เรียกได้ว่ากระแสข่าวที่มาแรงของวงการเสริมความงาม ขณะนี้คงหลีกไม่พ้นเรื่องของการฉีด Filler (ฟิลเลอร์) เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ที่หนุ่มนักศึกษาไปฉีด Filler เพื่อต้องการเสริมจมูก แต่สุดท้ายส่งผลกระทบถึงขั้นทำให้ดวงตาบอด เนื่องจากบริเวณจมูกมีหลอดเลือดเชื่อมไปยังประสาทตาและสมองโดยตรง หรือแม้กระทั้งรายอื่นๆถึงขั้นทำให้จมูกเน่า มากกว่าสิบราย ดังนั้น ผู้ที่ต้องการรับการฉีดสาร Filler ควรศึกษาถึงข้อมูลต่างๆทั้ง ข้อดี ข้อเสีย และควรตระหนักถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ก่อนตัดสินใจเสริมความงามด้วยการฉีด Filler
นายแพทย์อดุลย์ชัย แสงเสริฐ หรือ หมอเกมส์ สมาชิกสมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งแห่งประเทศไทย ได้อธิบายเรื่องของ Filler เพื่อให้ตระหนักถึงผลดี และ ผลเสียของการ ฉีด Filler ในแบบฉบับที่เข้าใจง่าย ตามสไตล์หมอเกมส์ โดยเริ่มแรกหมอเกมส์ ได้อธิบายถึงประเภทของ Filler ดังนี้
“เพื่อให้เข้าใจง่าย หมอจะขอแบ่ง กลุ่ม Filler ให้คนไข้ทราบดังนี้ (เพราะเดี๋ยวนี้มีคำศัพท์ ใหม่ๆที่คนไข้ที่ฉีดจมูกมาแล้วมาถาม) หลังจากได้มีการเริ่มใช้ Dermal Filler ในการเติมโน้น เติมนี้บนผิวหน้ามานานกว่า 10 ปีทั้งในต่างประเทศ และในประเทศไทย ได้เกิดคำศัพท์ใหม่พ่วงกับคำว่า Filler คือ Permanent กับ Semi- Permanent (จากที่เคยพูดว่า มันจะสลาย 3 เดือนบ้าง, 6 เดือนบ้าง, 1 ปี และ 2-5 ปีตามลำดับ) ซึ่งจริงๆแล้ว Filler แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ดังนี้ครับ
1) Temporary Dermal Filler (Filler แบบชั่วคราว): ได้แก่ Zyderm, Zyplast อันนี้ถือว่าเป็น Collagen แท้ๆ แต่สังเคราะห์มาจาก วัว ดังนั้นก่อนฉีดจึงต้องทดลองก่อน ไม่งั้นใครไม่รับประทานสัตว์ใหญ่ (กินเนื้อวัว) อาจเดี้ยงได้
2) Semi-Permanent Dermal Filler (Filler กึ่งถาวร – ฉีดแล้วเติม ฉีดแล้วเติม แต่ไม่ได้บอกว่ามันสลายนะ) ได้แก่ : Restylane , Hydrafill , Hylaform , Juvenderm พวกนี้คือ Hyaluronic Acid (HA) สังเคราะห์มาจาก การหมักของเชื้อโรค ชนิดหนึ่งที่ชื่อ Streptococcus {Bacteria Fermentation of Streptococcus} (เพื่อนๆ Clostridium Botulinum ที่นำมาผลิต Botox) ซึ่งแต่ละยี่ห้อที่กล่าวมาข้างต้นก็มักนำเสนอว่า ตัวเองดีกว่า อันนั้น อันนี้ โมเลกุลใหญ่กว่า ไม่กระจายไปไกล
