คุณรู้จักเพชฌฆาตคนสุดท้ายของประเทศไทยมั้ย??? คลิ๊กเพื่อชมตัวอย่างภาพยนตร์ “เพชฌฆาต The Last Executioner” 3 กรกฎาคมนี้ชี้ชะตา ตัดสิน

poster 03

ภาพยนตร์คุณภาพที่ได้รับแรงบันดาลใจจากชีวิตของ“คุณเชาวเรศน์ จารุบุณย์” เพชฌฆาตคนสุดท้ายของประเทศไทยที่ใช้วิธีการยิงเป้านักโทษก่อนที่จะมีการเปลี่ยนวิธีประหารชีวิตเป็นการฉีดยา พร้อมเผยเรื่องราวเบื้องลึกหลังแดนประหารที่ไม่มีใครเคยรู้

ผ่านมุมมองการกำกับของผู้กำกับมากความสามารถ“ทอม วอลเลอร์”
พร้อมด้วยนักแสดงฝีมือคุณภาพ นำโดย
วิทยา ปานศรีงาม , เพ็ญพักตร์ ศิริกุล , เดวิด อัศวนนท์ , นิรุตต์ ศิริจรรยา , พิศาล อัครเศรณี , สีเทา-จรัล เพ็ชรเจริญ ฯลฯ และนักแสดงน้องใหม่ที่น่าจับตามอง ถิร ชุติกุล และ สุชาดา โรจน์มโนธรรม

3 กรกฎาคม ชี้ชะตาตัดสิน เพชฌฆาต หรือ ฆาตกร

เพชฌฆาต THE LAST EXECUTIONER

เรื่องราวจากประสบการณ์จริง เพชฌฆาต คือเรื่องราวชีวิตของชายธรรมดาคนหนึ่งที่ผ่านชีวิต, ความตาย,หน้าที่และกรรมดีหรือกรรมชั่ว

เชาวเรศน์  จารุบุณย์ เป็นมือประหารคนสุดท้ายของประเทศไทย ที่ปลิดชีวิตนักโทษด้วยวิธีการยิงเป้าจากนักดนตรีหนุ่มผู้หลงใหลในเพลงร็อคแอนด์โรล และเล่นดนตรีให้กับเหล่าทหารไอจีในช่วงสงครามเวียดนาม เขาต้องเลือกทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ผู้คุมในเรือนจำเพื่อความมั่นคงของครอบครัวที่เขารักเขาใช้ชีวิตทั้งชีวิตยอมรับกรรมดีกรรมชั่วที่เกิดจากหน้าที่ของเขา ในการทำหน้าที่เป็นเพชฌฆาตผู้ปลิดชีพนักโทษมาแล้วถึง 55 คน ตลอดกว่า 19 ปี ในเรือนจำกลางบางขวางหรือที่รู้จักกันดีในนาม “คุกเสือใหญ่” หรือ “The Bangkok Hilton”

 

“We Thais believe in destiny and fate. I believe inKarma.”

“เราคนไทยเชื่อในชะตากรรมและโชคชะตา แต่ฉันเชื่อในกฏแห่งกรรม”

 

เมื่อในวัยเด็กตอนวันเกิดอายุครบ 11 ปี ของ เชาวเรศน์ ซึ่งเผอิญเป็นวันเดียวกับที่เกิดเหตุการณ์ลอบสังหารประธานาธิบดีสหรัฐ นายจอห์น เอฟ เคนเนดี้  พ่อและครูซื้อกีตาร์ให้เขาเป็นของขวัญวันเกิดเป็นตัวแรก แล้วเขาก็เริ่มหัดเล่นเพลง เอลวิส ริฟส์ จากนั้นพ่อพาเขาไปพบพระรูปหนึ่ง ซึ่งพระรูปนั้นได้พยากรณ์ไว้ว่า “เชาวเรศน์จะต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับความตาย“

 

ในช่วงปี  2503 เชาวเรศน์ที่เติบโตในวัยหนุ่ม ขณะกำลังวาดลวดลายบรรเลงเพลงร็อคแอนด์โรลยุคซิกซ์ตี้ส์ในบาร์ที่ชื่อว่า “Sorry About That” เขาได้พบกับติ๋ว สาวน้อยที่อาศัยอยู่แถวนั้น เขาตกหลุมรักติ๋วแล้วคบหาและตัดสินใจแต่งงานใช้ชีวิตอยู่กับเธอตลอดไปด้วยอาชีพศิลปินต้องถึงจุดวิกฤต เขาต้องการงานสร้างฐานะที่ “มั่นคง” เชาวเรศน์ ตัดสินใจเลิกเล่นดนตรีเพื่อไปสมัครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้คุมนักโทษ แม้กระนั้นเพลงร็อคแอนด์โรลก็ยังเป็นสิ่งที่เขารักตราบจนวันตาย

