ยงกับสถิติหิมะตกที่ไหนๆ ก็ตาม แต่สถิติหิมะที่ตกมากที่สุดในวันเดียวคือ 6.3 ฟุต ในซิลเวอร์ เลค, โคโลราโด ในปี 1921 มีการคาดการณ์ว่าในพื้นที่ห่างไกลกว่านี้ หิมะคงตกมากกว่านี้ แต่ไม่มีใครได้บันทึกเอาไว้
ฟังดูแล้วใช่ – ในการใส่คำ สำเนียงและประโยคนอร์เวย์แท้ๆ เข้าไปในบท ทีมผู้สร้างได้เรียกใช้แจ็คสัน ครอว์ฟอร์ด ผู้สอนเทพปกรณัมโอลด์ นอร์สและสแกนดิเนเวียน ไวกิ้งและตำนานต่างๆ ที่ยูซีแอลเอ งานวิจัยของเขาให้น้ำหนักที่ประวัติศาสตร์โอลด์ นอร์สและนอร์เวย์
- นอกจากนี้ ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังมีการส่งเสียงร้องเรียกแบบนอร์เวย์ ซึ่งเป็นเสียงที่ชาวนาใช้เรียกแพะและแกะให้กลับมาจากทุ่งหญ้าในหุบเขา นักร้องชาวนอร์เวย์และคอมโพสเซอร์ภาพยนตร์ คริสติน ฮัลส์ได้รับการทาบทามให้มาให้เสียงในภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย
โดยเชิงเทคนิคแล้ว
มันพิเศษสุด – ภาพยนตร์แอนิเมชันตามปกติจะมีสเปเชียล เอฟเฟ็กต์ประมาณ 45% ของช็อตทั้งหมด แต่เนื่องด้วย “Frozen” มีเรื่องราวเกิดขึ้นท่ามกลางพายุหิมะ ซึ่งหิมะและน้ำแข็งถูกมองว่าเป็นสเปเชียล เอฟเฟ็กต์ ดังนั้น “Frozen”ก็เลยถูกมองว่าพิเศษแบบสุดๆ ไปเลย
เรื่องมันยาวนะ – ฉากที่เอลซ่าเดินออกไปบนระเบียงของปราสาทน้ำแข็ง ที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ๆ ของเธอ มีความยาว 218 เฟรม และมีเฟรมที่ยาวที่สุดที่ต้องเรนเดอร์ในเรื่องด้วย แค่เฟรมเดียวก็ใช้เวลาเรนเดอร์นานกว่า 132 ชั่วโมงแล้ว (นานกว่าห้าวันอีก)
ความเลิศหรูแบบนอร์เวย์ – ไมค์ เกียโม ผู้กำกับศิลป์ได้ผสมผสานเสื้อผ้าพื้นถิ่นแบบดั้งเดิมของนอร์เวย์เข้ากับการประดับประดาแบบฮอลลีวูดเก่า และสีสันจัดจ้านเพื่อสร้างลุคที่มีเอกลักษณ์ให้กับเสื้อผ้าใน “Frozen”
การสร้างสไตล์ – ในการสร้างลุคของเอลซ่าที่เพิ่งหนีจากอาเรนเดลล์ ทีมผู้สร้างได้เชิญ เดนิลโล ช่างทำผมคนดัง มาเยือนเบอร์แบงค์ สตูดิโอส์ เพื่อทดลองกับสไตล์ต่างๆ และถ่ายทอดความกล้าที่เพิ่งเกิดขึ้นของเอลซ่า
ทุกอย่างเป็นดอกกุหลาบ – โรสมาลิง สไตล์ศิลปะตกแต่งที่พบได้ในประวัติศาสตร์ของนอร์เวย์ ปรากฏทั่วทั้งเรื่อง ทั้งบนเสื้อผ้า ภายในสถาปัตยกรรมและอยู่ในการเนรมิตเวทมนตร์เยือกแข็งของเอลซ่าด้วย
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด
กริ๊ง! – ระหว่างเดลีส์แอนิเมชัน แอนิเมเตอร์แต่ละคนจะนั่งใน”เก้าอี้เด่น” สีแดง เพื่อนำเสนอช็อตของพวกเขาให้กับผู้กำกับทั้งคู่ดู ถ้าผู้กำกับพอใจและไม่มีความเห็นเพิ่มเติม พวกเขาก็จะสั่นกระดิ่ง เพื่อบอกว่าพวกเขาไฟเขียว! และทุกคนก็จะปรบมือ
เกี่ยวกับภาพยนตร์
วอลท์ ดิสนีย์ อนิเมชัน สตูดิโอส์ ผู้อยู่เบื้องหลัง “Rapunzel” และ “Wreck-It Ralph” ภูมิใจเสนอ “Frozen” คอเมดีผจญภัยน่าทึ่ง อันนา สาวน้อยคนกล้าผู้มองโลกในแง่ดี ดั้นด้นออกผจญภัย ร่วมกับคริสตอฟฟ์ หนุ่มภูเขาผู้หยาบกระด้าง(พากย์เสียงโดยโจนาธาน กรอฟฟ์) และเรนเดียร์ผู้ภักดีของเขา สเวน เพื่อตามหาพี่สาวของเธอ เอลซ่า (พากย์เสียงโดยอิดริน่า เมนเซล) ผู้ซึ่งพลังเยือกแข็งของเธอ ได้ทำให้อาณาจักรเอเรนเดลล์ ตกอยู่ในฤดูหนาวนิจนิรันดร์ ในการเผชิญหน้ากับสภาพที่เหมือนกับเทือกเขาเอฟเวอเรสต์ โทรลล์ลึกลับและตุ๊กตาหิมะสุดฮาที่ชื่อโอลาฟ (พากย์เสียงโดยจอช แก็ด), อันนาและคริสตอฟฟ์ ต้องสู้กับสภาพดินฟ้าอากาศ เพื่อกอบกู้อาณาจักรแห่งนี้ให้ได้ ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดยคริส บัค (“Tarzan,” “Surf’s Up”) และเจนนิเฟอร์ ลี (มือเขียนบท “Wreck-It Ralph”) ผู้ที่เขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย ภาพยนตร์เรื่องนี้อำนวยการสร้างดดยปีเตอร์ เดล เวโค (“Winnie the Pooh,” “The Princess and the Frog”) ภาพยนตร์เรื่องนี้นำเสนอเพลงออริจินอลจากเจ้าของรางวัลโทนี โรเบิร์ต โลเปซ (“The Book of Mormon,” “Avenue Q”) และคริสเตน แอนเดอร์สัน-โลเปซ (“In Transit,” “Winnie the Pooh”) และดนตรีประกอบดั้งเดิมโดยคริสตอฟ เบ็ค (“The Muppets,” ภาพยนตร์ขนาดสั้นรางวัลออสการ์เรื่อง “Paperman”) “Frozen” เข้าฉายในระบบ 3D ในวันที่ 5 ธันวาคม ปี 2013