3) Permanent Dermal Filler (Filler แบบถาวร – ฉีดครั้งเดียวเอาอยู่-ตลอดชีพ) ได้แก่ : Artecoll, Artrfill, Aquamid , Radiesse อันนี้เป็น สารสังเคราะห์ แบบที่เราอึ่งไปเลย เช่น Artecoll หรือ Artifill ก็เป็นสารพวก Polymethylmethacrylate (PMMA) คุ้นๆๆไหมครับว่ามันคืออะไร อ่านไม่ออกอ่านคำหลังสุด Acrylate คล้ายๆ Acrylic ( อะคิริก )ไหม ?? ส่วน Aquamid นั้นก็เป็น Polyacrylamide (ฉีดสารพวกนี้เข้าไปรับลองอยู่บนหน้าเหมือนกับ รูปปั้นที่ตั้งไว้ตากแดดตากลมก็ยังทนอยู่ได้ ) สำหรับ Radiesse ก็คือ Calcium Hydroxylapatide หรือก็คือ องค์ประกอบของกระดูกและฟัน นั้นเอง
เอาละครับ คราวนี้เราพอรู้แล้วว่า Filler แบ่งเป็นกี่ประเภทแล้วนะครับ แต่บทความนี้ ไม่ได้มาพูดถึงเรื่องนี้โดยตรงนะครับ แต่จะมาพูดถึงว่า หลังฉีดสารพวกนี้เข้าไปแล้ว มันเกิดผลอะไรบ้างกับหนังหน้าเรา โดยหมอจะเริ่มจากผลแทรกซ้อนแบบจิ๊บๆ จนไปถึง ผลแทรกซ้อนแบบสุดโหดไปเลย
1) การติดเชื้อ จากการฉีด Filler ครับ : หมอไม่ได้บอกว่า Filler ไม่สะอาดนะครับ แต่ผิวหนังเราก่อนการฉีด Filler นั้นต้องสะอาด และที่สำคัญที่เค้ากลัวกันมากที่สุดคือ การติดเชื้อเริม ครับ (เหมือนกรณีนี้ที่น้องมาเสริมจมูก แต่กับกลายติดเชื้อเริมขึ้นสมอง) ถ้าคนไข้มีประวัติ เป็น เริมบริเวณใบหน้าหรือ ริมฝีปาก ต้องกินยาต้านไวรัสก่อนอย่างน้อย 7 วันนะครับ ก่อนที่จะฉีด Filler
2) ฉีดแล้ว ผิวหนังบริเวณ ฉีดมีอาการดังต่อไปนี้คือ แดง คัน เจ็บ เขียว บวม ซึ่งอาการดังกล่าว ส่วนใหญ่ หมอเค้ามักแนะนำให้รอนะครับ ซึ่งส่วนใหญ่จะหายไปได้เอง มีบางครั้งเหมือนกันที่ไม่หาย (มักเกิดจากการที่ฉีด Filler ตื้นเกินไป หรือ ฉีดมากเกินไปจนผิวหนังบริเวณนั้นตึง ทำเกิดภาวะ Telangiectasia ก็อาจใช้พวก Laser- V Beam หรือ IPL รักษาก็ได้นะครับอย่างน้อยก็ดูจางลง
3) ฉีดแล้ว คลำได้ก้อน ได้แถบหนาๆ หรือ ฉีดแล้วไม่ Happy หรือ อะไรก็แล้วแต่ที่ทำให้เราไม่พอใจ อันนี้ หมอแนะนำว่ารอซักพักหนึ่งนะครับ จะ 1 – 3 เดือนก็แล้วแต่ แล้วค่อยกลับไปหาคุณหมอเค้า อาจให้เค้าแนะนำวิธีการที่ทำให้มันสลายไปเร็วๆ หรือไม่ก็ฉีดยา เข้าไปสลายมันในกรณีที่ มี Filler ไม่มากนะครับ (แต่ขอร้องละครับ ถ้ากลับไปแล้ว คุณหมอกลับแนะนำว่าให้ฉีดเพิ่ม อันนี้คงต้องร้องเพลง ถอยดีกว่า ไม่เอาดีกว่า)
4) มาถึง บริเวณต้องพึงระวังเป็นพิเศษ ของการฉีด Filler แล้วนะครับ : บริเวณนั้นได้แก่ รอบๆดวงตาของเรา ไม่ว่าจะเป็น ร่องน้ำตา เบ้าตาบนและ ล่าง เพราะว่าเป็นบริเวณที่มีผิวหนังบอบบางเป็นอย่างมาก และที่สำคัญคือมันใกล้ตา ผลแทรกซ้อนที่เห็นคือ Tyndell Effect (สรุป แบบสั้นๆคือ ฉีดไปแล้ว ผิวหนังรอบๆตา เปลี่ยนสี ออกเป็นฟ้าๆ เทาๆ หรือม่วง ไม่แน่ใจว่าเป็นแบบตาแพนด้าหรือเปล่า – แต่ เจ้าแม่เจ้าพ่อในการฉีด Filler คงจะเถียงคอเป็นเอ็นว่า มันไม่เกิดกับคนไทยหรอก