 

จากสิบสี่ปีชีวิตการทำงานของเขา เขาอยู่ได้เลื่อนขั้น และสร้างความประทับใจให้กับเจ้าหน้าที่
ด้วยจรรยาบรรณในการทำงานของเขา, ความรู้จักหน้าที่และความใจเย็น เชาวเรศน์ ได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้ทำหน้าที่เพชฌฆาตคนใหม่หลังจากที่หัวหน้าเพชฌฆาตคนเก่าได้ปลดเกษียรไป แม้ว่าคำทำนายในวัยเด็กจะตามหลอกหลอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิญญาณของชายตนหนึ่งที่แต่งตัวดีหน้าตาดี คอยปรากฎตัวในทุกๆที่ตลอดช่วงชีวิตของเชาวเรศน์ เมื่อเขายอมรับงานก็จะรับรายได้พิเศษ 2,000บาทต่อการปฎิบัติหน้าที่ประหารนักโทษ เชาวเรศน์ เป็นมืออาชีพมาก เขารู้สึกไม่รู้ร้อนไม่รู้หนาวเลยแม้จะเป็นการปฎิบัติหน้าที่ครั้งแรกของเขา

 

เชาวเรศน์ เปรียบเสมือนคนสองคนในร่างเดียว หนึ่งคนเป็นนักฆ่า อีกคนเป็นเพียงชายธรรมดาคนหนึ่งที่รักครอบครัวเหนือกว่าสิ่งใดและรักที่จะใช้ดนตรีเป็นเครื่องมือในการบำบัดจิตใจชะตาที่มืดมิดของเขาด้วยหน้าที่ และกรรมที่เขาที่เขาทำไว้ ดูเหมือนเขาจะสามารถแยกบุคคลทั้งสองออกจากกันได้อย่างสิ้นเชิง ทั้งพิธีการก่อนประหาร ระหว่างประหารและหลังเสร็จสิ้นการประหาร ทุกขั้นตอนเริ่มกลายเป็นความเคยชินสำหรับเชาวเรศน์แต่ก็มีบางครั้งที่กำแพงระหว่างคนทั้งสองในร่างของเขานั้นเกิดสั่นคลอน เขาไม่รู้สึกสั่นกลัวในการประหารชีวิตนักโทษหญิงคนแรกและครั้งแรกในชีวิตของเขา ซึ่งตอนนั้นหญิงสาวกลับไม่ได้เสียชีวิตจากการยิงประหารครั้งแรก และถูกโดนทำการยิงประหารซ้ำอีกครั้ง

 

“I never got pleasure out of shooting people… It was my job.”

“ผมไม่เคยมีความสุขในการปลิดชีวิตผู้อื่น…แต่มันคือหน้าที่”

 

ชีวิตของเขาดำเนินไปอย่างประหลาด ระหว่างกรรมอีกด้านจากการทำงานประหารชีวิต และกรรมเพื่อชีวิตครอบครัวเขาประหารชีวิตเพียงทำไปตามหน้าที่เท่านั้น อย่างไรแล้วเขายังออกไปเที่ยวร้องคาราโอเกะและทานอาหารเยอรมันตอนค่ำคืนกับภรรยาของเขา เขาสามารถเหนี่ยวไกปืนปลิดชีวิตอย่างเยือกเย็นได้ในวันเดียวกับวันที่เขาเล่นกับลูกสาวที่เป็นที่รักแก้วตาดวงใจของเขา หลังจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาวิญญาณก็ตามหลอกหลอนเขา ปรากฏตัวราวกับเป็นปกติ และบ่อยครั้งขึ้นจนดูเหมือนคนทั่วไป  แต่เขาก็ไม่สามารถหลุดพ้นจากกงกรรมกงเกวียนของเขาไปได้

 