เพราะผิวหนังคนไทยนั้นสีเข้ม Type 4 ซึ่งรายละเอียดต้องให้ หมอผิวหนังตัวจริงดูอีกที) ยิ่งตอนนี้ มีความนิยมใหม่ๆ ในการฉีด Love Band, Love Shot, Charming Eyes (ฉีด Filler เข้าใต้ขอบตาล่าง ทำให้ดูตาเชื่อมๆ ฉ่ำๆแบบคนกำลังมีความรัก หรือ แบบ ตาของดาราเกาหลี หรือ ญี่ปุ่นบางคน) ยิ่งต้องระวังมากขึ้น เพราะอย่างที่บอก ฝรั่งมันไม่ได้ออกแบบ Filler มาเพื่อให้พี่ไทยคิดพิเรณฉีดเข้าใต้ตา หรือ เสริมจมูก
5) ฉีดผิดโดยไม่ตั้งใจ ฉีดเข้าเส้นเลือด อันนี้ต้องบอกว่า มันเป็นอุบัติเหตุจาก การฉีด Filler เข้าเส้นเลือดใหญ่ ที่เลี้ยงบริเวณผิวหนัง ที่เลี้ยงใบหน้าจะก่อให้เกิดปัญหา ตามา 2 ข้อใหญ่คือ
5.1 ผิวหนังบริเวณนั้น ตาย – เนื่องจาก Filler เข้าไปอุดปลายเส้นเลือดที่นำเลือดไปเลี้ยงผิวหนังบริเวณนั้น หรือ ปริมาณ Filler ที่มากจนเกินไป กดเบียดปลายเส้นเลือดให้ตีบ ผิวหนังก็ตายได้ซึ่ง สาเหตุน่าจะเกิดจาก Pressure Effect (ปริมาณ Filler มากเกินไปทำให้ผิวหนังตึง และทำให้เส้นเลือด Nasal Artery ตีบไม่สามารถนำเลือดเข้าไปเลี้ยงผิวหนังปลายจมูกได้ )
5.2 ผิวหนัง บริเวณนั้นตาย ร่วมกับ ผิวหนังที่อยู่รอบๆ หรือ ผิวหนังที่มีเส้นเลือดเส้นเดียวกันเลี้ยง ถูกอุดตันทำให้ขาดเลือด
5.3 ผิวหนังไม่ตาย แต่ พิการตาบอด อันนี้ต้องบอกว่า ในต่างประเทศมีการรายงานว่า มีการฉีด Filler เข้าไปในบริเวณหัวคิ้วเพื่อลบรอยหย่น แล้ว Filler เข้าไปอุดเส้นเลือดที่เลี้ยงจอประสาทตา ทำให้ตาบอด ส่วนในประเทศไทยนั้น มักไม่นิยมฉีดหัวคิ้วด้วย filler แต่นิยมฉีดปลายจมูก หยดน้ำ (หมอ หลายคนเลยคิดว่า ปลายจมูกมันไกลตาจะตาย ฉีดยังงัยก็ไม่บอด เต็มที่ก็เนี้อปลายจมูกตาย — หมอคงต้องอธิบาย ถ้า Sell ขายยาหรือ ขาย Filler ให้ร้านของหมอๆ มาโฆษณาว่า Filler โมเลกุลเล็กไปไกลกว่า จึงสามารถไปอุดตันเส้นเลือดที่ไกลๆ เช่น เส้นเลือดที่เลี้ยงจอประสาทตาได้ ?? แล้ว Filler ที่โมเลกุลใหญ่กว่า มันเดินทางไปไม่ถึง มันเลยอุดตันใกล้ ?? อันนี้หมอว่า ถ้าฉลาดคิดในมุมกลับ ก็จะมองออกว่า งั้น โมเลกุลใหญ่ๆไม่ยิ่งอุดตันง่ายกว่าโมเลกุลเล็กหรอ ?? ก็แล้วแต่ดวงก็แล้วกัน ใครทำ ใครรู้อยู่แล้ว )
จากข้อมูลทั้งหมดนี้พอจะทำให้เห็นตระหนักถึง ผลดีและผลเสียของการ Filler มากขึ้น ดังนั้นผู้ที่ต้องการรับการฉีด Filler ควรศึกษาถึงข้อมูลต่างๆข้อดี ข้อเสีย ควรตระหนักถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ก่อนตัดสินใจเสริมความงามด้วยการฉีด Filler และควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก่อนทุกครั้ง เลือกใช้บริการกับคลินิกที่มีมาตรฐานและได้รับใบอนุญาต