เมื่อประเทศไทยเปลี่ยนกฏหมายการลงโทษประหารด้วยการยิงเป้า มาเป็นการฉีดยาพิษให้เสียชีวิตแทนเชาวเรศน์ ได้รับการจัดพิธีประกาศเกียรติคุณ โดยในงานมีการปล่อยลูกโป่งถึง 319 ลูก เสมือนการปลดปล่อยดวงวิญญาณของเหล่านักโทษที่ถูกประหารด้วยวิธีการยิงเป้าตลอด 70 ปี ที่ผ่านมา  หลังจากที่เริ่มเปลี่ยนเพชฌฆาตทีมใหม่ เชาวเรศน์ ได้กลายมาเป็นหัวหน้าเรือนจำต่างประเทศตามที่เขาได้ใฝ่ฝันและอยากจะทำมานาน เขาเริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง เขาได้ตีพิมพ์หนังสือที่เขาเขียน, เข้าร่วมงานทูต, ออกให้สัมภาษณ์สื่อสิ่งพิมพ์และรายการทีวีต่างๆ  ให้ความรู้แก่นักเรียน อีกทั้งยังปรากฏตัวในรายการทีวีเกมส์โชว์เวอร์ชั่นไทยที่มีต้นแบบจากอเมริกา “เพื่อบอกความจริง”

ต่อมาเขาจึงตัดสินใจบวชเป็นช่วงเวลาสั้นๆ แต่ก็ยังมีภาพในอดีตตามหลอกหลอนเขา ทั้งภาพของเหล่านักโทษที่ถูกเขาสังหาร ภาพในอดีตของพ่อของเขาและสุขภาพของเขาที่เริ่มเสื่อมลง เขาตัดสินใจเกษียรอายุราชการ เขาและภรรยาตั้งเป้าหมายในอนาคตเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยกัน ระหว่างทางเขาเกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงและเมื่อกลับถึงบ้านอาการปวดท้องก็ไม่ทุเลาลง ชุลี ลูกสาวบังคับให้เขาไปหาหมอ และพบว่าเขาเป็นมะเร็งขั้นที่สามในลำไส้  เขาอดทนเข้มแข็งและปฏิเสธการรักษาตัวเอง เพื่อเก็บเงินไว้ให้ครอบครัวอาการของเขาเริ่มทรุดลง วันหนึ่งลูกสาวขอให้เขาเล่นดนตรีให้เธอฟัง  แต่เขาไม่สามารถสั่งการนิ้วของเขาได้เหมือนเมื่อก่อนอีกแล้ว

 

บนเตียงที่เขาจะเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ด้วยอาการที่ทรุดหนักลงเรื่อยๆ เขาเห็นชายสองคนที่เขาเคยเห็นพร้อมกับยมบาลพวกเขาเป็นผู้ช่วยยมบาลที่แต่งตัวในชุดไทยโบราณ ชายสองคนนั้นรับตัวเขาไปยังที่สถานที่แห่งหนึ่ง ที่นั่นเขาถูกสั่งให้เขียนสิ่งที่เขาต้องการให้คนอื่นๆ จดจำเกี่ยวกับตัวเขาเช่นเดียวกับพิธีกรรมก่อนนำ นักโทษประหารเข้าสู่หลักประหารนั่นเอง เชาวเรศน์ เขียนลงไปว่า สามี/พ่อ/นักดนตรี แต่กลับไม่เขียน เพชฌฆาตแดนประหาร ลงไปด้วย

 

ในฉากสุดท้ายท่านยมและผู้ช่วยทั้งสองคนมาตัดสินชั่งน้ำหนักบุญและบาปของ เชาวเรศน์ หลังจากได้รับโทรแจ้งฉุกเฉินจากโรงพยาบาล ชุลี ลูกสาวของ เชาวเรศน์ ก็รีบไปหาที่โรงพยาบาล   เมื่อเธอไปถึงที่นั้นชายทั้งสอง

กำลังพาเชาวเรศน์ เดินผ่านประตูสีแดงไป ประตูนั้นมีลักษณะเหมือนกับประตูระหว่างแดนประหารและวัดของเหล่านักโทษไม่มีผิด เธอพยายามหยุดรั้งพวกเขาไว้แต่ไม่เป็นผล

 

ในตอนจบของเรื่องราวชีวิตที่มีทั้งสวยงามและตายที่ไม่คาดฝัน ชะตากรรมของเชาวเรศน์ก็ยังหนีไม่พ้น.

“I’m an executioner, not a murderer.”

“ผมเป็นเพชฌฆาต ไม่ใช่ฆาตกร”